ซีพี
12 กันยายน 2567 – เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ร่วมมือกับกองทัพอากาศ สร้างโอกาสทางอาชีพและการศึกษาให้แก่ทหารกองประจำการและครอบครัว ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ที่ลงนามโดย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับทหารกองประจำการและครอบครัวบุคลากรของกองทัพอากาศ โดยนำร่องโครงการจัดหางานให้แก่ทหารกองประจำการที่ปลดประจำการและครอบครัวของข้าราชการกองทัพอากาศ รองรับตำแหน่งอาชีพได้มากกว่า 12,000 อัตราทั่วประเทศ พร้อมให้ทุนการศึกษาฟรีตั้งแต่ระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) มากกว่า 2,000 ทุนต่อปีโดยเน้นการพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานยุค 5.0 พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า “โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับทหารกองประจำการที่ปลดประจำการและครอบครัวของบุคลากรของกองทัพอากาศ ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนาทักษะอาชีพที่จำเป็นตามความต้องการของตลาดแรงงานยุคใหม่แล้ว ยังเป็
เครือซีพี ขยายผลโครงการ “สบขุ่น โมเดลน่าน” สู่ชุมชน Social Enterprise พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สังคม และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนทุกมิติ 4 ต้นน้ำ ปิง-วัง-ยม-น่าน นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า จากเจตนารมณ์ของ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกาศนโยบายด้านความยั่งยืน ตั้งเป้าหมายเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นองค์กร Carbon Neutral ในปี 2030 และมุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050 สอดรับไปกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) แห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะการร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ความถดถอยลงของพื้นที่ป่าไม้ ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นควัน PM 2.5 จึงได้จัดตั้ง สำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้เป็นศูนย์กลางความร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนในพื้นที่ 4 ต้นน้ำ ปิง-วัง-ยม-น่าน นำร่อง “สบขุ่น โมเดลน่าน” หมู่บ้านสบขุ่น ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ปรับระบบการทำเกษตรท
โครงการเถ้าแก่ใหญ่ ซีพี นำร่องโครงการข้าวคาร์บอนต่ำ ตอกย้ำเป้าหมาย Zero Carbon ผนึกกำลังพันธมิตรทั้งภายในภายนอกองค์กร สนับสนุนชาวนาปลูกข้าวลดโลกร้อนป้อนซีพีเอฟทำข้าวกล่องเสิร์ฟผู้โดยสารสายการบินเวียดเจ็ท รวมถึงทุกเมนูข้าวของเชฟแคร์ หลังจากที่ซีอีโอของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ประกาศเป้าหมายความยั่งยืน 3 เป้าหมายใหญ่ คือ Zero Carbon, Zero Waste, และการศึกษา (Education) ซีพีได้เริ่มดำเนินโครงการต่างๆ อย่างจริงจัง โดยมีโครงการพัฒนาผู้นำเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนนี้ หนึ่งในโครงการนำร่องบนเส้นทางสู่เป้าหมายความยั่งยืนคือ โครงการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำที่ดำเนินการโดยโครงการเถ้าแก่ใหญ่ ซึ่งนำร่องแล้วที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนเกษตรกรผลิตข้าวอย่างยั่งยืนเพื่อลดโลกร้อน โดยมีการนำเทคนิคการทำเกษตรตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) และระบบ FSA (Farm Sustainability Assessment) มาใช้เพื่อลดคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตข้าว ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนและการพัฒนากลยุทธองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หนึ่งในสปอนเซอร์ โครงการ Low
เครือซีพี เดินหน้าต่อเนื่องจับมือภาครัฐ ชูโมเดลคืนป่าต้นน้ำภาคเหนือ เข้าสู่ปีที่ 2 ปรับเปลี่ยนสู่เกษตรผสมผสาน เพิ่มอาชีพทางเลือกให้เกษตรกร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วน จังหวัดน่าน อำเภอท่าวังผา อุทยานแห่งชาตินันทบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สํานักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดน่าน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จังหวัดน่าน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดน่าน โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามแนวพระราชดำริ จัดพิธีมอบเกียรติบัตรในโครงการ “คืนป่า แลกอาชีพทางเลือก” ประจำปี 2567 ส่งเสริมให้เกษตรบ้านสบขุ่น จังหวัดน่าน ร่วมคืนพื้นที่ทำกินที่อยู่ห่างไกลให้กับภาครัฐ เพื่อปรับเปลี่ยนสภาพให้เป็นป่าถาวร และปรับเปลี่ยนสู่วิถีการเกษตรแบบผสมผสาน มุ่งฟื้นฟูป่าต้นน้ำน่านอย่างยั่งยืน โดยมี นายกฤชเพชร เพชรบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และเกษตรกร ร่วมงาน ณ ชุมชนบ้านสบขุ่น อำเภอท่าวัง
ที่ดินแห้งแล้งรกร้างว่างเปล่า 1,253 ไร่ ในตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการพลิกฟื้นจนมีความอุดมสมบูรณ์ สร้างชุมชนเกษตรกรที่เข้มแข็งภายใต้ชื่อ “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” เปลี่ยนชาวบ้านยากไร้สู่กลุ่มเกษตรกรผู้มั่งคั่ง ด้วยการทำเกษตรกรรม มีการเลี้ยงสุกรเป็นอาชีพหลัก ปลูกพืชไร่และไม้ผลเป็นอาชีพเสริม จนสามารถส่งต่อความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นชุมชนต้นแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน มานานกว่า 47 ปี นับตั้งแต่ปี 2520 พวกเขาทำได้อย่างไร? นายภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการ บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด มาให้คำตอบกับคำถามนี้ เขาบอกว่าที่นี่เมื่อ 47 ปีที่แล้ว ชาวบ้านต่างเผชิญปัญหาความยากจน ไร้โอกาส ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาใหญ่ที่สุดที่ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ต้องการเข้ามาแก้ไข ด้วยการรวบรวมผืนดินที่แห้งแล้ง รกร้างมาพัฒนาให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งให้ความรู้ที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการเพาะปลูก จัดหาแหล่งเงินทุน และหาตลาดในการจัดจำหน่าย ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง ด้วยโมเดล “3 ประโยชน์ 4 ประสาน” ซึ่งเป็นรูปแบบความร่วมมือ 4 ฝ่าย คือ รัฐบาล เอกชน ส
พุทธปัญญาชมรม โดย บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ จัดงานครบรอบ 27 ปี โครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ โดยนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป มาร่วมให้ข้อคิดหลักธรรมอย่างเต็มอิ่มและมีพนักงาน ตลอดจนพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก มาร่วมงาน และทำบุญถวายสลากภัต ณ ห้อง B 104-105 ชั้น B อาคาร THE TARA ถนนแจ้งวัฒนะ นางปรางรัตน์ เกียรติทรงศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ในฐานะประธานพุทธปัญญาชมรม ซีพี ออลล์ กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 27 ปี เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ ซีพี ออลล์ได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป จากหลายภูมิภาค อาทิ พระวิเชียรโมลี วัดหนังราชวรวิหาร กรุงเทพฯ, พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ วัดพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย, พระครูภาวนากิจจาทร วัดบ้านเก่าบ่อ จังหวัดอำนาจเจริญ, พระเทพวชิรนันทาภรณ์ วัดบัวขวัญ พระอารามหลวง จังหวัดนนทบุรี, พระพรหมวชิรมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ, พระราชวชิรธรรมวิเทศ วัดนาคปรก กรุงเทพฯ, พระครูสุธรรมนาถ วัดปลักไม้ลาย จังหวัดนครปฐม, พระราชวัชรบัณฑิต วัดจากแ
พุทธปัญญาชมรม โดย บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ จัดงานครบรอบ 27 ปี โครงการเรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ โดยนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป มาร่วมให้ข้อคิดหลักธรรมอย่างเต็มอิ่ม และมีพนักงาน ตลอดจนพุทธศาสนิกชนจำนวนมากมาร่วมงาน และทำบุญถวายสลากภัต ณ ห้อง B 104-105 ชั้น B อาคาร THE TARA ถนนแจ้งวัฒนะ นางปรางรัตน์ เกียรติทรงศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ในฐานะประธานพุทธปัญญาชมรม ซีพี ออลล์ กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 27 ปี เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ ซีพี ออลล์ได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 9 รูป จากหลายภูมิภาค อาทิ พระวิเชียรโมลี วัดหนังราชวรวิหาร กรุงเทพฯ, พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ วัดพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย, พระครูภาวนากิจจาทร วัดบ้านเก่าบ่อ จังหวัดอำนาจเจริญ, พระเทพวชิรนันทาภรณ์ วัดบัวขวัญ พระอารามหลวง จังหวัดนนทบุรี, พระพรหมวชิรมุนี วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ, พระราชวชิรธรรมวิเทศ วัดนาคปรก กรุงเทพฯ, พระครูสุธรรมนาถ วัดปลักไม้ลาย จังหวัดนครปฐม, พระราชวัชรบัณฑิต วัดจากแ
แม็คโคร-โลตัส เดินหน้าเคียงข้างเกษตรกรไทยอย่างต่อเนื่อง วางแผนรับซื้อผลไม้ตามฤดูกาลทั้งปีรวมกว่า 54,000,000 กิโลกรัม โดยฤดูกาลลำไยภาคเหนือที่จะถึงนี้ วางแผนรับซื้อกว่า 1,000,000 กิโลกรัม พร้อมช่วยให้เกษตรกรไทยมีเงินหมุนเวียนกว่า 40 ล้านบาท โดยวางจำหน่ายผ่านแม็คโคร-โลตัสทุกสาขากว่า 2,800 แห่งทั่วไทย นอกจากนี้ ยังบริจาค 1 บาทต่อการขาย 1 กิโลกรัม ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2566 นำไปสนับสนุนชุมชนในจังหวัดภาคเหนือ นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แม็คโคร-โลตัส สานต่อพันธกิจหลักในการเป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรไทย เดินหน้าช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยให้มีรายได้ที่มั่นคง โดยร่วมกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จัดกิจกรรมสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกลำไยอย่างต่อเนื่อง โดยฤดูกาลปีนี้ บริษัทวางแผนรับซื้อจากเกษตรกรไทยกว่า 1,000,000 กิโลกรัม กระจายสู่สาขาทั้งของแม็คโครและโลตัสทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นการบริโภคลำไยต่อเนื่องทั้งฤดูกาล” นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดกิจกรรม “ลำไย ปันสุข…คืนสุข สู่ชุ
บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำนโยบายด้านอาหารปลอดภัย กับการเป็นแหล่งรวมอาหารสดและวัตถุดิบคุณภาพ ทั้งในธุรกิจค้าส่ง แม็คโคร และค้าปลีก โลตัส รุกนำเทคโนโลยี เสริมประสิทธิภาพการตรวจสอบย้อนกลับ ต่อยอด QR Code เชื่อมการเข้าถึงข้อมูล ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในสินค้ามากกว่า 19,000 รายการ เพิ่มความเชื่อมั่นผู้ประกอบการและผู้บริโภค นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก คือวัตถุดิบอาหารสดคุณภาพที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งลูกค้าให้ความไว้วางใจ สิ่งสำคัญที่ทำให้ แม็คโคร และโลตัส ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำอาหารสดในเมืองไทยมาจาก นโยบายด้านคุณภาพและความปลอดภัย ที่มีการดำเนินงานด้านนี้อย่างเข้มข้น เน้นระบบข้อมูลที่เชื่อถือได้ ผ่านการเข้าถึงที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยี QR Code มาใช้เชื่อมต่อระบบข้อมูลและการตรวจสอบ เพื่อให้ลูกค้าตรวจสอบย้อนกลับทราบรายละเอียดเชิงลึก อาทิ แหล่งผลิต ตลอดจนข้อมูลทางโภชนาการ รวมถึงเมนูอาหาร ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้จะเข้ามาตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้คนที่กำ
พล.ต. พิสิษฐ์ มหิงษ์ เลขานุการ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 1 ตัวแทนแม่ทัพภาคที่ 1 พร้อมด้วยผู้แทนเครือซีพี นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ รองประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และคณะลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมได้มอบเครื่องอุปโภค-บริโภคที่จำเป็นจำนวน 500 ชุด และผ้าห่มกันหนาว จำนวน 1,000 ชุด ส่งเป็นกำลังใจและช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนหลังจากที่ก่อนหน้านี้ต้องประสบกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่สร้างความเสียหายเป็นเวลานานหลายเดือน และต่อเนื่องกับภัยหนาว นายพงษ์ วิเศษไพฑูรย์ รองประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ในฐานะผู้แทนเครือซีพี กล่าวว่า เครือซีพีได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา และมีความห่วงใยในความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยที่ปีนี้นับว่าค่อนข้างส่งผลกระทบอย่างหนักและกินระยะเวลานานหลายเดือน และต่อเนื่องกับภัยหนาวที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่พึ่งฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วม