“ที่นั่งสำรอง” (Priority seat) ปัญหาระดับชาติ ใครบ้างที่นั่งได้?
ที่นั่งสำรอง – มีข่าวออกมาให้เห็นเป็นระยะๆ กับปัญหา “ที่นั่งสำรอง” (Priority seat) บนขนส่งมวลชนสาธารณะอย่าง รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) และ รถไฟฟ้ามหานคร เอ็มอาร์ที (MRT) หลายๆ คนที่ได้ใช้บริการขนส่งเหล่านี้ ต่างก็คุ้นชินกันดีกับที่นั่งพิเศษ ที่มีการเว้นว่างเอาไว้ไม่มีใครนั่ง แม้ว่าคนจะเบียดกันเต็มขบวนรถแค่ไหนก็ตาม หรือหากนั่งไปแล้ว กลับโดนมองแรงไปเสียอย่างนั้น
จนเกิดเป็นคำถามที่ว่า ตกลงแล้ว…ที่นั่งพิเศษนี้ มีไว้เพื่ออะไร และใครสามารถนั่งได้บ้าง? เพจ รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ไขความกระจ่างไว้ดังนี้
ที่นั่งสำรอง ถูกออกแบบมาสำหรับบุคคลพิเศษ เช่น พระสงฆ์ สตรีมีครรภ์ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยทุกคนสามารถนั่งได้ แต่ต้องพร้อมเสมอที่จะลุกเสียสละ เมื่อมีบุคคลพิเศษดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ที่นั่ง
Latest Posts
จากแอร์โฮสเตสสาวที่ลาออกมาเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ด้วยเงินสนับสนุนจากทางบ้าน หวังเริ่มต้นชีวิตใหม่ในฐานะเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่นานร้านก็ต้องปิดตัว เพราะไม่ทำกำไร เธอไม่ยอมแพ้ ลองทำเบเกอรี่ฝากขาย แต่ก็ล้มเหลวอีกครั้งในเวลาเพียง 1 เดือน จนวันหนึ่ง การเดินทางไปเที่ยวฮ่องกงทำให้เธอได้ลองชิม ‘พายหมูแดง’ นำมาสู่การคิดค้นสูตรพายที่ถูกปากคนไทย นี่คือเรื่องราวของ คุณอร–กนกกัญจน์ มธุรพร เจ้าของ April’s Bakery ที่สร้างยอดขายทะลุ 630 ล้านบาท! คุณอร มีพื้นเพเป็นชาวนครสวรรค์ จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ด้านบริหารธุรกิจ และเคยทำงานเป็นพนักงานต้อนรับของสายการบินต่างชาติอยู่ 2 ปีเศษ ก่อนตัดสินใจลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว โดยขอทุนทางบ้านมาเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ในคอมมูนิตี้แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่เปิดได้ไม่ถึงปีก็ต้องปิดตัว เพราะไม่ทำกำไร จากนั้นได้หันไปทำเบเกอรี่สไตล์อิตาเลียนฝากขายตามห้างสรรพสินค้า แต่ก็ ‘เจ๊ง’ ในเวลาเดือนเศษ เพราะไม่เคยศึกษาตลาด หรือพฤติกรรมของลูกค้ามาก่อน แต่คุณอรยังเหลือไว้ 1 สาขา พร้อมกับเปลี่ยนมาขายเค้ก คุกกี้ และมัฟฟินแทน แต่ยอดขายก็ยังไม่กระเตื้อง ขณะเดียวกันก็ยังคิดไม่ออก ว่าจะทำอะไรมาขา
กูรูด้านอาหาร อย่าง อาจารย์ยศพิชา คชาชีวะ เจ้าของคอลัมน์ “ตู้จดหมายพลศรี” มีเรื่องราวน่าสนใจสำหรับ “วงการยำ” มาให้เรียนรู้กัน ดังนี้ … “หนูทำยำไม่เคยอร่อยสักที เดี๋ยวเปรี้ยวไป เดี๋ยวหวานไป อาจารย์มีสูตรไหมคะ ขอหนูหน่อย” คำถามทำนองนี้ผมเจอมาหลายคน หลายครั้ง ทุกครั้งผมเลยให้คาถาสูตรสำเร็จไปท่องให้ขึ้นใจว่า “1-1-ครึ่ง” 1 คือ น้ำปลา 1 ส่วน อีก 1 คือ น้ำมะนาว 1 ส่วน และครึ่ง คือ น้ำตาล ถ้าผสมน้ำยำเริ่มต้นจากสูตรนี้ การปรับเพิ่มเติมอะไรอีกนิดหน่อย ทำให้ลงตัวง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ตวงน้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ ก็ตวงน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ ส่วนน้ำตาลทรายเหลือ 1 ช้อนโต๊ะ หรือยกตัวอย่างเป็นถ้วย น้ำปลา 1 ถ้วย น้ำมะนาว 1 ถ้วย น้ำตาลครึ่งถ้วย ใช้เป็นชั่งน้ำหนักก็ได้ครับ เช่น น้ำปลา 50 กรัม น้ำมะนาว 50 กรัม น้ำตาลทราย 25 กรัม อาจจะต้องมีการยับยั้งชั่งใจกันเล็กน้อย เช่น ลดน้ำปลาลงนิดหน่อยก่อน เพราะน้ำปลาบางยี่ห้อโคตรเค็ม บางหน้ามะนาวเปรี้ยวมากก็ใส่น้อยลงนิดหนึ่งก่อน แต่ถ้าผสมแล้วเปรี้ยวไปหน่อย เค็มไปนิด ก็เติมส่วนผสมให้พอดีได้ตามใจ น้ำยำ แบบนี้ภาษาการครัวเรียกน้ำยำขาว เป็นยำพื้นฐานของยำไทยๆ เอาไปทำยำหมูยอ ยำวุ้น
ฟังไว้! ถ้าอยาก “ผัดผักบุ้ง” ให้สีเขียวสด ไม่เหี่ยว น่ารับประทาน เป็นปัญหาสำหรับคุณแม่บ้าน หรือพ่อครัวหลายคน ที่อยากจะผัดผัก โดยเฉพาะผัดผักบุ้ง ให้ออกมาเขียวสดน่ารับประทาน แต่ก็ยากซะเหลือเกิน เพราะเมื่อผักโดนความร้อนสีและรูปร่างก็เปลี่ยนไป เช่นเคยกับ เพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ได้มาบอกเคล็ดลับการทำผัดผักบุ้ง ให้กับพ่อครัว แม่ครัวทั้งหลาย ไว้ปรับใช้ในครัวเรือน ว่าทำอย่างไร ผักบุ้งจะไม่เหี่ยว แถมยังเขียวสดน่ารับประทานอีกด้วย โพสต์ดังกล่าวระบุว่า “การแช่ผักบุ้งน้ำในสารละลายเบกกิ้งโซดาก่อนผัด สามารถทำให้ผัดผักบุ้งที่ได้เขียวสวย และไม่เหี่ยวเหนียวได้ด้วย หลายๆ คนคงเคยได้ยินว่าสารละลายเบกกิ้งโซดา เพียงแค่ 1% นั้นสามารถใช้ล้างผักได้ดี นอกจากนั้นก็ยังใช้สำหรับแช่ผักที่ผัดยากอย่างผักบุ้งน้ำ ก่อนผัดด้วย เนื่องจากก้านของเขาแข็งเหนียวสุกยาก ในขณะที่ใบนั้นมีความอ่อนนุ่มสุกง่าย จึงทำให้เป็นผักที่ผัดยากเหลือเกิน เพราะถ้าผัดใช้เวลาสั้นเกินไป ก็จะทำให้ก้านมีกลิ่นเหม็นเขียวและพานจะดำหมองคล้ำง่าย เพราะสุกไม่เต็มที่ ในขณะที่พอผัดนานไปก้านจะเหี่ยวฟีบเหนียว และใบจะเหี่ยวเหนียวไปโดยปริยาย จน
ในยุคปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของ AI (Artificial Intelligence) หลายๆ คนเริ่มใช้ AI กันมากขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวัน รวมถึงในการทำงาน วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จึงได้ทำการรวบรวมเครื่องมือ AI มาไว้มากกว่า 40 ตัว ไม่ว่าจะเป็น โมเดลที่ใช้สำหรับการพูดคุย ประมวลผลข้อมูลต่างๆ หรือจะเป็นการสร้างรูปภาพด้วย AI อีกทั้งยังมีโมเดลที่ช่วย Generate เสียงและวิดีโอ ที่เหมาะสำหรับสายคอนเทนต์ต่างๆ เริ่มที่อย่างแรก LLMS (Large Language Models) เป็นแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ ที่ใช้ประมวลผลข้อมูลต่างๆ และถูกสร้างขึ้นผ่านการจำลองสมองการเรียนรู้ของมนุษย์ และสามารถตอบคำถาม แปลภาษา และคาดเดาศัพท์ได้เอง โดย LLMS ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ – ChatGPT เป็นระบบ AI ในรูปแบบ Chatbot ที่พัฒนาโดยบริษัท OpenAI ให้สามารถตอบคำถามและแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานได้ทุกข้อสงสัย และใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติคล้ายกับมนุษย์ – Claude AI เป็นโมเดลที่พัฒนาโดย Anthropic ออกแบบให้มีการโต้ตอบแบบธรรมชาติ ปลอดภัย ช่วยในการประมวลข้อมูล และการสร้างเนื้อหาได้ดี – Gemini เป็น AI แบบ Multimodal Transformer ที่พัฒนาโดย Google สามารถพูดคุยโต้ตอบได้เหมือนม