ผลไม้
กรมวิชาการเกษตรงัดมาตรการเข้ม จัดทีมเฉพาะกิจรุกสกัดทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด พร้อมตรวจเข้มล้ง-แผงค้า สร้างความเชื่อมั่นตลาดภายในและตลาดส่งออก และปกป้องการทำลายตลาดทุเรียนไทย คุมเข้มขายทุเรียนอ่อน – นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สวพ.6 ร่วมกับกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีและคณะทำงานชุดเฉพาะกิจตามมาตรการป้องกันผลผลิตทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด จังหวัดจันทบุรี นำโดย นายปิยะ สมัครพงศ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นายสุชาติ จันทร์เหลือง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และนายสุเทพ สินชัย เกษตรอำเภอท่าใหม่ ลงพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เพื่อตรวจสอบคุณภาพทุเรียนภายใต้สถานประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ทั้งเปลือก (ล้ง) และในตลาดค้าผลไม้เนินสูง ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของทุเรียนของโรงคัดบรรจุแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ พบทุเรียนด้อยคุณภาพซึ่งเสียหายหลุดร่วงจากพายุฤดูร้อน เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง น้ำหนักรวม 3,500 กิโลกรัม จึงได้แจ้งเจ้าของโรงคัดบรรจุทำการคัดแยกและคณะชุดปฏิบั
อย่าเพิ่ง ทำท่า “หยะแหยง” กันนะคะ เพราะ “ของเหลือทิ้ง” ที่ว่านี้ ไม่ใช่เศษอาหารที่มีคนกินเหลือ แต่เป็น พืช ผัก ผลไม้ ขนมปัง ของสด หรือของอะไรก็ตามแต่ที่สามารถกินได้นี่แหละที่ทางร้านอาหาร ร้านค้า หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เห็นว่าไม่สดใหม่ หรือใกล้จะหมดอายุ แล้วเตรียมจะเอาไปทิ้งลงถังขยะ แต่มีร้านอาหารแห่งหนึ่งที่เรากำลังจะเล่าให้คุณฟังนี่ล่ะ ไป “ขอรับบริจาค” พืชผักเหล่านั้นมาปรุงเป็นอาหาร โดยอาหารทุกจานไม่มีการตั้งราคา แต่เปิดโอกาสให้ลูกค้า จ่ายเท่าไรก็ได้ตามต้องการ หรือตามกำลังทรัพย์ในกระเป๋า คราวนี้ก็ “เข้าใจตรงพอยต์” กันแล้วนะคะ สำหรับร้านอาหารไอเดียดี๊…ดี ที่ว่านี้ ชื่อว่า “The Real Junk Food Project (เดอะ เรียล จั๊งก์ ฟู้ด โปรเจ็กต์)” เป็นร้านอาหารเพิ่งเปิดใหม่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ เมื่อเร็วๆ นี้เอง แต่เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. สำหรับวันเสาร์ ส่วนวันอาทิตย์เปิดตั้งแต่เวลา 11.00-16.00 น. เนื่องจาก แก๊บบี้ โฮล์มส์ และ นาตาลี ครีน สองสาววัย 23 ที่ร่วมมือกันก่อตั้งร้านนี้ ต่างมีงานประจำเป็น “สาวเสิร์ฟ” ด้วยกันทั้งคู่ แต่เจียดเวลา 2 วันมาทำร้านนี้ เ
ทายาทรุ่น 3 รับช่วงต่อร้านผลไม้เก่าแก่ย่านเยาวราช นำเข้าสดๆ จาก ตปท. เปิดตลอด 24 ชั่วโมง บนถนนเยาวราชที่ไม่เคยหลับใหลเส้นนี้ เดินลัดเลาะไปบริเวณปากซอยเยาวราช 6 (อิสรานุภาพ) ตรงข้ามตลาดเก่า เยาวราช มีร้านเก่าแก่กว่า 80 ปี เป็นร้านผลไม้สดนำเข้าจากต่างประเทศ เปิด 24 ชั่วโมง คุณเอ็กซ์-ธนกฤติ อังสุปาลี ทายาทรุ่นที่สามวัย 39 ปี เจ้าของร้านผลไม้ “เชี่ยงปู่” เล่าย้อนที่มาให้ฟังว่า ร้านเชี่ยงปู่ ขายในย่านเยาวราชมานานกว่า 80 ปี เป็นกิจการตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากคำบอกเล่าของรุ่นพ่อแม่ กิจการนี้เริ่มจากรุ่นอากงชื่อเชียงจั๊วและเพื่อนชื่อย่งปู่ (รวมกันเป็นชื่อร้าน เชี่ยง แปลว่า ยาว ปู่ แปลว่า รวย) ทั้งคู่มาจากเมืองจีน ถือหาบไม้ใส่ขวดโหลแก้ว ข้างในมีผลไม้ เช่น สาลี่ แอปเปิ้ล ด้านหลังตะกร้า ใส่ถุงหิ้วกับกิโลตาชั่ง หาบขาย ขยับสู่ร้านแผงลอย กระทั่งได้ที่ทางเปิดร้านประจำอยู่ในบริเวณถนนเยาวราช จากนั้นย้ายมาอยู่ตรงปากซอยเยาวราช 6 ถึงปัจจุบัน “ผมเข้ามารับช่วงต่อรุ่นที่สามหลังเรียนจบนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไม่ได้ทำงานตรงสายกับสิ่งที่เรียนมา แต่การเรียนพีอาร์สามารถนำไปใช้ได้ท
เกษตรกรสระบุรี แนะปลูกเมล่อนด้วยวิธีง่ายๆ ทำกินเองก็ได้ ที่เหลือขายสร้างเงิน คุณสำราญ หน่อนาคำ เป็นเกษตรกรอยู่ที่ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเขาได้เริ่มทำงานเกี่ยวกับด้านเกษตรเมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่น ต่อมาจึงได้นำวิชาความรู้ที่มีมาเปิดร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการเกษตรอย่างครบวงจร “พอมาเปิดร้านเริ่มมีเงินทุนมากขึ้น เราก็เริ่มขยายพื้นที่บริเวณที่อยู่ใกล้ร้านเรา เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ความรู้ด้านเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชผักปลอดสารพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ หรือแม้แต่เมล่อนที่คนมองว่าปลูกยาก เราก็มาแนะนำบอกสอนด้วยวิธีง่ายๆ สามารถทำเองที่บ้านได้ ซึ่งเราจะเน้นให้ตรงคอนเซ็ปต์ที่ว่า การเกษตรไม่ได้กินเฉพาะทางปากเพียงอย่างเดียว แต่จะให้ความสุขทั้งทางสายตาและสมองด้วย จึงทำให้จิตใจมีความสุข ซึ่งที่นี่ก็จะสอนความรู้แบบครบวงจร สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้” คุณสำราญ กล่าวถึงที่มา ซึ่งคุณสำราญ ได้แนะนำวิธีการปลูกเมล่อนแบบง่ายๆ ไว้กินเองที่บ้านว่า ขั้นตอนแรกหากระถางขนาด 12 นิ้วหรือภาชนะที่ไม่ใช้งานแล้ว มาใส่วัสดุปลูกจำพวกกาบมะพร้าวสับ ดินใบก้ามปู และแกลบหยาบ ผสมกันในอัตราส่วน 1 ต่อ 1
“ปลูกผักผลไม้” ธุรกิจดาวรุ่ง รับนโยบายรัฐบูม “มหานครผลไม้โลก” โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ธุรกิจการเกษตร : ปลูกผักและผลไม้ ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจปลูกผักกินใบ ผักกินต้น ผักกินผล เช่น ผักกาด ผักคะน้า กะหล่ำปลี แตงกวา เห็ด การปลูกผลไม้เมืองร้อนและกึ่งร้อน ลำไย ทุเรียน มะม่วง กล้วย แคนตาลูป ผลไม้เมืองหนาว แอปเปิล เชอรี่ เป็นต้น ยังมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง 1.การเติบโตของธุรกิจ : การจัดตั้งนิติบุคคล ประเภทธุรกิจ ปลูกผักและผลไม้เป็นหลัก เชื่อมโยงธุรกิจผลิตแปรรูปผักและผลไม้ และธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการถนอมและแปรรูปการเติบโตของธุรกิจปลูกผักและผลไม้ปี 2558-2561 (ม.ค.-มิ.ย.) – อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี และปี 2560 อัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 126.09 – ปี 2561 (ม.ค.-มิ.ย.) มีอัตราเติบโตร้อยละ 462.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 – การจัดตั้งธุรกิจการปลูกผัก : ผลไม้ สัดส่วน 70 : 30 – การจัดตั้งธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีก และการผลิต/แปรรูปผักและผลไม้ มีการเติบโตสอดคล้องกัน – การเติบโตของมูลค่าทุนจัดตั้งธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบปี 2560 กับป
ผลไม้นอกจากจะรสชาติอร่อย ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง และหากอยู่เมืองไทยด้วยแล้วผลไม้หาทานได้ง่ายตลอดทั้งปี คนสมัยก่อนยังนำผลไม้มาถนอมอาหารด้วยกรรมวิธีหลายอย่าง อาทิ ตากแห้ง หมักดอง เชื่อม แช่อิ่ม ฉาบ ส่วนปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่นำผลไม้มาดัดแปลงทำน้ำพริก แถมเป็นผงโรยข้าวทานแทนกับข้าวได้ด้วย พัฒนาน้ำพริกจากของเหลือ เจาะตลาดคนรุ่นใหม่ คุณทิวาพร ศิริ หรือ คุณแอม สาวเชียงใหม่วัย 25 ปี คือ เจ้าของไอเดียน้ำพริกผลไม้ AMZAP (แอมแซ่บ) เล่าที่มาว่า หลังจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ไปทำงานสร้างเขื่อนที่ประเทศลาวอยู่ประมาณครึ่งปี หลังจากนั้นลาออกด้วยเหตุผลว่าไม่อยากเสียเวลาทำงานประจำ อยากสร้างกิจการของตัวเอง นั่นคือ กิจการน้ำพริกผลไม้ เดิมทีบ้านของหญิงสาวดำเนินธุรกิจขายปลีก ขายส่งน้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว และแคบหมู มานานกว่า 15 ปี ซึ่งแต่ละวันจะผลิตแคบหมูราว 500 กิโลกรัม จุดเด่น คือ ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ส่วนน้ำพริกหนุ่มก็ไม่ใส่สารกันบูด ไส้อั่วมันน้อย ใส่สมุนไพรเยอะ ภายหลังที่คุณแอมลาออกจากงานประจำ เธอตั้งหลักด้วยการช่วยงานที่บ้านก่อน เลยเกิดไอเดียอยากขายแคบห
จัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเยอะมาก สำหรับ “มัลเบอร์รี” หรือ “ลูกหม่อน” ผลไม้ชนิดหนึ่งที่เมื่อสุกผลแล้วจะเป็นสีดำ รสชาติเปรี้ยวอมหวาน เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ลักษณะลำต้นตั้งตรง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบปลายใบแหลมยาว ซึ่ง “หม่อน” แต่เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ แถบเทือกเขาหิมาลัย ต่อมามีการนำมาปลูกในอินโดจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ แถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทยสามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่เช่นกัน ที่ตำบลหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มีสวนมัลเบอร์รี่ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ เจ้าของ คือ คุณสุรวุฒิ เหลืองขมิ้น เกษตรกรชายวัย 56 ปี เนรมิตพื้นที่บริเวณนี้ให้กลายเป็นสวนมัลเบอร์รี่ ด้วยต้นหม่อนจำนวน 300 ต้น จำหน่ายทั้งผลสดและแปรรูป นอกจากนั้นยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ รายได้แต่ละเดือนเกือบ 3 แสนบาทเลยทีเดียว คุณสุรวุฒิ เท้าความว่า เกิดมาในครอบครัวเกษตรกร ตอนเด็กๆ ปลูกสารพัดทั้งผักและผลไม้ อาทิ กล้วย ส้ม มะนาว มะพร้าว องุ่น ส่วนต้นหม่อนนั้นเริ่มปลูกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หรือราว พ.ศ.2550 โดยได้กิ่งพันธุ์หม่อน 1 ต้นมาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเ
อดีตข้าราชการตำรวจวัยเกษียณ เกิดที่นครศรีธรรมราช ผันตัวมาสวมบทบาทเกษตรกร และใช้ชีวิตอยู่ที่อำเภอเมืองจังหวัดระนอง ด้วยการปลูกปาล์ม ปลูกยางพารา ปลูกผักสวนครัว และบรรดาผลไม้สารพัด บนที่ดิน 170 ไร่ แถมลดต้นทุนด้วยการทำปุ๋ยใช้เอง จนเได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ปี 2555 ปัจจุบันเก็บผลผลิตขาย มีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัวไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2 แสน ด.ต.สมนึก โมราศิลป์ บ้านเลขที่ 1/9 บ้านห้วยปลิง หมู่ที่ 7 ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง เผยว่า ในอดีตเคยรับราชการตำรวจ และเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด เมื่อปี 2543 โดยส่วนตัวเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ ชอบเรื่องเกษตร จึงไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ช่วงแรกปลูกพืชระยะสั้นบนพื้นที่ 2 ไร่ อาทิ พริก แตงกวา มะเขือ ใบโหระพา กล้วย ขิง ข่า ต่อมาขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันราว 100 ไร่ รวมเบ็ดเสร็จ ปลูกปาล์มน้ำมันกว่า 2,200 ต้น ปาล์มน้ำมันของ ด.ต. สมนึก ถูกบำรุงดูแลรักษาเป็นอย่างดี ให้ผลผลิตเดือนละ 2 ครั้ง แถมยังได้มาตรฐาน GAP ก่อเกิดรายได้ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างคุ้มค่า และด้วยความต้องการอยากทำเกษตรผสมผสาน เกษตรกรคนเก่ง เลยปลูกยางพารา ผลไม้ ผักสวนครัว อย่างอื่นร
กลายเป็นประเด็นความปลอดภัยของผู้บริโภคขึ้นมาอีกครั้ง จากกรณีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำปลาที่จำหน่ายและผลิตในประเทศตั้งแต่ปี 2555-2558 โดยได้รวบรวมข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำปลาทั่วประเทศทั้งหมด 1,121 ตัวอย่าง จาก 422 ยี่ห้อ พบไม่ได้มาตรฐาน 410 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 36.57 ไม่เพียงแต่คุณภาพน้ำปลาเท่านั้น ขณะเดียวกันเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือไทยแพน (Thai PAN) ยังเก็บตัวอย่างผัก 10 ชนิด ได้แก่ พริกแดง กะเพรา ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี แตงกวา มะเขือเปราะ และมะเขือเทศ ผลไม้ 6 ชนิด คือ ส้มสายน้ำผึ้ง มะละกอ แตงโม แคนตาลูป ฝรั่ง และแก้วมังกร รวมทั้งผัก-ผลไม้ทั้งหมด 158 ตัวอย่าง ซึ่งมีทั้งที่มีฉลากรับรองมาตรฐาน อาทิ มาตรฐานปลอดภัยเกษตรอินทรีย์ ฉลากออร์แกนิคส์ ฉลากมาตรฐานคิว จีเอพี (Q GAP) คิว จีเอ็มพี (Q GMP) และที่ไม่มีฉลากรับรองมาตรฐาน พบว่าผัก-ผลไม้มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานถึงร้อยละ 56 โดยส้มและคะน้าเจอปัญหามากสุด เกิดคำถามว่า จากข่าวดังกล่าวไม่ใช่ครั้งแรก แต่เพราะเหตุใดจึงยังคงมีปัญหาเรื่องคุณภ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 กันยายน นายมาณพ ม่วงเลี่ยม อายุ 46 ปี ชาว ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ไปเลือกซื้อลองกองเพื่อนำมารับประทานที่บ้านที่บริเวณแผงจำหน่ายหน้าโรงรถจักร หรือถนนหน้าอาคารส่วนการคลัง เขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ สอบถามราคาพ่อค้าแม่ขายทราบว่า แบบร่วงหรือเป็นช่อเล็กๆ ราคากิโลกรัมละ 30-35 บาท หากเป็นแบบคัดช่อราคาจะอยู่ที่ 50-55 บาท ราคาจะขึ้นลงตามวันต่างกัน ลองกองแบบคัดช่อสวยงามเป็นลองกองใหม่ที่ตัดวันต่อวัน หรือข้ามวันเพียง 1 วัน จะรับประทานดีกว่าลองกองที่เป็นแบบร่วงและช่อเล็ก จึงตัดสินใจเลือกซื้อแบบคัดช่อเพราะรับประทานปีละครั้งก็อยากรับประทานสิ่งที่ดีหน่อย เลือกซื้อมา 5 กิโลกรัม เป็นเงิน 250 บาท “เมื่อนำมารับประทานที่บ้านพร้อมกับครอบครัว ลองกองที่ซื้อมาแบบช่อในราคาที่แพงที่สุดของแผงจำหน่ายแล้วปรากฏว่า เป็นลองกองแบบช่อเหมือนกัน แต่เป็นลองกองที่เป็นช่อเล็กแต่ใช้ยางวงรัดรวมกันให้เป็นช่อใหญ่ มองดูภายนอกแบบผิวเผินจะไม่เห็นว่าเป็นลองกองแบบยางมัดรวมกัน จนกว่าจะนำมารับประทานถึงจะเห็น จึงรู้ตัวว่าถูกหลอกจากพ่อค้าแม่ค้าที่คัดลองกองแบบช่อใหญ่ราคาสูงที่สุดมาให้รับประ