กรมวิทยาศาสตร์บริการ
วศ. ให้บริการทดสอบสารฆ่าเชื้อและผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์กว่า 800 ตัวอย่าง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ต้นปี 2563 – มกราคม 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อในปริมาณที่สูงและเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการเร่งการผลิตและจัดเตรียมวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน โดยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ผู้ประกอบการส่งมาทดสอบนั้น มีทั้งชนิดที่ผลิตใช้เองภายในประเทศและชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยแต่ละชนิดจะมีจุดประสงค์ในการฆ่าเชื้อที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อให้เหมาะสมกับชนิดและถูกวิธีในการใช้งาน ส่วนผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เพื่อทำความสะอาด และลดจำนวนเชื้อโรคให้อยู่ระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ไม่สามารถทำให้ปราศจากเชื้อโรคหรือไม่มีเชื้อโรคได้ ทั้งนี้ ในรอบ 1 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึง มกราคม 2564 ช่วงการระบาดของไวรัส โควิด-19 วศ. โดยกองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค ซึ่งมีความสามารถเชี่ยวชาญในการทดสอบหาปริมาณสา
วศ. ร่วมกับจังหวัดสมุทรสงคราม สนง. สภาเกษตรกรแห่งชาติ แก้ปัญหาการปล่อยน้ำเสีย ผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาวผลิตมะพร้าวขาวทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ เปิดเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียต้นทุนต่ำเป็นระบบต้นแบบ สำหรับผู้แปรรูปมะพร้าวขาวช่วยลดมลพิษสิ่งแวดล้อม นำร่องที่จังหวัดสมุทรสงคราม ใน 3 โมเดล ผลงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการแปรรูปมะพร้าวเป็นมะพร้าวขาว 3 แบบ แบบดัดแปลงจากร่องสวน แบบบ่อซีเมนต์ แบบถังสำเร็จรูป ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีผู้ประกอบการแล้ว 7 สถานประกอบการ มีผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 150 คน ปี 2564 จะเพิ่มอีก 3 สถานประกอบการ นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย สร้างรายได้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจปีกว่า 20,000 ล้านบาท มีการส่งออกกะทิ ในปี 2562 มากกว่า 1.2 ล้านบาท และไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีปริมาณผลิตมะพร้าวมากเป็น อันดับ 6 ของโลก โดยอันดับ 1 เป็นประเทศอินโดนีเซีย ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งหมดจำนวน 1,299,799 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เดินทางไปร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 20 จังหวัดร้อยเอ็ด ณ มณฑลทหารบกที่ 27 ค่ายประเสริฐสงคราม ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเทศกาลดังกล่าวได้จัดขึ้นต่อเนื่องทุกปีเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ดที่ทั่วโลกต่างกล่าวถึงคุณค่าและคุณภาพของข้างหอมมะลิโดยเฉพาะที่ผลิตจากพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้กว่า 9 แสนไร่ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ และมหาสารคาม เป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งมีพัฒนาการตั้งแต่กระบวนการผลิตให้ได้คุณภาพ การแปรรูปตั้งแต่ขั้นต้นไปสู่ขั้นสูงที่นำนวัตกรรมมาต่อยอดแบบครบวงจร ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้นำผลงานผลิตภัณฑ์จากโครงการยกระดับสินค้า OTOPร่วมแสดงนิทรรศการ จำนวน 5 ผลงาน ได้แก่ แป้งชุบทอดกรอบจากแป้งข้าวหอมมะลิ เครื่องดื่มน้ำข้าวผสมเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เทคโนโลยีการผลิตอาหารขบเคี้ยวจากปลายข้าวไขมันต่ำอบกรอบด้วยไมโค
4 หน่วยงานกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.), สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มอกช.) ผนึกกำลังเสริมสร้างประสิทธิภาพ ด้านการเพิ่มผลิตภาพ การมาตรฐานและนวัตกรรมเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ แก้ปัญหาความซ้ำซ้อนและขาดการประสานงานหน่วยงาน จับมือเซ็น MOU ลงนามข้อตกลงความร่วมมือการรับรองระบบงานในประเทศไทยแบบเครือข่าย Single platform เป็นรูปธรรม นำระบบการรับรองแบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้พัฒนาบริหารจัดการและพัฒนาผู้ตรวจประเมินให้ได้มาตรฐานเดียวกัน นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการรับรองระบบงานในประเทศไทยแบบเครือข่าย Single platform 4 หน่วยงาน ที่ประกอบด้วย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวง
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม สำนักเทคโนโลยีชุมชน โดย นางปฏิญญา จิยิพงศ์ นางสาวจันทร์ฉาย ยศศักดิ์ศรี นางสาวเจนจิรา จันทร์มี และ นางสาวการ์ตูน เพ็งพรม นักวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อให้คำปรึกษาเชิงลึกและร่วมปรึกษาหารือกับผู้ประกอบการอาหารในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปในปีงบประมาณ 2564 วศ. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมวิสาหกิจรายย่อยเพื่อยกระดับสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐานในพื้นที่ภูมิภาค มีแผนลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน จำนวน 2 ราย คือ บริษัท ซองเดอร์ ไทยออร์กานิคฟูด จำกัด และวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ณ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จากการลงพื้นที่ ณ บริษัท ซองเดอร์ ไทยออร์กานิคฟูด จำกัด คณะทำงานของ วศ. ได้หารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากนั้นได้เยี่ยมชมโรงงาน ซึ่งบริษัทเป็นผู้ผลิตอาหารแปรรูป เช่น เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูป สแน็คข้าว โจ๊กซีเรียลอาหาร
กรมวิทยาศาสตร์บริการ เดินหน้านโยบายการสร้างมูลค่าเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าและบริการให้ผู้ประกอบการในประเทศ กระตุ้นตลาดทั้งในประเทศให้เกิดการยอมรับสินค้าบริการที่ได้มาตรฐาน สร้างความพร้อมการแข่งขันในเวทีโลกและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ล่าสุดมอบใบรับรองระบบห้องปฏิบัติการ การทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และมาตรฐาน ISO/IEC 17043 ให้ผู้ประกอบการ 42 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ที่มีห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองฯ แล้ว 234 ห้องปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้กับห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย นางพจมาน ท่าจีน ผู้อำนวยการสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กล่าวรายงาน กรมวิทยาศาสตร์บริการ เดินหน้านโยบายการสร้างมูลค่าเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัย
วันที่ 28 ตุลาคม 2563 ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร วศ. เข้าร่วมพิธีเปิดงาน Thailand LAB INTERNATIONAL 2020 และ Bio Asia Pacific 2020 คอนเซ็ปใหม่เพื่อรับมือกับการระบาดของโรคโควิด 19 พร้อมฉลองครบรอบ 10 ปีซึ่งจัดงานในรูปแบบ Hybrid Edition โดยมีศาสตราจารย์ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า “วศ. เข้าร่วมแสดงผลงานนิทรรศการด้านการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญ ผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง บริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณภาพ ด้านห้องปฏิบัติการงานวิเคราะห์ ทดสอบวัสดุก่อสร้าง สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า พร้อมทั้งส่งนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อการควบคุมคุณภาพสินค้าอาหาร” “ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมการทดสอบความชำนาญ (PT)” และ“ยกระดับการจัดการสารเคมีและห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับส
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดย ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารงานระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 ครั้งที่ 2/2563 พิจารณาแผนการปฏิบัติงานระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ประจำปีงบประมาณ 2564 และทบทวนนโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์คุณภาพ เพื่อพัฒนาการบริการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการทั้ง 4 ขอบข่าย ทั้งนี้ วศ. ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 โดยได้รับการตรวจติดตามการรักษาระบบ จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) เมื่อวันที่ 3-5 สิงหาคม 2563 ครอบคลุม 4 ขอบข่าย ได้แก่ 1. การบริการหอสมุดและการบริการสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. การบริการฝึกอบรมเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการเคมี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และฟิสิกส์ 3. การบริการถ่ายทอดเทคโนโลยี 4. การบริการรับ-ส่งตัวอย่างและรายงาน
23 พฤษภาคม 2562 นางสาวนงนุช เมธียนต์พิริยะ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร เป็นประธานเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประยุกต์ใช้การทดสอบทางประสาทสัมผัสในการพัฒนานวัตกรรมอาหาร” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาหารมีการพัฒนานวัตกรรมอาหารที่มีรสชาติ เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเสริมสร้างองค์ความรู้เทคโนโลยีชั้นสูงในการประเมินคุณภาพอาหาร เพื่อประยุกต์ใช้พัฒนาสินค้านวัตกรรม โดยมี นางจิราภรณ์ บุราคร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ เป็นวิทยากร ซี่งมีผู้เข้าอบรมจำนวน 30 คน ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2562 ประกอบด้วย ผู้ประกอบการอาหาร หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ณ ห้อง 519 ชั้น 5 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ นางสาวนงนุช กล่าวว่า การพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มเป้าหมาย การที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารขึ้นกับปัจจัยหลายด้าน เช่น รสชาติ ราคา รูปลักษณ์ เป็นต้น โดยการรับรู้รสชาติอาหารของผู้บริโภคแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เช่น อายุ เพศ ภูมิกำเนิด ประสบการณ์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคชา
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดหลักสูตรอบรมใหม่ 3 หลักสูตร สำหรับนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ ได้แก่ 1. หลักสูตร มอก.2677 : ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี 2. หลักสูตรสถิติสำหรับโปรแกรมการทดสอบความชำนาญ 3. หลักสูตรแนวทางการจัดการความเสี่ยงสำหรับระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 หลักสูตรอบรมที่ไม่ควรพลาด รับจำนวนจำกัดหลักสูตรละ 40 คน เท่านั้น !! สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่ http://blpd.dss.go.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม หลักสูตรที่ 1 หลักสูตร มอก. 2677 : ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี มุ่งเน้นเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีตามมาตรฐานปัจจุบันของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 2677-2558 กำหนดจัดอบรมระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2562 หลักสูตรที่ 2 หลักสูตร สถิติสำหรับโปรแกรมการทดสอบความชำนาญ มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจสถิติที่ใช้สำหรับโปรแ