การเลี้ยงปลา
คุณชัยพร โชคภรณ์ประเสริฐ อยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 1 ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปลากดคังแล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก มีส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ นับเป็นอาชีพที่สร้างเงินล้านกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งปลาชนิดนี้ยังมีคนทั่วไปมองว่าอาจเป็นปลาที่ต้องอยู่ตามธรรมชาติ น่าจะเลี้ยงยากกว่าปลาชนิดอื่น แต่สำหรับคุณชัยพรแล้ว เขาบอกเลยว่าเพียงแค่รู้จักนิสัยปลา รู้จักธรรมชาติของปลากดคัง การเลี้ยงไม่มีอะไรยากอย่างที่คิด คุณชัยพร บอกว่า พันธุ์ปลากดคังที่นำมาเลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่เพาะพันธุ์มาจากจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์ปลากดคังที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ แต่ปัญหาการเลี้ยงที่เจอในช่วงแรกๆ จะเป็นเรื่องลูกปลากินกันเองและอัตราการรอดยังค่อนข้างน้อยอยู่ แต่ด้วยประสบการณ์ที่ได้เลี้ยงและเฝ้าดูลักษณะนิสัยของปลากดคังอย่างจริงจัง จากปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้น กลายเป็นบทเรียนทำให้คุณชัยพรเป็นเจ้าพ่อแห่งการเลี้ยงปลากดคังอย่างสุดตัว การเลี้ยงปลากดคังมีข้อเสียตรงที่เมื่อคิดที่จะเลี้ยงแล้ว ต้องอดทนในเรื่องเวลาให้ได้ เพราะเวลาที่ปลาเจริญเติบโตให้มีขนาดตามที่ตลาดต้อง
ในยุคปัจจุบันพื้นที่การเกษตรถูกจำกัด ทั้งจากการขยายตัวของชุมชนเมืองและความต้องการใช้ที่ดินในด้านอื่นๆ การปรับตัวของเกษตรกรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม โดยเฉพาะการใช้พื้นที่ขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงกลายเป็นหัวใจของการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ หนึ่งในวิธีการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ได้อย่างดีคือ “การเลี้ยงปลาในระบบพื้นที่น้อย” ถือเป็นการผสานการจัดการที่มีประสิทธิภาพเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากร การเลี้ยงปลาในลักษณะนี้จึงเป็นคำตอบที่เหมาะสม สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างรายได้อย่างคุ้มค่าในพื้นที่จำกัดให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ คุณน้ำมนต์-ธีรเวชช์ ยิ้มแดง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้พื้นที่ให้เกิดมูลค่าสูงสุด จึงได้สร้างบ่อผ้าใบขนาด 3 x 6 เมตร เเละถังจุน้ำได้ 1,000 ลิตร ในการเลี้ยงปลาดุกในระบบหนาแน่น โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยมีตั้งแต่ระบบถังกรองน้ำ ระบบจุลินทรีย์ ปลาดุกที่เลี้ยงในระบบนี้จะไม่มีกลิ่นโคลนและไม่มีกลิ่นสาบในเนื้อปลา เลือกเลี้ยงปลาดุก ในระบบหนาแน่น เพื่อให้เข้ากับพื้นที่บริเวณรอบบ้าน คุ
คุณวิทยา สาเพิ่มทรัพย์ อยู่บ้านเลขที่ 163 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกษตรกรที่ชื่นชอบปลากรายมาตั้งแต่เด็ก จนทำให้สัตว์น้ำจืดชนิดนี้เป็นเหมือนแรงบันดาลใจ ที่อยากทดลองเพาะพันธุ์ด้วยสองมือของเขาเอง ซึ่งจากความพยายามไม่ได้นำมาแต่ความสำเร็จ แต่สามารถเป็นงานที่สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวให้กับเขาได้อีกด้วย คุณวิทยา เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีตนมีอาชีพทำงานเกี่ยวกับเครื่องกลอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมา ปี 2543 มีเหตุต้องย้ายมาอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี จึงยึดอาชีพเพาะพันธุ์ปลาเพื่อเป็นอาชีพในขณะนั้นด้วย “เหตุที่ต้องย้ายมาที่นี่ พอดีแม่ของภรรยาเสียชีวิต ก็เลยได้ย้ายมาอยู่ที่สุพรรณฯ ซึ่งเราเป็นคนที่ชอบปลากรายอยู่แล้วสมัยยังเด็ก ช่วงนั้นก็เลยลองเพาะพันธุ์ดู ก็ทดลองเพาะกับธรรมชาติก่อน คือใช้บ่อใช้คลองแบบธรรมชาติ เพราะช่วงนั้นเราไม่มีที่ ต่อมาเมื่ออะไรเข้าที่เข้าทางก็ขยับขยาย มาทำบ่อของตัวเอง ปรากฏว่าที่เพาะพันธุ์ทั้งหมดมันขายได้ เราก็เลยเริ่มมาทำบ่อเพาะอย่างจริงจัง เพราะว่าจะทำแบบธรรมชาติไม่ได้แล้ว ลูกปลามันได้จำนวนที่น้อยลง” คุณวิทยา เล่าถึงความเป็นมา วิทยาการความรู
ป้าละมาย วงษเสถียร เจ้าของกระชังปลาในบ่อดิน แห่งตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งมีรูปแบบการเลี้ยงปลากระชังในบ่อดินที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากใช้ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างน้อย อีกทั้งด้วยเหตุผลสองประการหลักๆ คือ การใช้ขนมคบเขี้ยว อาธิ มาม่า ขนมปัง เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงปลา และในระหว่างเลี้ยงหรือจับปลาขายไม่เคยดูดน้ำทิ้งหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง ทำให้สามารถเลี้ยงได้ตอลดทั้งปีโดยที่ไม่มีโรคเข้ามารบกวน ป้าละมาย เริ่มเลี้ยงหันมาเพาะเลี้ยงปลากระชังในบ่อดิน ราวๆ ปี 54 ซึ่งป้าละมายเล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้าที่จะมาเลี้ยงปลา จะประกอบอาชีพรับชื้อเสื้อผ้ามือสองมาขายตามตลาดนัดแถวบ้านซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังทำอยู่ พอในช่วงต้นปี 52 หลานชายได้มาชื้อที่ดินแถวบ้านซึ่งเป็นที่ที่เจ้าของเดิมนั้นขุดเอาทรายไปขายทิ้งไว้แต่พื้นที่ที่เป็นบ่อ มีน้ำที่สะอาด สภาพแวดล้อมโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์ดี ป้าละมายเห็นว่าพื้นมีความเหมาะสมจึงตัดสินใจนำพื้นที่บางส่วนมาเพาะเลี้ยงปลาในกระชัง ควบคู่กับการขายเสื้อผ้ามือสอง โดยขณะนั้นความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาไม่มี ลองผิดลองถูก สอบถามคนที่เลี้ยง และอาศัยประสบการณ
คุณนิตยา ทักษิญ ประมงจังหวัดพิษณุโลก ให้ข้อมูลว่า เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทางด้านการประมงภายในจังหวัดพิษณุโลก มีการเลี้ยงปลาอยู่ในบ่อดินและกระชังในแม่น้ำ ซึ่งการเลี้ยงเชิงพาณิชย์จะเน้นเลี้ยงภายในกระชังเป็นหลัก โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงที่ขึ้นทะเบียนทั้งจังหวัด มีอยู่ประมาณ 8,000 กว่าราย โดยประกอบไปด้วยการเลี้ยงสัตว์น้ำที่หลากหลาย ไม่ได้มีแต่เฉพาะการเลี้ยงปลาเพียงอย่างเดียว โดยเกษตรกรเองมีการจัดการในเรื่องของการทำตลาด ด้วยการนำปลามาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าขายเอง จึงทำให้เกิดรายได้หลากหลายที่ไม่เพียงแต่ส่งจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางเท่านั้น “ช่วงนี้ปัญหาเรื่องภัยแล้งกำลังเป็นอุปสรรคต้นๆ ทางหน่วยงานของเราเองก็ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้รับมือ ด้วยการจับปลาจำหน่ายให้หมดก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูแล้งที่มีปริมาณน้ำน้อย แต่หากเมื่อเกษตรกรมีความต้องการที่จะเลี้ยงต่อในทันที เราก็มีการส่งเสริมให้เลี้ยงปลาในปริมาณที่ไม่หนาแน่นจนเกินไป เพื่อที่สัตว์น้ำที่เกษตรกรเลี้ยงจะได้มีปริมาณที่เหมาะสม จึงช่วยให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องหยุดการเลี้ยงและสูญเสียรายได้ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมในเรื่อง
คุณยุทธภูมิ สุวรรอาชา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดสระแก้ว ให้ข้อมูลว่า การทำประมงของเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้แหล่งน้ำที่เป็นบ่อสำหรับการทำเกษตรที่กักเก็บไว้เองเท่านั้น ต่อมาทางสำนักงานประมงจึงได้จัดทำกลุ่มผู้เลี้ยงปลาตะเพียนแปลงใหญ่ ส่งผลให้เป็นที่สนใจของเกษตรกรมากขึ้นที่จะแบ่งแปลงพื้นที่การทำเกษตรอย่างพืชมาทำประมงเพื่อสร้างรายได้อีกหนึ่งช่องทาง พร้อมทั้งมีการจัดการเรียนรู้แบบครบวงจรในเรื่องของการทำอาหาร ลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไปพร้อมๆ กัน “ตอนนี้การเลี้ยงปลาก็เริ่มเป็นที่สนใจของเกษตรกรมากขึ้น เราก็มีการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาที่กินพืชเป็นส่วนมาก เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาได้หลายชนิดในการเกิดรายได้ ซึ่งทางสำนักงานฯ เองก็มีการส่งเสริม พร้อมทั้งอยากให้เกษตรกรที่เป็นรายใหม่ อยากให้มาขึ้นทะเบียนกับสำนักงานฯ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ หน่วยงานก็จะสามารถที่ช่วยเหมือนเกษตรกรได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งมีคำแนะนำที่ดีต่อเนื่องให้กับเกษตรกรอยู่เสมอ” คุณยุทธภูมิ กล่าว คุณกาญจนาวดี ดวงภักดีรัมย์ อยู่บ้านเลขที่ 208 หมู่ที่ 9 ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เ
สภาพพื้นที่อันประกอบไปด้วยภูเขาใหญ่-น้อยสลับไปมาจนแทบไม่มีพื้นที่ราบลุ่มสำหรับการเลี้ยงปลาอย่างจริงจัง ส่งผลให้ชาวแม่ฮ่องสอนต้องไปหาจับปลาตามแหล่งน้ำทางธรรมชาติมาบริโภค หรือมิเช่นนั้นก็ต้องรอบริโภคปลาที่เดินทางขนส่งมาจากเชียงใหม่ หรืออาจเป็นปลาตากแห้ง ปลากระป๋อง จนเรียกได้ว่าคนจังหวัดนี้จะหาปลาสดบริโภคไม่ได้เลย การให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมชาวบ้านเลี้ยงปลาจึงเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงานประมงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยการจัดหาพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เพื่อช่วยให้ชาวบ้านได้บริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ รวมถึงยังทำให้มีการค้าขายปลาเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ก่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือน คุณอำไพ เหล่ากาวี อยู่บ้านเลขที่ 86 หมู่ที่ 10 ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีธุรกิจทางการเกษตรหลายประเภทแบบผสมผสานเพื่อจำหน่าย ไม่ว่าจะเพาะ-จำหน่ายพันธุ์ปลา, เพาะพันธุ์กบ รวมถึงยังเพาะพันธุ์ไม้หลายชนิดจำหน่ายอีก ในชื่อ “สวนบ้านทุ่ง” เดิมคุณอำไพมีอาชีพรับราชการครู ได้ลาออกก่อนวัยเกษียณ เนื่องจากเป็นคนที่ชื่นชอบทำเกษตร แล้วคิดว่าควรจะเริ่มต้นทำเกษตรกรรมในช่วงที่ยังมีกำลังกายดี ดังนั้น ระหว่างที่ยังร
จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้น ในเรื่องของการทำเกษตรเพียงด้านเดียวนั้นไม่สามารถที่จะสร้างรายได้ที่เกิดจากความมั่นคงได้ จึงทำให้เกษตรกรหลายรายเริ่มมีการปรับเปลี่ยนในการทำเกษตรมากขึ้น อย่างเช่น เกษตรกรด้านการประมงนั้น ได้ปรับเปลี่ยนจากการเลี้ยงปลามาผสมผสานกับการทำเกษตรในด้านอื่นๆ เข้าด้วยกัน คือ การแบ่งพื้นที่ให้ผมสัดส่วนที่เหมาะสมมาปลูกพืชอื่นๆ แซมเข้าไปในบริเวณพื้นที่เลี้ยงปลา จึงทำให้เกิดรายได้หลากหลายช่องทาง สร้างเป็นอาชีพที่ยั่งยืนให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี คุณเฉลิม จันทร์รอด อยู่บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ได้ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเลี้ยงปลาแบบหลายๆ ชนิด พร้อมกับทำเกษตรปลูกพืชชนิดอื่นๆ เข้าไปด้วย จึงทำให้ในแต่ละสัปดาห์สามารถมีรายได้จากการจำหน่ายปลา และพืชผลทางการเกษตรชนิดอื่นๆ ไปพร้อมกัน คุณเฉลิม เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนนั้นมีอาชีพทำนาข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้มานั้น ราคาที่จำหน่ายได้ยังไม่ได้มากนักเท่าที่ควร พร้อมกับเจอภัยธรรมชาติต่างๆ จึงทำให้ได้ตัดสินใจมาปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบใหม่ คือการเลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการปล
ปลากะพง เป็นปลาที่อยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เลี้ยงกันแพร่หลายในเขตจังหวัดชายทะเลของไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว และที่สำคัญเนื้อปลามีรสชาติดีสามารถขายได้ราคา ทำให้เป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ดีไม่แพ้ปลาชนิดอื่น นอกจากจะเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังส่งขายยังต่างประเทศได้อีกด้วย บางพื้นที่ที่ไม่มีน้ำเค็มก็สามารถเลี้ยงปลากะพงได้ ประสบผลสำเร็จด้วยเช่นกัน ทำให้มีผู้ที่สนใจนำไปเลี้ยงแบบปลาตามธรรมชาติที่บ่อบริเวณบ้านมากขึ้น เมื่อปลามีขนาดใหญ่ก็สามารถจับขายเป็นรายได้เสริมได้เช่นกัน คุณเยี่ยม รัตนกุญชร อยู่บ้านเลขที่ 32 หมู่ที่ 7 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรที่ได้ปรับเปลี่ยนจากการทำนามาเลี้ยงปลากะพง โดยเลี้ยงแบบใช้น้ำจืด มีการจัดการแบบมีระบบ ปลาเจริญเติบโตได้ดี พร้อมทั้งทำการตลาดแบบรวมกลุ่ม ทำให้ปลากะพงขายได้ราคาเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัว เปลี่ยนผืนนา มาทำบ่อเลี้ยงปลากะพง คุณเยี่ยม เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทียึดการทำนาสร้างรายได้ให้กับครอบครัว แต่เนื่องจากราคาข้าวมีความผันผวน ราคารับซื้อไม่แน่นอน ทำให้บางช่วงถึงกับทำแล้วขาดทุนก็ยังมี จึงได้มีการ
จ่าสิบเอก ไพทูล พันธาตุ อดีตข้าราชการทหารเป็นบุคคลหนึ่งที่หันมาจับอาชีพเพาะเลี้ยงปลาเบญจพรรณควบคู่กับทำการเกษตรแบบผสมผสานในช่วงบั้นปลายของชีวิต อยู่ที่ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว จ่าสิบเอก ไพทูล เล่าให้ฟังว่า ในช่วงที่รับราชการอยู่มีโอกาสทำงานพัฒนาส่งเสริมด้านการเกษตรกับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ทำให้ได้สัมผัสและได้เรียนรู้การทำการเกษตรทุกรูปแบบ จนมีความชำนาญ พอเกษียณราชการจึงออกมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ภายใต้จิตสำนึกรักในอาชีพเกษตรกรรมที่ติดตัวมา “อายุก็มาก จะไปปลูกมัน ทำไร่ ทำนา เหมือนกับคนอื่นๆ ก็ทำไม่ไหว จึงปรับแนวคิดมาทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผัก ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่เดียวกัน โดยไม่ต้องใช้แรงเยอะ ใช้ความรู้ที่ติดตัวจากการทำงานในหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ เป็นระยะเวลากว่า 8 ปี มาปรับใช้ในพื้นที่ก็เพียงพอ” จ่าสิบเอก ไพทูลเริ่มทำการเกษตรผสมผสาน ช่วงประมาณปี 45-46 โดยเริ่มจากพื้นที่ทั้งหมด 28 ไร่ จัดสรรแบ่งทำนาปลูกข้าว 7 ไร่ ขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้และเลี้ยงปลาเบญจพรรณ 6 ไร่ และส่วนที่เหลือปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น เก็บผลผลิตจำหน่ายรายวัน เช่น ผักหวานกินยอด “ทำนาปลูกข้าวปีล