จังหวัดชัยนาท
ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา หรือส้มโอชัยนาท เป็นพันธุ์ส้มโอที่มีรสชาติดีที่สุดของจังหวัดชัยนาท เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ดินดี น้ำดี เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก ประกอบกับเกษตรกรสะสมประสบการณ์ความรู้ ในการปลูก ดูแล ตลอดจนพัฒนาคุณภาพของผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ส้มโอขาวแตงกวาที่ปลูกในพื้นที่แห่งนี้ มีรสชาติที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เป็นสินค้าขายดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาทได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท มีผลผลิตตลอดทั้งปี ปัจจุบัน ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาทมีขอบเขตการปลูกในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดชัยนาทโดยได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมส่งเสริมการเกษตรให้เป็นพันธุ์ส้มโอประจำท้องถิ่น ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาทสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ช่วงที่ออกผลมากที่สุดคือเดือนตุลาคม รสชาติอร่อย หวานนำอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อแห้งไม่แฉะน้ำ ไม่มีรสชาติขมติดลิ้น ลูกโตและเปลือกหนา ซึ่งเป็นผลมาจากลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดชัยนาทเป็น
การเลี้ยงกบยังเป็นอาชีพที่หลายคนสนใจ เพราะกบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เลี้ยงง่าย กินง่าย โตเร็ว สามารถเลี้ยงโดยไม่จำกัดพื้นที่ ขยายพันธุ์ได้เอง จับขายได้เงินทันที ขณะเดียวกันตลาดผู้บริโภคกบในตอนนี้ให้ความสนใจมากทั้งในและต่างประเทศ เพราะเนื้อกบมีไขมันน้อย เหมาะกับการนำไปปรุงอาหารหลายประเภท เช่น กบทอดกระเทียม กบย่างรมควัน กบผัดใบกะเพรา ยำกบ กบผัดเผ็ด จึงเกิดอาชีพเลี้ยงกบทั้งเป็นรายได้เสริมและรายได้หลัก ในบรรดาสายพันธุ์กบที่เลี้ยงเป็นอาชีพ ขณะนี้มีทั้งพันธุ์ต่างประเทศและพื้นเมือง โดยแต่ละพันธุ์มีข้อดีและด้อยต่างกัน การเลือกสายพันธุ์กบจึงถือเป็นข้อพิจารณาของผู้เลี้ยงที่เน้นความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ แต่ส่วนมากแล้วผู้เลี้ยงดึงเอาลักษณะเด่นของแต่ละพันธุ์ออกมาพิจารณาควบคู่กับความต้องการของตลาด รวมทั้งต้นทุนในการเลี้ยง คุณประเชิน-คุณตุ้งหนิง อินทร์สิงห์ คู่สามี-ภรรยา ที่มีบ้านพักอยู่ เลขที่ 108/1 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าฉนวน อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ประสบความสำเร็จจากการเพาะเลี้ยงกบเป็นอาชีพมานานกว่า 18 ปี ด้วยการใช้พันธุ์กบพื้นบ้าน เนื่องจากเลี้ยงง่าย แข็งแรง ตัวใหญ่ ต้นทุนน้อย โตเร็ว มีจำหน่ายท
ชื่อตำบลสรรพยา และอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาทนั้น มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนกุมภกรรณพุ่งหอกโมกขศักดิ์ถูกพระลักษมณ์ พระรามมีพระบัญชาให้หนุมานไปเก็บสังกรณีตรีชวา ซึ่งอยู่ที่เขาสรรพยามารักษาพระลักษมณ์ ปัจจุบันพบว่า บนเขาสรรพยา มีต้นสังกรณีตรีชวาอยู่จริง และพบสมุนไพรที่หายากอื่นๆ เป็นจำนวนมาก จึงเชื่อกันว่าเขาสรรพยาในวรรณคดีดังกล่าว คือ เขาสรรพยาที่ตำบลสรรพยา โดยมีการเล่าขานเป็นตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา) สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จึงยกย่อง ตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา) เป็นหนึ่งในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยนาท พร้อมขึ้นทะเบียน “ตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา)” ใน บัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณะได้มีส่วนร่วมสืบสาน ตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา) ในระยะยาว ศสกร.อำเภอสรรพยา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบล(ศสกร.ตำบลสรรพยา) และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสรรพยา( ศสกร.อำเภอสรรพยา ) มีส่วนร่วมในการสืบสานตำนานเขาสรรพยาแล้ว ยังส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน สังกรณี
เมื่อเร็วๆ นี้ คุณคมกฤช สุขกุล เกษตรกรและนักวิชาการเกษตรอิสระ ได้ชักชวนนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านไปเยี่ยมชม “กัญชาด่าง” สินค้าเด่นของดีจังหวัดชัยนาท ที่เตรียมเปิดตัวในฐานะ “ไม้ประดับสวยงาม” ที่ใช้เวลาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561-2565 ปลูกเป็นพืชสมุนไพร แต่กลายพันธุ์เป็นไม้ด่าง คุณคมกฤช สุขกุล แนะนำให้รู้จักกับ คุณสามารถ เถกิงสรคันธุ์ ที่เรียกกันติดปากว่า “ผู้ใหญ่ใหม่” เจ้าของพันธุ์ “กัญชาด่าง” ที่อยู่บ้านเลขที่ 91 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองขุ่น อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โทร. 083-923-9291 ผู้ใหญ่ใหม่ บอกว่า ได้สายพันธุ์กัญชาด่างมาด้วยความบังเอิญ ก่อนหน้านี้ ผู้ใหญ่ด่างมีอาการป่วยจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องรักษาตัวอยู่นานนับปี จนได้เจอกับพระธุดงค์ท่านหนึ่ง ที่มอบเมล็ดพันธุ์กัญชาให้มาปลูกและใช้รักษาอาการตามตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ปรากฏว่าช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้นในระยะเวลาไม่นาน สำหรับเมล็ดพันธุ์กัญชาที่นำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองหางกระรอก ที่มีความผิดปกติของยีนส์ต้นกัญชาทำให้เกิดต้นกัญชาพันธุ์ด่างปนมา 2 ต้น ในแปลงปลูกกัญชาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผู้ใหญ่ใหม่ ได้ทำการแยกต้น
สัปดาห์นี้ขอพาเที่ยวทิพย์ จ.ชัยนาท อีกหนึ่งจังหวัดขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ พร้อมพาไปชิม “ข้าวเหนียวมูน” คุณกิ๊ก ข้าวเหนียวมูนเงินล้านเจ้าเด็ดดังที่มาถึง ชัยนาท ต้องไม่พลาด ทำขายวันละ 100 กิโลกรัม ไม่ถึง 2 ชั่วโมงหมด และใครที่อยากสร้างอาชีพเจ้าของใจดีสอนสูตรให้ทุกขั้นตอน ใครที่เป็นสาวก ข้าวเหนียวมูน มาทางนี้ พูดได้เลยว่าร้านนี้เด็ดจริงกับ ร้านข้าวเหนียวมูน คุณกิ๊ก จ.ชัยนาท เจ้าของ คือ คุณสรัญญา เกษมวัฒนา (คุณกิ๊ก) เล่าถึงความเป็นมาของร้านข้าวเหนียวมูนว่า เดิมทีคุณยาย และคุณแม่ขายมาก่อนหน้านี้แล้วกว่า 50 ปี ตนจึงอยากทำธุรกิจนี้ด้วยจึงเริ่มเรียนรู้สูตรและวิธีการทำเพื่อนำมาเปิดร้านขายในตัวเมือง จ.ชัยนาท ขายมากว่า 10 ปีแล้ว เป็นที่ชื่นชอบจากลูกค้าที่ได้มาซื้อทานอย่างมาก ปัจจุบันทำขายวันละ 100 กิโลกรัม ขายหมดในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง คุณกิ๊ก บอกว่า ความพิเศษของข้าวเหนียวมูนทางร้านจะใส่ใจในขั้นตอนการทำอย่างพิถีพิถัน คัดสรรข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงูเกรด A จาก จ.เชียงราย ในส่วนของกะทิเลือกใช้แต่หัวกะทิคุณภาพดี (ไม่ใช้หางกะทิ) รสชาติหวานมันอย่างลงตัว ข้าวเหนียวเป็นเมล็ดสวย ไม่เละ ไม่ติด
คุณณัฐนนท์ รัตนภรณ์ หรือ คุณกอล์ฟ อายุ 31 ปี เจ้าของร้าน GK Cactus ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ว่า ก่อนหน้านี้เป็นพ่อครัวอยู่ที่กรุงเทพฯ และขายนกหงส์หยกเป็นอาชีพเสริม แต่ว่าค่าต้นทุนการเลี้ยงนกสูงมาก ค่าอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ และในช่วงหน้าร้อนทำให้ค่าน้ำเพิ่มขึ้นอย่างมาก การขนส่งลำบาก จึงยกเลิกขายนก และลาออกจากการเป็นพ่อครัว เพราะมีความฝันที่อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ เพื่อกลับมาอยู่กับครอบครัว ทำให้ได้มีโอกาสเปิดร้าน GK Cactus ศึกษาหาความรู้เอง จากโลกออนไลน์ เห็นช่องทางตลาดไปอีกไกล เริ่มจากงานอดิเรกในสมัยเด็กที่ชื่นชอบ แค็กตัส และไม้ประดับอยู่แล้ว ปลูกเก็บสะสมมาอยู่ตลอด หาข้อมูลศึกษาจาก ยูทูบ เว็บไซต์ และฟาร์มต่างๆ ได้รับความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่แบ่งปันข้อมูลมาให้ในแบบฉบับของแต่ละฟาร์มที่ไม่เหมือนกัน จึงนำเอามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการปลูก และเพาะแค็กตัสที่บ้าน เมื่อศึกษามาสักระยะ ทำให้มองเห็นว่าตลาดของแค็กตัสนั้นสามารถเข้าถึงและยังมีโอกาสเติบโตไปได้อีกไกล มีวิธีปลูก ในแบบของตัวเอง วิธีปลูกของคุณกอล์ฟ จะใช้ดินที่มีส่วนผสมจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้มีแร่ธาตุสำหรับการเพาะที่มากพอ เพื่อให้แค
นายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จังหวัดชัยนาท มีนโยบายส่งเสริมการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกร โดยลดพื้นที่ปลูกข้าวมาปลูกพืชชนิดอื่นหรือปรับเปลี่ยนอาชีพที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งการเลี้ยงแพะเนื้อ เป็นสินค้าทางเลือกที่น่าสนใจ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาอาชีพการเลี้ยงแพะให้ยั่งยืน มีผลผลิตที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการบริโภคซึ่งเป็นทางเลือกที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกอาชีพหนึ่ง เนื่องจากการเลี้ยงแพะเนื้อใช้พื้นที่เลี้ยงต่อตัวน้อยและที่สำคัญเลี้ยงง่าย กินอาหารพวกพืชได้หลายชนิด ส่งเสริมการเพิ่มรายได้โดยใช้หลัก “การตลาดนำการผลิต” ที่ทำแล้วได้ผลจริง หากมองถึงสถานการณ์การผลิตแพะเนื้อในจังหวัดชัยนาท (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2563) พบว่า มีเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ 778 ราย จำนวน 30,883 ตัว มีการเลี้ยงกระจายในทุกอำเภอ ซึ่งอำเภอที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญได้แก่ สรรคบุรี และสรรพยา นิยมเลี้ยงสายพันธุ์ลูกผสมบอร์ เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว อัตราการให้ลูกแฝดสูง เป็นที่นิยมของตลาด ซึ่งใ
อำเภอสรรคบุรี เป็นพื้นที่รับน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท โดยทั่วไปจึงอุดมสมบูรณ์ ที่เห็นอยู่นอกจากนาข้าวแล้วยังมีแปลงปลูกส้มโอขาวแตงกวา รวมทั้งพืชเกษตรอื่นๆ คุณเสบียง มั่นคงจรัลศรี ปัจจุบันอายุ 54 ปี จากบ้านเกิดเมื่อปี 2525 เข้าไปทำงานกรุงเทพฯ เขากลับบ้านเมื่อ ปี 2552 มาปักหลักทำเกษตรอยู่ บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 10 ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท “จบ ม.6 เข้าไปทำงานบริษัทในกรุงเทพฯ จากนั้นทำงานอีกหลายแห่ง ต่อมาถึงเวลาต้องกลับบ้าน ก็มาทำนา แต่ไม่ได้ทำแบบคนอื่นเขา เพราะเรามีเพื่อน มีกลุ่ม ได้เรียนรู้วิธีทำนา รวมถึงพันธุ์พืชที่มีประโยชน์ เราไม่ได้ทำนาอย่างเดียว” คุณเสบียง บอก รอบๆ นาของคุณเสบียง ชาวนาส่วนใหญ่ ทำการเกษตรสมัยใหม่ ใช้ปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืช มีตั้งแต่วัชพืช แมลงศัตรูพืช โรคพืช นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของปุ๋ยเคมี สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่ผิด เพราะหากใช้อย่างเหมาะสมแล้วจะปลอดภัย แต่คุณเสบียงเลือกผลิตแบบวิธีธรรมชาติ จริงๆ แล้วการผลิตแบบธรรมชาติ ต้องย้อนไปโน่นเลย 50-60 ปีที่แล้ว แต่คุณเสบียงนำมาใช้กับยุคปัจจุบัน ข้าวพันธุ์เด่น “เวสสันตะระ” คุณเสบียง เร
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลาง มีแนวโน้มที่รุนแรง และแผ่วงกว้างกระทบพื้นที่เกือบทุกจังหวัด ซึ่งจังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7) ได้แปลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 (ข้อมูล ณ 19 มกราคม 2563) พบว่า จังหวัดชัยนาท พื้นที่ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมืองชัยนาท ตำบลกุดจอก อำเภอหนองมะโมงและตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี ส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ เป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง จากการลงพื้นที่ของ สศท.7 เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เบื้องต้นพบว่า พืช ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง ได้รับผลกระทบทำให้ผลผลิตลดลง จึงมีการเตรียมข้อมูลและวางแผนด้านการเพาะปลูกให้กับเกษตรกรที่ประสบปัญหา ให้ลดการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำปริมาณมาก โดยเฉพาะข้าวนาปรัง และหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อาทิ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ข้าว
คุณเฉลียว ยันสาด เป็นประชาชนธรรมดาผู้ยากจน มีอาชีพเป็นกรรมกรรับจ้างรายวัน เนื่องจากไม่มีพื้นที่ทำกิน พื้นที่ที่มีอยู่ก็เพียง 98 ตารางวา สำหรับปลูกบ้านเท่านั้น คุณเฉลียว อ้างสิทธิของประชาชน ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบึงวงฆ้อง ซึ่งเคยเป็นแหล่งอาหาร เลี้ยงดูชีวิต และครอบครัว มาตั้งแต่ตนเองยังเป็นเด็กด้วยเป็นแหล่งน้ำทางการเกษตร และการประมงน้ำจืดของครอบครัว คุณเฉลียวได้ชักชวนชาวบ้านคนอื่นๆ ที่อาศัยอยู่รอบบึงกว่า 3 ตำบล มาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีทั้งตำบลห้วยงู ตำบลนางลือ และตำบลแพรกศรีราชา แต่ไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าร่วม คุณเฉลียวจึงลุกขึ้นมาปกป้องบึงวงฆ้องด้วยหลักฐานที่เป็นเอกสาร และกระบวนการทางกฎหมาย คุณเฉลียวได้ใช้ความกล้าหาญในฐานะประชาชน ลุกขึ้นมาเป็นโจทย์ฟ้องร้อง อธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลย เนื่องจากเป็นผู้ออก นส.3 ก ทับพื้นที่บึงวงฆ้อง ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นเพียงผู้เดียวที่กระทำการอย่างอาจหาญ ในการทวงคืนที่ดินสาธารณประโยชน์บึงวงฆ้อง จากกลุ่มนายทุน และชาวบ้านบางส่วนที่ออกเอกสารสิทธิทับซ้อนที่ดินสาธารณประโยชน์ มาเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล โดยใช้แผนที่ทหาร ที่ออกก่อนปี 2477 มาเป็นหลักฐาน และดำเนิ