นวัตกรรมยางพารา
วันที่ 3 เมษายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่งมอบ “นวัตกรรมถุงมือยางธรรมชาติ ถุงมือไนไตรเคลือบน้ำยานาโนอิมัลชันป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19” จำนวนกว่า 50,000 คู่ เพื่อใช้ในพื้นที่เสี่ยงด่านสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยมี นายวรณัฎฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้เกียรติต้อนรับ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยการมอบถุงมือฯ ในครั้งนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายชาญณรงค์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ วช. เป็นประธานส่งมอบให้กับด่านศุลกากรสะเดา ด่านกักสัตว์สงขลา ด่านตรวจพืชสะเดา ด่านอาหารและยาสะเดา โรงพยาบาลสะเดา โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลา ด่านตรวจคนหางานสะเดา ด่านตรวจสัตว์ป่าสะเดา ด่านตรวจสัตว์น้ำสะเดา ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศสะเดา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เพื่อใช้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 และโรคติดเชื้ออื่นๆ ในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าว เป็นผลงานที่ วช. ใ
วช. หนุนนักวิจัยจุฬาฯ คิดค้นนวัตกรรมยางพาราผงสู่ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรกรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพรับแรงเสียดทานและลดอัตราการสึกหรอ ยางพารานับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย นิยมปลูกกันมากในพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ ปัจจุบันมีการนำไปปลูกในจังหวัดทางภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อนำไปแปรรูปในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อการจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ ที่ผ่านมาเกษตรกรมักจะประสบปัญหาความผันผวนเรื่องราคาของยางพารา กระทั่งมีการคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากยางพาราสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางธรรมชาติ ซึ่งรวมไปถึงนวัตกรรมยางพาราผงที่นำไปผลิตเป็นชิ้นส่วนผ้าเบรกรถยนต์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นนวัตกรรมจากทีมวิจัยจาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นองค์กรสำคัญของภาครัฐในการขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพด้านการวิ
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศไทย น้ำยางพาราเป็นวัตถุดิบสำคัญที่มีการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย จังหวัดอุบลราชธานีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีพื้นที่การปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์น้ำยางราคาตก จึงได้มีการนำน้ำยางมาวิจัย พัฒนา ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อสามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ได้มีทางออกที่ดีขึ้น ศ.ดร.ศิริพร จึงสุทธิวงษ์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีวิสัยทัศน์คือ สถาบันชั้นนำด้านวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ โดยมี ผศ.ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้กำหนดแนวทางเอาไว้ ทางคณะวิทยาศาสตร์ จึงได้มุ่งเน้นงานนวัตกรรม วิจัยใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้พร้อมๆ ไปกับการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย เรื่องของการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ท้องถิ่นและพัฒนาสู่ระดับสากล โดยผลงานวิจัยและนวัตกรรมสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่และยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ได้จริง และในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 Thailand Reseach Expo
คุณณัฐวี บัวแก้ว หรือ คุณบ่าว นักธุรกิจหนุ่มวัย 27 ปี CEO & Co-founder บริษัท จีฟินน์รับเบอร์เทค จำกัด คิดค้นและต่อยอดนวัตกรรมยางพารา สู่รองเท้าโคนม ภายใต้แบรนด์ Deeco จึงทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพราะเล็งเห็นโอกาสว่าประเทศไทยมีจุดแข็งเรื่องยางพาราเป็นสินค้าส่งออกหลัก จึงนำยางพารามา สร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้แนวคิดที่ว่าอยากให้เกษตรกรรายย่อยได้ใช้สินค้าแบบเดียวกับต่างประเทศในราคาที่สามารถจ่ายไหวและคุณภาพดี “จุดเริ่มต้นของการทำรองเท้าวัวยางพารานั้น เริ่มมาจากบ้านอยู่ใกล้กับสถานที่เลี้ยงวัวชนและเห็นการวิ่งออกกำลังกายของวัวชนเป็นเรื่องปกติ จนกระทั่งวันหนึ่งเห็นวัวชนใส่รองเท้าวิ่ง จึงได้คุยกับคนเลี้ยงวัวชนว่าทำไมวัวชนต้องใส่รองเท้าให้วัวชน จนได้คำตอบว่าใส่เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเท้าวัวชน เมื่อต้องวิ่งริมถนน ซึ่งรองเท้าที่วัวชนใส่มีลักษณะคล้ายรองเท้าช้างดาว จึงเกิดแนวคิดว่าถ้าเรามีรองเท้ามาให้วัวชนใส่ มันน่าจะขายได้ พอเริ่มศึกษาข้อมูลจริงจัง จึงรู้ว่าจะมีกลุ่มโคอยู่ประเภทหนึ่งที่มีการใช้รองเท้าอยู่แล้ว นั่นก็คือโคนม จึงเกิดความสงสัยว่าทำไมโคนมต้องใส่รองเท้
จัดเต็มสาระความรู้ในแวดวงอุตสาหกรรมยางพารา ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมมอบความสุขและความบันเทิงให้พี่น้องเกษตรกรสวนยางและประชาชนทั่วไปมาตลอดสองวันของการจัดงาน จนเข้าสู่วันที่สามในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของ มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2565 ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช งานนี้จัดขึ้นเพื่อตอกย้ำความแข็งแกร่งอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการปลูกยาง และเป็นศูนย์กลางน้ำยางที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก พร้อมโชว์ศักยภาพประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปยางพาราระดับโลก วันที่ 10 เมษายน ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ยังคงทยอยเดินทางมาร่วมงานอย่างไม่ขาดสาย ส่วนมากเป็นเกษตรกรสวนยาง ที่ต้องการมาชมนิทรรศการให้ความรู้เรื่องยางพารา รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราไทยให้โตไกลระดับโลก รวมทั้งเข้าฟังเสวนา และเข้าร่วมเว
วันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย นายไกรศร วิศิษฎิวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และ นายกมลดิษฐ สมุทรโคจร รองกรรมการผู้จัดการสายงานการผลิต บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงข่าวงาน “มหกรรมยางพารา 2564” ณ ห้องประชุม อาคารข่าวสด โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2565 ณ สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินนโยบายบริหารจัดการยางพาราสินค้าเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีเกษตรกรปลูกยาง จำนวน 1.83 ล้านราย ครอบคลุมพื้นที่ 24.76 ล้านไร่ มีผลผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 4.4 ล้านตัน ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของ ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยบูรณาการร่วมกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนนโยบายพิจารณาแ
รมช. ลักษณ์ เปิดงาน “วันยางพาราบึงกาฬ 2562” แจง กระทรวงเกษตรฯ มุ่งดำเนินโครงการ ตามมติ ครม. ใน 3 โครงการสำคัญ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดงานวันยางพาราบึงกาฬ ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “บึงกาฬ ศูนย์กลางยางพารา เศรษฐกิจก้าวหน้า การค้าก้าวไกล” ณ ที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ว่า การจัดงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการค้ายางพาราภาคอีสาน และศูนย์กลางการค้ายางพาราของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการจัดงานดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1. “สนับสนุน” ให้เกิดการผลิต การแปรรูป และการวิจัยอุตสาหกรรมยางพารา เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยางพาราในจังหวัดบึงกาฬ 2. “ผลักดัน” การค้าขายและการลงทุนของอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 3. “ส่งเสริม” การท่องเที่ยวในจังหวัดเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างแหล่งรายได้เสริมให้กับพี่น้องชาวบึงกาฬ อีกทั้งเสริมศักยภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อตอกย้ำการเป็นเมืองศูนย์กลางยางพาราของภาคอีสานที่มีความเข้มแข็งทางเ
13-19 ธ.ค. 61 เจอกันที่ “งานวันยางพาราบึงกาฬ 2562” อลังการตระการตา มหกรรมยางพารายิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ แวะชมทุกโซน ลุ้นโชคได้ทุกวัน องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ผนึกกำลังร่วมกับ จังหวัดบึงกาฬ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัด งานวันยางพาราบึงกาฬ 2562” ระหว่าง วันที่ 13-19 ธันวาคม 2562 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ภายใต้แนวคิด “บึงกาฬ ศูนย์กลางยางพารา เศรษฐกิจก้าวหน้า การค้าก้าวไกล” ซึ่งเป็นงานยางพาราเอ็กซ์โปครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศที่จะพัฒนาสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมยางพาราระดับอาเซียนในอนาคต การจัดงานในครั้งนี้ อัดแน่นด้วยสาระความรู้ด้านยางพารา หวังส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราไทยให้มีความมั่นคง ยั่งยืน ในทุกมิติ ไฮไลท์สำคัญที่ห้ามพลาดคือ “โซนเปิดโลกยางพารา นวัตกรรมการค้าและการลงทุน” ที่มุ่งนำเสนอการต่อยอดยางพาราสู่นวัตกรรมใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มในหลากหลายรูปแบบ เช่น สนามฟุตซอล ที่ผลิตจากยางพารา 100% บึงกาฬโมเดล มุมนิทรรศการ “บึงกาฬโมเดล” สะท้อนความรักความสามัคคีของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดบึงกาฬ ที่รวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ “บึงกาฬรับเบอร์กรุ
หลังขับเคี่ยวกันมาจนถึงรอบชิงชนะเลิศ “รับเบอร์แลนด์ ดีไซน์ คอนเทสต์” เพื่อค้นหาสุดยอดเยาวชนนักออกแบบรุ่นใหม่ สร้างสรรค์ผลงานจากวัสดุโฟมยางพารา ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Future Living ปั้นยางให้เป็นงาน” ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาทีม “Group” จากสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เป็นผู้คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอบครอง กับผลงานที่มีชื่อว่า “Kid and Attentive เพราะชีวิตคือการเดินทาง” เป็นการออกแบบโดยการนำความนุ่มนิ่มของโฟมยางมานำเสนอในรูปแบบที่นอนสำหรับเด็ก ประกอบกับเทคนิคและลูกเล่นทำให้ “ที่นอน” ไม่ได้มีไว้สำหรับ “นอน” เพียงอย่างเดียว นุธสิญจน์ เทือกตาหลอย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สมาชิกทีม Group เล่าว่า ตอนแรกสมาชิกทั้ง 3 คนในทีมมีแนวคิดจะทำผลงานอย่างกระเบื้องจากโฟมยางพารา จนทางรับเบอร์แลนด์ได้เข้ามาทำกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย จึงมองเห็นจุดเด่นของโฟมยางเรื่องความนิ่ม เลยมองว่ากระเบื้องคงจะไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ จึงหันมามองเรื่องที่นอนแทน “พอเราได้โจทย์มาว่าเป็นที่นอน ก็คิดว่าจะทำที่นอนยังไงให้แตกต่างจากที่มีในปัจจุบัน ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายของเราเป็นเด็กเลยออกแบบให้ที่นอนยางพาราเป็นข
เพื่อค้นหาสุดยอดนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุโฟมยางพารา รับเบอร์แลนด์ อุทยานการเรียนรู้เกี่ยวกับยางพาราของไทยจึงเปิดรับผลงานประกวด“RUBBERLAND DESIGN CONTEST FUTURE LIVING ปั้นยางให้เป็นงาน” ตลอดเดือนกันยายนที่ผ่านมา จนได้ผลงานจากเยาวชนคนรุ่นใหม่ทั้งสิ้น 277 ชิ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ Future Living ปั้นยางให้เป็นงาน ผลิตภัณฑ์เพื่อวิถีชีวิตแห่งอนาคต โดยกำหนดให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น ฐวัฒน์ สมมะโนพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด รับเบอร์แลนด์ บอกว่า ภาพรวมของผลงานที่ส่งเข้ามาทั้งหมด 277 ชิ้น ถือว่าเหนือความคาดหมาย ไม่คิดว่าจะมีทีมส่งเข้ามามากมายขนาดนี้ “ผลงานที่ส่งเข้ามามีความหลากหลายในเรื่องของการออกแบบและได้เห็นถึงความคิดของน้องๆ นักออกแบบที่มองผู้บริโภคแห่งอนาคตผ่านผลงานออกแบบในมุมมองต่างๆ ถือว่าทำการบ้านมาค่อนข้างดีทุกทีม ในส่วนความเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตแห่งอนาคต ผมว่าเด็กๆ มีความเข้าใจค่อนข้างดีนะ ในแง่การใช้ชีวิตของคนหลายวัย ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนชราที่มีแนวโน้มจะถูกตีกรอบด้วยปัจจัยด้านเวลา พื้นที่ และสิ่งแวดล้อม น้องๆ มีความคิดที่สร้างสรรค์และบางทีมก็เส