ถั่วเขียว
ทุกวันนี้ ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกอย่าง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในทิศทางขาลง หากเกษตรกรคนใดต้องการลดต้นทุนการผลิต ขอแนะนำวิธีที่ทำได้ง่ายและต้นทุนถูก คือ ปลูกปุ๋ยพืชสด ที่สามารถตอบโจทย์ 3 ข้อ ที่เกษตรกรต้องการมากที่สุด คือ ช่วยให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต และช่วยปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมๆ กัน รู้จัก “ปุ๋ยพืชสด” กันรึยัง? ปุ๋ยพืชสด คือปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง ย่อยสลายง่าย โดยใช้วิธีการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆ ของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ระยะเวลาที่พืชปุ๋ยสดจะให้คุณประโยชน์สูงสุด คือช่วงระยะออกดอก เพราะเป็นช่วงที่พืชมีธาตุอาหารสูงสุด โดยจะตัดส่วนเหนือดินไถลบลงดินแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชหลักที่จะปลูกตามมา พืชปุ๋ยสดที่คนส่วนใหญ่รู้จักและได้รับความนิยมมากที่สุดคือ พืชตระกูลถั่ว เพราะหาเมล็ดพันธุ์ปลูกได้ง่าย เมื่อนำไปจำหน่ายก็ได้ราคาดี พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราบไร้หนาม พืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม เป็นต้น การปล
คุณไพฑูรย์ ฝางคำ เกษตรกรต้นแบบ กลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ และเจ้าของรางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา ทำการเกษตรผสมผสานโดยได้น้อมนำเอาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในไร่นาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้แนวคิดปลูกถั่วเขียวอินทรีย์หลังทำนา เพื่อปรับสภาพหน้าดินให้มีธาตุอาหารที่อุดมสมบูรณ์นั่นเอง จุดเริ่มต้น คุณไพฑูรย์ เล่าให้ฟังว่า เดิมทีสภาพพื้นดินของจังหวัดศรีสะเกษนั้น เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตจากข้าว ชาวบ้านจะปล่อยให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่า ทางกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จึงมีความคิดที่จะทำให้พื้นที่ดินดังกล่าวของชาวบ้านนั้นให้เกิดประโยชน์ รวมถึงปรับปรุงและบำรุงดินให้มีแร่ธาตุอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงลงมือปลูกถั่วเขียวแบบอินทรีย์ โดยใช้การปลูกแบบหมุนเวียน เพื่อพักและฟื้นฟูหน้าดินหลังการทำนาปี “ตอนที่รวมกลุ่มเกษตรกรแรกเริ่มก็มีจำนวนไม่เยอะครับ แต่ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้ามาร่วมกลุ่มกับทางเราเพิ่มมากขึ้น มีสมาชิกทั้งหมด 106 ราย พื้นที่รวมกันก็ประมาณ 1,900 กว่าไร่ โดยสภาพพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ เดิมหลังจากที่ชาวบ้านท
ช่วงนี้จะมีฝนตกและฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร เตือนให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนกระทู้ผัก และหนอนม้วนใบ สำหรับหนอนกระทู้ผักจะพบตัวหนอนที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะผิวใบด้านล่าง โดยหนอนจะกัดกินจากขอบใบเข้าไป ทำให้เหลือแต่ผิวใบด้านบนจนมองเห็นใบโปร่งใสคล้ายร่างแห เมื่อหนอนโตขึ้นจะแยกกลุ่มออกไปกัดกินใบทั่วทั้งแปลง ส่งผลทำให้ผลผลิตถั่วเขียวลดลง หากพบการระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยเชื้อไวรัสของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 1-2 ครั้ง กรณีที่พบใบถูกทำลาย 30% ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ฟลูอาซูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร นอกจากนี้ เกษตรกรควรเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนม้วนใบ โดยจะพบตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และชักใยบางคลุมตัวไว้แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกระจายกันออกไปหาใบ หรือชักใยดึงเอาใบหลายๆ ใบมาห่อรวมกัน และอาศัยกัดกินอยู่ภายในใบที่ม้วนนั้นจนหมด จากนั
“ถั่วเขียว” เป็นพืชอายุสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง และนอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ถั่วเขียวยังสามารถนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อย่างเช่น เกษตรกรไอเดียบรรเจิดท่านนี้ ที่คิดค้นต่อยอดรายได้เสริมหลังการทำนา ด้วยการปลูกถั่วเขียวเพื่อแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม “น้ำนมถั่วเขียว” เพื่อสุขภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มจากหลักสิบเป็นหลักพัน คุณนุสร รุ่งพรหม อยู่ที่ 52 หมู่ที่ 9 ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์สงขลาหัวก้าวหน้า อดีตผู้ช่วยพยาบาล หันมาเอาดีด้านงานเกษตร ริเริ่มพัฒนาและต่อยอดอาชีพที่รัก เริ่มจากศูนย์สู่ความสำเร็จ สุขกาย สบายใจ สร้างรากฐานครอบครัวมั่นคง คุณนุสร เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว ตนเคยทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลมาก่อน แล
ในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวเฝ้าระวังการระบาดของ 2 แมลงศัตรูพืช คือ หนอนกระทู้ผัก และหนอนม้วนใบ โดยจะพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นถั่วเขียวอายุประมาณ 30 วัน สำหรับหนอนกระทู้ผัก มักพบหนอนที่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มแทะกัดกินผิวใบด้านล่าง ทำให้เหลือแต่ผิวใบด้านบนจนมองเห็นใบโปร่งใสคล้ายร่างแห เมื่อหนอนโตขึ้นจะแยกกลุ่มออกไปกัดกินจากขอบใบเข้าใปจนทั่วทั้งแปลง ทำให้ผลผลิตลดลง หากพบการระบาด ให้เกษตรกรพ่นเชื้อไวรัสของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่น 1-2 ครั้ง กรณีที่พบใบถูกทำลาย 30 เปอร์เซ็นต์ ในระยะก่อนออกดอกถึงระยะฝักยังเขียวอยู่ หรือใบถูกทำลาย 60 เปอร์เซ็นต์ หลังดอกบาน 4 สัปดาห์ ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอร์ฟลูอาซูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วน หนอนม้วนใบ จะพบหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และชักใยบางคลุมตัวไว้แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกระจายกันออกไปหาใบหรือชักใยดึงเอา
กรมวิชาการเกษตร ทุ่มพลังปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียว 13 ปี ได้พันธุ์ใหม่ให้ประโยชน์ 2 เด้ง เกษตรกรปลูกได้ขนาดเมล็ด ใหญ่ แถมให้ผลผลิตสูง คุณภาพโดดเด่นโดนใจนำไปแปรรูปเป็นวุ้นเส้นได้สีขาวใส คุณภาพเหนียวนุ่ม ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ สร้างรายได้เพิ่มทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูป กรมวิชาการเกษตร ให้ข้อมูลลว่า ถั่วเขียว เป็นพืชเพื่อการบริโภคสำคัญพืชหนึ่งของประเทศไทย ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคโดยตรงและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ถั่งงอก แป้งถั่วเขียว และขนมชนิดต่างๆ รวมทั้งถั่วเขียวยังเป็นพืชอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตวุ้นเส้น ซึ่งตลาดส่งออกวุ้นเส้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่พื้นที่ปลูกถั่วเขียวของประเทศไทยมีจำนวน 868,000 ไร่ ผลผลิตรวม 109,000 ตัน ความต้องการใช้ถั่วเขียว มีถึง 111,945 ตัน ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียวเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง ขนาดเมล็ดใหญ่ และเหมาะสำหรับการแปรรูปจนได้พันธุ์ที่มีลักษณะตามที่ต้องการ ใช้ชื่อพันธุ์ว่า “ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3” ซึ่งเป็นถั่วเขียวพันธุ์กลายที่คั
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ถั่วเขียว จัดโดยสำนักกำหนดมาตรฐาน เพื่อเปิดเวทีให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน (ผู้ส่งออก ผู้ตรวจสินค้า) ผู้ทรงคุณวุฒิ สภาเกษตรกรแห่งชาติ มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญ รวมกว่า 60 คน หารือในเรื่อง การกำหนดคุณลักษณะของมาตรฐานถั่วเขียว เช่น ความชื้น ขนาดเมล็ด สิ่งปลอมปน สารพิษตกค้าง การบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค รวมถึงคุณภาพ เกณฑ์ความปลอดภัยสินค้าเกษตรของถั่วเขียว เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาแก้ไขร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ถั่วเขียว ให้อยู่ในแนวทางที่เหมาะสม นำไปปฏิบัติได้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ณ โรงแรม ริชมอนด์ สไตล์ลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ถั่วเขียว เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาหารหลายประเภท ปริมาณผลผลิตที่ใช้ในประเทศจึงไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ ประกอบด้วย ถั่วเขียว ที่มีคุณภาพดีเป็
ในช่วงเข้าสู่สภาพอากาศแห้งแล้ง กรมวิชาการเกษตร แนะให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวเฝ้าระวังการระบาดของ 3 แมลงศัตรูพืช คือ เพลี้ยจักจั่น หนอนม้วนใบ และหนอนกระทู้ผัก โดยจะพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นถั่วเขียวอายุประมาณ 30 วัน สำหรับเพลี้ยจักจั่น มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ ยจักจั่นดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ ทำให้ใบห่อลง หงิกงอ และใบไหม้ ในกรณีที่ระบาดรุนแรงใบจะร่วงหล่นทั้งต้น หากเกิดการเข้าทำลายก่อนระยะออกดอก จะทำให้ต้นถั่วเขียวไม่ออกดอก ส่วนการเข้าทำลายในระยะออกดอก จะทำให้ดอกร่วงและไม่ติดฝัก หรือฝักและเมล็ดลีบ ผลผลิตเสียหายมากกว่า 30-80 เปอร์เซ็นต์ หากพบให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วน หนอนม้วนใบ จะพบหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และชักใยบางคลุมตัวไว้แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกระจายกันออกไปหาใบหรือชักใยดึงเอาใบหลายๆ ใบมาห่อรวมกัน และอาศัยกัดกินอยู่ภายในใบที่ม้วนนั้นจนหมด จากนั้นจึงเคลื่อนย้ ายไปทำลายใบอื่นต่อไป หากพบใบถูกทำลาย 30 เปอร์เซ็นต์ในระยะก่อนออกดอกถึงระยะฝักยังเขียวอยู่ หรือใบถูกทำลาย 60 เปอร์เซ็นต์หลังดอกบาน 4 สัปดาห์ ให้เ
วันที่13ธันวาคม2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทุกปีในช่วงหน้าหนาวชาวนาในพื้นที่ ต.หนองน้อย อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท จำนวนมากจะพากันหันมาปลูกพืชทดแทน ประเภทถั่วเขียวซึ่งเป็นพืชใช้น้ำน้อย เพราะจะเข้ากับฤดูกาลที่ไม่มีน้ำฝนตกลงมา ซึ่งจะปลูกพืชชนิดอื่นไม่ได้ผลผลิต นางจันทร์ กรองทอง ชาวนาที่หันมาปลูกถั่วเขียวเปิดเผยว่าการปลูกถั่วเขียวจะใช้ทุนเฉลี่ย1,700-2,000บาทต่อไร่ แต่สามารถเก็บผลผลิตขายได้6,000-6,500บาทต่อไร่ หรือสามารถมีกำไรต่อไร่ประมาณ4,000-4,500บาท ซึ่งถือว่าดีกว่าการทำนาปรัง ในขณะที่ใช้เวลาในการเพาะปลูกใกล้เคียงกันคือประมาณ90-100วัน โดยเคล็ดลับในการปลูกถั่วเขียวให้ได้ผลผลิตดีคือ ควรลงมือไถดินหลังการเกี่ยวข้าวไม่เกิน3สัปดาห์ เพื่อไม่ให้ดินคายความชื้นที่ถั่วต้องการใช้ในการงอกเมล็ดพันธุ์ โดยให้ไถกลบตอซังข้าวแล้วหมักดินไว้อีกประมาณ5-7วันจึงค่อยนำเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวมาหว่าน เท่าที่ทดลองทำมาสามารถให้ผลผลิตต่อไร่ได้เพิ่มขึ้น ในบางแปลงสามารถเก็บถั่วเขียวได้ถึง180-200กิโลกรัม โดยปี2559ที่ผ่านมา ตนปลูกถั่วเขียวจำนวน20ไร่ สามารถทำกำไรถึงกว่า90,000บาทเลยทีเดียว ที่มา : มติชนออนไลน์
สวง โฮสูงเนิน รายงาน นายวรกุล บุตรดาจักร หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า เมื่อหมดฤดูการทำนาปีแล้ว จำเป็นต้องแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรังในส่วนที่ทำได้ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฟักสด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ทานตะวัน และพืชผักอื่นๆ ซึ่งพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศ์กเมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาปรังข้าวจะใช้น้ำถึง 5 เท่าคือ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่การปลูกพืชอายุสั้นนั้นการเตรียมดินจะยุ่งยากเนื่องจากดินนาส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว การระบายน้ำค่อนข้างเลว จึงต้องเตรียมดินให้ร่วนแล้ว ทำร่องช่วยระบายน้ำและเป็นการเพิ่มความลึกของหน้าดิน หากการะบายน้ำออกไม่ได้หรือน้ำยังท่วมขังไม่ควรปลูกพืชอายุสั้นใดๆ ขอแนะนำการปลูกพืชอายุสั้น ควรปฏิบัติดังนี้ 1.ระยะเวลาปลูก ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน,ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรปลูกในช่วง 15 ธันวาคม- 15 มกราคม เพราะช่วงนี้ดินมีความชื้นสูง และพืชเหล่านี้ยังทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ดี ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถั่วเขียวควรปลูกใ