ขายข้าว
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ต่างเร่งขนข้าวเปลือกที่ตากไว้ตามลานตากข้าว ขึ้นรถอีแต๋น เพื่อนำไปเก็บไว้ในยุ้งฉางกันอย่างคึกคัก ภายหลังจากที่ช่วงนี้เกษตรกรชาวนา ได้ทำการเก็บเกี่ยวข้าวตามฤดูกาล ซึ่งบางครัวเรือนหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ก็ได้นำข้าวเปลือกไปขายตามโรงสีต่างๆ เนื่องจากช่วงนี้ราคาข้าวเปลือกได้ราคาดีกว่าปีที่ผ่านมา แต่มีหลายครอบครัวก็ยังไม่อยากขาย เพราะรอโครงการจำนำยุ้งฉางของรัฐบาล ที่อาจจะให้ราคาดีกว่านี้ อย่างเช่นครอบครัวของนายชาญชัย ล้อมในเมือง อายุ 71 ปี ชาวบ้านพลกรัง หมู่ที่ 1 ต.พลกรัง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้พาครอบครัวเก็บข้าวเปลือกที่ตากไว้ในลานตากข้าวใส่กระสอบ แล้วขนขึ้นรถนำไปเก็บไว้ในยุ้งฉางหลังบ้าน โดยหวังว่ารัฐบาลจะเปิดโครงการจำนำยุ้งฉางขึ้นมาเหมือนปีที่แล้ว ซึ่งอาจจะได้ราคาสูงกว่านี้ นายชาญชัยฯ กล่าวว่า ปีนี้ตนเองปลูกข้าวหอมมะลิไว้บนพื้นที่นาประมาณ 10 ไร่ หลังเก็บเกี่ยวแล้วได้ข้าวเปลือกหนักประมาณ 4 ตัน ซึ่งถือว่าปีนี้ได้ผลผลิตดีเพราะไม่มีน้ำท่วม โดยหลังจากที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ก็ได้นำมาตากไว้ในลานข้าวให้แห้ง ก
รัฐบาลบังกลาเทศอนุมัติการซื้อข้าวนึ่ง 5% จากไทย ปริมาณ 150,000 ตัน คาดว่าจะเริ่มส่งมอบข้าวได้ในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งช่วยผลักดันยอดการส่งออกข้าวไทยในปี 60 ให้ทะลุเป้า 10 ล้านตัน นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามที่กรมการค้าต่างประเทศได้เจรจาซื้อขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) กับกระทรวงอาหารของบังกลาเทศนั้น เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กระทรวงอาหารบังกลาเทศมีหนังสือแจ้งว่า รัฐบาลบังกลาเทศได้อนุมัติการซื้อข้าวนึ่ง 5% จากไทย ปริมาณ 150,000 ตัน และล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 กระทรวงอาหารบังกลาเทศมีหนังสือแจ้งเพิ่มเติมว่า กระทรวงกฎหมายได้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาซื้อขายข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลบังกลาเทศแล้ว ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการภายในประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์จะเสนอประธานกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติการทำสัญญา หลังจากนั้นจะเชิญผู้แทนรัฐบาลบังกลาเทศเดินทางเยือนไทยเพื่อลงนามในสัญญาต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มส่งมอบข้าวให้รัฐบาลบังกลาเทศได้ภายในเดือนธันวาคมนี้ รัฐมน
นายนุกูล ปาระชาติ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เตรียมเงินกว่า 8 หมื่นล้านบาท เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร รวมถึงเงินช่วยค่าเก็บรักษาและปรับปรุงคุณภาพข้าวเปลือกเพื่อรอราคา โดยในส่วนของมาตรการสินเชื่อเริ่มอนุมัติสินเชื่อให้เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรแล้ว คาดว่าเม็ดเงินกว่า 80% จะทยอยเบิกจ่ายได้ภายในปีนี้ แยกเป็นโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2560/61 เพื่อเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ที่ยุ้งฉางของตนเอง กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือกที่ความชื้นไม่เกิน 15% สิ่งเจือปนไม่เกิน 2% ในอัตรา 90% ของราคาตลาด ตามชนิดข้าวเปลือก ทั้งนี้ แยกเป็นข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาตันละ 10,800 บาท ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 7,200 บาท ข้าวเปลือกปทุมธานี1 ตันละ 8,500 บาท กำหนดวงเงินกู้สำหรับเกษตรกรสูงสุดรายละไม่เกิน 3 แสนบาท สหกรณ์การเกษตรไม่เกิน 300 ล้านบาท กลุ่มเกษตรกร ไม่เกิน 20 ล้านบาท และวิสาหกิจชุมชนไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ เนื่องจากรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนผู้กู้ทั้งหมดคิดเป็น
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า วันที่ 14 ก.พ. 2560 กรมการค้าต่างประเทศ เปิดให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นซองเอกสารเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ก่อนเข้าร่วมประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ครั้งที่ 1/2560 ปริมาณ 2.87 ล้านตัน ซึ่งเป็นข้าวเกรดพี เอ บี และซี ผสมไม่เกิน 20% รวม 17 ชนิดเช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวเหนียว เป็นต้น ปรากฏว่ามีเอกชนสนใจเข้าร่วมยื่นซองเอกสารเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ 73 ราย เช่น บจ.มหาทรัพย์ ฟีด, บจ.กรุงไทยพืชผล, บจ.แคปปิตัลซีเรียลส์, บจ.วัฒนพร อินเตอร์โกลเด้นไรซ์, บจ.พงษ์ลาภ, บจ.ธนสรรไรซ์ เป็นต้น จะประกาศรายชื่อที่ผ่านคุณสมบัติและให้ยื่นซองเสนอราคา 16 ก.พ. 2560 จาก 22 พ.ค.-6 ก.ย. 2559 ได้ระบายข้าวในสต๊อกไปแล้ว 8.4 ล้านตัน ครั้งนี้ระบายหมดเท่ากับระบายได้รวม 11.27 ล้านตัน ด้านผู้ประกอบการที่เข้าร่วมยื่นซองประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาล กล่าวว่า การเสนอราคาซื้อข้าวในสต๊อกรัฐน่าจะไม่สูงนัก ราคาต่อกิโลกรัมอาจไม่ถึง 2 หลัก เพราะการที่รัฐนำข้าวหอมมะลิออกมาประมูลมากถึง 1.4 ล้านตันถือว่ามากเกินไป ควรแบ่งประมูลครั้งละ 4 แสนตัน เพื่อไม่ให้มีผลต่อตลาด เพราะช่วงนี้ยังเป็นช่วง
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแสวงหาลู่ทางการขยายตลาดข้าวไทยและกระตุ้นความต้องการนำเข้าข้าวไทยสู่ภูมิภาคอเมริกากลาง โดยใช้ช่องทางกระจายสินค้าผ่านสหรัฐอเมริกา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกซิตี้ จึงได้ประสานงานระหว่างบริษัท โอทิส แม็คแอลลิสเตอร์ จำกัด (Otis McAllister Co., Ltd.) ผู้นำเข้าข้าวไทยในสหรัฐฯ และผู้นำเข้าข้าวในภูมิภาคอเมริกากลาง จนสามารถผลักดันและขยายตลาดข้าวไทยเข้าสู่ห้างคอสโกเม็กซิโก (Costco-Mexico) ได้สำเร็จ ซึ่งห้างฯ ได้เริ่มนำเข้าข้าวไทยแล้วจำนวน 4 ตู้คอนเทนเนอร์หรือประมาณ 112 ตัน สำหรับจำหน่ายใน 32 สาขา ครอบคลุม 18 รัฐของเม็กซิโกในช่วงกลางเดือนมกราคม 2560 นี้ อีกทั้งห้างคอสโกยินดีทำกิจกรรมส่งเสริมการขายข้าวไทยร่วมกับสำนักงานฯ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งข้าวไทยในเม็กซิโกต่อไป นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เม็กซิโกมีเครือข่ายธุรกิจกับหลายประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง กระทรวงพาณิชย์จึงวางแผนให้เม็กซิโกเป็นฐานในการกระจายข้าวไทยและประชาสั
อิสเทิร์นไรซ์ ลุยขายออนไลน์ ผ่านมาร์เก็ตเพลซชื่อดัง “Alibaba-Lazada-Kaidee” ตั้งเป้าดันยอดขายโต 15% นางสาวสุวิมล พงศ์พิทยานันต์ ประธานกรรมการ บริษัท อิสเทิร์นไรซ์ จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทได้ทดลองทำการตลาดผ่านช่องทางระบบโซเชียลมีเดีย 4 เว็บไซต์ คือ Lazada, Kaidee.com, Thaitrade และ Alibaba ประมาณ 4 เดือนแล้ว โดยจัดจำหน่ายสินค้าข้าวขนาด 1-5 กิโลกรัมประมาณ 89 รายการ ถือว่าผลตอบรับค่อนข้างดี มีลูกค้าเปิดรับชมประมาณ 8,000-9,000 ราย และเริ่มสั่งซื้อมา 2 ราย ปริมาณ 200 ตัน ซึ่งทางบริษัทตั้งเป้าหมายว่าจะผลักดันยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น 10-15% “ขณะนี้รายได้จากออนไลน์จะคิดเป็นสัดส่วน 20% สัดส่วนรายได้หลักยังมาจากช่องทางการขายปกติ 80% แต่ตอนนี้เป็นยุคของผู้บริโภคที่นิยมซื้อขายทางออนไลน์มากขึ้น นี่จึงเป็นโอกาสที่ขยายตลาด เราหวังว่าหลังจากนี้จะขยายตัวแบบก้าวกระโดดในอนาคตแต่ต้องปรับปรุงคุณภาพสินค้า บรรจุภัณฑ์ ข้อมูลข่าวสาร และหน้าเว็บไซต์ออนไลน์ และอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น” ส่วนระบบโลจิสติกส์ส่งสินค้าแบบออนไลน์ไม่มีปัญหา เพราะ
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 27 ธันวาคม ที่บริเวณลานสุพรรณิการ์ หน้าศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานเปิดงานมหกรรมรณรงค์การบริโภคข้าวปลอดภัยจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 26-30 ธันวาคม โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานีดำเนินงานจัดงานเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนข้าวในจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดและเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร โดยมีกลุ่มผลิตข้าวปลอดภัยและข้าวอินทรีย์จำนวนมาก ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวสินเหล็ก และข้าวไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งในขั้นตอนการผลิตเกษตรกรได้ดูแลรักษาเป็นอย่างดีจนได้รับรองมาตรฐานข้าวปลอดภัยหรือมาตรฐาน (GAP) และข้าวอินทรีย์ (Organic Thailand) ซึ่งเมื่อแปรรูปเป็นข้าวสารแล้วถือเป็นข้าวสารเกรดพรีเมียม โดยมีกลุ่มเกษตรกรมาตั้งบูธจำหน่ายกว่า 40 ราย และยังเป็นไปตามนโยบายที่ให้มีการบูรณาการในรูปแบบประชารัฐ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวปลอดภัย ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเกษตรกรต้องการสร้างรายได้แต่ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทางกา
วันที่ 9 ธันวาคม 2559 น.ส.สิริมณี มณีท่าโพธิ์ อายุ 30 ปี อยู่ที่บ้านเลขที่ 58 หมู่ 8 บ้านทุ่งน้อย ต.ท่าตาล อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า ตนเองเป็นชาวนารุ่นใหม่ เริ่มต้นทำนามาตั้งแต่ปี 2552 สืบทอดอาชีพชาวนาจากพ่อแม่ ที่เสียชีวิตไปแล้ว จากเดิมที่ไม่เคยคิดที่จะทำนาเพราะลำบากรายได้น้อย จึงอยากทำอาชีพรับราชการ เพราะมั่นคงและมีเงินเดือนประจำ แต่เมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วไม่มีใครสืบทอดการทำนาจากพ่อแม่ตนเองจึงต้องทำ น.ส.สิริมณี กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการขายข้าวออนไลน์ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2557 เนื่องจากในฤดูกาลทำนาที่ผ่านมา ตนเองและเพื่อนชาวนาในหมู่บ้าน ได้รับการติดต่อจากนายทุน ให้ปลูกข้าวหอมนิล ซึ่งนายทุนบอกว่าเป็นข้าวเพื่อสุขภาพ และกำลังได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค โดยให้ชาวนาซื้อเมล็ดพันธุ์จากนายทุน แล้วสัญญาว่าจะรับซื้อข้าวเปลือกหอมนิลจากชาวนาในราคาตันละ 1 หมื่นบาท ซึ่งมีชาวนาหลงเชื่อลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์และลงทุนปลูกข้าวหอมนิลจำนวนมาก รวมทั้งตนเองด้วย แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวนายทุนกลับไม่มารับซื้อตามสัญญา ทำให้ชาวนาต่างเดือดร้อนอย่างหนักและขณะนั้นตนเองต้องดูแลแม่ที่ป่วยหนัก ต
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงแผนการสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมใช้ข้าวไทยเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้า ว่า กระทรวงจะเน้นส่งเสริมให้กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ และกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องที่ใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบนำข้าวมาแปรรูป ปัจจุบันมีอยู่ทั่วประเทศ 2,102 โรงงาน (รง.) เพิ่มปริมาณความต้องการข้าวและช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์มากขึ้นด้วย โดยแผนการส่งเสริมนั้นจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาจัดทำให้ชัดเจน เพื่อส่งเสริมการใช้วัตถุดิบข้าวให้มากขึ้น และเป็นส่วนในการช่วยเหลือชาวนาระยะยาว ตามที่นายกรัฐมนตรีมีนโยบายช่วยเหลือชาวนาให้หลุดพ้นความยากจนภายใน 5 ปี นางอรรชกา กล่าวว่า สำหรับข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) พบว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม 2,102 ราย สั่งซื้อข้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นโรงงานที่ประกอบกิจการทำอาหารจากแป้ง 1,338 ราย โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับแป้งข้าวเจ้าสำหรับทำขนม 11 ราย และโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารสัตว์ 753 ราย นางอรรชกา กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมกำลังดำเนินโครงการอุตสาหกรรมรวมใจช่วยชาวนาไทยขายข้าว โดยสนั
ที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองศรีสะเกษ “ธวัช สุระบาล” ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดตลาดข้าวโดยเกษตรกร มี “นายสว่าง กาลพัฒน์” รักษาการเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ นำชาวนาจาก 22 อำเภอ จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมข้าวสารและผลิตผลทางการเกษตรมาวางจำหน่ายให้กับข้าราชการและประชาชนได้ซื้อข้าวสารโดยตรง ซึ่งชาวนานำข้าวหอมมะลิแท้ ข้าวกล้องมะลิ และข้าวไรซ์เบอร์รี่ มาวางจำหน่ายในราคาถูก ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น. การเปิดตลาดนี้เป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายข้าวและสินค้าทางการเกษตรให้แก่เกษตรกร เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจังหวัดศรีสะเกษ ให้พี่น้องเกษตรกรนำข้าวสารมาจำหน่ายมีรายได้ หากทุกหมู่บ้านมีโรงสีชุมชน ชาวนาจะสามารถสีข้าวนำไปขายได้ทุกแห่งตามข้างทาง ปั๊มน้ำมัน รวมทั้งแหล่งชุมชนทุกแห่ง ไม่ต้องนำไปขายให้พ่อค้าคนกลาง และโรงสี ซึ่งการที่ชาวนาขายข้าวเองจะได้ราคาดีกว่า และที่บริเวณลานเวทีกลางถนนคนเดิน หน้าสถานีรถไฟศรีสะเกษ มีโรงสีขนาดเล็กที่ชาวนาอำเภอปรางค์กู่ นำมาสีข้วาเพื่อขายให้กับชาวศรีสะเกษ เปิดทุกวันอาทิตย์ ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด