ปลูกต้นไม้
ขึ้นชื่อว่าต้นไม้ ให้ทั้งความร่มรื่นและร่มเงา ทุกๆ บ้านต้องมีต้นไม้ปลูกกันแน่ๆ แต่สำหรับมือใหม่ที่กำลังมองหาต้นไม้มาปลูกในบ้าน ต้องศึกษาข้อมูลจำเพาะ ลักษณะลำต้น ระบบรากก่อนว่าต้นไม้ชนิดนั้นๆ เหมาะจะปลูกในบริเวณบ้านหรือไม่ เนื่องจากต้นไม้บางต้น มีรากที่แข็งแรง โดยเฉพาะบ้านที่มีพื้นที่รอบบ้านน้อยๆ 2-4 เมตร ที่มักจะมีปัญหารากไม้ที่ปลูกใกล้บ้านชอนไชทำให้บ้านร้าวเสียหาย วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจะมาแนะนำต้นไม้ที่ให้ร่มเงา รากไม่ชอนไช แต่ก่อนอื่นควรเลือกต้นไม้ที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวบ้าน ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป เป็นคุณสมบัติที่ดี และน่าเลือกมาปลูกนั่นเอง 🌿ต้นล่ำซำ ต้นล่ำซำ เป็นต้นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งที่หลายบ้านนิยมปลูก ทางฮวงจุ้ยถือว่าการปลูกต้นล่ำซำจะช่วยนำพาความเจริญรุ่งเรืองและความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือธุรกิจต่างๆ มาให้แก่ผู้ปลูกและคนในบ้านด้วย ยังเป็นต้นไม้จัดสวนฟอร์มสวยที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านเพื่อให้ร่มเงา อีกทั้งยังเป็นไม้ยืนต้นที่ใบไม่ค่อยร่วง ไม่ต้องคอยทำความสะอาดพื้นบ่อยๆ และลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง ยืนต้นขนาดไม่ใหญ่มาก สูงได้ถึง 25 เมตรเลยทีเดียว ควรปลูกห่างจากบ้านประมาณ 5-6 เมตร ป้อง
เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มบริษัทในเครือ ผนึกภาครัฐ-ชุมชน Kick off โครงการ “ร้อย รักษ์ โลก ปลูกเพื่อความยั่งยืน จ.เชียงราย” ต่อยอดเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำภาคเหนือ มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 เมื่อเร็วๆ นี้ นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดโครงการ “ร้อย รักษ์ โลก ปลูกเพื่อความยั่งยืน จ.เชียงราย” สนับสนุนโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีคณะผู้บริหาร นำโดย นายณรงค์ เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายนิพนธ์ มุ่ยเรืองศรี ที่ปรึกษา สำนักสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าวขนส่งและบริการ นายณรงค์ อภิชัย ประธานสายปฏิบัติการพัฒนา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุมชน เด็กและเยาวชนในพื้นที่ รวมกว่า 200 คน ร่วมกันปลูกกล้ากาแฟ และไม้ป่า รวมกว่า 25,000 ต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบรรเทาปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ณ บ้านพะน้อย ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย นา
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน อย่าแปลกใจที่วันนี้ผมเก็บเรื่องราวรายละเอียดงานกิจกรรมคนปลูกป่ามาตั้งวงเล่าให้ฟัง ใน 3 ปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนในนามธนาคารต้นไม้ โดยมีการนัดพบพี่น้องสมาชิกจากทั่วประเทศมาพบกัน มีกิจกรรมย่อยในแต่ละครั้ง โดยใช้พื้นที่ของธนาคารต้นไม้สาขาป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นที่นัดหมาย ความคืบหน้าของพี่น้องสมาชิกแต่ละท่านในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา หลายท่านลงมือปลูกแซมสวนยาง ปลูกป่าทั้งแปลง หรือปลูกผสมผสานในสวนไม้ผลที่มีอยู่ ขนาดและจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ผ่านการบอกกล่าวในการร่วมเสวนาและการโยงใยในระบบเครือข่ายที่มีต่อกัน ไม้ป่าหลากหลายชนิดตามที่เจ้าของสวนชอบใจ อาทิ ยางนา ตะเคียนทอง จำปาทอง กันเกรา พะยูง เคี่ยม ประดู่ ชิงชัน แดง สาวดำ กระถินเทพา มะฮอกกานี ฯลฯ เมื่อได้ลงดินก็เจริญเติบโตตามเวลาและการดูแล ส่งผลต่อจิตใจของผู้ปลูกเป็นยิ่งนัก สิ่งหนึ่งที่อดยินดีมากขึ้นไปอีกไม่ได้นั่นคือ ผลพลอยได้ที่ได้จากการปลูกป่า เห็ดป่าหลากหลายชนิด ทั้งเห็ดโคน เห็ดไค เห็ดเผาะ เห็ดผึ้ง เห็ดระโงก เห็ดถ่าน เห็ดน้ำหมาก ฯลฯ เริ่มเกิดในป่าปลูกเหล่านั้น สร้างแหล่งอาหารและรายได้ให้
กระแสดังจากโลกโซเชียลมีเดีย คงหนีไม่พ้นกับกระแส การโพสต์ท่ากับต้นไม้ของเหล่าบรรดาดารา ส่งผลให้ราคาของต้นไม้ชนิดนั้นมีราคาที่สูงขึ้น และวงการต้นไม้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยกระแสดังกล่าว อาจารย์พิศาล ตันสิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) มีเคล็ดลับในการเลือกและการดูแลต้นไม้ มาตกแต่งในสไตล์มินิมอล อาจารย์พิศาล บอกว่า สำหรับต้นไม้สไตล์มินิมอล คือการวางตกแต่งต้นไม้ภายในบ้าน โดยที่ต่างประเทศมีมานานแล้ว สำหรับประเทศไทย ด้วยพฤติกรรมช่วงโควิด-19 คนอยู่บ้าน มีการ Work From Home และถูกกระตุ้นด้วยกระแสโซเชียลมีเดีย คนไทยจึงนิยมนำต้นไม้มาตกแต่งภายในบ้าน ประกอบกับ ในงานเชิงวิจัยต้นไม้พวกนี้ ช่วยฟอกอากาศ เพิ่มโอโซนในบรรยากาศ ลดความแข็งของตัวอาคาร นอกจากนี้ ยังโดดเด่น ในเรื่องของรูปทรง ฟอร์มสวย ความเขียวทำให้ดูซอฟต์ เมื่อนำมาใส่กระถางจึงเหมือนการตกแต่งภายในบ้านไปในตัว โดยเมื่อก่อนราคาเพียงต้นละ 300 บาท เมื่อดารานำมาถือมาโพสต์ทำให้ราคาขึ้นเป็น 500-10,000 บาท สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและวงการต้นไม้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ต้น
เมื่อวันที่ 5 ส.ค.63 นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์ มอบพันธุ์ไม้ให้เครือมติชนจำนวน 1,950 ต้น ประกอบด้วย ไม้พะยูง 1,000 ต้น ไม้มะเกลือ 200 ต้น ไม้ชิงชัน 150 ต้น ไม้ยางนา 100 ต้น ไม้แดง 100 ต้น ไม้ประดู่แดง 100 ต้น ไม้มะขามป้อม 100 ต้น ไม้ตะเคียนทอง 100 ต้น ไม้ประดู่ลาย 50 ต้น และไม้สะเดา 50 ต้น ทีมผู้บริหารมติชน ได้แก่ นางสาวปานบัว บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน), นายฐากูร บุนปาน รองประธานกรรมการ บมจ.มติชน, นายสุรพล พิทยาสกุล ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการ บมจ.มติชน, นายพานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน และนายวรศักดิ์ ประยูรศุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน เป็นตัวแทนรับมอบพันธุ์ไม้ในครั้งนี้ นายพินิจ กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตโลกร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น ฝนตกหนัก น้ำท่วม ภัยแล้ง รวมทั้งการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมหลายอย่างหยุดชะงัก หรือปิดตัวไป แต่ภาคเกษตรยังเติบโตไปได้ และมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง ปีนี้เรามีวิกฤตหลายเรื่อง ทำให้คนมีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น เพื่อสร้างบรรยากา
วช. จับมือ กระทรวงเกษตรฯ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ในโครงการ “ปลูกเพื่อป(ล)อด ล้านต้น ลด PM2.5” หนุน 1 ล้านต้นสร้างพื้นที่สีเขียวทั่วกรุง วันนี้ (9 ก.พ.63) เวลา 09.00 น. ณ บริเวณ PARC PARAGON ศูนย์การค้าสยาม พารากอน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดงาน “ปลูกเพื่อ ป(ล)อด ล้านต้น ลด PM2.5” ภายใต้โครงการ Green City by MOAC จัดโดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานร่วมจัด โดยมี ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรุงเทพมหานคร สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตลอดจนภาคเอกชน มหาวิทยาลัย และสื่อมวลชน เข้าร่วม โดย นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ความเป็นมาของโครงการ โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ป็นประธานในพิธีมอบต้นไม้ให้กับผู้แทนประชาชนจาก 6 เขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คณะ และผู้แทนภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยาน และถ่ายภาพร่วมกันบนเวที จากนั้น ประธานและผู้บริหารระ
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ปลูก ปั่น ปัก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ “สหกรณ์รวมใจภักดิ์ พัฒนารักษาสิ่งแวดล้อม น้อมนำพระราชปณิธานความดีเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” พร้อมด้วยผู้บริหารฯ บุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สมาชิก และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน โดยได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ณ โครงการปลูกป่าในใจคน ตามศาสตร์พระราชา บนพื้นที่ป่าชายเลนบางขุนเทียน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน และกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นถิ่น และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ณ พื้นที่นิคมสหกรณ์บ้านไร่ จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนมีจิตอาสาเพื่อทำประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป
เมื่อวันที่ 3 เมษายน พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ครั้งที่ 11/2560 เรื่อง มาตรการจูงใจสำหรับภาคเอกชนในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ว่า สถานการณ์เรื่องมลภาวะในพื้นที่กรุงเทพมหานครกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ขณะนี้ข้อมูลพื้นที่สีเขียวขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ประชาชน 1 คน ต้องการพื้นที่สีเขียว 16 ตารางเมตร (ตร.ม.) แต่ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่า มีพื้นที่สีเขียวเพียง 3 ตร.ม.ต่อคน เท่านั้น โดยไม่ได้นับรวมกับจำนวนประชาการแฝง ซึ่งหากนับเพิ่มไปด้วยคงจะเป็นตัวเลขติดลบ กทม.จึงมีแนวคิดเพิ่มพื้นที่สีเขียว เบื้องต้นได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้บริหาร กทม.จัดตั้งคณะกรรมการ มี พล.อ.พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.เป็นประธาน และมีตัวแทนจากสำนักคลังและสำนักสิ่งแวดล้อมเป็นคณะกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบายการปลูกและดูแลต้นไม้พื้นที่กรุงเทพฯ พล.ต.ท.อำนวย แถลงอีกว่า สำหรับมาตรการจูงใจของภาคเอกชน คือ หากภาคเอกชนรายใดปลูกต้นไม้และสามารถสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นได้ ก็จะได้รับการลดหย่อนภาษีโรงเรือน โครงการดังกล่าวจะเสริมให้ พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้
นางวัลยา วัฒนรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. เปิดเผยว่า สำนักสิ่งแวดล้อมโดยสำนักงานสวนสาธารณะ ได้ดำเนินโครงการอบรมวิชาการเกษตรสำหรับประชาชนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ อีกทั้งสร้างเสริมทักษะด้านการเกษตรส่งผลให้เกิดการสร้างอาชีพ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในปีนี้สำนักสิ่งแวดล้อมได้รับความร่วมมือจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันความรู้ต่างๆ รวมถึงผู้นำเกษตรกรผู้ปฏิบัติงานจริงและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยแบ่งออกเป็นหลักสูตรที่น่าสนใจจำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้ 1.หลักสูตรการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ รุ่นที่ 1 อบรมระหว่างวันที่ 21–23 เมษายน 2560 และรุ่นที่ 2 อบรมระหว่างวันที่ 28–30 เมษายน 2560 2.หลักสูตรการปลูกและดูแลรักษาไม้ดอกไม้ประดับ รุ่นที่ 1 อบรมระหว่างวันที่ 20–22 พฤษภาคม 2560 รุ่นที่ 2 อบรมระหว่างวันที่ 26–28 พฤษภาคม 2560 3.หลักสูตรศึกษาดูงานด้านพืชสมุนไพร ไม้ผลและไม้ประดับ ที่จังหวัดระยอง วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 โดยผู้สมัครหลักสูตรที่ 3 จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่ 1 ก่อนเท่านั้
เมื่อเวลา 08.40 น.วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณริมคลองพังงา บ้านฝ่ายท่า ม.1 ต.ถ้ำน้ำผุด อ.เมืองพังงา นายสมจิตร ช่างทอง อายุ68 ปี เกษตรกรวัยเกษียนชาวตลาดพังงา ได้ใช้พื้นที่ 1ไร่เศษ ปลูกต้นกาหยี หรือต้นมะม่วงหิมพานต์ และต้นจิกนา ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ทำการตัดแต่งกิ่ง เพื่อเก็บใบอ่อนขาย สามารถสร้างรายได้วันละ 500-2,000 บาท ซึ่งปัจจุบันผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดในพื้นที่ โดยเฉพาะพ่อค้าคนกลางที่มารับไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง นายสมจิตร ช่างทอง เปิดเผยว่า รู้สึกมีความสุขกับการทำการเกษตรแบบนี้ เพราะไม่ต้องดุแลวุ่นวายมาก แต่เดิมนั้นตนเองปลูกพืชผักล้มลุกแบบทั่วๆไปขาย ซึ่งรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและไม่ค่อยคุ้มค่ากับการลงทุน มีความยุ่งยากในการดูแล จึงเริ่มคิดปลูกพืชยืนต้นเก็บใบอ่อนขายเมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้ว พร้อมกับเริ่มลงมือทำโดยการรวบรวมพันธุ์ต้นกาหยี หรือมะม่วงหิมพานต์และต้นจิกนา ลงปลูกในพื้นที่ คอยตัดแต่งกิ่งและตัดใบอ่อนออกขาย ซึ่งสามารถตัดใบอ่อนขายได้ทุกวัน โดยนำมาขายเป็นมัดๆละ 5 บาท บางช่วงสามารถตัดขายได้ถึง 400 มัด ซึ่งรายได้สามารถเลี้ยงชีพได้เป็นอย่างดี นับเป็นการเกษตร