กฏหมายธุรกิจ
“อินบ็อกซ์ถามราคาค่ะ” วลีชวนเซ็งของขาช้อป ที่แม่ค้าออนไลน์หลายๆ เจ้า ไม่บอกราคาสินค้าหน้าโพสต์ แต่เพราะอะไร ยังทำกัน? ปัจจุบัน พ่อค้าแม่ค้านิยมหันมา ขายสินค้าในช่องทางสื่อออนไลน์ กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ไลน์ TikTok หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ ซึ่งช่องทางเหล่านี้ ถือเป็นช่องทางที่คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งยังสามารถจ้างให้มีการรีวิวจูงใจกระตุ้นการซื้อด้วยการใช้ภาพที่สวยงาม พรีเซนเตอร์ที่นำเสนอสินค้าให้เกิดความน่าสนใจ หรือการจูงใจด้วยโปรโมชั่นได้ด้วย ซึ่งหลายครั้ง ภาพของสินค้า หรือการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น ไม่มีการแสดงราคาให้เห็น จึงเกิดเป็นคำถามว่า ทำไมถึงไม่แสดงราคาไว้ในรายละเอียดของสินค้า? แต่ให้ผู้ที่สนใจสอบถามเข้ามาทางช่องทาง Inbox หรือ ข้อความส่วนตัว โดยมีการระบุข้อความว่า ให้ส่งข้อความส่วนตัว หรือ Inbox ไปถาม นี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของ กลยุทธ์การกระตุ้นความน่าสนใจในตัวสินค้านั้นๆ หรือเรียกว่า เทคนิคกระตุ้นความอยากของลูกค้าด้วยการไม่บอกราคาใต้โพสต์ โดยใช้ประโยคเด็ดกระตุ้น อย่างเช่น “สนใจ ทัก Inbox” หรือ “อินบ็อกซ์ถามราคาค่ะ” แต่การกระทำเหล่านี้ ปัจจุบันผิดกฎหมายก
ร้านค้าต้องระวัง! จัดโปร ปีใหม่ มีการให้ของแถม ต้องระบุดังนี้ ก่อนเข้าข่ายผิดกฎหมาย จะสังเกตได้ว่า ช่วงท้ายปี ผู้คนเริ่มออกมาจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสิ่งของส่งมอบให้แก่กัน เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ ร้านค้าต่างๆ ให้ความสำคัญกันอย่างมาก เพราะถือเป็นช่วง กอบโกย จึงมีการ จัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นยอดซื้อกันมากมาย แต่ในการจัดโปรโมชั่น หรือ โปรปีใหม่ ร้านค้าก็มีเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เผยแพร่ วิธีการจัดโปรปีใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนจะกลายเป็นการทำผิดกฎหมายโดยที่ร้านค้านั้นๆ อาจไม่รู้ตัว ดังนี้ ในการจัดโปรโมชั่น โดยโฆษณาว่า มีการให้ของแถม ร้านต้องระบุ รายละเอียด หลักการ วิธีการ เงื่อนไข ข้อกำหนดในการให้ของแถม เช่น วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดโปรโมชั่น เขต หรือ ถิ่นที่จัดโปรโมชั่น ประเภท ลักษณะ มูลค่าของของแถมแต่ละสิ่ง หรือ มูลค่ารวมในแต่ละประเภท สถานที่ หรือ วิธีการที่กำหนดไว้ ให้รับของแถมหรือสิทธิ โดยการจัดโปรปีใหม่นี้ ต้องไม่ใช่ข้อความที่เป็นเท็จ เกินจริง หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นๆ
พ่อค้าแม่ค้า ต้องรู้! ทำ โปรโมชั่น ขายของ อย่างไร ให้ถูกกฎหมาย ปัจจุบัน ผู้คนหันมาทำอาชีพ ค้าขาย กันมากขึ้น ไม่ว่าจะยึดเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม แน่นอนว่าคู่แข่งย่อมมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งค้าขายต้องมีการทำการตลาด จัดโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อสินค้าของร้านเรา แต่พ่อค้าแม่ค้าทราบหรือไม่ว่า การจัดโปรโมชั่นขายของ หากไม่คำนึงหรือไม่มีสิ่งเหล่านี้ ก็เข้าข่ายผิดกฎหมายเหมือนกันนะ! เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เผยข้อมูลในการทำโปรโมชั่นอย่างไร ให้ถูกกฎหมาย ดังนี้ 1. การใส่ข้อความโฆษณา จะต้องระบุ วันที่จัดโปรโมชั่น ทั้ง วัน-เดือน-ปี ให้ชัดเจนและต้องเป็น ภาษาไทย เท่านั้น 2. เงื่อนไขโปรโมชั่น ต้องแจ้งเงื่อนไขของการจัดโปรโมชั่นให้ชัดเจนแต่แรก เช่น เฉพาะสินค้าที่มีราคาตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป และสินค้าใดที่ไม่เข้าร่วม เป็นต้น 3. ช่องทางการจัดจำหน่าย ต้องแจ้งด้วยว่า ซื้อได้ที่ใดบ้าง เช่น หน้าร้าน เว็บไซต์ เพจเฟซบุ๊ก เป็นต้น 4. สถานที่รับสิทธิ หากร้านมีหลายสาขา ต้องแจ้งลูกค้าด้วยว่า ร้านสาขาใดบ้างที่ร่วมรายการโปรโมชั่น และหากมีการแจ้งว่า ทุกสาขา จะต้องบอกด้ว
งานเข้าแน่! เซอร์วิสชาร์จ ผู้ประกอบการร้านค้า แจ้งผู้บริโภค ไม่ชัดเจน รู้ไหม มีความผิด เมื่อไม่นานมานี้ มีประเด็นในโลกโซเชียลที่กำลังถูกพูดถึงกันอย่างมาก อย่าง Service Charge (เซอร์วิสชาร์จ) หรือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภค ที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งบางร้านก็ชาร์จแพง สวนทางกับการบริการที่ไม่ได้ทำอะไรมากเป็นพิเศษ เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับเรื่อง เซอร์วิสชาร์จ ไว้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2559 ดังนี้ ก่อนที่จะเข้าเรื่องของ Service Charge นั้น ขอแนะนำให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับสิทธิในฐานะผู้บริโภค ของตัวเองกันก่อน โดย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคไทยได้รับสิทธิไว้ 5 ประการ คือ สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ดังนั้น ร้านค้าใดที่มีการเรียกเก็บค่า
แน่ใจหรือว่ารู้จักจริง? เปิดอินไซด์ การฮั้ว กับกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ที่ ผปก. ควรรู้ ผู้ประกอบธุรกิจบางราย อาจมีพฤติกรรมการพูดคุยหรือตกลงราคาร่วมกัน โดยมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เคยทำกันมาเป็นปกติ และไม่ทราบว่าเข้าข่าย การฮั้ว ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือมองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่คู่แข่งจะได้ไม่ต้องสู้ราคากัน แต่การกระทำนั้นอาจส่งผลเสียต่อการแข่งขันในตลาดและผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่าปกติและเป็นการจำกัดทางเลือกซื้อสินค้า และเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจเข้าใจผลกระทบจากพฤติกรรมการฮั้วมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ สขค. จะพาไปอินไซด์การฮั้วในรูปแบบต่างๆ พร้อมแนวทางการป้องกันไม่ให้เข้าข่ายกระทำความผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้า รวมถึงเข้าใจเกี่ยวกับบทลงโทษที่มากขึ้น สำหรับประเทศไทย แบ่งการฮั้วออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การกระทำร่วมกันที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันอย่างร้ายแรง (Hardcore Cartels) ตามมาตรา 54 หรือการฮั้วแบบร้ายแรง เป็นการกระทำร่วมกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคู่แข่งในตลาดเดียวกัน เช่น บริษัท ก และบริษัท ข ต่างเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทเ
รถเกิดอุบัติเหตุ สินค้าหล่นกระจัดกระจาย ชวนกันมาขนเอาไป ระวังจะผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ต้องมีใครแจ้งความ ตำรวจจับได้เลย เพราะเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แถมยอมความไม่ได้ด้วย แม้เอาไปคืนความผิดก็ยังอยู่
ประเด็นปัญหาที่ว่า ระหว่างที่ยังผ่อนรถ ในระยะสัญญาเช่าซื้อรถ อาจจะเป็น 48 งวด 60 งวด หรือกี่งวดก็ตาม หากรถที่เช่าซื้อมานั้นหายไป ถามว่า ผู้เช่าซื้อยังต้องผ่อนต่อหรือไม่ เรื่องนี้ ต้องพิจารณาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 บัญญัติว่า อันว่า เช่าซื้อ นั้น คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว” และมาตรา 567 ที่ว่า ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปทั้งหมดไซร้ ท่านว่าสัญญาเช่าก็ย่อมระงับไปด้วย” ลักษณะของสัญญาเช่าซื้อ ก็คือสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินที่เช่าสูญหายไป สัญญาเช่าย่อมต้องระงับลง นั่นหมายความว่า เป็นอันเลิกสัญญาต่อกัน ผู้เช่าซื้อไม่ต้องผ่อนต่อ แต่สัญญาเช่าซื้อโดยทั่วไป ผู้ให้เช่าซื้อมักกำหนดต่อไปอีกว่า …หากทรัพย์ที่เช่าสูญหายไป ผู้เช่าซื้อก็จำต้องผ่อนต่อจนครบสัญญา …… ซึ่ง ในส่วนต่อท้ายนี้ ศาลฎีกามองว่า เป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้า ซึ่งก็เข้าลักษณะเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
จากกรณีปัญหาการใช้ทางเท้าเป็นทางมอเตอร์ไซค์ที่เผยแพร่กันมากในโลกออนไลน์ ในทางกฎหมายแล้ว เรื่องนี้มีกฎหมายที่มีโทษปรับอยู่ นั่นคือพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่บัญญัติว่า มาตรา ๑๗ ห้ามมิให้ผู้ใด (๒) จอด หรือ ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน บนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้ และมีบทกำหนดโทษอยู่ในมาตรา ๕๖ ที่ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ทั้งนี้ ยังกำหนดให้ประชาชนผู้พบเห็นแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หากไม่ดำเนินการ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด(มาตรา ๕๙) นอกจากนี้ ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ ให้แบ่งแก่ผู้แจ้งครึ่งหนึ่ง และพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจราจร หรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ผู้จับกุมอีกครึ่งหนึ่ง(มาตรา ๔๘ วรรคสาม) หมายเหตุ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
เรื่องของการค้ำประกันเกิดปัญหาค่อนข้างมาก ซึ่งปัญหาที่เกิดส่วนใหญ่มาจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้จนส่งผลให้ผู้ค้ำประกันต้องเข้าใช้หนี้แทน เรื่องของกฎหมายค้ำประกันมีอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๐ ที่ว่า “อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” การเข้าค้ำประกันนั้น จะมีทั้งที่เป็นการค้ำประกันโดยบุคคลหลายคน เข้าทำสัญญาค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ และกรณีบุคคลคนเดียวเข้าค้ำประกัน การเข้าค้ำประกันด้วยคนหลายคน ผู้ค้ำประกันจะมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน นั่นหมายความว่า เจ้าหนี้จะบังคับให้ผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งใช้หนี้แทนจนหมดสิ้น หรือให้เฉลี่ยกัน หรือบังคับที่ใคร มากน้อย อย่างไรก็ได้ ดังที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา ๖๘๒ วรรคสองว่า “ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้น มีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม
ประเด็นข้อกฎหมายที่น่าสนใจประการหนึ่งเกี่ยวกับบัตรเครดิตคือ การที่บัตรถูกลักไปหรือบัตรสูญหายแล้วปรากฎว่ามีคนนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้ากรณีนี้ เจ้าของบัตรยังต้องรับผิดชำระเงิน ให้กับทางธนาคารเจ้าของบัตรหรือไม่ กรณีดังกล่าว มีคำพิพากษาในปี 2550 และ 2552 ออกมาตรงกัน นั่นคือ เจ้าของบัตรไม่ต้องรับผิด โดยให้เหตุผลไว้ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2550 “ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บัตร ระบุว่า บัตรเครดิตนี้ ธนาคารได้ออกให้และสงวนไว้เฉพาะผู้ถือบัตรเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ถือบัตรยินยอมอนุญาต หรือนำบัตรเครดิตไปให้บุคคลอื่นใช้ ดังนั้น กรณีที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ที่ออกให้แก่จำเลยไปใช้ชำระค่าสินค้าและค่าบริการแก่สถานประกอบกิจการและร้านค้าเป็นการใช้บัตรเครดิตซึ่งมิได้เป็นไปโดยถูกต้องตามประเพณีปฏิบัติและ/หรือเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือบัตรเครดิตจะต้องรับผิดชำระหนี้อันเกิดจากการที่มีบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้ต่อเมื่อจำเลยได้ยินยอมอนุญาตหรือนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปให้บุคคลอื่นใช้ การที่บัตรเครดิตของจำเลยถูกคนร้ายลักไปย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยมิได้ยินยอมอนุญาต หรือนำบัตร