ปราชญ์ชาวบ้าน
พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง และพลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานอนุกรรมการฯ พร้อมคณะอนุกรรมการฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี พร้อมกับรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานและเยี่ยมชมผลผลิตของเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี กล่าวว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2530 อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีขนาดความจุ 4.3 ล้านลูกบาศก์เมตร มีระบบท่อส่งน้ำ จำนวน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบ Pumping (ระบบส่งน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำ) ความยาวรวม 20.935 กิโลเมตร และระบบ Gravity (ระบบส่งน้ำแบบโดยแรงโน้มถ่วงของโลก) ความยาวรวม 5.952 กิโลเมตร ปัจจุบันอ
“ไม่มีความจนในหมู่คนขยัน” คำพังเพยที่มีมานาน เพื่อปลุกเร้าอารมณ์กระตุ้นเพื่อให้กำลังใจ ของคนที่พบชะตากรรมความลำบาก ยากเข็ญ ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความอยู่รอดไปวันต่อไป ประสบการณ์ในชีวิตของคนที่ประสบความสำเร็จขึ้นมา มีบางรายที่เคยยากจน อดมื้อกินมื้อมาตั้งแต่เด็กจนเคยชิน พวกเขาสำนึกถึงโชคชะตาที่ผ่านพ้นมาอย่างน่าทุรนทุราย กว่าจะมีวันนี้ได้แทบเลือดตากระเด็น เมื่อหวนรำลึกถึงในอดีต กว่า 70 ปี ที่เขาจำความได้อย่างแม่นยำเลยทีเดียว ฟังเขารำลึกถึงความหลังของลูกผู้ชายชื่อดำ “ผมเกิดมาเป็นลูกคนจน พ่อแม่ฐานะยากจน ผมต้องออกจากโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อมารับจ้างเก็บผลไม้เพื่อประทังชีวิต และความอยู่รอดของครอบครัว จากรายได้ค่าแรงเก็บผลไม้” น้ำเสียงของ “ดำ น้ำหยด” หรือ คุณจรวย พงษ์ชีพ เคยเล่าให้ผู้เขียนฟังเมื่อกว่า 30 ปี หลังจากเขาประสบความสำเร็จในการใช้ระบบน้ำหยด เมื่อ 40 ปีก่อน ที่จังหวัดจันทบุรี แหล่งผลิตผลไม้ที่ลือชื่อมาช้านาน จวบจนเมื่อปีที่ประสบวิกฤติภัยแล้ง ต้นผลไม้ยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเงาะ ทุเรียน ลองกอง หรือมังคุด ต่างขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง น้ำที่เคยมีเก็บไว้ก็แห้งขอด สัตว์เลี
หากใครนิยมบริโภคผักเป็นอาหารหลัก คงทราบทันทีว่ามีราคาแพง ด้วยความสงสัยจึงลองสอบถามแม่ค้าตามตลาดสด พบว่า สาเหตุมาจากสภาพอากาศผันผวนเปลี่ยนแปลงกระทบกับผู้ปลูกผัก ทำให้มีผักน้อยราคาจึงสูงเมื่อรวมกับต้นทุนค่าขนส่งอีก เคยลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรปลูกผักที่แปลง เขาเผยให้ฟังว่า เกษตรกรบางรายรีบเก็บผักส่งตลาด ทั้งที่เพิ่งฉีดสารเคมี เพราะไม่ทันความต้องการของตลาด พอฟังอย่างนี้แล้วรู้สึกกลัวขึ้นมาทันที เห็นจะต้องหันไปพึ่งผักปลอดสารแบบมีหีบห่อดีกว่า แต่ก็ไม่วายยังได้รับข้อมูลอีกว่าผักปลอดสารดังกล่าวใช่ว่าจะเป็นของจริงไปเสียทั้งหมด บางแห่งมีการแอบอ้างเพื่อหลอกผู้บริโภคหวังเป็นการค้า แล้วคราวนี้ใครเดือดร้อน ถ้าไม่ใช่พวกเรา… ถ้าเป็นเช่นนี้เห็นทีต้องชวนท่านผู้อ่านปลูกผักไว้กินเองคงจะดีแน่!! ความจริงกระแสการปลูกผักเพื่อให้ปลอดภัยในการบริโภคมีทำกันมากหลายแห่ง โดยเฉพาะภาคเอกชนที่พยายามจุดประกายเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันหลายจุด ตั้งแต่ผู้ปลูกไปจนถึงผู้ขาย พอมาภายหลังหน่วยงานราชการหลายแห่งกระโดดลงมาร่วมวงด้วย เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อการบริโภค แล้วยังทำให