จุลินทรีย์
หลายๆ คนอาจจะคุ้นตากันมาบ้าง แต่ก็มีอีกหลายคนที่อาจจะยังไม่รู้ วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจะพาไปรู้จัก พด. คืออะไรกันนะ ต้องบอกก่อนว่า พด. คือ จุลินทรีย์ที่ผลิตโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีหลายชนิดมาก โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน มีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย ✨กลุ่มที่ 1 จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช – สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 – สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 – จุลินทรีย์ ซุปเปอร์ พด.9 – จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 – ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ✨กลุ่มที่ 2 จุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช – สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 – สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ✨กลุ่มที่ 3 จุลินทรีย์รักษาสิ่งแวดล้อม – สารเร่ง พด.6 จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ พด. มีหลากหลายสูตรเลยทีเดียว แต่ละสูตรใช้งานยังไง แตกต่างกันแบบไหน วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้สรุปมาให้ทุกคนได้อ่านกัน เกษตรกรบางคนอาจจะเคยเห็นมาบ้างแล้ว ใครยังไม่รู้ไปดูกันได้เลย ✨สารเร่ง พด.1 กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่มีองค์ประกอบของเซลลูโลสและไขมันที่ย่อยสลายยาก เช่น ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว
ชวนกินอาหารที่อุดมไปด้วย ‘โพรไบโอติกส์’ และ ‘พรีไบโอติกส์’ จุลินทรีย์และแบคทีเรียดีที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าที่พวกเราเข้าใจ โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ดีขนาดเล็กที่ทำให้สุขภาพดี ช่วยบรรเทาท้องเสีย ลดการอักเสบและอาการผิดปกติอื่นๆ ของลำไส้ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง ป้องกันมะเร็งลำไส้ ส่งเสริมการดูดซึมสารอาหาร ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นต้น ซึ่งการมีโพรไบโอติกส์ที่เพียงพอต่อลำไส้จะช่วยให้เกิดความสมดุล และลดโอกาสการเกิดโรคได้ แถมยังคงทนต่อกรดและด่าง สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดีออกจากร่างกายของเราได้นั่นเอง อาหารที่มีโพรไบโอติกส์อยู่ได้แก่ : อาหารที่ผ่านกระบวนการหมักบางชนิด เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโซะ ส่วน ‘พรีไบโอติกส์’ คืออาหารของโพรไบโอติกส์ เรียกว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก ตัวอาหารจึงไปกองอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ ก่อนจะถูกย่อยโดยโพรไบโอติกส์ อาหารที่มีพรีไบโอติกส์อยู่ได้แก่ : น้ำนมแม่ พืช ผัก ผลไม้ ที่มีใยอาหารมาก เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส อินูลิน เพคติน ฟรุคโตโอลิโกแซ็คคาไรค์ ซึ่ง
ธรรมชาติ มีความหลากหลายของพืชพรรณที่ขึ้นปะปนกันไป อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ร่วมกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ก็สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดฤดูที่ผ่านไป การเลียนแบบธรรมชาติในการทำไร่นาสวนผสม ด้วยการปลูกพืชหลายชนิดปะปนกัน โดยคำนึงถึงชนิดของพืชแต่ละชนิดว่ามีจะเจริญโตได้ดีในสภาพเช่นใด ซึ่งการวางแผนและระบบนั้นจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการตลอดไปทุกระยะตั้งแต่การปลูก การดูแลบริหารจัดการน้ำ ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว และการขนส่ง การจัดทำไร่นาสวนผสมแต่คนจะมีความแตกต่างกัน เช่น “สวนธรรมพอดี” เป็นสวนที่อยู่ท่ามกลางกลางทุ่งนามีพืชหลากหลายปลูกปะปนกัน หลายคนมองเห็นแล้วนึกเสียดายพื้นที่และตำหนิในเริ่มแรกที่พบเห็นสวนที่รกรุงรัง คิดว่าเจ้าของสวน “ขี้เกียจ” ไม่ดูแล แต่พบว่า เจ้าของสวนนี้ มีผลผลิตพืชหลายชนิดวางจำหน่ายในตลาดนัดเป็นประจำ คุณนิตยา บุญจันทร์ เกษตรกรต้นแบบการบริหารจัดการศัตรูพืช ประจำศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอำเภอหันคา (ศพก.) บ้านเลขที่ 146 หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า หลังจากจบก
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยไบโอเทค สวทช. เปิดตัวความสำเร็จผลงานวิจัย “โปรตีนทางเลือกจากจุลินทรีย์” หรือ “มัยคอโปรตีน (Mycoprotein)” ที่ผลิตได้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เผยโปรตีนที่ได้มีลักษณะเส้นใยคล้ายเนื้อสัตว์ ไม่มีคอเลสเตอรอล อุดมด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และเบต้ากลูแคน ที่สำคัญบริโภคได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย ไร้สารปนเปื้อน พร้อมร่วมมือบริษัทเอกชน พัฒนาสู่ “เนื้อบดเทียม” และ “ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป” ออกสู่ตลาด เผยเตรียมโชว์ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 16 (NAC2021) ที่จะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ระหว่าง วันที่ 25-30 มีนาคม 2564 นี้ ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยในงานแถลงข่าวการจัดงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2564 (NAC2021) ว่า ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมรับประทานโปรตีนทางเลือกมากขึ้น เนื่องด้วยความใส่ใจในสุขภาพ และความกังวลต่อความปลอดภัยของเนื้อสัตว์ที่อาจพบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ รวมถึงโรคต่างๆ ที่สั
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผนึกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป-กลุ่มผู้รวบรวมข้าวโพดหวานภาคเหนือ ดันงานวิจัย “กำจัดศัตรูพืช”ชูไฮไลต์เล็งนำ”จุลินทรีย์” ทดแทน 3 สารเคมี ที่ถูกแบน ทุ่มงบฯ 1 ล้านบาท เตรียมนำร่องทดลองในแปลงข้าวโพดหวานของเกษตรกรเขตภาคเหนือ ตั้งเป้าภายใน 6 เดือน ได้ผลสรุปงานวิจัยเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า บทบาทประการสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีเป้าหมายเด่นชัดที่วางจุดเน้นเรื่องการเกษตร เป็นศูนย์กลางหลักของการพัฒนาให้เป็นเกษตรกรรมแบบยั่งยืน โดยมุ่งลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ปรับทิศทางการเรียนการสอนสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันงานวิจัยด้านการเกษตรของมหาวิทยาลัยนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาให้แก่ภาคเกษตรกรรม ซึ่งจากกรณีประเด็นปัญหาการยกเลิกการใช้ 3 สารเคมี ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เล็งเห็นว่า งานวิจัยของทางมหาวิทยาลัยที่ได้ทำการศึกษาไว้หลายชิ้นสามารถต่อยอดการพัฒนา ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ทดแทน 3 สารเคมี ดังกล่าว ส. ผู้ผลิตอาหารฯ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างหนอกับภาวะการครองชีพ และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าและเรื่อยมาถึงช่วงนี้ ไม่กี่วันที่ผ่านมา เรากำลังท้อใจกับพี่น้องชาวนาและเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง นาข้าวยืนตายอย่างไม่มีทางช่วยเหลือ หรือแหล่งน้ำประปาที่แห้งกรัง จนภาครัฐต้องระดมสรรพกำลังมาช่วยดังข่าวที่นำเสนอกันมา ข่าวที่น่าวิตกที่สุดก็คือปริมาณน้ำที่เหลือในเขื่อนไม่ถึง 10% เป็นส่วนมาก ผ่านมาไม่กี่วัน ข่าวพายุโพดุลแวะเวียนเข้ามาเติมน้ำให้จนเกินปริมาณความต้องการ ทำเอาพื้นที่ภาคอีสานและทางภาคเหนือกลายเป็นผืนน้ำเกือบทั้งหมด ยังไม่จบสิ้น ข่าวพายุเหล่งเหลงก็ขย่มหัวใจกันอีกครั้ง ก่อนที่ท่านอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาจะมาให้ข่าวว่าไม่เข้าไทยหรอก แต่ที่จะเข้าก็คือพายุโซนร้อนคาจิกิ ฟังคราแรกก็ดีใจกัน แต่พอฟังจนจบก็ใจห่อเหี่ยวไปเยอะ นาข้าวที่ก่อนนั้นยืนต้นตายเพราะแล้งก็ถูกน้ำหลากท่วมจมมิดมองไม่เห็นผืนดิน เมื่อยังจะมีน้ำมาอีกระลอกก็คงท่วมจมมิดไม่เห็นกระทั่งความหวังในผลผลิตจากผืนนา ทำนายกันได้ว่าฤดูกาลเก็บเกี่ยวปลายปีนี้ ราคาข้าวคงดีดตัวขึ้นไม่น้อยแน่นอน แต่ในความโชคร้ายก็มีข่าวดีมาเ
“ไข่จุลินทรีย์ ดร.สุวรรณ” เริ่มต้นจากความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ในจังหวัดน่าน โดย รศ.น.สพ.เกรียงศักดิ์ พูนสุข คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.สุวรรณ ช่างกลึงดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พื้นที่จังหวัดน่าน ตั้งแต่ปลายปี 2548 เป็นต้นมา โดยวิธีการสุ่มเก็บตัวอย่าง คัดเลือกและวิจัยจุลินทรีย์ที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลา มูลสุกร และไก่พื้นบ้าน ที่มีความทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมในเขตพื้นที่จังหวัดน่าน จำนวน 11 สายพันธุ์ คัดเลือกจนเหลือ 7 สายพันธุ์ นำมาผสมเป็นอาหารเสริมจุลินทรีย์ใช้ผสมในอาหารไก่ไข่ทดลองในระยะการเจริญเติบโตและระยะการให้ผลผลิต จำนวน 2,500 ตัว เพื่อทดสอบความสามารถในการให้ผลผลิตไข่และความสามารถในการป้องกันโรค สรุปผลได้ว่า ลูกไก่ไข่มีอัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารดีกว่ากลุ่มลูกไก่ที่ไม่ได้รับอาหารเสริมจุลินทรีย์ ลูกไก่โตเป็นไก่สาวเร็ว สามารถให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 15-17 สัปดาห์ แม่ไก่สามารถให้ไข่ไก่ฟองโตและมีอายุการให้ไข่ไม่น้อยกว่า 90 สัปดาห์ จุลินทรีย์ช่วยให้เปลือกไข่ไก่แข็งแรง ไก่จุลินทรีย์ ที่เลี้ยงแบบปล่อยฝูงสามารถให้ไข่ได้เฉล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คิดค้นการผลิตกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีชีวภาพ ที่สามารถเก็บไว้ได้นานโดยกระดาษไม่เหลืองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตกระดาษในเชิงหัตถกรรมจะใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต คือใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ในการแช่และต้มเยื่อกระดาษ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ใช้ในการฟอกเยื่อกระดาษ สารเคมีทั้งสองตัวนี้จะเป็นตัวทำให้กระดาษที่ได้ขาวสว่าง เนื่องจากเกิดการทำปฏิกิริยากับลิกนิน ทำให้ปริมาณลิกนินในเยื่อกระดาษลดลง แต่การใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ ถึงแม้จะทำให้ปริมาณลิกนินในเยื่อลดลง ในทางกลับกันผลผลิตเยื่อที่ได้ก็จะมีค่าลดลงเช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อสิ้นสุดกระบวนการต้มเยื่อ น้ำทิ้งที่ได้จะมีส่วนประกอบของโซเดียมที่อยู่ในรูปเกลือต่างๆ สารประกอบคาร์โบไฮเดรต และลิกนิน สารต่างๆ เหล่านี้เมื่อถูกปล่อยลงในน้ำทิ้งก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งปฏิกิริยาของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ใช้ในการฟอกเยื่อกระดาษก็เป็นแต่เพียงการทำให้ลิกนินก่อให้เกิดสีแตกตัวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการกำจัดลิกนิน เจ้าตัวลิกนินนี้เอง ที่จะทำให้กระดาษกลับเป็นสีเหลืองได้โดยง่าย นอกจากนี้การผลิตก
ผศ.ดร. สุจยา ฤทธิศร อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี คิดค้นการผลิตกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีชีวภาพ ที่สามารถเก็บไว้ได้นานโดยกระดาษไม่เหลืองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตกระดาษในเชิงหัตกรรมจะใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต คือใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ในการแช่และต้มเยื่อกระดาษ และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ใช้ในการฟอกเยื่อกระดาษ สารเคมีทั้งสองตัวนี้จะเป็นตัวทำให้กระดาษที่ได้ขาวสว่าง เนื่องจากเกิดการทำปฏิกิริยากับลิกนิน ทำให้ปริมาณลิกนินในเยื่อกระดาษลดลง แต่การใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ ถึงแม้จะทำให้ปริมาณลิกนินในเยื่อลดลง ในทางกลับกันผลผลิตเยื่อที่ได้ก็จะมีค่าลดลงเช่นกัน นอกจากนั้น เมื่อสิ้นสุดกระบวนการต้มเยื่อ น้ำทิ้งที่ได้จะมีส่วนประกอบของโซเดียมที่อยู่ในรูปเกลือต่างๆ สารประกอบคาร์โบไฮเดรต และลิกนิน สารต่างๆ เหล่านี้เมื่อถูกปล่อยลงในน้ำทิ้งก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งปฏิกิริยาของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ใช้ในการฟอกเยื่อกระดาษก็เป็นแต่เพียงการทำให้ลิกนินก่อให้เกิดสีแตกตัวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการกำจัดลิกนิน เจ้าตัวลิกนินนี้เอง ที่
นายมนตรี บาซอรี เกษตรกร จ.นครนายก ให้สัมภาษณ์ว่า ครอบครัวทำนากว่า 40 ไร่ ที่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก ปีหนึ่งปลูก 2 รอบ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะไม่ใช้วิธีการเผา แต่จะใช้จุลินทรีย์เพื่อสลายตอซังข้าว ปรากฏว่าได้ผล ไม่เกิน 7 วัน ตอซังข้าวก็ย่อยสลายหมด และเป็นปุ๋ย เป็นการบำรุงดินไปในตัว แต่การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าวนี้จะต้องใช้น้ำให้ท่วมตอซังข้าวถึงจะได้ผลดี สำหรับการใช้จุลินทรีย์นี้ใช้มาหลายปีแล้ว เพราะถือว่าคุ้ม เนื่องจากไม่ต้องใส่ปุ๋ยเพิ่ม เป็นการลดต้นทุน อย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ชอบเผา ส่วนใหญ่เป็นแปลงนาที่ใช้ปุ๋ยเคมี เกษตรกรรายใดมีปัญหาหลังการเก็บเกี่ยว โทร.มาพูดคุยปรึกษาหารือกับตนได้ ที่ 087-0087698 ทางด้าน นายชะเอม คงกระพันธ์ เกษตรกร อ.แสวงหา จ.อ่างทอง กล่าวว่า ปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณ 40 ไร่ ที่ผ่านมาประสบปัญหาข้าวดีด ข้าววัชพืช และเพลี้ยกระโดดลงนาข้าวเป็นอย่างมาก หลังจากได้ใช้จุลินทรีย์สลายตอซังข้าว และใช้รถย่ำตอซังข้าว ทั้งที่ยังสดๆ ตามที่ได้รับคำแนะนำ ผ่านไป 5 วัน ฟางข้าวและข้าววัชพืชก็ย่อยสลายไปเกือบหมด จากนั้นไถ่ปั่นและหว่านเมล็ดข้าวลงไปทันที พบว่า เมล็ดข้าวอ