จังหวัดบึงกาฬ
“ผมเกิดมาในครอบครัวคนจนครับ พ่อแม่ทำงานรับจ้าง ไม่มีที่ดินของตัวเอง รับจ้างทำงานด้านเกษตรมาตลอด จนมองว่าอาชีพเกษตรยังไงก็จน ไม่มีทางจะสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่ดีได้” แคน – ธิบดินทร์ ปัญญาวัง หนุ่มแกร่ง วัย 41 ปี แห่งสุโขทัย เอ่ยอย่างทดท้อใจ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน ส่งต่อความคิดถึงกันเหมือนเดิมเดือนละครั้งนะครับ คอลัมน์ ตั้งวงเล่า เกิดจากการพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรจากหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ กระทั่งถึงผู้มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร ทุกครั้งที่ได้สนทนาและนำมาถ่ายทอด ทุกอย่างก็เป็นไปตามครรลองที่ควรจะเป็น แต่ในครั้งนี้มีความต่าง แค่จั่วหัวก็มองไม่ออกแล้วว่า เรื่องราวต่อไปจะเป็นอย่างไร ผมขอถ่ายทอดบางประโยคจากเจ้าของสวนนี้ก่อนนะครับ “ผมจึงเข้าเรียนช่างไฟฟ้า ด้วยหวังว่าจะมีอาชีพที่สามารถลืมตาอ้าปากได้มากกว่าการเป็นเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเช่นนี้” “แล้วยังไงครับ” “โชคดีครับพี่ พอเรียนจบก็ได้ไปทำงานที่โรงงานในประเทศญี่ปุ่น” “ว้าววว แบบนี้ก็ไปโลดเลยสิ” “มันควรเป็นเช่นนั้นครับ แต่ทีนี้พอถึงช่วงวันหยุดผมก็อยากหารายได้พิเศษนะค
ทุกวันนี้ “หนูนา” กลายเป็นอาหารพื้นบ้านเมนูเด็ดที่ถูกใจคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง หนูนาจะหายากมาก เกษตรกรหลายรายจึงใช้เวลาว่างเลี้ยงหนูนาในบ่อซีเมนต์ขาย เพราะหนูนาเลี้ยงง่าย ขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี สร้างรายได้ทะลุหลักหมื่นบาทต่อเดือน คุณพิชิต ศรีจันทร์ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 21/1 หมู่ที่ 6 ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ เกษตรกรชาวสวนยางรายนี้ ได้ปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตร จากเดิมทำสวนยางเป็นพืชเชิงเดี่ยว มาทำสวนยางพาราแบบผสมผสานบนเนื้อที่ 11 ไร่ โดยมีอาชีพเสริมที่หลากหลาย ทั้งปลูกไม้ผล เลี้ยงสัตว์ และปลูกผักสวนครัว นอกจากนี้ เขายังเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หนูนา ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภค การเลี้ยงหนูนา ใช้เวลาเลี้ยงสั้น ต้นทุนต่ำ ที่สำคัญขายได้กำไรดีมาก คุณพิชิต เลือกเลี้ยงหนูนาเป็นรายได้เสริม โดยลงทุนซื้อบ่อท่อซีเมนต์ จำนวน 2 วง นำมาวางซ้อนกัน จำนวน 3-4 บ่อ หลังจากนั้น เจาะด้านล่างท่อซีเมนต์และเชื่อมบ่อด้วยท่อพีวีซีเพื่อให้หนูนาได้มีพื้นที่ในการนอน กินอาหาร และวิ่งหากันได้ รองพื้นด้วยฟางข้าวแห้ง แกลบดิบเพื่อดูดกลิ่น เสิร์ฟด้วยหัวอาหารผสมรำอ่อน กล้วยสุก หญ้าเนเปียร์ ข
ประเพณีสุดม่วนเสน่ห์แดนอีสาน โดยฝรั่งหัวใจไทย “แดเนียล เฟรเซอร์” พาสัมผัสวิถีชีวิต และประเพณีต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองสุดมัน ออกสเต็ปการเต้นบาสโลบกับชาวบ้านโนนศิลา พร้อมชมความมหัศจรรย์จากธรรมชาติ ที่สร้างสรรค์อาหารประจำถิ่นเป็น ไข่เค็มดินจอมปลวก อร่อยเด็ด ณ จังหวัด บึงกาฬ บึงกาฬ จังหวัดที่มากไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น หินสามวาฬ ภูทอก น้ำตกเจ็ดสี เป็นต้น ซึ่งนอกจากธรรมชาติอันงดงาม บึงกาฬ ยังมีเสน่ห์ที่ทำให้ “แดเนียล เฟรเซอร์” เกิดอาการ ตกหลุมรักซ้ำแล้วซ้ำเล่า เริ่มด้วยเรื่องราวของวิถีชีวิต และวัฒนธรรมโบราณ อย่าง การเต้นบาสโลบ ประเพณีต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ของชาวบ้านโนนศิลา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จากนั้นไปลองลิ้มชิมรสผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่ออย่าง “ไข่เค็มดินจอมปลวก” เรียกได้ว่าเป็นความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติมอบให้ เพราะกระบวนการผลิตนั้น นำดินจอมปลวกที่มีน้ำลายปลวกผสมอยู่ตามธรรมชาติ มาพอกไข่เค็ม ซึ่งดินจอมปลวกมีส่วนช่วยดับกลิ่นคาว ทำให้ไข่เค็มปราศจากกลิ่นไม่พึงประสงค์นั่นเอง จากนั้นแวะไปชิมขนมชื่อแปลกอย่าง “ขนมข้าวโปร่งหูช้าง” ที่บ้านใกล้เคียงอย่าง บ้านโนนสว่าง
คุณธนวณิช ชัยชนะ หรือ คุณอ๊อด วัย 52 ปี ต่อสู้และฝ่าฟันมรสุมชีวิตมาเสมือนแมวเก้าชีวิต กว่าจะขึ้นมาสู่เส้นทางเถ้าแก่ หรือเจ้าของธุรกิจยางพาราติดอันดับ 1 ใน 5 ของจังหวัดบึงกาฬ แต่กว่าคุณอ๊อดจะมาอยู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมยางพาราเมืองไทยนั้น คุณอ๊อดเริ่มชีวิตจากการ “รับจ้าง” กรีดยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งแน่นอนว่า ในการกรีดยางนั้นเป็นอาชีพที่ทำในช่วงที่คนอื่นกำลังนอนอย่างมีความสุข แต่ผู้รับจ้างกรีดยางจะต้องใช้เวลา 21.00 น. ถึงตี 4 ของวันรุ่งขึ้น กรีดยางแต่ละต้น เรียกว่า ถ้าไม่สู้จริง ไม่อาจยืนด้วยลำแข้งกับอาชีพรับจ้างกรีดยางพารา โดยคุณอ๊อดอยู่ในวิถีรับจ้างกรีดยางพารา 2 ปีครึ่ง “ผมกรีดยางตั้งแต่ 3 ทุ่ม ถึงตี 4 ทำอยู่ 2 ปีครึ่ง ด้วยความสุข ซึ่งปีนั้นคือ ปี 2554 ราคายางสดอยู่ที่กิโลกรัมละ 170 บาท ทำให้มีรายได้เดือนละ 200,000-300,000 บาท” คุณอ๊อดเล่าให้ฟังถึงเส้นทางชีวิตก่อนเป็นเถ้าแก่เจ้าของโรงงานผลิตสินค้าแปรรูปจากยางพารากว่า 20 รายการ เส้นทางการต่อสู้ของคุณอ๊อดยังมีเรื่องสนุกและท้าทายอีก เมื่อคุณอ๊อดไปโลดแล่นและเผชิญชีวิตอยู่ในต่างแดน อย่างประเทศนิวซีแลนด์ โดยใช้วุฒิเพียงมัธยมศึกษาตอนปลาย หร
ทุกวันนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกล ทำให้มนุษย์ทำงานได้ง่ายขึ้นก็จริง แต่การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมและมีผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน จึงช่วยให้องค์กรนั้นมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่นเดียวกับ “วิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง” แม้จะเพิ่งเริ่มต้นดำเนินงานได้ไม่นาน แต่มีผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ นำมาพัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จ กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านแปรรูปยางพาราระดับแนวหน้าของจังหวัดบึงกาฬ ที่ผู้สนใจจากทั่วประเทศสนใจเข้าแวะเยี่ยมชมกิจการตลอดทั้งปี ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง ตั้งอยู่เลขที่ 65/10 บ้านเหล่าเงิน ตำบลเหล่าทอง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ โทร.093-696-2999 กลุ่มฯ แห่งนี้อยู่ภายใต้การนำของประธานกลุ่มฯ คือ “คุณธนวณิช ชัยชนะ” หรือ “คุณอ๊อด” ซึ่งเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่สวมหมวกหลายใบในฐานะประธานเกษตรแปลงใหญ่ จังหวัดบึงกาฬ คุณอ๊อดยังมีธุรกิจส่วนตัว ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีแก้วรับเบอร์เทค จำกัด และ บริษัท ชัยชนะฟาร์ม จำกัด จุดเริ่มต้น เกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย นิยมปลูกต้นยางพาราพันธุ์ส่งเสริม ได้แก่ RRIM 600 และ RRIT 251 แล
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม เวลา 08.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศในวันหยุดสุดสัปดาห์ก่อนจะถึงเทศกาลปีใหม่นี้ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดใกล้เคียง เข้าชมความงดงามของทะเลบัวแดงกันอย่างคึกคัก ที่เกิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ ภายในหนองเลิง หนองน้ำสาธารณะซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านสันติสุข หมู่ 5 ต.ดอนหญ้านาง อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “มหัศจรรย์บัวริมบึง@ หนองเลิง” โดยในปีนี้ความน่าสนใจอยู่ที่บัวแดงกลายเป็นบัวชมพูที่มีสีสันสวยงาม โดยเทศบาลตำบลดอนหญ้านางได้จัดให้มีเรือหางยาว ไว้คอยรอรับบริการนักท่องเที่ยว นั่งเรือชมบัว ในราคาเที่ยวละ 100 บาทตลอดเส้นทาง จนนักท่องเที่ยวพอใจ เพื่อเลาะชมความสวยงาม และถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก หรือจะส่งต่อความสวยงามของบัวชมพู ที่เบ่งบานสะพรั่งไปตามสังคมออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีนกหลากหลายชนิดที่บินวนหากินและเล่นน้ำอยู่ในหนองน้ำแห่งนี้ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ท่ามกลางบรรยากาศยามเช้าที่เย็นสบายอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และใกล้กันยังมีสะพานไม้ที่ทอดยาวลงไปในหนองน้ำกว่า 100 เมตร ถือว่าเป็นจุดถ่ายรูปแห่งใหม่ที่ชาวบ้านชุมชน
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) บึงกาฬ และจังหวัดบึงกาฬ เจ้าภาพหลักในการจัด “งานวันยางพารา บึงกาฬ 2562” ได้เปิดเวทีเสวนาปราชญ์ชาวบ้าน ในหัวข้อ “วิสาหกิจชุมชนยางพาราต้นแบบ” โดย คุณธนวนิช ชัยชนะ ประธานวิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง จังหวัดบึงกาฬ ต้นแบบประชารัฐ จังหวัดบึงกาฬ คุณธนวณิช ชัยชนะ หรือ “คุณอ๊อด” เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่สวมหมวกหลายใบในฐานะ ประธานเกษตรแปลงใหญ่ จังหวัดบึงกาฬ และเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง ขณะเดียวกัน คุณอ๊อด ยังมีธุรกิจส่วนตัว ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีแก้วรับเบอร์เทค จำกัด คุณอ๊อด มีอาชีพทำสวนยางพารา 76 ไร่ ในพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย ยางก้อนถ้วยมีปัญหาโดนกดราคารับซื้อจากพ่อค้าคนกลางมาโดยตลอด คุณอ๊อดจึงรวมกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในท้องถิ่น นำน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยางแผ่นออกจำหน่าย ปรากฏว่า ขายได้ราคาดีและมีผลกำไรมากขึ้น ต่อมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินกิจกรรม “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง เป็นหนึ่งในสถ
“ยางพารา” เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีช่วงการเปิดกรีดนาน 25-30 ปี ซึ่งแต่ละปี จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับบำรุงรักษาต้นยางค่อนข้างมาก ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา เจ้าของสวนยางพาราส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มักประสบปัญหาขาดแคลนเงินทุน เพราะมีรายได้จากการขายยางน้อยลง สวนทางกับปัจจัยการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรบำรุงรักษาต้นยางได้ไม่เต็มที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2562 ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้เชิญ คุณประสงค์ หลวงทำเม ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี มาเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ทำได้จริง ลดต้นทุนในสวนยาง ด้วยปุ๋ยอินทรีย์” บนเวทีเสวนาปราชญ์ชาวบ้าน เมื่อวันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2561 ลดต้นทุนในสวนยางด้วย “ปุ๋ยอินทรีย์” คุณประสงค์ หลวงทำเม ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ได้แนะนำให้เกษตรกรชาวบึงกาฬลดต้นทุนในสวนยาง ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ “สูตรวิศวกรรมแม่โจ้ 1” ของ ผศ. ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษ
คุณบุญนาค ศรีสว่าง ปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกรดีเด่นของจังหวัดบึงกาฬ นับเป็นบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการทำสวนเกษตรผสมผสาน ช่วยกระจายความเสี่ยงการลงทุน ทำให้เขาไม่ขาดแคลนรายได้ เมื่อเผชิญหน้ากับภาวะราคายางพาราตกต่ำในวันนี้ ดังนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดบึงกาฬซึ่งเป็นผู้จัดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2562 จึงได้เชิญ คุณบุญนาค มาเป็นวิทยากรเวทีปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อแบ่งปันความรู้ ในหัวข้อ “จัดสรรสวนยางพารา สร้างรายได้หลักแสนต่อปี” เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 คุณบุญนาค เป็นอดีตทหารอากาศ ที่ลาออกมาทำอาชีพเกษตรกรรม เพราะใจรัก ที่ผ่านมา เขามีรายได้หลักจากอาชีพการทำสวนยางพารา และมีรายได้เสริมจากการทำสวนผลไม้ที่ปลูกแบบผสมผสาน แต่วิกฤตราคายางตกต่ำในทุกวันนี้ ทำให้ตัวเลขรายได้จากธุรกิจสวนผลไม้กำลังวิ่งแซงหน้ารายได้ธุรกิจสวนยางไปเสียแล้ว คุณบุญนาค เริ่มต้นทำสวนผลไม้ ตั้งแต่ปี 2518 โดยปลูกละมุดพันธุ์มะกอก มะพร้าวน้ำหอม เขาเป็นเกษตรกรคนแรกที่นำต้นเงาะโรงเรียนจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาปลูกที่จังหวัดบึงกาฬ เมื่อ 40 กว่าปีก่อน (สมัยนั้นอำเภอศรีวิไล อยู่ในจังหวัดหนองคาย) จนหลายคนหาว่าเขาบ
การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2562 ในวันที่ 3 ตรงกับช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ มีเกษตรกรและประชาชนสนใจเข้าร่วมชมงานกันอย่างคึกคักตลอดทั้งวัน โดยช่วงบ่าย เปิดเวทีปราชญ์ชาวบ้าน เสวนาพร้อมความรู้ สู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน มีผู้สนใจเข้ารับฟังเสวนาในหัวข้อต่างๆ เป็นจำนวนมาก สร้างถนนยางทุกหมู่บ้านทั่วไทย ดึงยางจากตลาดได้ถึงร้อยละ 50 เวทีเสวนา “ ถนนยางพาราดินซีเมนต์ ทางรอดของการใช้ยางพารา ” ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. ระพีพันธ์ แดงตันกี รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนางานวิจัยและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และคุณนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ (อบจ.บึงกาฬ) ร่วมแชร์ข้อมูลการสร้างถนนยางพาราดินซีเมนต์ บนเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผศ.ดร. ระพีพันธ์ เปิดเผยว่า ถนนยางพารา เกิดจากงานวิจัยเมื่อปลายปี 2556 และเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานวันยางพาราบึงกาฬเมื่อ 3 ปีที่แล้ว งานวิจัยชิ้นนี้ได้แรงบันดาลใจจาก นวัตกรรมสร้างถนนของเยอรมัน ที่ประสบปัญหาการก่อสร้างถนนที่มีความชื้นสูง ทำให้ถนนทรุดได้ง่าย จึงพัฒนาการรักษาคุณภาพถนนรูปแบบใหม่ เรียกว่า “ ถนน