กระทรวงศึกษาธิการ
1 เมษายน – บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) โดย นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสาย – สื่อสารองค์กร เข้ารับรางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการประจำปี 2564” ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะองค์กรที่ทำคุณประโยชน์และเป็นแบบอย่างที่ดีในการสนับสนุนงานด้านการศึกษาโดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีมอบ ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี บ้านปูได้ดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านการพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญได้แก่ โครงการสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับโรงเรียน 6 แห่งในภาคเหนือ โครงการสนับสนุนการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ได้แก่ โครงการสานอนาคตการศึกษาและโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา สำหรับโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้าแก่โรงเรียนที่ขาดแคลน รวมไปถึงการสนับสนุนทุนการศึกษาและการให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาเมื่อเกิดภัยพิบัติ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาส
เป็นผู้หญิงเก่งอีกคนของภาคอีสาน ที่มีรางวัลการันตีมากมาย ล่าสุด คุณพิมพา มุ่งงาม วัย 53 ปี เกษตรกรจากบ้านดวน อำเภอน้ำอ้อม จังหวัดยโสธร เจ้าของ “สวนพ่อพอเพียง” ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 9 ด้านเกษตรกรรม (ข้าวหอมมะลิอินทรีย์) ประจำปี 2561 ขณะที่ก่อนหน้านี้ ปี 2558 คุณพิมพา มุ่งงาม ได้รับรางวัล “คนดีศรีเมืองยศ” สาขาส่งเสริมองค์กรชุมชนเข้มแข็ง จากผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร และในปีเดียวกันยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “ปราชญ์ชาวบ้านดีเด่น ด้านเกษตรกรรม” จากสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดยโสธร เปิดสวนพ่อพอเพียง เป็นศูนย์เรียนรู้ สาเหตุที่ คุณพิมพา ได้รับรางวัลเหล่านี้ เพราะนอกจากเจ้าตัวจะทำเกษตรอินทรีย์จากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ตั้งแต่ปี 2540 จนประสบความสำเร็จแล้ว ยังได้เผื่อแผ่ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ตรงส่งต่อไปถึงเกษตรกรในพื้นที่และผู้คนที่สนใจทั่วไปด้วย โดยใช้ “สวนพ่อพอเพียง” ในเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาท
สำนักงาน กศน. เป็นหน่วยงานที่มุ่งสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นภาพรวมของการศึกษาตลอดชีวิตแล้ว ยังมุ่งส่งเสริมฝึกทักษะด้านการพัฒนาอาชีพ ให้ประชาชนในชุมชนทั่วประเทศ ภายใต้โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เพื่อให้แต่ละชุมชนผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนนั้นๆ เป็นรายได้เสริม หรืออาจจะเป็นรายได้หลักของครอบครัวในอนาคต เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่แหล่งเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ตามวิถีพ่อ วิถีพอเพียง สำนักงาน กศน.อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและสร้างช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์/สินค้า กศน.พรีเมี่ยม ผ่านช่องทางออนไลน์ “Signature Market By ชุมชน กศน.” สานต่อภูมิปัญญาล้ำค่าจากท้องถิ่นไปสู่ตลาดโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน เติมเต็มความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสู่ชุมชน ปัจจุบัน สำนักงาน กศน.จังหวัดปทุมธานี ภายใต้การนำของ นางวิบูลผล พร้อมมูล ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดปทุมธานี ได้เดินหน้าส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย และผลิตภัณฑ์สินค้าจากการฝึกอ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พัฒนานวัตกรรม ศึกษาวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีการใช้พืชสมุนไพรไทยในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชน “กัญชาและกัญชง” จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีทั้งโทษและประโยชน์ ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ภายใต้การกำกับของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม พบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการนำกัญชาและกัญชงมาใช้ประโยชน์ จากนโยบายดังกล่าว นำไปสู่การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อนำความรู้ “กัญชาและกัญชง” ไปใช้จัดการเรียนการสอน ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ กระทรวงสาธารณสุข โดยมี ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนดำเนินการพัฒนาคุณภาพวิชาการ การวิจัย การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน “กัญชาและกัญชง” ให้กับนักศึกษาและประชาชน ทั้งนี้ สำนักงาน กศน. มอบหมายให้สำนักงาน กศน.กทม. ร่วมกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ จัดทำหลักสูตรรายวิ
ทุกวันนี้ พื้นที่ชนบทห่างไกลความเจริญ ที่การคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ภูเขาสูงทั่วประเทศ มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาผ่านช่องทาง “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และการทำงานด้วยความเสียสละของคุณครูอาสา กศน. หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ครูดอย” ที่ตั้งใจทำงานช่วยเหลือเด็กเยาวชนและชาวบ้านที่ด้อยโอกาสให้สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชน ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน พร้อมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่นได้ ปี 2523 กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ในสมัยนั้น ได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) ขึ้น โดยส่งครูอาสาสมัคร กศน. หรือ ครูดอย จำนวน 1-2 คน ไปทำงานอยู่กับชาวเขาในชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างพลเมืองที่ดีของชาติ ครูอาสาสมัคร กศน.จะทำหน้าที่ให้บริการการศึกษาและพัฒนาชุมชนแก่ผู้ใหญ่ในเวลากลางคืน และสอนเด็กตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 ในตอนกลางวัน ปรากฏว่า โครงการ ศศช. ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นที่ประทับใจของคนไทยและต่างชาติ ทำใ
จังหวัดกระบี่ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงามมากมายที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือน ทั้งหาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการังที่งดงาม มีถ้ำ และเกาะน้อยใหญ่ กว่า 130 เกาะ เช่น เกาะลันตา เกาะพีพี เกาะจำ เกาะปู ฯลฯ ส่งผลให้ ปี 2562 จังหวัดกระบี่ มีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 115,176 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ รองจาก กทม. ภูเก็ต และชลบุรี ด้านการศึกษา จังหวัดกระบี่ ก็โดดเด่นไม่แพ้ใคร ก่อนสิ้นปี 2563 รัฐบาลจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2563 ณ กลุ่มอันดามัน ในโอกาสนี้ ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่ติดตามการจัดการศึกษา กศน.จังหวัดกระบี่ พบว่า สำนักงาน กศน.จังหวัดกระบี่ ดำเนินงานตามนโยบาย กศน. WOW ครบถ้วนในทุกมิติ ทั้งกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาตามอัธยาศัย ช่วยพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และประชาชน ทุกช่วงวัย ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในปี 2562 จังหวัดกระบี่ ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นเมืองต้นแบบวัฒนธรรมการอ่านประเภทเครื
เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเวทีนำเสนอนโยบาย “คลังปัญญาผู้สูงอายุ เพื่อรวมพลังภาคีและสร้างชุมชนสุขภาวะ” โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบคลังปัญญาผู้สูงอายุ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการความรู้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการสื่อสาร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา เพื่อขับเคลื่อนสู่สังคมสุขภาวะ การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ใช้นโยบาย กศน. Wow ด้านที่ 4 คือ การเสริมสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่าย Good Partnership ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.) การทำงานร่วมกันในครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักคือ นำเอาศักยภาพของบุคลากรและจุดแข็งของแต่ละหน่วยงานมาร่วมกัน จะดำเนินการร่วมกับเครือข่ายโรงเรียน ชุมชน ผู้สูงอายุ และศูนย์เรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อสนับสนุนให้ศูนย์เรียนรู
ทุกวันนี้ การจัดการศึกษาอาชีพมีความสำคัญมาก เพราะช่วยพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการประกอบอาชีพ ทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงาน สร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ทำให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง มั่งคั่ง และมีงานทำอย่างยั่งยืน สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ของคนไทยทุกช่วงวัย ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เปิดโอกาสให้คนไทยได้เรียนรู้อย่างอิสระ ทุกที่ ทุกเวลา ทุกมิติ นำไปต่อยอดสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างสุขให้แก่ชีวิตได้อย่างยั่งยืน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดระยอง (สำนักงาน กศน.จังหวัดระยอง) ได้พัฒนาครู และบุคลากรของ กศน.อย่างสม่ำเสมอ โดยจัดอบรมครูผู้สอนทางระบบออนไลน์ ทั้งในเรื่องหลักสูตรพื้นฐาน และหลักสูตรอาชีพ ตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ New Normal เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สอดคล้องกับนโยบายของ ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมส่งเสริมให้ ครู กศน.นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้พัฒนาระบบการเรียนออนไลน์ ผ่านแอปพล
“จังหวัดอ่างทอง” เป็นที่ราบลุ่ม มีลักษณะเป็นแอ่งรับน้ำ สภาพภูมิประเทศเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น ทำนา ปลูกอ้อย ทำสวนผลไม้ ปลูกพืชผัก เลี้ยงปลา และฟาร์มปศุสัตว์ ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมมีจำนวนน้อย เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ชาวอ่างทองนิยมใช้เวลาว่างผลิตสินค้าหัตถกรรมเป็นรายได้เสริม ได้แก่ สินค้าดอกไม้ประดิษฐ์ (ตำบลบ้านพราน อำเภอแสวงหา) ตุ๊กตาชาววัง ( ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก) ผ้าทอมือ (ตำบลสระแก้ว อำเภอป่าโมก) ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา (ตำบลคลองวัว อำเภอเมือง และตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย) เครื่องจักสานหวาย และไม้ไผ่ (อำเภอโพธิ์ทอง, อำเภอไชโย และอำเภอแสวงหา) และอุตสาหกรรมทำกลอง (ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก) ซึ่งสินค้าหัตถกรรมทุกประเภทมีความประณีต สวยงาม ส่งขายทั่วประเทศ และส่งออก สำนักงาน กศน.จังหวัดอ่างทอง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอ่างทอง (สำนักงาน กศน.จังหวัดอ่างทอง) ได้มีการพัฒนาครู และบุคลากรของ กศน.อย่างสม่ำเสมอ โดยจัดอบรมครูผู้สอนทางระบบออนไลน์ ทั้งในเรื่องหลักสูตรพื้นฐาน และหลักสูตรอาชีพ ตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ New Normal เพื่อป้อง
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โรงงานปิดกิจการ ประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก กระทรวงศึกษาธิการ จึงมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จัดโครงการ 108 อาชีพ “กศน.สร้างงาน สร้างรายได้” ระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน 2563 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เพื่อเสริมความรู้ในประกอบอาชีพให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ทั้งส่งเสริมอาชีพใหม่ อาชีพเสริม และต่อยอดพัฒนาอาชีพเดิม เพิ่มพูนรายได้แก่ประชาชน ให้สู้วิกฤตโควิดได้ในระยะยาว” ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการ 108 อาชีพ กศน. สร้างงาน สร้างรายได้ ในช่วงที่ผ่านมา ภายในงานดังกล่าว มีภาคีเครือข่าย หน่วยงานในสังกัดสำนักงาน กศน. มาร่วมจัดแสดงผลงานอาชีพกว่า 100 คูหา ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา สถาบันการศึกษาทางไกล ศูนย์กาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นอกจากนี้ ยังจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า และการบริการระดับพรีเมี่ยม ที่เกิดจากโครงการศูนย