จังหวัดเชียงใหม่
ดร. ศศินันท์ วาสิน พร้อมด้วยทีมงานสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตและสุขอนามัยของประชาชนในพื้นที่เพื่อจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เบื้องต้นด้านสุขศึกษาแก่เยาวชนให้สามารถทำหน้าที่เป็นหมอจิ๋วดูแลสุขอนามัยผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังที่นอนติดเตียงได้ และจากการสำรวจชุมชนก่อนจัดโครงการ พบว่า ชุมชนอำเภอแม่แจ่มต้องการให้ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้ามาช่วยให้ความรู้และรณรงค์ให้ชาวบ้านและเกษตรกรลดการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร ซึ่งปัญหาหลักมาจากการใช้สารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟสกับการทำการเกษตรในทุกพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งและโรคไตจำนวนมาก สารเคมีจากการเกษตรกระจายลงแหล่งน้ำและสะสมทุกวัน ซึ่งแหล่งน้ำ 30% ของแม่แจ่มไหลลงแม่น้ำปิง จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีกับการเกษตรโดยเร่งด่วน นอกจากนั้นยังพบปัญหาหมอกควันจา
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมโรงงานผลิตภัณฑ์นมห้วยแก้ว สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนบน จ.เชียงใหม่ พร้อมมอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน อ.ส.ค. โดยมี นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ดร. อาทิตย์ เพ็ชรรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อ.ส.ค. และ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ค. พร้อมด้วยผู้บริหาร/พนักงาน อ.ส.ค. หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้การต้อนรับ ณ สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนบน ต.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ. เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรม “สืบสาน รักษา พัฒนา ดิน น้ำ ป่า อย่างยั่งยืน” เนื่องในวันดินโลก 5 ธันวาคม world soil day ระหว่างวันที่ 2-8 ธันวาคม 2562 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ชมนิทรรศการวันดินโลก ภายใต้แนวคิด “ปกป้องอนาคต ลดการชะล้างดิน” กิจกรรมเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรดิน สิ่งแวดล้อม และการเกษตร เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด งานโครงการหลวง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. มีนโยบายที่สนับสนุนงานโครงการหลวงและขยายผลงานโครงการหลวงในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมบนที่สูงของประเทศไทย ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน เป็นกลไกในการเสริมสร้างงานวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสร้างความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ด้วยการรักษาและต่อยอดงานโครงการหลวงให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยขยายผลสำเร็จข
จังหวัดเชียงใหม่ จัดประชุมเชิงปฏิบัติ “การดำเนินงานตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ” มีปลัดอำเภอ เกษตรอำเภอ พัฒนาการ ผู้นำชุมชน 25 อำเภอ กว่า 150 คน เข้าร่วม คาดหวังนำความรู้ไปจัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่เกิดจากความต้องการของคนในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนให้ตรงจุดต่อไป นายชูชีพ พงษ์ไชย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อที่จะนำความเจริญผาสุขมาสู่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของประชาชน บนพื้นฐานหลักการทรงงานโดยเฉพาะ หลักการ “ระเบิดจากข้างใน” โดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนนำความต้องการของชุมชนมาเป็นโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่ “หลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ คาดหวังให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นำความรู้ไปใช้ในการจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรมของชุมชนเอง ที่มีหลักคิดว่าเกิดจากความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง จากฐานข้อมูลที่เป็นจริง เกิดการจัดทำแผนพัฒนาของหมู่บ้าน แผนพัฒนาอำเภอและจังหวัด และเป็นแผนของชุมชนให้หน่วยงานต่างๆ วางแผนการส่งเสริมสนับสนุน โดยกลับไปเริ่มดำเนินการได้ทันที” นายชูช
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โครงการเกษตรวิชญา เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 10 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ ณ บ้านกองแหะ ตําบลโป่งแยง อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,350 ไร่ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อใช้เป็นคลินิกเกษตร สำหรับบริการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรชุมชน ศูนย์ฝึกอบรมการ ทำการเกษตรบนพื้นที่สูง ศูนย์สาธิตและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร และฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เป็นธนาคารอาหารชุมชน สศก. โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (สศท.1) ได้ศึกษาภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนเกษตรของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรวิชญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่โครงการให้สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาด้านการเกษตร รวมทั้งแก้ปัญหาทางการเกษตรในปัจจุบันได้ และจากการสำรวจเกษตรกรจำนวน 42 ราย ที่เข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่โครงกา
ก่อนสิ้นปี พ.ศ. 2561 สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ได้ร่วมจัดงาน แม่โจ้ 85 ปี จุดประสงค์เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าที่เรียนจบไปแล้ว และบรรดานักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ รำลึกถึงสมัยยังเล่าเรียนกันมา เพื่อเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์ให้หวนคิดถึงอดีต ความลำบาก สนุก และความยากเย็น กว่าจะผ่านการเรียนและการงานที่สมกับคำร่ำลือถึงว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” ที่ลูกแม่โจ้จงจดจำไว้จนวันตาย ว่างั้นเถอะ เพื่อให้สมกับเป็นสถาบันเกษตรที่เก่าแก่ งานที่สมาคมศิษย์เก่าจัดประสบความสำเร็จในครั้งนี้ ยังมีการโชว์วิสัยทัศน์ให้บรรดาศิษย์เก่าและปัจจุบัน จัดภูมิทัศน์หลากหลายความสวยงาม สื่อจากกรุงเทพฯ ไปทำข่าว กล่าวกันว่า ถ้าจัดในกรุงเทพฯ คิดว่าผู้คนคงล้นหลามเข้ามาชมมากมาย เพราะแม่โจ้มีฝีมือในการประกวดจัดสวนนานาชนิด คว้ารางวัลมามากมาย แม้แต่งานลอยกระทงที่ผูกขาดรางวัลชนะเลิศติดต่อกันถึงปัจจุบัน ต้องให้เครดิตแม่โจ้ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคม นอกเหนือจากงานผลิตผลและผลิตภัณฑ์มาโชว์ในงานอีกมากมาย ล้วนเป็นฝีมือบรรดานักศึกษาทั้งสิ้น ใครไปเที่ยวงานแม่โจ้ที่ผ่านมา วันที่ 8-16 ธันวาคม 2561 นั้น รับรองไม่ผิดหวัง แม่โจ้ เป็นสถาบันการเกษตรที่เก่าแก
จังหวัดเชียงใหม่ เดินหน้ายุทธศาสตร์กาแฟแห่งจังหวัดเชียงใหม่ 2561-2565 ผลักดันเชียงใหม่เมืองกาแฟต่อเนื่อง ล่าสุดจับมือกระทรวงเกษตรฯ ภาคเอกชน ต้นน้ำ-ปลายน้ำ และผู้ผลิตกาแฟอาเซียนจัดการประชุมการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในอาเซียน ครั้งที่ 1 (1st ASEAN1 Coffee Industry Development Conference: 1st ACID) ขึ้น ระหว่าง วันที่ 14 -17 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ หวังร่วมมือสร้างอาเซียนเป็นแหล่งผลิตกาแฟสำคัญของโลก นายมนัส ขันใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นเมืองกาแฟอย่างแท้จริงว่า เชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีศักยภาพและความพร้อมอย่างมากในการก้าวสู่เมืองกาแฟที่สำคัญของโลก ด้วยองค์ประกอบที่เป็นทั้งพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพซึ่งเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมกาแฟ มีธุรกิจร้านกาแฟมากกว่า 1,000 แห่ง รวมถึงมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกาแฟและการแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นในส่วนของกลางน้ำและปลายน้ำอย่างครบวงจร โดยทางจังหวัดได้มีการวางยุทธศาสตร์กาแฟแห่งจังหวัดเชียงใหม
เปียงหลวง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ติดชายแดนพม่า ในอดีตมีด่านช่องหลักแต่ง เป็นด่านชั่วคราวที่เปิดการค้าขายชายแดนที่คึกคัก แต่ต้องปิดถาวร เมื่อปี 2545 ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีนยูนนานและไทยใหญ่ โดยชาวจีนยูนนานนั้นได้อพยพเข้ามาในสมัยนายพลเจียงไคเช็ค ส่วนชาวไทยใหญ่ได้เข้ามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงจัดทัพทหารอันเกรียงไกร 100,000 นาย มุ่งไปยึดเมืองนายกลับคืนจากพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2147 ซึ่งนักรบชาวไทยใหญ่ได้ร่วมทัพจับศึกในครั้งนั้นด้วย และในปัจจุบันทั้งคนไทยเชื้อสายจีนยูนนานและไทยใหญ่ ยังคงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์อยู่อย่างมั่นคง การทำใบเหนี่ยง หรือใบชา ของชาวไทยใหญ่ ชาวไทยใหญ่เรียกขานใบชาว่า ใบเหนี่ยง เป็นชาอัสสัมดั้งเดิมที่ปลูกต่อกันมาตั้งแต่อดีต ชาวบ้านนิยมเก็บยอดใบชาตั้งแต่รุ่งเช้า จากนั้นจะนำใบชามาคั่ว โดยใช้กระทะตั้งบนเตาไฟที่ใช้ หลัว หรือไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ใส่น้ำลงในกระทะ ประมาณ 1 ถ้วยแกง แล้วนำใบชาลงคั่ว โดยจะคนพลิกใบชาตลอดเวลาการคั่ว จนกระทั่งใบชาเป็นสีเขียวปนเห
เชียงใหม่ – นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อร่างยุทธศาสตร์กาแฟจังหวัดเชียงใหม่ โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟล้านนาคุณภาพ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 เผยว่า จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดต้นน้ำ และมีสภาพอากาศดี บางพื้นที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป เหมาะแก่การปลูกกาแฟอย่างยิ่ง กาแฟสามารถปลูกได้ดีใต้ร่มเงาของต้นไม้ต่างๆ อย่างไรก็ตามจังหวัดเชียงใหม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี จังหวัดเชียงใหม่จะเป็นเมืองแห่งกาแฟ จากการศึกษาพบว่า การปลูกกาแฟบนพื้นที่สูงส่งผลให้เกษตรกรไม่เผาทำลายป่า เพราะเกษตรกรต้องดูแลรักษาต้นกาแฟให้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผลผลิตกาแฟมีคุณภาพ ส่วนด้านการตลาดพบว่า กาแฟยังมีความต้องการสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เชิญผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุมเพื่อร่างยุทธศาสตร์กาแฟแห่งจังหวัดเชียงใหม่ 2561-2565 ไว้ 5 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิตโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม, กลยุทธ์ที่ 2 พัฒ
12 – 16 เมษายน 2560 จวนมาแอ่วงาน “ปี๋ใหม่เมือง ดอกเอื้องงาม (Songkran Festival, a Romantic Touch of Orchids)” ชมเสน่ห์ดอกเอื้องเมืองเหนือและกล้วยไม้ไทยกว่า 100 ชนิดที่บานสะพรั่งทั่วเรือนกล้วยไม้ ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปเสริมบารมีปี๋ใหม่เมือง นั่งสามล้อถีบแอ่วชมสวนแวะผ่อดอกเอื้อง จวนกั๋นปั่นรถถีบก๋างจ้อง ถ่ายภาพม่วนใจ๋ปี๋ใหม่เมืองกับมุมถ่ายภาพแบบล้านนา สาธิตทำอาหารและขนมพื้นเมือง ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งจับจ่ายซื้ออาหารและสินค้าพื้นเมืองในกาดหมั้วครัวฮอม พร้อมร่วมลุ้นรับตั๋วเครื่องบินไทยสมายล์ จำนวน 10 รางวัล ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 053-114110-5 “Ride a tricycle, admire Thai native orchids and enjoy Lanna New Year at Royal Park Rajapruek “ April 12 – 16, 2017. “Songkran Festival, a Romantic Touch of Orchids” at Royal Park Rajapruek. Admire the charms of Thai native orchids and Thai orchids over 100 species that bloom around the orchid pavilion / Pouring water onto the Buddha image for lucky / Ride Tricycle in the garden and