บึงกาฬ
เกษตรกรสาวสวยบึงกาฬ ที่ชาวโซเชียลรู้จักในนาม “เด็กเลี้ยงควาย by ใบเตย” จากเด็กเลี้ยงควายไล่ทุ่งเริ่มจากเลี้ยงแก้เหงากลายมาเป็นความชอบ ทำรายได้สูงสุดหลักล้านต่อปี เพื่อที่จะพัฒนาให้เป็นควายงามส่งเข้าประกวด โดยเริ่มพัฒนาจากแม่พันธุ์ควายเนื้อ เป็นควายงาม แรงบันดาลใจที่ทำให้เปลี่ยนความคิดและมุมมองเกิดขึ้นตอนไปเห็นควายในสนามประกวด คุณสริฏา เดชา หรือ คุณใบเตย เจ้าของโขงนทีฟาร์มควายไทย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 10 ตำบลโพธิ์หมาแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เรียกได้ว่าเป็นวัยรุ่นสาวดีกรีปริญญาตรี จบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาสัตวศาสตร์ เอกการผลิตสุกร ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จบเอกสายโคกระบือโดยตรง คุณใบเตย เล่าว่า ยังไงก็สามารถพัฒนาได้เหมือนหมู หลังจากนั้นก็ได้ศึกษาและเลี้ยงพัฒนาให้เป็นควายงามที่ดี นิสัยความน่ารักของควาย เขาพูดไม่ได้แต่สามารถแสดงพฤติกรรมให้เห็น ความยากของการเลี้ยงควายที่พัฒนา คือ ความอดทน และระยะเวลา เนื่องจากควายที่พัฒนาจะใช้ระยะเวลาในการตั้งท้องเกือบปี กว่าจะได้แม่พันธุ์ต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี เรื่องของความอดทนจึงมาก่อน จุดเริ่มต้นที่สนใจ เกิดจากการที่เราจะซื้อควายงามมาเลี้ยงแต่ไม่รู้ประวัติ
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์จังหวัดบึงกาฬ ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้า การส่งเสริมอาชีพและการตลาดโดยใช้ระบบสหกรณ์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรที่ในจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นสหกรณ์ตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จในการดูแลส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิก จนสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้ ภายใต้โครงการ “แก้จน พ้นหนี้ วิถีคนเซกา” และได้รับคัดเลือกให้เป็นผลงานดีเด่นที่เสนอเข้ารับรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ปี 2565 ประเภทร่วมใจแก้จน ทั้งนี้ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ มีประชากรทั้งสิ้น 80,563 ราย จำนวนครัวเรือน 25,972 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวน 317,388.32 ไร่ ประกอบด้วย ยางพารา 156,012.88 ไร่ ข้าว 136,019.45 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 9,212.39 ไร่ มันสำปะหลัง 3,865.17 ไร่ ในจำนวนดังกล่าวเป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรเซกา จำกัด จำนวน 2,087 ราย สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริม ให้ข้อมูลว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่อยากจะลดหนี้สินให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเ
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ลงพื้นที่จังหวัดหนองคายและบึงกาฬ ร่วมกับทางคณะของกรมทรัพย์สินทางปัญญา นำโดย คุณทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นประธานการประชุมคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และการรับคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ของจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย ทำให้ได้มีโอกาสไปเยือนสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของทั้งสองจังหวัด เริ่มจากท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านเดื่อ จังหวัดหนองคาย หมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากจังหวัดหนองคาย 20 กว่ากิโลเมตร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในพื้นที่ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โดยมี คุณสมจิต จันทำมา ประธานท่องเที่ยวชุมชนบ้านเดื่อและคณะกรรมการได้ต้อนรับคณะ และให้ข้อมูลหมู่บ้านว่า สมัยก่อนชาวบ้านเดื่อมีอาชีพทำการประมงและปลูกพืชผักแบบขั้นบันไดตามริมฝั่งโขง เกษตรกรรม ปลูกผักริมโขง ต่อมาชุมชนได้รับการสนับสนุนจากโครงการประชารัฐและสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย เข้ามาส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ทำให้คนในชุมชนได้รวมตัวกันขึ้น จนกลายเป็น “แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านเดื่อ” ใน พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา สำหรับกิ
นายปรีชา พันธุ์วา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัลการประกวดคัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรต้นแบบที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน ประจำปี พ.ศ. 2564 ให้กับสหกรณ์การเกษตรเซกา จำกัด จังหวัดบึงกาฬ พร้อมเยี่ยมชมสวนเกษตรเชิงท่องเที่ยว (เมล่อนนายเกษตร) ของเกษตรกรในพื้นที่ โดยมี ว่าที่ร้อยโท ปุณณกิจ เชาว์น้อย สหกรณ์จังหวัดบึงกาฬ นายคำจันทร์ ดาลม ประธานกรรมการ นางสาวนิ่มนวล ศรีรักษา ผู้จัดการ ข้้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ณ สหกรณ์การเกษตรเซกา จำกัด ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
เที่ยวอีสานกับ “จ๊อบ นิธิ สมุทรโคจร” ซึ่งคราวนี้เราก็ยังอยู่แดนดินริมฝั่งโขงกัน ณ บึงกาฬ รอบนี้จะพาไปสัมผัสยังแหล่งชุมชนที่มีชีวิตชีวา แหล่งลุ่มน้ำ และธรรมชาติป่าเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนประดับไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความสุข “เที่ยวให้สุด สมุดโคจร” ร่วมกับ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว 7 จังหวัด ในภูมิภาคอีสาน ประกอบด้วย เลย, หนองคาย, บึงกาฬ, นครพนม, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภายใต้โครงการ “ม่วนซื่นริมแม่น้ำโขง” เพื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนท่องเที่ยวอันมีเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวอันงดงาม กระตุ้นให้เกิดการเดินทางนำไปสู่การกระจายรายได้อย่างยั่งยืน เริ่มต้นความม่วนกันที่ พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต เรือนไม้อีสานเก่าแก่ที่มีอายุร่วม 60 ปี ซึ่งถูกนำมารีโนเวตใหม่ ตามกำแพงของรั้วต่างๆ ถูกแต่งแต้มด้วยสีสันสมชื่อชุมชนของเขาเลยล่ะ ไปต่อกันที่ แก่งอาฮง จุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขง มีความเชื่อว่าเป็นจุดที่เป็นประตูสู่เมืองหลวงแห่งพญานาค แนะนำให้มาช่วง มีนาคม – พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงที่เรามองเห็นแก่งได้ชัดเจน ส่องแหล่งผลิตภัณฑ์ชุมชนกันต่
ในการจัดงาน วันยางพารา 2563 : BUENGKAN MODEL 2020 ที่สนามที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ได้จัดให้มีการเสวนา เรื่อง “ปลูกและแปรรูปข้าวอินทรีย์” โดย คุณอร่าม ทรงสวยรูป เกษตรกรอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา อดีตช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะการทำนาอินทรีย์ และการปลูกพืชผสมผสาน โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตร คุณอร่าม พูดคุยบนเวทีปราชญ์ชาวบ้าน ถึงแนวคิดในการปลูกข้าวอินทรีย์ ว่า พ่อแม่เป็นชาวนา ส่งให้ลูกเรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี แต่ไม่ยอมให้กลับมาทำนา เมื่อเดินหน้าทำงานบริษัทในกรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง มองเห็นว่า ความสุขที่ได้จากการทำงาน กับความสุขที่ได้อยู่กับธรรมชาติ มีวิถีชีวิตที่กำหนดเอง มีอิสระในอาชีพ มีความแตกต่างกัน ความสุขประการหลังมีมากกว่า จึงตัดสินใจกู้เงินธนาคารเพื่อนำไปซื้อที่ดิน 10 ไร่ ที่อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งใจทำการเกษตร ซึ่งยังคงทำงานประจำอยู่ และใช้เวลาในวันหยุดไปพัฒนาที่ดินที่ซื้อไว้ คุณอร่าม เรียกที่ดินทำกินผืนนี้ว่า “ออฟฟิศชาวนา” เพราะพื้นที่ทั้งหมดเป็นแปลงนา ขุดบ่อน้ำไว้ใช้ ประมาณ 4 ไร่ พื้นที่ที่เ
ข้อมูลโดยทั่วไปที่เอ่ยถึงสุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน มักจะกล่าวว่า สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานเป็นสุนัขขนาดกลาง ขนสั้น หูตั้งเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายจมูกสีดำและมีขนย้อนกลับที่กลางหลังเป็นรูปต่างๆกัน ยาวไปตามแผ่นหลัง ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่น สุนัขไทยหลังอานมีความแข็งแรงมาก อดทนต่อสภาพภูมิอากาศได้โดยทั่วไป ทั้งร้อนและหนาว และยังเป็นสุนัขที่มีสัญชาตญาณของความเป็นนักฆ่าสูง และมีความจงรักภักดีต่อผู้เลี้ยง ถิ่นกำเนิดของสุนัขสายพันธุ์นี้ อยู่ที่ประเทศไทย มีการสันนิษฐานว่าไทยหลังอานมาจากสุนัขในกลุ่มพวกหมาป่า และเป็นสุนัขพื้นเมืองในโซนเขตร้อน แต่ไทยหลังอานมีลักษณะพิเศษเฉพาะคือมีขนเป็นเส้นย้อนกลับที่เส้นกลางหลัง ในขณะที่สุนัขสายพันธุ์อื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันไม่มี ข้อยืนยันเหล่านี้ ไม่อาจพิสูจน์ได้ ถ้าไม่ลองเลี้ยงเอง ร.ต.อ.อรรถพล ศรีคำ รองสว.สส.สภ.ศรีวิไล จว.บึงกาฬ ตำรวจหนุ่ม ผู้เป็นแรงผลักดันให้ คุณสุภาพ บุญทำนบ เริ่มเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้และจริงจังถึงกับทำฟาร์ม ร.ต.อ.อรรถพล เล่าว่า เดิมทำฟาร์มเล็กๆ อยู่ที่ศรีสะเกษ ใช้ชื่อว่า ฟาร์มไทยหลังอานศรีสะเกษ บึงกาฬ มาตั้งแต่ปี 2552 เพราะภูมิลำเนาเป็นชาวศรีสะเกษ แต่ต้องย้ายราช
จังหวัดบึงกาฬ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ เดินหน้าจัดงาน “วันยางพาราบึงกาฬ 2563” สวนกระแสยางราคาตก นำนวัตกรรม ความรู้ เร่งเผยแพร่สู่เกษตรกร เพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราให้แก่ชาวสวนยาง ตอกย้ำความเป็น “บึงกาฬโมเดล” ชูศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางยางพาราระดับประเทศ พร้อมเตรียมยกระดับไปสู่ความเป็นสากลเชื่อมโยงการค้ากับกลุ่มประเทศ CLMV คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม โดยรัฐบาลได้อนุมัติโครงการก่อสร้าง “สะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง ไทย-ลาว แห่งที่ 5” (บึงกาฬ-ปากซัน) จังหวัดบึงกาฬจึงเป็น “ทิศทางแห่งอนาคต” ที่ได้รับการจับจ้องทั้งในฐานะเขตเศรษฐกิจใหม่ของอุตสาหกรรมยางพาราและการท่องเที่ยว จังหวัดบึงกาฬ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ และองค์กรหน่วยงานราชการ – เอกชน พร้อมใจกันเตรียมจัด “งานวันยางพาราบึงกาฬ 2563” ปีนี้จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 8 ระหว่าง วันที่ 12-18 ธันวาคม 2562 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ยืนยัน “คำว่า ทิศทางแห่งอนาคต” ของจังหวัดบึงกาฬให้เป็นที่ประจักษ์ชัด และสร้างการรับรู้ให้สาธารณชนในวงกว้าง ภายใต้แนวคิด “บึงกาฬโมเดล 20
หากเอ่ยถึง “บึงกาฬ” นอกจากยางพาราพืชเศรษฐกิจเลื่องชื่อแล้ว จังหวัดนี้ยังมีอะไรดีๆ อีกมากที่เรายังไม่รู้ ในฤดูท่องเที่ยวนี้ลองหาเวลามาสัมผัสเสน่ห์สักครั้งจะรู้เลยว่า…จังหวัดที่ 77 เหนือสุดแดนอีสานไทยแห่งนี้มีดีกว่าที่คิด เพราะมากด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิถีชีวิตชุมชนจากชาวบ้านท้องถิ่นที่มีแต่รอยยิ้มพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก ห่างจากตัวเมืองจังหวัดบึงกาฬราว 45 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่นานถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้ บ้านสุขสาคร อำเภอพรเจริญ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในหมู่บ้านวัตวิถี มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจคือ ทุ่งบัวแดงหนองเลิง ซึ่งดอกบัวแดงจะบานเป็นสีชมพูเข้มสุดลูกหูลูกตาในฤดูท่องเที่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ยามว่างของชาวบ้านสุขสาครนอกจากทำไร่นา ประมงน้ำจืด ตามวิถีชีวิตแล้ว ยังรวมกลุ่มต่อยอดไอเดียนำดอกบัวแดง ที่นอกจากจะมีความสวยงามและมากด้วยสรรพคุณแล้ว มาแปรรูปเป็น ชาดอกบัว และสบู่ดอกบัว สร้างรายได้เข้าชุมชนอีกด้วย คุณสกาวเดือน วงศ์วิจิตร อายุ 49 ปี เจ้าหน้าที่ประสานงานสมาชิกกลุ่มแม่บ้านสุขสาคร คุณสกาวเดือน วงศ์วิจิ
“บ้านท่าลี่” หมู่บ้านเล็กๆ ริมลำน้ำสงครามในตำบลโซ่ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ เป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอโซ่พิสัย ท่าลี่ ได้รับการยกย่องว่าเป็น “มนต์เสน่ห์แห่งแม่น้ำสงคราม” เพราะมีเอกลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงามของ “แก่งหิน-สายน้ำ” จังหวัดบึงกาฬ โดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบึงกาฬ คัดเลือกให้ “บ้านท่าลี่” เป็นหนึ่งในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี หรือเรียกสั้นๆ ว่า “แอ่งเล็ก เช็คอิน” โดยสนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชนบ้านท่าลี่ จัดอบรมความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้นำชุมชน ส่งเสริมให้ชาวบ้านร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน และมีส่วนร่วมในวางแผนการท่องเที่ยว พัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ส่งเสริมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และอาหารพื้นถิ่น เพื่อสร้างจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าไปเยี่ยมชม ใช้จ่ายเงินเป็นค่ากินอยู่ และซื้อสินค้าโอท็อปติดมือกลับบ้าน ช่วยกระจายรายได้สู่ผู้คนในชุมชนอย่างทั่วถึง รู้จัก “บ้านท่าลี่” หมู่บ้านท่าลี่ กำเนิดขึ้นโดย พ่อกะลัง อำนวยการ ซึ