

Related Posts
สิบตำรวจตรีบุญส่ง ทศพร ชื่อเล่น “ ปลัดแก้ว” วัย 53 ปี ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากน้อย (โทร 0877044453) และแบ่งเวลาทำเกษตรเป็นรายได้เสริมโดยลงทุนทำสวนกล้วยหอมทอง ปลูกแบบผสมผสานร่วมกับพืชผักและไม้ผลอื่นๆ ในพื้นที่รังสิตคลอง 13 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี มีใจรักในอาชีพเกษตร ปลัดแก้ว เล่าให้ฟังว่า เดิมทีผมเคยรับราชการตำรวจอยู่ในกรุงเทพตำรวจ 191 ต่อมาในปี 2540 ผมสอบปลัดอบต. ได้ในจังหวัดปทุมธานี เมื่อ 10กว่าปีก่อน กล้วยหอมขายได้ราคาดี ผมจึงสนใจปลูกกล้วยหอม ในบริเวณรังสิตคลอง 13 แห่งนี้ ปลัดแก้วปลูกกล้วยหอมเป็นพืชเชิงเดี่ยวบนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ ช่วงแรกๆ ปลูกกล้วยหอมขายได้ราคาดี แต่การปลูกกล้วยหอมมีอุปสรรคสำคัญ คือ ปัญหาภัยธรรมชาติจาก ลมพายุซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ “ ปัญหาลมพายุมา กล้วยเราเสียหาย เป็นความเสี่ยงที่เกษตรกปลูกกล้วย จะท้อในเรื่องนี้กัน ฝนตก ลมมาก็จะนั่งพะวงกันแล้ว กลัวยจะเป็นยังไงน้อ บางทีถ้าลมมาหนักๆ ผมออกจากสวนเลยเพราะว่ามันทำใจไม่ได้ จะรู้ผลตอนเช้าเมื่อลูกน้องลงดูสวนกล้วย จะรู้ว่าต้นกล้วยล้มมากน้อยขนาดไหน ต้นก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตระหนักดีถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นโจทย์ท้าทายในการวิจัยปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วลิสงให้ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเน้นคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูก ต้านทานต่อโรคแมลงศัตรู และให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นพืชทางเลือกในการพลิกฟื้นภาคการเกษตรของไทย ให้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน โดยผลงานปรับปรุงพันธุ์พืชดังกล่าว ประกอบด้วย ถั่วลิงสงสายพันธุ์ “เคยู อาร์ด้า 20 (KU ARDA 20) ที่ให้ผลผลิตสูง 393 กก./ไร่ อายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 100-110 วัน มีจำนวนเมล็ด 2-4 เมล็ด/ฝัก หนัก 100 เมล็ด 53 กรัม ต้านทานโรคดี สามารถนำไปแปรรูปเป็นขนมอบกรอบ ถั่วฝักสด และถั่วต้ม เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเดี่ยวพันธุ์สุวรรณ 5720 (sw 5720) เมล็ดเป็นสีส้มเหลือง และกึ่งหัวแข็ง ผลผลิตเฉลี่ยที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 1,346 กก./ไร่ (ในดินนาฤดูแล้ง) และประมาณ 1,785 กก./ไร่ (ในดินไร่) อายุเก็บเกี่ยว 110–120 วัน เปอร์เซ็นต์การกะเทาะสูง ประมาณ 82 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานโรคราน้ำค้าง
วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน บอกหมดเปลือก เคล็ดไม่ลับ “สูตรน้ำหมักปลา” เป็นแหล่งสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ดิน บำรุงต้น ช่วยให้ออกดอกเร็ว บำรุงต้นก่อนออกดอกช่วยให้ออกดอกเร็ว เก็บผลผลิตได้เร็ว ซึ่งการใส่น้ำหมักปลาลงดินจะช่วยให้จุลินทรีย์ในดินย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ได้เร็วยิ่งขึ้น ทำให้ปลดปล่อยธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น ได้ผลผลิตปริมาณที่มากขึ้นและมีคุณภาพดี ช่วยให้ช่อดอกมีความยาวเพิ่มขึ้นและช่วยในการแตกยอดใหม่ของพืช แต่ถ้าใช้ในอัตราเข้มข้นก็จะทำหน้าที่ปราบศัตรูพืชได้ รวมถึงพืชสามารถใช้กรดอะมิโนในการผลิตฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซินได้ วิธีสังเกตว่าจะนำน้ำหมักมาใช้ได้ ระยะที่ 1 สังเกตน้ำหมักจะออกเข้มข้นเป็นฟองใหญ่ไม่แตกง่าย ระยะที่ 2 ฟองจะค่อยๆ เล็กและแตกง่ายจะมีกลิ่นหอม ระยะที่ 3 ฟองจะค่อยๆ เล็กลงมากมีกลิ่นน้ำส้มคล้ายกลิ่นแอลกอฮอล์และฟองจะละเอียดมากขึ้น วิธีใช้ : พ่นทางใบ ใช้ปุ๋ยน้ำ 1 ลิตรต่อน้ำ 100-150 ลิตร ปริมาณการพ่น 7-10 วันต่อครั้ง และใช้ราดลงดิน ราดโคน ใช้ปุ๋ยน้ำ 1 ลิตรต่อน้ำ 50 ลิตร ปริมาณการใช้อย่างน้อยปีละ 3-4 ครั้ง หรือ 30-40 วันต่อครั้ง ข้อแนะนำ : กรณีใช้ปลาทะเล ก่อนหมักให้ล้างปลาด
หลายคนต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน หลายคนพุ่งเป้าไปที่การผลิตอาหารไว้กินเองแบบง่ายๆ อย่างเช่นการปลูกผักสวนครัวไว้ข้างบ้าน และผักที่อยู่คู่ครัวไทยที่ขาดไม่ได้เลยคือ “ผักชี” ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มอรรถรสให้กับรสชาติอาหาร เทคโนโลยีชาวบ้านมีเทคนิคการปลูกผักชีในกล่องโฟมมาฝาก เป็นวิธีที่ทำตามได้ง่าย ตอบโจทย์คนมีพื้นที่น้อย ก็สามารถปลูกผักชีไว้แบบสบายๆ อุปกรณ์ 1. กล่องโฟม 2. กระถางพลาสติก ขนาด 3 นิ้ว 3. ขุยมะพร้าว 4. ถุงรองกล่องโฟม 5. ปุ๋ย AB วิธีการปลูก 1. นำขุยมะพร้าวที่เตรียมมาพรมน้ำให้ขุยมะพร้าวมีความชื้นพอเหมาะ ไม่แฉะ และไม่แห้งเกินไป 2. เสร็จแล้วตักขุยมะพร้าวใส่กระถางที่เตรียมไว้ โดยให้เว้นพื้นที่จากขอบกระถางไว้ 1 เซนติเมตร สำหรับไว้หยอดเมล็ด จากนั้นนำเมล็ดผักชีโรยลงในกระถางละ 15 เมล็ด แล้วโรยขุยมะพร้าวกลบทับเมล็ดอีกชั้น 3. นำไปวางไว้ในโรงเรือนที่มีซาแรนพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ รดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้ลังโฟมครอบปิดให้สนิท ทิ้งไว้ 4 วัน ในระหว่างนี้ให้เปิดดูทุกวัน เพื่อสังเกตว่าขุยมะพร้าวแห้งเกินไปหรือไม่ ถ้าแห้งก็ให้รดน้ำ แต่ถ้าขุยมะพร้าวยังมีความชุ่มชื้นอยู่ก็ไม่ต้องรด เพร
การเตรียมดินสำหรับการปลูกผักสวนครัวและผักสลัด ของสวนพี่โจ๊ก เจ้าของเพจ : ผักปลอดสารพิษ บ้านน้องปลายฝน จะมีสูตรผสมดินปลูกแบบเดียวกัน ซึ่งเป็นสูตรที่คิดค้นขึ้นมาเองจากประสบการณ์ที่สะสมมา โดยส่วนผสมของดินที่ใช้ปลูกมีดังนี้ 1. แกลบดิบ 2. แกลบดำ 3. ขี้วัว และ 4. ดินร่วน นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วหมักดินทิ้งไว้อย่างต่ำ 15 วัน แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำว่าให้หมักดินทิ้งไว้อย่างน้อย ประมาณ 1 เดือน โดยในระหว่างการหมักทุกๆ 5 วัน จะมีการเทจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงลงไปรดในกองดินหมักด้วย ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีการหมักดินก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกให้ผลดีมากขึ้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชเป็นไปในแนวทางที่ดี และในอีกแง่หนึ่งก็เพื่อกำจัดสิ่งที่ตกค้างอยู่ภายในดินที่ไม่ต้องการให้ย่อยสลายหายไป พืชได้สารอาหารที่ครบถ้วน การปลูก นำดินที่หมักไว้มาลงแปลงปลูก จากนั้นให้นำฟางมาคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น ซึ่งในส่วนของผักสวนครัวค่อนข้างที่จะมีความแข็งแรงมากกว่าผักสลัดอยู่แล้ว จะใช้วิธีการหว่านเมล็ด แต่ถ้าเป็นผักสลัด จะต้องมีการเพาะต้นกล้าก่อนที่จะลงแปลงปลูก เพื่อให้ต้นแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี อย่าให้ขาดน้ำ ขาดอาหาร
กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พายุฤดูร้อนมักเกิดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย เป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรเฝ้าระวังและติดตามพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ชาวสวนเตรียมพร้อมป้องกันบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยระยะก่อนการเกิดพายุฤดูร้อน ควรปลูกต้นไม้บังลม เช่น ไม้ไผ่ กระถินณรงค์ ช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงได้ ตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือไม่ให้ผลผลิตออก สำหรับต้นไม้ผลที่มีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลง ใช้เชือกโยงกิ่งและต้น หรือใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้นเพื่อช่วยพยุงต้น และเก็บผลผลิตที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหาย และลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง ระยะหลังจากเกิดพายุฤดูร้อน ควรฟื้นฟูสวน โดยตัดแต่งกิ่งฉีกหัก หรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินในบริเวณสวนแห้ง ไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวน ขณะที่ดินยังเปียกชื้น เมื่อดินแห้งให้พรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช และใส่ปุ๋ยบำรุงต้น ขุดหรือปาดดินโคลนออกจา