ปลาส้ม
ด้วยปัญหาการสัมผัสกับสารสกัดบิวทานอล จากการปอกกระเทียมเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดอาการหอบหืดและโพรงจมูกอักเสบเมื่อสูดดมหรือสัมผัสกระเทียมเป็นเวลานานๆ นักวิจัยเชิงพื้นที่วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม จึงคิดค้น “เครื่องปอกกระเทียม” เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพให้กับผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากปลาตะเพียน บ้านท่าบ่อ หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ในแต่ละวันกลุ่มแม่บ้านดังกล่าวต้องผลิตปลาส้มเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ ต้องใช้กระเทียมปริมาณมากในการแปรรูป ที่ผ่านมาชาวบ้านต้องจ้างคนงานปอก ในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งนับเป็นต้นทุนที่สูง จากการสำรวจและลงพื้นที่อำเภอศรีสงคราม ทำให้นักวิจัยวิทยาลัยธาตุพนมเล็งเห็นปัญหา จึงเกิดการพัฒนาและออกแบบเครื่องแกะและปอกกระเทียมขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบูรณาการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ที่ช่วยกันเสนอข้อคิดเห็นตลอดขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาเครื่องปอกกระเทียม ทำให้นักวิจัยสามารถพัฒนาเครื่องปอกกระเทียมได้ตรงกับความต้องการของชุ
เมื่อเอ่ยถึง “ปลาส้ม” เรานึกถึงอะไรกันบ้างครับ? ถ้าเป็นคนชอบกินกับข้าวอีสาน ภาพจำที่วาบขึ้นมาคงเป็นปลาตะเพียนทั้งตัว บั้งข้าง ควักไส้ออก ยัดข้าวสวยหรือข้าวนึ่งเข้าไปแทน หมักกับกระเทียม เกลือ จน “ส้ม” คือมีรสเปรี้ยว กลิ่นหอม จากปฏิกิริยาการบ่มตัวของแป้งข้าวกับเนื้อปลาสด เวลากินก็ทอดน้ำมัน หรือห่อใบตองกล้วยย่างเตาถ่าน ไม่ก็นึ่งในลังถึง แนมด้วยกระเทียมสด หอมเจียว ตะไคร้ซอย พริกขี้หนูสดหรือพริกแห้งเจียว ใบมะกรูดทอด ขิงอ่อนหั่นชิ้นลูกเต๋า ใบผักชีต้นหอม ฯลฯ บางคนชอบเอาไปหลนกะทิสด จะใส่หมูสับหรือไม่ใส่ก็ได้ ก้างปลานั้นก็กรองทิ้งไป ได้อารมณ์ของสำรับหลน ซึ่งแต่เดิมคือเครื่องจิ้มที่มีข้าวหมากเป็นส่วนประกอบอย่างสำคัญ เดี๋ยวนี้ดูเหมือนจะลืมๆ กันไปแล้วกระมังครับ ว่าหลนนั้นส่วนใหญ่ต้องมีข้าวหมากเป็นเครื่องปรุงอยู่ด้วย นอกจากปลาส้มสายอีสาน ยังมีสำรับมุสลิมภาคใต้ ที่เรียกเนื้อปลาชิ้นใหญ่ทอดเคล้าน้ำปรุงพริกตำเคี่ยวในน้ำตาล เกลือ น้ำส้มสายชูว่า “ปลาส้ม” ด้วย คือเป็นปลาทอดที่ปรุงรสเปรี้ยวนำนั่นเอง ทีนี้มีอยู่วันหนึ่ง ผมไปได้ปลาอินทรีสดชิ้นย่อมๆ จากร้านปลาที่ตลาดเช้ามาสองสามชิ้น ปกติปลาอินทรีสดเขามักทอดจิ
การถนอมอาหารของชาวบ้านแบบโบราณที่เรียกว่า “ปลาส้ม” มีจุดเด่นความอร่อยตรงการเลือกชนิดปลาเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นปลาตะเพียน ปลาสวาย ปลาเทโพ และปลาสร้อย รวมถึงอัตราส่วนผสม และระยะเวลาหมักที่เหมาะสม จนนำไปสู่รสชาติความเปรี้ยวที่ลงตัว มีทั้งแบบที่ใช้ปลาทั้งตัว และแบบที่ใช้เฉพาะเนื้อปลา จึงนิยมนำไปปรุงอาหารได้หลายแบบ ดังนั้น ปลาส้มจึงกลายเป็นเมนูสุดฮ็อตในปัจจุบัน ถึงขนาดมีลูกค้าสั่งจองกันข้ามประเทศ แม้การผลิตปลาส้มจะมีกรรมวิธีและกระบวนการที่ไม่ยุ่งยาก แต่กลับยิ่งทำให้ผู้บริโภคต้องใส่ใจกับแหล่งผลิต พร้อมกับตรวจสอบการรับรองมาตรฐานควบคู่ไปด้วย “กลุ่มปลาร้าปลาส้มบ้านฟ้าห่วน” ที่ตั้งกลุ่ม เลขที่ 79 หมู่ที่ 6 ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นชาวบ้านไม่กี่ครัวเรือนที่ร่วมมือร่วมใจกันนำปลาที่เลี้ยงในนาข้าวมาผลิตปลาส้มและปลาร้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อส่งขายตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ คุณนันทา เปรมทา ประธานกลุ่ม บอกว่า กลุ่มนี้จัดตั้งเป็นทางการเมื่อปี 2548 เหตุผลที่เกิดเป็นกลุ่มขึ้นเพราะบริเวณนี้มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ลำห้วย หนอง คลอง บึง จึงทำให้ชาวบ้านมีอ
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านผลิตภัณฑ์อาหารสู่มาตรฐานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 จนถึงปี 2560 โดยมอบหมายให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศดำเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคามและร้อยเอ็ด ดำเนินการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนที่ผลิตและจำหน่ายในพื้นที่ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตอาหารชุมชน เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 กลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่ยังพบปัญหาด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประเมินสถานที่ผลิตอาหารและสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางห้องปฏิบัติการทุกปี นพ.สุขุม กล่าวว่า จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนของพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ตั้งแต่ปี 2556 – 2560 จำนวน 442 ตัวอย่าง ได้แก่ ปลาส้ม ไส้กรอกอีสาน แหนม น้ำปลาร้า ปลาหมัก หมูทุบ หม
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านผลิตภัณฑ์อาหารสู่มาตรฐานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 จนถึงปี 2560 โดยมอบหมายให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศดำเนินการเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคามและร้อยเอ็ด ดำเนินการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนที่ผลิตและจำหน่ายในพื้นที่ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตอาหารชุมชน เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 กลุ่ม โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มที่ยังพบปัญหาด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประเมินสถานที่ผลิตอาหารและสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางห้องปฏิบัติการทุกปี นพ.สุขุม กล่าวว่า จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนของพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ตั้งแต่ปี 2556 – 2560 จำนวน 442 ตัวอย่าง ได้แก่ ปลาส้ม ไส้กรอกอีสาน แหนม น้ำปลาร้า ปลาหมัก หมูทุบ หม
“ปลาส้ม” เป็นการแปรรูปอาหารจากปลาเพื่อถนอมเนื้อปลาให้เก็บไว้ได้นานๆ อาจทำจากปลาทั้งตัว หรือเฉพาะเนื้อปลาก็ได้ กระบวนการขั้นตอนทำปลาส้มจะนำไปสู่ความเปรี้ยวซึ่งเป็นรสชาติหัวใจสำคัญและถือเป็นเสน่ห์ แถมซอยพริกบีบมะนาวลงไปด้วยยิ่งไปกระตุ้นต่อมน้ำลาย จึงเป็นเมนูยอดนิยมกันในหลายจังหวัด การทำปลาส้มแต่เดิมมักไว้บริโภคในครัวเรือนที่ต้องอาศัยเทคนิควิธีที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ดังนั้น รสชาติหรือคุณภาพของปลาส้มแต่ละแห่งจึงมีความแตกต่างกัน พอยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป การทำปลาส้มไม่เพียงแค่ไว้รับประทานในบ้าน แต่กลับกลายเป็นสินค้าของฝาก ของขาย ในเชิงการค้าไปแล้ว… ที่ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใกล้ริมโขง ชาวบ้านที่นั่นสร้างรายได้ด้วยการจับปลามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปลาส้ม มีทั้งทำจากปลาทั้งตัว และบางรายทำเฉพาะเนื้อปลา อย่าง ป้านวลลออ นครังสุ อยู่บ้านเลขที่ 53 หมู่ที่ 7 ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ได้ชักชวนเพื่อนบ้านมาแปรรูปปลาส้มเป็นรายได้เสริม แล้วจัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรไชยบุรี มาตั้งแต่ปี 2529 ด้วยความช่วยเหลือและสนับสนุนจากภาคราชการในพื้นที่ โดยกลุ่มนี้
ป้าแดงปั่นจักรยานเข้ามา และเรียกหาแต่ไกล “อ้ายติ๋วไปหย่อนปลา ได้ปลาขาว ปลาดุก มันว่าเอามาให้พี่ก่อน ถ้าพี่ไม่เอา เอาไปขายคนอื่น” “ไม่ว่างทำเลย” “ทำให้ก็ได้” เธอตอบ มีบริการเสริมอย่างนี้ใครจะปฏิเสธได้ “รู้ว่าพี่ชอบกินปลา ปลาขาว 20 บาท ปลาดุก 10 บาท” “ได้อย่างไรป้าแดง ปลาดุกมันต้องมีราคากว่าปลาขาวซิ ปลาดุกต้อง 20 บาท” “บ่ฮู้เน้อ” แกตอบแบบง่ายๆ ก่อนจะสรุปว่า “เอาเป็นว่าทั้ง 2 อย่าง 30 บาท มันไม่มีเมีย หาปลามาได้ก็ขายไม่เป็น ช่วยขายให้มัน” ว่าแล้วเธอก็จัดการอย่างรวดเร็ว ขูดเกล็ด ดึงไส้ ควักขี้ออกมา “พี่จะเอาทำอะไร ตัดเป็นท่อนไหม บั้งไหม” “ไม่เป็นไร เดี๋ยวบั้งเอง แค่ขูดเกล็ดเอาขี้ออกล้างให้สะอาดก็พอแล้ว ที่เหลือทำเอง เพราะยังไม่รู้ว่าจะแกง ย่าง หรือนึ่ง” ป้าแดงไปแล้ว ฉันถ่ายรูปเอาปลาไปขึ้นเฟซบุ๊ก ยุคนี้มันยุคอินเตอร์เน็ต มีอะไรเอามาขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์ โชว์กันไป ใครต่อใครที่เข้ามาอ่าน ก็เขียนบอกว่า ราคาถูกมาก บางคนว่ากว่าจะไปหามาได้ใช้เวลาเป็นวัน ของชาวบ้านถูกๆ อย่างนี้ แต่ต้องไปซื้อของใช้อื่นๆ ราคาแพงๆ ฉันตอบเขาว่า ซื้อขายแบบบ้านๆ ก็อย่างนี้แหละ เรียกว่าประนีประนอม ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ราคา