เอสเอ็มอี
เซเว่นฯ สั่งซื้อ เดือนละ 100,000 ซอง หนังไก่กรอบ “จินเฮง” แบรนด์สแน็กที่ตั้งใจเจาะกลุ่มตลาดฮาลาล การมองหาช่องว่างทางการตลาด เพื่อนำสินค้าเข้าไปจำหน่าย เป็นช่องทางการแจ้งเกิดที่สำคัญให้กับเอสเอ็มอี เหมือนดังเช่น แบรนด์ จินเฮง ที่บริหารงานโดยหนุ่มวัย 35 ปี อย่าง คุณไมเคิล-วิทนันท์ จึงดำรงค์สมสุข ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เครเดนเชียล กรุ๊ป จำกัด ที่มองเห็นโอกาสเติบโตของสินค้ากลุ่มสแน็กในตลาดฮาลาล ด้วยการผลิตหนังไก่กรอบ รวมถึงต่อยอดรสชาติใหม่ๆ ให้สอดรับกับความต้องการของตลาดจนเป็นที่รู้จัก มียอดสั่งซื้อจากเซเว่น อีเลฟเว่น อยู่ที่ประมาณ 4,000-5,000 ลังต่อเดือน หรือกว่า 100,000 ซองต่อเดือน คุณไมเคิล เล่าให้ฟังถึงที่มาของสินค้าและกลยุทธ์การทำการตลาดจนสินค้าเป็นที่รู้จักว่า ก่อนเปิดบริษัทของตัวเอง ได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดให้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ทำให้เห็นทิศทางตลาดหลากหลายกลุ่ม โดยมองว่าตลาดสินค้าฮาลาลเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทยอยพัฒนาสินค้ามาซัพพอร์ตตลาด เริ่มจากสินค้าไก่หย็อง วางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เมื่อปี 2561 หลังจาก
สงครามราคา ทำล้นตลาด SMEs ไทย ไม่ท้อ หาทางเพิ่มมูลค่ากระเทียม ลาซาด้า ในฐานะแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้สินค้าไทยคุณภาพดีได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้นด้วยเครื่องมือการตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่จะช่วยให้ร้านค้าท้องถิ่นสามารถยกระดับมาตรฐานของแบรนด์ และต่อยอดการเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งรวมถึง ‘กระเทียมดำ B-Garlic’ แบรนด์ผู้ผลิตที่ปลุกปั้นกระเทียมดำ จากการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมต่างๆ ทั้งในด้านการผลิต และการตลาดออนไลน์ผ่านร้านค้าบน LazMall จนกลายเป็นผู้นำตลาดกระเทียมดำไทย อีกทั้งยังสามารถสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์ม LazMall ได้มากกว่า 2 แสนบาทต่อเดือน คุณนพดา อธิกากัมพู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นพดาซุปเปอร์ฟู้ดส์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกระเทียมดำ ภายใต้แบรนด์ ‘B-Garlic’ ได้เปิดเผยถึงกลยุทธ์และปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นว่า มีจุดเริ่มต้นมาจากความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพชุมชนและเกษตรกรไทย จึงได้สานต่อธุรกิจค้ากระเทียมสดของครอบครัวที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นกว่า 40 ปี กระทั่งเห็นความท้าทายของการแข่งขันทางด้านราคาจากการเปิ
ใครเป็นนายกฯ ผู้ประกอบการก็ต้องช่วยเหลือตัวเอง วอน เหลียวแลการท่องเที่ยวจริงจัง “คนก่อนทำไม่เท่าไหร่ เปลี่ยนอีกแล้ว ผู้ประกอบการก็งง ไม่รู้ไปทางไหน แต่ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เราต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้” คือ คำให้สัมภาษณ์จาก คุณศรีรัตน์ ศรีภิญโญ เจ้าของกิจการรีสอร์ต-ร้านอาหาร ชื่อดังบนเกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อถูกถามถึงการเปลี่ยนแปลงผู้นำประเทศไทยคนล่าสุด ก่อนบอก ถ้าเสียงของเธอจะไปถึงรัฐบาลชุดใหม่ อยากบอกให้หันมาเหลียวแลการท่องเที่ยว เละช่วยเหลืออย่างจริงจังกว่านี้ ที่ผ่านมา แม้จะมีการออกข่าวว่าช่วย แต่ช่วยแบบไม่จริง เช่น บอกมีโครงการ ให้เงินกู้ แต่สรุปแล้วผู้ประกอบการไม่เคยได้ตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 ผู้ประกอบการ ต่างเดือดร้อน ต้องการกู้เงินมาพยุงธุรกิจ มาเสริมสภาพคล่อง แต่ไม่เคยเห็นมีโครงการช่วยได้จริงๆ “ดอกเบี้ยเงินกู้ อย่าเพิ่งขึ้นได้ไหม ทุกวันนี้เศรษฐกิจแย่อยู่แล้ว ทำได้เท่าไหร่เหมือนเอาไปใช้หนี้หมด จะให้เปลี่ยนอาชีพตอนนี้คงไม่ทันแล้ว ต้องเดินหน้าธุรกิจต่อไป ปรับปรุงสินค้า-บริการ ของเราให้ลูกค้ามาอุดหนุน” คุณศรีรัตน์ บอก และขอฝากไปถึงรัฐบาล “อุ๊งอิ๊ง” ด้วยว่า “เกาะช้าง ไม่ค่อยได้
ตั้งรับอย่างมีสติ แฟรนไชส์จีน “สึนามิธุรกิจ” ซัดไทย ใครได้ ใครเสีย ต้องยอมรับนะครับว่าประเทศไทยเป็นชัยภูมิที่จีนอยากจะเข้ามาขยายธุรกิจด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียนเชื่อมโยงการขนส่งได้ทุกทาง ทำให้เข้าถึงตลาดอาเซียนที่มีประชากรกว่า 600 ล้านคนได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ประกอบกับประเทศไทย ก็มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับได้เป็นอย่างดี ยิ่งมาพบกับคนไทยที่ยินดีต้อนรับคนจีนทั้งภาครัฐและเอกชนก็มีนโยบายส่งเสริมหรือร่วมลงทุนจากจีน โดยเฉพาะเอกชนรายใหญ่ๆ มักจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีนมีการค้ากับจีนมาอย่างยาวนาน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนทำให้ทุนจีนไหลทะลักเข้ามาในไทยได้อย่างรวดเร็ว เริ่มแรกที่เข้ามาส่วนมากจีนก็จะลงทุนด้านอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี ธุรกิจยานยนต์โดยเฉพาะรถ EV หรือแม้กระทั่งการลงทุนในศูนย์ข้อมูลหรือ Data Centers เพื่อเป็นการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโยลีคู่กันไปกับภาคธุรกิจอื่นๆ ที่ทยอยเข้ามา แต่ที่สำคัญที่สุด ตอนนี้ทางจีนขยายธุรกิจเข้ามาในภาคธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหาร ซึ่งมีทั้งเป็นรูปแบบที่มาลงทุนเปิดเอง และรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ ลั
เอสเอ็มอีหนี้พุ่ง รายย่อย หันพึ่งเงินนอกระบบเกินครึ่ง วอนรัฐ ลดขั้นตอนปล่อยกู้ สสว. เผย ภาระหนี้สิน SMEs ไตรมาส 1/2567 พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องถึงร้อยละ 63.9 ทั้งจำนวนหนี้สินและภาระชำระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ภาระหนี้เฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 500,000 บาท เป็น 1,000,000 บาท แนวโน้มการกู้เงินผ่านบัตรเครดิต/บัตรเงินสดเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ SMEs มีภาระหนี้แบกรับปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 12 รวมถึงปัญหารายได้น้อยกว่ารายจ่ายส่งผลต่อสภาพคล่องในการชำระหนี้ SMEs จึงต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือด้านต้นทุนการกู้ยืม ส่วนกลุ่ม SMEs ที่ไม่มีภาระหนี้สินมีแผนกู้ยืมในอนาคตเพื่อไปลงทุนแต่ยังเผชิญปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อเพราะขาดหลักทรัพย์ ควรออกสินเชื่อที่สอดคล้องกับลักษณะกลุ่มธุรกิจของ SMEs แต่ละขนาด นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยผลสำรวจสถานการณ์ด้านหนี้สินกิจการของ SMEs ไตรมาส 1 ปี 2567 ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลรายไตรมาสต่อเนื่อง 6 ไตรมาสที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 นี้สอบถามผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 2,738 ราย
แข่งราคาจีน ไม่ไหว SMEs ไทย ต้องสู้ด้วย คุณภาพ วอนรัฐ ช่วยเสริม 4 ทาง จากกรณี สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มี 4 ปัจจัยเสี่ยงหลัก เรียกย่อๆ ว่า GERM ซึ่งประกอบด้วย G – Geo-politics – ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังป่วนโลก E – Elections – การเลือกตั้งในหลายประเทศที่อาจเปลี่ยนขั้วการเมือง R- Interest Rate – อัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระดับสูงและลากยาว M – Manufacturing – ภาคการผลิตอาจหดตัวต่อเนื่อง โดยข้อมูลตอนหนึ่งจากสำนักวิจัยดังกล่าว ระบุชัด จากการที่จีน ยังคงระดับการผลิตสินค้าเพื่อรักษาระดับการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้อุปสงค์ในประเทศชะลอและเผชิญสงครามการค้ากับชาติตะวันตก ซึ่งที่จริงจีน น่าจะผลิตลดลง แต่กลับนำผลผลิตส่วนเกินมาระบายในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะไทย หากเป็นเช่นนี้ต่อเนื่อง ภาคการผลิตของไทย โดยเฉพาะโรงงานในกลุ่ม SMEs ที่ขาดความสามารถในการแข่งขันอาจต้องปิดตัวลง จนกระทบการจ้างงานและการบริโภคของคนไทยอีกทอดหนึ่ง ซึ่งหวังว่ารัฐบาลไทย จะมีความชัดเจนในการแก้ปัญหาสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามา และเร่งให้ SMEs ไทย ปรับตัวได้ในไม่ช้า อ่านเรื่
สินค้าจีนทะลัก กระทบ SMEs หนัก ถึงขั้นปิดโรงงาน หวัง “เศรษฐา” เร่งแก้ปัญหา ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มี 4 ปัจจัยเสี่ยงหลัก เรียกย่อๆ ว่า GERM G – Geo-politics – ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังป่วนโลก กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน ต้นทุนขนส่งสินค้าทางเรือจะสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่เป็นต้นทุนสำคัญในภาคการผลิตและขนส่ง ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่เคยคาดการณ์ 82 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอาจปรับขึ้นไปทะลุ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ หากสถานการณ์เลวร้ายและกระทบผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อย่าง ซาอุดีอาระเบีย และอิหร่าน รวมทั้งความขัดแย้งในยูเครนที่อาจยืดเยื้อและรุนแรงจนกระทบอุปทานน้ำมันของรัสเซีย ตลอดจนความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวัน หรือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่อาจกระทบห่วงโซ่อุปทานภาคการผลิตจนทำให้ราคาสินค้าบางประเภทโดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับพุ่งขึ้นได้ E – Elections – การเลือกตั้งในหลายประเทศที่อาจเปลี่ยนขั้วการเมือง การเลือกตั้งแม้เป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนไปบริ
เซเว่นฯ มอบรางวัล สุดยอดนวัตกรรม SMEs สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เซเว่น อีเลฟเว่น ได้ร่วมกับ 10 องค์กรพันธมิตร จัดงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย ประจำปี 2024” เพื่อสะท้อนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการรวมพลังขับเคลื่อนและสนับสนุน SMEs ที่มีนวัตกรรม พร้อมงานประกาศผลรางวัลสุดยอดนวัตกรรม “7 Innovation Awards 2024” (เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 สำหรับในปีนี้มีผู้ประกอบการส่งผลงานเข้าประกวดเพื่อชิงรางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards ประจำปี 2024 รวม 180 ผลงาน และมีผลงานที่ผ่านการตัดสินให้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 34 รางวัล แบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล ได้แก่ รางวัลนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ครอบคลุมด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบริการ หรือด้านกระบวนการ จำนวน 19 รางวัล และรางวัลนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา รวมถึงโครงการเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) จำนวน 15 รางวัล โดยผลงานที่คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่
เจน 3 ถ่านม้าขาว ถามดัง “คนไทยอยู่กับราคาถ่านขนาดนี้ได้ยังไงตั้ง 30 ปี” บริษัท โกศลอุตสาหกรรม จำกัด ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับโรงงานผลิตถ่านไฟฉายในประเทศไทย อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2500 โดยมีการผลิตถ่านไฟฉายม้าขาวขนาด D หรือที่เรียกว่าถ่านไฟฉายขนาดใหญ่วางจำหน่ายเพียงขนาดเดียวโดยใช้กับวิทยุทรานซิสเตอร์และกระบอกไฟฉาย จน พ.ศ. 2540 เป็นยุคการบริหารของทายาทรุ่นที่ 2 ได้เพิ่มการผลิตถ่านไฟฉายขนาด C, AA, AAA และ 9V เพื่อรองรับความต้องการใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ “ถ่านไฟฉายม้าขาว” นับเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ของคนไทยแบรนด์เดียวที่ยังคงอยู่ในตลาดถึงปัจจุบัน “รุ่นที่ 1 เป็นเหมือนนักประดิษฐ์ ลองผิดลองถูก จนผลิตถ่านมาได้ นำออกขายได้ นั่นเป็นภาพในยุค 60 ปีที่แล้ว รุ่นที่ 2 คือ ยุคที่เราม้วนหายไปพัฒนาการผลิตที่ประเทศจีน ก่อนส่งขายไปทั่วโลกเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีก่อน มาถึงยุคผมสินค้าคุณภาพดีแล้ว จึงเป็นยุคแห่งการเล่าเรื่องให้ทุกคนรับรู้ ของเราดีขนาดไหน” คุณณัฐพล วิไลพรรัตนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกศลอุตสาหกรรม จำกัด ให้สัมภาษณ์อย่างนั้น ก่อนเผยต่อในงานแถลงในโอกาส “ถ่านม้าขาว “ครบรอบ 6
เชอรี่ เข็มอัปสร กับบทไม่ง่าย “ผู้ประกอบการที่มองปัญหาให้เป็นโอกาส” เป็นนางเอกอยู่ในความนิยมชมชอบมานาน ปัจจุบันผันตัวเป็น “นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” และผู้ประกอบการเต็มตัว กับจุดยืนชัดเจน “ขอเป็นส่วนเล็กๆ ทำให้โลกดีขึ้น” “แรงบันดาลใจ ผันตัวเองมาเอาจริงเอาจังด้านสิ่งแวดล้อม น่าจะเริ่มต้นตอนปี 2559 ที่มีปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นทั่วประเทศ แล้วก็ย้อนกลับไปเมื่อปี 2554 มีน้ำท่วมหนักมากเกิดขึ้นหลายพื้นที่ 2 เหตุการณ์นี้ทำให้รู้สึกกำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา ประเทศของเรา แล้วในฐานะคนตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จะสามารถแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้ได้ยังไง”เชอรี่-เข็มอัปสร สิริสุขะ นางเอกสาวคนดัง เริ่มต้นบรรยายอย่างนั้น ก่อนเผยบนเวทีเสวนาในงานมหกรรมรวพลัง SME ไทย จัดโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อเร็วๆ นี้ ต่อว่า ราวปี 2559 ได้จัดตั้งโครงการ Little Forest เป็นโครงการด้านสิ่งแวดล้อมโครงการแรกของตัวเอง ไม่หวังผลกำไร ทำต่อเนื่อง 3 ปี ปลูกต้นไม้ 2 หมื่นต้น ที่ อ.วังชิ้น จ.แพร่ มีพันธมิตรจำนวนหนึ่งเข้ามาร่วมกันดำเนินโครงการ ซึ่งได้ความร่วมมือกับคนในพื้นที่เป็นอย่างดี “การจะทำอะไรสักอย่าง ต้องมีการสื่อสารเพื่