จังหวัดแพร่
สถานการณ์ไฟป่าและฝุ่นควันยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวขวัญในระดับประเทศและระดับนานาชาติ แม้ว่าการเกิดปรากฏการณ์ไฟป่าเป็นวัฏจักรตามธรรมชาติ แต่ยังสามารถควบคุมจากการคาดเดาจุดเกิดเหตุและช่วงเวลาที่เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้งได้ ทว่า ไฟป่า ที่เกิดจากมนุษย์นั้นยากต่อการควบคุม และไม่อาจคาดการณ์สถานที่หรือช่วงเวลาได้ แต่การให้ชุมชนป้องกันป่า สามารถตอบโจทย์และลดทอนปัญหาข้างต้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง เป็นตัวอย่างเชิงประจักษ์ที่ชุมชนร่วมมือกันอย่างแข็งขันปกป้องและดูแลผืนป่าชุมชน การสร้างพลังชุมชนของบ้านแม่ขมิงเริ่มจากการน้อมนำศาสตร์พระราชา “ปลูกป่าในใจคน” หล่อหลอมคนในชุมชนมองเห็นคุณค่าของป่า ส่งผลให้การบุกรุกแผ้วถางป่าค่อยๆ ลดลงจนหมดไปจากพื้นที่ ขณะที่การดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าของชุมชนเพิ่มความแข็งแกร่งมากขึ้นๆ จนปัจจุบันกลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและเป็นต้นแบบในการจัดการป่าอย่างยั่งยืน และเป็นแกนนำที่ร่วมกับภาครัฐในการปลูกป่าในใจคนด้วย นางบุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ที่บริษัทฯ ริเริ่มแล
นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ ดร. พงศธร ประภักรางกูร ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมคณะนักวิจัยและนักวิชาการ วว. เข้าประชุมหารือความร่วมมือกับผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในการขับเคลื่อนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตการเกษตรของจังหวัดแพร่ ซึ่งทาง อบจ.แพร่ อยู่ในระหว่างการเตรียมข้อมูลแนวทางการบริหารจัดการและจัดทำกรอบแผนงานในการขับเคลื่อนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ดังกล่าว เพื่อนำเสนอพิจารณาในที่ประชุมสภา อบจ. และนำเสนอเรื่องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ในการขอใช้ประโยชน์ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการและกลุ่มวิสาหกิจในพื้นที่ ให้เกิดการสร้าง รายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชุมชน โอกาสนี้ วว. ยังได้ลงพื้นที่ร่วมกับผู้แทน อบจ. ในการตรวจดูสถานที่ผลิตและให้คำแนะนำปรึกษาการดำเนินการผลิตสุราพื้นบ้าน ณ ถ้ำผานางคอย ซึ่งมีความต้องการเข้าร
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ในพื้นที่จังหวัดแพร่ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก (สศท.2) ได้ทำการศึกษาเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ รวมทั้งสินค้าทางเลือกที่มีศักยภาพสำหรับปรับเปลี่ยนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวเหนียวนาปี โดยผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ 1 การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวเหนียวนาปีในพื้นที่เหมาะสมมาก (S1) และเหมาะสมปานกลาง (S2) ควรส่งเสริมและพัฒนาโดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพสินค้าสู่มาตรฐาน ควบคู่กับการสร้างกลุ่มที่เข้มแข็งและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มที่ 2 การผลิตในพื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในกรณีที่เกษตรกรสนใจปรับเปลี่ยนการผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (มีพื้นที่ S3 และ N รวม 305,665 ไร่) พื้นที่อำเภอร้องกวาง อำเภอเมือง และอำเภอลอง พบว่า สามารถปลูกไม้ผลเป็นพืชทางเลือกได้ 2,613 ไร่ และใ
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน แก้วมังกรได้รับความนิยมและมีการปลูกอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งจากตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้มีการรวมกลุ่มผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ จำหน่ายผลผลิตทั้งแบบสดและแบบแปรรูปส่งออกตลาดต่างประเทศ สามารถสร้างมูลค่าทางการค้าเข้าสู่จังหวัดได้เป็นอย่างมาก ยกระดับและต่อยอด จนชูเป็นสินค้าหลักภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดเมืองต้นแบบสุขภาวะผู้สูงวัย เนื่องจากเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ที่กลุ่มผู้รักสุขภาพนิยมรับประทานสด เพราะมีรสหวาน เส้นใยมาก และแคลอรีต่ำ มีสรรพคุณทางยาช่วยบรรเทาอาการโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ มีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแก้วมังกรตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เกิดขึ้นจากเกษตรกรผู้ปลูกแก้วมังกรรวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่ายในรูปแบบแปลงใหญ่ มีเกษตรกรสมาชิก 94 ราย พื้นที่รวม 840 ไร่ ส่วนใหญ่ได้รับมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) แล้ว เมื่อต้นปี 2561 และพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic) ปัจจุบัน มีการนำร่องแก้วมังก
คุณเสกสันติ์ รอบรู้ และ คุณอัญชลี พงค์ศิริแสน สองสามีภรรยา จากชีวิตจริงในอดีตจากการไม่รู้สู่การเรียนใฝ่คว้าหาความรู้ ฝึกฝนการทอผ้าไหมจนชำนาญ ผลิตผ้าไหมไทยยกดอกจนเป็นสินค้าโอท็อป ระดับ 5 ดาว ออกสู่สายตาชาวไทยและต่างประเทศจนได้รับรางวัลระดับ Asian ฉบับนี้ ผู้เขียนได้นำสิ่งดีๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยมานำเสนอท่านผู้อ่านโดยผู้เขียนได้ไปสนทนากับสองสามีภรรยา ณ ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านหม่อนไหม คุณเสกสันติ์และคุณอัญชลี อยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 2 บ้านท่อสมาน ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 54120 ภายในบริเวณบ้านเปิดเป็นศูนย์ท่องเที่ยว โรงทอผ้าไหม ห้องแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย แต่กว่าจะมาถึงวันนี้คุณเสกสันติ์-คุณอัญชลี เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า เมื่อ 20 กว่าปีก่อนทั้งสองไปทำงานเกี่ยวกับผ้าไหมที่จังหวัดลำพูน และได้ขอรับการฝึกหัดทอผ้าไหม พอได้ทักษะประสบการณ์ก็กลับมาทอผ้าเองที่บ้าน ต้องทำเองทุกอย่างในการทอผ้าไหม ในช่วงเวลาหนึ่งได้รับการสนับสนุนให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยได้ไปออกงานแสดงนิทรรศการมีผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาดูและชื่นชมในผลงาน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความมุ่งมั่นผลิตผ้าไหม และได้รั