ชาวสวนยาง
นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจ่ายเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง (เจ้าของสวน ผู้เช่า ผู้ทำ และคนกรีดยาง) ที่แจ้งและขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2562 เริ่มจ่ายในงวดแรก จำนวนกว่า 8 พันล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป เบื้องต้นมีเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. จำนวน 1,711,252 ราย แบ่งเป็นยางแผ่นดิบ 150,803 ราย น้ำยางสด 470,767 ราย และยางก้อนถ้วย 790,447 ราย คิดเป็นพื้นที่รวม 17,201,391 ไร่ นายสุนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเงินประกันรายได้ในแต่ละเดือน จะถูกแบ่งระหว่างเกษตรกรเจ้าของสวนยางและคนกรีดยางในสัดส่วน 60:40 (ตามสัดส่วนการจ้างส่วนใหญ่ของข้อมูลขึ้นทะเบียน) โดยราคากลางจะกำหนดโดยคณะกรรมการกำหนดราคากลางอ้างอิงงวดแรก (ประกาศ ณ วันที่ 25 ต.ค.62) กำหนดราคายางแผ่นดิบ 38.97 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด 37.72 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย 16.19 บาท/กิโลกรัม “กยท. กำหนดหลักเกณฑ์ของโครงการฯ โดยผู้มีสิทธิ์ร่วมโครงการจะต้องเป็นเกษตรกร
ทุกวันนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกล ทำให้มนุษย์ทำงานได้ง่ายขึ้นก็จริง แต่การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมและมีผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน จึงช่วยให้องค์กรนั้นมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่นเดียวกับ “วิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง” แม้จะเพิ่งเริ่มต้นดำเนินงานได้ไม่นาน แต่มีผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ นำมาพัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จ กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านแปรรูปยางพาราระดับแนวหน้าของจังหวัดบึงกาฬ ที่ผู้สนใจจากทั่วประเทศสนใจเข้าแวะเยี่ยมชมกิจการตลอดทั้งปี ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง ตั้งอยู่เลขที่ 65/10 บ้านเหล่าเงิน ตำบลเหล่าทอง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ โทร.093-696-2999 กลุ่มฯ แห่งนี้อยู่ภายใต้การนำของประธานกลุ่มฯ คือ “คุณธนวณิช ชัยชนะ” หรือ “คุณอ๊อด” ซึ่งเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่สวมหมวกหลายใบในฐานะประธานเกษตรแปลงใหญ่ จังหวัดบึงกาฬ คุณอ๊อดยังมีธุรกิจส่วนตัว ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีแก้วรับเบอร์เทค จำกัด และ บริษัท ชัยชนะฟาร์ม จำกัด จุดเริ่มต้น เกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย นิยมปลูกต้นยางพาราพันธุ์ส่งเสริม ได้แก่ RRIM 600 และ RRIT 251 แล
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) เปิดเผยว่า การแก้ไขวิกฤตราคายางพารา ตามแนวทางช่วยเหลือชาวสวนยาง จากโครงการสร้างความเข้มแข็งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนค่าครองชีพ โดยเฉพาะการใช้น้ำยางสดสร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ทุกหมู่บ้าน ใช้งบกว่า 1 แสนล้านบาท อาจจะมีผลกระทบกับการกำหนดราคาซื้อขายยางพารากับประเทศมาเลเซีย หากรัฐบาลทำให้โครงการมีผลเป็นรูปธรรมจะทำให้ราคายางสูงขึ้น ขณะที่ประเทศมาเลเซียได้เปลี่ยนจากผู้ผลิตเป็นผู้บริโภคน้ำยางข้นจากไทยปีละประมาณ 7 แสนตัน ทำให้ปัจจุบันมาเลเซียเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยางพาราของโลก และไม่ต้องการให้ราคายางในประเทศไทยสูงขึ้น เพราะต้องซื้อน้ำยางข้นจากไทยในราคาสูง “ระหว่าง วันที่ 11-14 ธันวาคมนี้ จะมีการประชุมไตรภาคียางพาราที่ประเทศมาเลเซีย โดยมีตัวแทนจากไทยเข้าร่วมประชุม ตามแถลงการณ์ร่วมบาหลีระดับรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ให้มีการจัดตั้งองค์การความร่วมมือไตรภาคียางพารา 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีกลไกความร่วมมือจากบริษัทร่วมทุนยางพ
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม เซียนเบ็ดหรือนักตกปลา จากทั่วสารทิศนับร้อยคน ต่างเดินทางมาวางเบ็ดตกปลากันที่ อ่างเก็บน้ำสาธารณะ ม.2 บ.น้ำลัด ต.สำนักแต้ว อ.สะเดา จ.สงขลา ภายหลังจากคณะกรรมการหมู่บ้านแห่งนี้ ได้ลงมติ ร่วมกันเปิดอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาลยางผลัดใบ ชาวสวนยางขาดแคลนรายได้ จึงได้เปิดให้ชาวบ้านในพื้นที่เข้ามาตกปลาได้ฟรี แต่ในส่วนของคนนอกพื้นที่นั้น จะคิดค่าบริการในการตกปลา 50 บาทต่อเบ็ด 1 คัน ซึ่งก็พบว่า แต่ละราย ตกปลาได้จำนวนมาก ส่วนหนึ่งปลาที่ได้จะนำไปปรุงอาหารในครัวเรือน ส่วนหนึ่งก็นำไปขาย นายมูฮำหมัด อาแว อายุ 27 ปี กล่าวว่าตนเองและเพื่อนๆได้ใช้เวลาว่างในช่วงปิดหน้ายางมาตกปลาที่อ่างเก็บน้ำแห่งนี้เกือบทุกวัน ซึ่งปลาที่ได้ก็จะนำไปทำอาหารกินที่บ้าน บางส่วนก็มีคนมาขอซื้อถึงที่ บางรายก็มาจองไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ปลาที่ตกได้เป็นปลายี่สกขนาดน้ำหนักตัวละ 3 – 4 กิโลกรัมขายกิโลกรัมละ 120 – 150 บาท ทำให้มีรายได้ นายประสพ อิตัน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บ.น้ำลัด เปิดเผยว่าอ่างเก็บน้ำดังกล่าวในอดีตเป็นลำห้วยสาธารณะขนาดเล็กของหมู่บ้านแต่ได้รับการขุดลอกในปี พ.ศ. 2558 จนม
การยางแห่งประเทศไทย ยืนยัน การประมูลปุ๋ยโปร่งใส ดำเนินการตาม พ.ร.บ. การยางฯ ตรงตามวัตถุประสงค์ กำกับดูแลโดยคณะอนุกรรมการฯ ที่มาจากทั้งหน่วยราชการและตัวแทนเกษตรกรทุกขั้นตอน สามารถตรวจสอบได้ พร้อมย้ำ ปัจจัยการผลิตไม่ใช่ทุนให้เปล่า ต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะรองโฆษกการยางแห่งประเทศไทย กล่าวแจงประเด็นที่มีผู้กล่าวหาการจัดซื้อปุ๋ยของ กยท.ว่า การจัดหาปุ๋ยให้ชาวสวนยางที่ได้รับทุนปลูกแทน เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 37 วรรค 2 ที่ได้บัญญัติไว้ว่า การปลูกแทน ให้ส่งเสริมและสนับสนุนโดยการจ่ายให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางซึ่งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย เครื่องมือเครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือ หรือจ่ายเงินให้ก็ได้ ทั้งนี้จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ ซึ่งการดำเนินการจ่ายค่าปุ๋ยที่ผ่านมา มีการดำเนินการในหลายรูปแบบ ทั้งการจ่ายเป็นเงินให้เกษตรกรไปซื้อปุ๋ยใส่เอง การโอนสิทธ์การรับเงินค่าปุ๋ย ให้กลุ่ม/สถาบันเกษตรกรเป็นผู้จัดหาปุ๋ยให้ และการยางแห่งประเทศไทย (หรือในฐานะ ส
รายงานข่าวจากจังหวัดตรัง หลังจากเกษตรกรชาวสวนยางพาราประสบปัญหาราคายางตกต่ำทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักหลายแปลง เจ้าของสวนตัดสินใจโค่นทิ้งก่อนหมดอายุกรีด หันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน และทำการเกษตรประเภทอื่นแทน ขณะเดียวกันหลายแปลงลูกจ้างกรีดยางหนีหาย เจ้าของสวนหาคนกรีดใหม่ไม่ได้ ต้องปล่อยทิ้งร้าง นายชอบ ประจงใจ เจ้าของสวนยางในพื้นที่ตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เนื้อที่กว่า 20 ไร่ กล่าวว่า ขณะนี้พบมีสวนยางพาราหลายแปลงถูกปล่อยทิ้งร้างไม่มีคนกรีดเพราะประสบปัญหาเรื่องคนงานมีรายได้จากการรับจ้างกรีดยางในแต่ละวันไม่พอเลี้ยงครอบครัว จึงหยุดกรีด แล้วหันไปหาอาชีพรับจ้างอย่างอื่นทำแทน ในส่วนของตนเองมีทั้งหมด 3 แปลง ทั้งกรีดเองบ้าง ให้ลูกจ้างกรีดบ้าง ส่วนที่ลูกจ้างกรีดเนื้อที่กว่า 20 ไร่ ต้องทำร้างหาลูกจ้างใหม่ไม่ได้ และทุกครั้งที่มีปัญหาราคายางตกต่ำ ก็จะเกิดปัญหาลูกจ้างทิ้งสวนยางไม่มีคนกรีดทุกครั้ง “ส่วนที่ผมกรีดเองก็จะกรีดบ้างหยุดบ้าง เพราะราคายางตกต่ำ กรีดก็ได้เงินไม่คุ้มค่าเหนื่อย จึงไม่มีกำลังใจจะกรีด และหันไปทำอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย และในพื้นที่ตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด ก็มีหลายแปลงที่ถ
บึงกาฬ – นายขวัญประชา ระเริง นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ รักษาการแทนประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า รณรงค์ให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาขายเป็นน้ำยางสดแทนการขายยางก้อนถ้วย เพื่อแก้ปัญหาราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ซึ่งราคาน้ำยางสดมีราคาที่สูงกว่ายางก้อนถ้วยถึงเท่าตัว ที่สำคัญการรับซื้อผ่านกลุ่มเกษตรกรด้วยกันเอง จะเชื่อใจกันได้เรื่องการโกงน้ำหนักและคุณภาพของน้ำยาง ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ มีความยุติธรรม 100 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับกลุ่มชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางหนองหัวช้าง ลงพื้นที่นี้เพื่อติดตามผลการดำเนินงานว่าที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับประโยชน์จากการขายน้ำยางพาราสดจริงหรือไม่ พร้อมมาแนะนำวิธีการวัดค่าเปอร์เซ็นต์ น้ำยางพารา(DRC) ให้กับกลุ่มเกษตรกร พร้อมให้คำปรึกษาและตอบปัญหาเรื่องการขายน้ำยางพาราสดด้วย ด้าน นายโกสี คนเพียร ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ยางพารา กล่าวว่า เกษตรกรชาวสวนยางที่เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการทำยางก้อนถ้วยมาขายน้ำยางสดนั้น เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีเวลาว่างไปทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้น สุขภาพก็ดีขึ้นเพราะไม่ได้สูดดมหรือจับสารเคมี (น้ำกรด) เหมือนแต
ปัญหาของเกษตรกร นอกจากเรื่องดินฟ้า อากาศที่ยากจะควบคุมแล้ว ยังมีเรื่องของราคาผลผลิตที่ผันผวนพอๆ กับภูมิอากาศ ทำให้ลูกหลานเกษตรกรต้องคิดแล้ว คิดอีกว่า การกลับไปสู่วิถีเกษตรที่สืบทอดกันมาจะไปได้ตลอดรอดฝั่งแน่หรือ? แต่ครั้นจะให้เกษตรกรเปลี่ยนวิถีมาทำอาชีพอื่นก็เป็นเรื่องยาก ทั้งเรื่องของการเรียนรู้ใหม่ เริ่มต้นจากศูนย์อีกครั้ง และความไม่เชื่อมั่นในเรื่องของตลาด ว่าทำแล้วจะขายที่ไหน ? จะขายได้จริงหรือ? ทุกศึกย่อมต้องมีผู้กล้า เช่นเดียวกับการแก้ปัญหายางพาราในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ที่ต้องการบุคคลต้นแบบ คนลองผิดลองถูกให้เห็นชัดก่อน ชาย คงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพัทลุง และผู้ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งริเริ่มแปรรูปหมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตยางพารา นับเป็นเจ้าแรกที่ริเริ่มการผลิตหมอนยางพาราในระดับชุมชนโดยคนท้องถิ่น “ชาย” เล่าว่า ในช่วงปี 2556 ราคายางพาราตกต่ำถึงขีดสุด จากราคา 180 บาท/กิโลกรัม เหลือ 30 บาท/กิโลกรัม ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนัก เขาเองในฐานะเจ้าหน้าที่จึงไ
พ่อค้า นักธุรกิจนั่งไม่ติด ราคายางผันผวนทุบกำลังซื้อวูบหนักหมื่นล้าน การค้าขายหลายจังหวัดเงียบเหงา ยอดขายสินค้าซบเซาอีกระลอก วอนรัฐบาลทำงานเชิงรุก เร่งวิจัย/แปรรูปเพิ่มการใช้ยางในประเทศจริงจัง จี้ปลดล็อกทีโออาร์จัดซื้อจัดจ้างให้นำยางพารามาผสมทำถนนได้ แนะเกษตรกรชาวสวนยางอย่าทำพืชเชิงเดี่ยว ควรปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์เพิ่มรายได้ นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ เนื่องจากยางพาราเป็นรายได้หลักของเกษตรกร โดยในแต่ละปีมีน้ำยางพาราออกสู่ตลาดประมาณ 3 ล้านกว่าตันทั่วประเทศ และเมื่อราคายางพาราลดลงทุกๆ 10 บาท/กิโลกรัม (กก.) จะส่งผลให้มูลค่าลดลงไปกว่า 30,000 ล้านบาท ทั้งนี้ มองว่าราคายางควรจะอยู่ที่ 70 บาทขึ้นไป/กิโลกรัม เกษตรกรจึงจะสามารถปรับตัวและผ่านไปได้ แต่หากราคาสูงถึง 90 บาท/กิโลกรัม จะดีมาก แต่อาจจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากสต๊อกยางของโลกยังมีอยู่ ทั้งนี้ มองว่าหากรัฐบาลมีความจริงใจและจริงจังในการนำงบประมาณมาวิจัย (Research) เพื่อหาวิธีการนำยางไปเป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในการทำผลิตภั