Video Content
“อย่าปล่อยชีวิตหรือลมหายใจของเราออกไปวันๆ หนึ่ง โดยไร้ประโยชน์” เชื่อว่าคนทุกคนไม่อยากที่จะเป็นลูกจ้างของใครไปทั้งชีวิต ต่างหาหนทางในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ถึงแม้จะประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นล้วนเป็นประสบการณ์ เป็นเสมือนรากฐานตั้งรับให้ตัวเองมีความเข้มแข็งมากขึ้น คุณพรเทพ สกลกาญจนพร วัย 78 ปี เจ้าของร้าน กินติมโฮมเมด ลาดพร้าว 122 อดีตพนักงานบริษัทเอกชนที่ลาออกทิ้งเงินเดือนหลายหมื่น มาเปิดบริษัทเป็นของตนเองกับเพื่อน และสุดท้ายล้มเหลว กลายเป็นหนี้ จนสุดท้ายต้องกลับเข้ามาสู่วงโคจรของการเป็นลูกจ้างอีกห เรื่องราวชีวิตหลังเกษียณ ต้องเผชิญกับปัญหาที่หลายหลากถาโถมเข้ามาไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ว่าจะปัญหาทางการเงิน ปัญหาทางครอบครัว จนสุดท้ายจำต้องออกจากบ้านมา พร้อมเงินก้อนสุดท้ายในชีวิต อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก
จากสูตรดั้งเดิมกุยช่ายตลาดพลู สู่แบรนด์ “กุยช่ายมหานคร” จุดเด่นคือ แป้งบาง ไส้แน่น พัฒนาให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ที่รักสุขภาพ โดยจะเน้นเดินสายออกบูธ ขายตามงานอีเวนต์ต่างๆ จนสามารถทำยอดขายพีกสุด หมื่นลูกต่อวัน! เบื้องหลังความสำเร็จคือ คุณซัน-ปฏิพล สถาวรวิจิตร อดีตวิศวะไอที ที่ตัดสินใจลาออกจากงาน กลับมาต่อยอดธุรกิจครอบครัว และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านคอนเทนต์สุดปัง ด้วยการเต้นแบบจัดเต็ม จนกลายเป็นไวรัล ยอดวิวสูงถึง 10 ล้านวิว ทำให้เขาได้รับฉายาว่า “กุยช่ายเอวหวาน” ที่ใครเห็นก็ต้องจำได้
“ถ้าตราบใดความเชื่อในเทพเจ้ายังมีอยู่ งิ้วจะไม่ตายจากประเทศไทยเราไปแน่นอน” เบื้องหลังม่านชีวิตของคนงิ้ว มีเรื่องราวที่น่าสนใจ และน่าเห็นใจไม่แพ้กัน ในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปชมการแสดงงิ้วคณะไซ้ หย่ง ฮง และได้นั่งพูดคุยกับ คุณต๋อง-ธัชชัย อบทอง อายุ 58 ปี ผู้จัดการคณะงิ้วไซ้ หย่ง ฮง และมีประเด็นหนึ่งที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องสะท้อนสังคมได้ดี และชี้ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น จึงอยากจะนำมาตีแผ่ให้กับผู้อ่านได้รับรู้ร่วมกัน
ไวรัลหนักมาก! “สุกี้พรศิริ” ร้านสตรีตฟู้ดที่เริ่มต้นจากซอสสูตรพิเศษ ต่อยอดสู่การขายสุกี้ เมนูที่ช่วยชูรสชาติของวัตถุดิบและรสชาติของซอสได้อย่างดีเยี่ยม โดย เชฟอั้ม-พีชญา สุขวิบูลย์ และเพื่อนๆ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร้านอาหาร Flat Marble ร่วมกันสร้างร้านนี้ขึ้นมา แม้จะเปิดให้บริการแค่วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ 3 ทุ่มถึงเที่ยงคืน ตามข้อจำกัดของสถานที่ตั้งร้านซึ่งเป็นลานจอดรถ แต่ “สุกี้พรศิริ” ยังขายดี มีลูกค้าต่อคิวยาว จนต้องเพิ่มเตาผัด และมีคิวยาวพีกสุด 130 คิว
จากอดีตเจ้าของร้านสเต๊ก “อร่อยทะลุโลก” ที่เผชิญกับปัญหาโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ยอดขายลดลง เขาจึงต้องหาลู่ทางใหม่ ซึ่ง “พิซซ่า” ก็ตอบโจทย์มากที่สุด ณ ขณะนั้น จุดเด่นของร้าน Pizza Twenty Plus เน้นขายเป็นพิซซ่าสไตล์นิวยอร์ก ราคาถูก เพียงชิ้นละ 20 บาท อีกทั้งยังมีรสชาติที่ถูกปากคนไทย จนทำให้ลูกค้าหลายคนยอมต่อคิวรอหลายชั่วโมง เพื่อที่จะได้ลิ้มลองพิซซ่าสไตล์โฮมเมดของ คุณวิสันต์ เดชผล เรียกได้ว่าหลังจากได้รับพลังรีวิวบนโซเชียล ทำให้ร้านเป็นกระแส มีคนรู้จักมากขึ้น จนสามารถสร้างรายได้พีกสุดหลักแสนต่อเดือน! พิกัด : Pizza Twenty Plus สุขุมวิท 93 แยก 5 ซอย 22 (ปากซอยพึ่งมี 50/22) เวลาเปิด : 17.00-24.00 น. (หยุดวันพุธและวันเสาร์)
‘สลัดไฮโซ’ จากร้านเล็กๆ เริ่มต้นขาย 20 กล่อง สู่ยอดขาย ‘หลักล้าน’ ต่อเดือน ‘สลัดไฮโซ – Salad Hiso’ มีจุดเริ่มต้นมาจาก คุณหนึ่ง-สิรีสุรีนันท์ จงศิริกุล ที่มีการใช้วัตถุดิบจากครัวบ้าน ทดลองทำน้ำสลัด และเริ่มขายวันแรกเพียง 20 กล่องเท่านั้น จนปัจจุบันผ่านมา 20 ปี ได้มีการส่งต่อธุรกิจสู่ทายาทรุ่น 2 คุณแพร-ณัฏฐณิชชญา วงศ์วัชระกุศล โดยคุณแพรได้เข้ามาช่วยพัฒนาแบรนด์ให้ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น มีการเพิ่มช่องทางการขายในออนไลน์ เพิ่มเมนูดีลิเวอรี และต่อยอดจากร้านรถเข็นคีออส ไปสู่การทำเมนูพรีเมียม ซึ่งทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้สลัดไฮโซแตกต่างจากแบรนด์อื่น นั่นคือ ‘น้ำสลัด’ ที่มีให้เลือกมากถึง 20 สูตร และหนึ่งในแนวคิดสำคัญของสลัดไฮโซ คือการ ‘ไม่เก็บค่าแฟรนไชส์’ ใครอยากเปิดร้านสลัด สามารถซื้อน้ำสลัดจากสลัดไฮโซไปใช้ได้เลย ถึงแม้ว่าปัจจุบันสลัดไฮโซจะมีการขยายธุรกิจทำเป็นครัวกลาง เพื่อให้ดูเป็นระบบมากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงเสน่ห์ ‘ความโฮมเมด’ กระบวนการทำอย่างพิถีพิถันแบบดั้งเดิมเอาไว้เช่นกัน สำหรับใครที่อยากต่อยอดธุรกิจ หรือหารายได้เสริม สลัดไฮโซมีให้ครบทุกอย่าง ทั้งน้ำสลัด วัตถุดิบ
เนรมิตพื้นที่เช่าเล็กๆ เป็น ‘ฟาร์มดอกไม้กินได้’ ต่อยอดเวิร์กช็อป สร้างรายได้และความสุข “เราทำเกษตรแบบเช่าพื้นที่ ทุกคนบอก ‘บ้า’ หรือเปล่า แต่เรามองว่า มันคือการเรียนรู้ คือความสุข ถ้ารอจนเกษียณ หรือรอจนมีที่ของตัวเอง คงไม่ได้ทำ ดอกไม้เราปลูกไว้ชม แต่ก็สามารถสร้างรายได้ให้เราได้ แล้วก็ได้เลี้ยงลูกในสวน” เรื่องราวของ คุณสิรินทร์ กล้วยพนาวัน จาก Sirin garden & edible flower ผู้เปลี่ยนพื้นที่เช่ารกร้าง เป็นฟาร์มดอกไม้กินได้ เพราะอยากสร้างพื้นที่ให้ลูกๆ ได้วิ่งเล่น ได้เลี้ยงสัตว์ และได้ละจากหน้าจอ มาใช้เวลาอยู่กับครอบครัวท่ามกลางธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งการปลูกดอกไม้กินได้ ยังเป็นอีกหนึ่งอาชีพสร้างรายได้ให้กับเธอ โดยเก็บผลผลิตส่งให้ร้านอาหาร คาเฟ่ หรือร้านกาแฟ ได้ซื้อไปตกแต่งขนมและเมนูต่างๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้เมนูนั้นได้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ ความรู้ที่เธอมี ประกอบกับมองเห็นโอกาส ดอกไม้กินได้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมากมาย จึงเปิดเวิร์กช็อปสอนปลูกดอกไม้กินได้ เพื่อแบ่งปันความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ และนำไปสร้างรายได้เหมือนกับเธอ