ปูม้า
วิกฤตทางทะเล นับเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตุจากภัยคุกคามทางธรรมชาติ และภัยคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสารพิษ มลพิษ รวมถึง “การทำประมงเชิงพาณิชย์” ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลถูกทำลาย ปริมาณสัตว์น้ำที่เคยมีมากมายมหาศาลลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง บางชนิดถึงขั้นสูญพันธุ์ไปก็มี สำหรับ ต.ระวะ อ.ระโนด จ.สงขลา เริ่มมองเห็นปัญหานี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มชาวประมงที่จับสัตว์น้ำได้ลดลง จากเดิมในช่วงปี 2550 ชาวประมงจับปูม้าได้ครั้งละ 30-40 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 70 บาท และจับปลาทูได้ครั้งละประมาณ 100 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 20-30 บาท แต่ในปี 2560 ชาวประมงจับปูม้าได้เพียงครั้งละ 5-6 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 300 บาท และจับปลาทูได้ครั้งละ 1 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 80 บาท ชาวประมงบางคนถึงขั้นต้องเลิกอาชีพ และอพยพออกจากชุมชนไปทำงานในตัวเมืองแทน เดือนสิงหาคม ปี 2559 ชาวประมงกลุ่มหนึ่งจึงร่วมมือกันหาแนวทางฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้กลับคืนมา เป็นที่มาของ“กลุ่มธนาคารสัตว์น้ำชุมชน ประมงพื้นบ้าน บ้านเลค่าย อ.ระโนด จ.สงขลา” ซึ่งเป็
ปัจจุบันการอนุรักษ์ธรรมชาติถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรและผลิตผลจากสิ่งแวดล้อมจากชาวเกษตรหรือชาวประมง ที่ขณะนี้พบว่า ยิ่งเราหาประโยชน์จากธรรมชาติมากเท่าไหร่ สิ่งแวดล้อมก็ถูกทำลายมากเท่านั้น โดยที่ผ่านมาจังหวัดสงขลา บริษัท ที เอส เอ็น ไวร์ จำกัด ได้ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ป.ทรัพย์อนันต์ จ.สงขลา ผลักดันสร้างต้นแบบในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืนและการจับปูม้าด้วยลอบดักปูสมัยใหม่เพื่อหวังสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 ในช่วงกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ป.ทรัพย์อนันต์ ต่อสู้เพื่อพิทักษ์สัตว์น้ำทะเล หรือ “ปูม้า” ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจประจำถิ่นของจังหวัด ที่กำลังลงและสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์ สามารถนำประชากรปูม้าคืนสู่ท้องทะเล สร้างวงจรอนุรักษ์หมุนเวียนตั้งแต่การจับปูม้าจากทะเลเพื่อหากินและสร้างรายได้ ไปสู่การคืนพันธุ์ปูม้าสู่ท้องทะเล ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์วิถีธรรมชาติท้องทะเลให้แก่ชุมชนชาวบ้านใน จ.สงขลา เอง นายชำนาญ มานิล ผู้จัดการศูนย์การเรียนรู้เพาะพักลูกปูของกลุ่มประมงพื้นฐาน ป.ทรัพย์อนันต์ กล่าวว่า กลุ
วันที่16พ.ย. รายงานข่าวว่าสถานการณ์คลื่นลมบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยในพื้นที่ จ.สงขลาขณะนี้เริ่มลดระดับลง ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ออกทำการประมงอวนปู ห่างฝั่งประมาณ7 กมม. ในช่วง03.00 น. และกลับเข้าฝั่งในช่วงเช้า เนื่องจากปูบริเวณชายฝั่งมีอยู่อย่างชุกชุมโดยเฉพาะปูม้า ซึ่งแต่ละลำสามารถจับได้ประมาณ 10 กก. และมีราคา กก.ละ 200-300 บาท ทำให้ชาวประมงอวนปูมีรายได้วันละเกือบ 3,000 บาทต่อคน “ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศบริเวณชายฝั่ง เนื่องจากคลื่นลมยังแปรปรวนโดยเฉพาะในช่วงฝนตก ชาวประมงพื้นบ้านติดตามสภาพอากาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยภาคใต้ฝั่งตะวันออก ก่อนที่จะออกทำการประมงทุกวัน เพื่อความปลอดภัยเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุมของภาคใต้” นายรอหีม หมันเจริญ อายุ 35 ปี หนึ่งในชาวประมงพื้นบ้านบ้านบ่ออิฐกล่าวว่า ในช่วงสัปดาห์นี้สามารถออกทำการประมงได้อีก เนื่องจากคลื่นลมชายฝั่งอ่าวไทยลดความรุนแรงลง และต้องเร่งออกทำการประมงเพื่อหารายได้ไว้ให้มากที่สุด เนื่องจากในช่วง1-2 เดือน อาจต้องหยุดเรือจากภาวะคลื่นลมแรง
วันที่ 9 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวประมงพื้นบ้านชุมชนเก้าเส้ง อ.เมือง จ.สงขลา ออกไปทำการประมงจับสัตว์น้ำ โดยเฉพาะเรืออวนปูม้าวางอวนห่างจากชายฝั่งประมาณ 7-8 กิโลเมตร สามารถจับปูม้าได้ลำละ 5-10 กิโลกรัม เนื่องจากในช่วงนี้บริเวณทะเลชายฝั่ง จ.สงขลา มีปูม้าชุกชุมกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ แถมยังขายได้ราคาดี โดยขนาดใหญ่จำหน่าย กิโลกรัมละ 280 บาท ขนาดกลางและขนาดเล็ก กิโลกรัมละ 180-250 บาท ส่วนปูม้ามีไข่จำหน่ายกิโลกรัมละ 300-350 บาท ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านอวนปูม้าบ้านเก้าเส้งมีรายได้อย่างงามเป็นกอบเป็นกำ นายเส็น หมานหมัด ชาวประมงอวนปูในชุมชนบ้านเก้าเส้ง บอกว่า ได้นำอวนปูไปวางไว้ในทะเล 3 วัน และออกไปเก็บ สามารถจับปูได้จำนวนมาก ทั้งตัวขนาดใหญ่และตัวเล็ก เมื่อนำอวนกลับเข้าฝั่ง แกะปูม้าออกจากอวนบริเวณชายหาด ซึ่งต้องใช้ความชำนาญในการแกะปูออก ที่สำคัญเมื่อแกะออกมาแล้วก็จะต้องนำไปใส่ถุงตาข่ายแช่น้ำในทะเล เพื่อไม่ให้ปูตาย เพราะปูม้าจะต้องขายเป็นๆ จึงจะได้ราคาดีโดยส่งขายทั้งตลาดและร้านอาหาร “จำนวนปูม้าบริเวณชายฝั่งจะมีอย่างชุกชุม เพราะสภาพคลื่นลมสงบ ทำให้ชาวประมงอวนปูต้องเร่งออกวางอวนจับปูทุกวัน เนื่องจา
เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานจังหวัดชุมพร ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานชุมพร ได้นำสื่อมวลชนทั้งในพื้นที่จังหวัดชุมพร และจากจังหวัดต่างๆ ประมาณ 30 คน เดินทางไปเยี่ยมชมธนาคารปูม้า บ้านเกาะเตียบ ของชุมชนชาวประมง หมู่ที่ 7 ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร ที่ทั้ง 2 หน่วยงาน ร่วมกันจัดขึ้น การเดินทางไปยังธนาคารปูม้าบ้านเกาะเตียบ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองชุมพร ประมาณ 90 กิโลเมตร ต้องใช้ถนนเลียบชายฝั่งทะเลของกรมทางหลวงชนบท ผ่านตำบลสะพลี ตำบลชุมโค และตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง เมื่อไปถึงบ้านเกาะเตียบ จะได้พบกับธรรมชาติที่สวยงามและวิถีชีวิตของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่มีประมาณ 90 ครอบครัว ซึ่งก่อสร้างบ้านพักอยู่ตามแนวชายหาดที่ขาวสะอาด ส่วนในท้องทะเลเมื่อมองจากชายหาด ก็จะเห็นความสวยงามของเกาะแก่งน้อยใหญ่ เช่น เกาะเวียง และเกาะรัง ซึ่งเป็นเกาะที่ได้รับสัมปทานในการเก็บรังนกอีแอ่นเกาะพระ และเกาะเตียบ โดยมีเรือประมงพื้นบ้านจอดเต็มไปหมดนับร้อยลำ คุณดำ ชัยวิสิทธิ์ หนุ่มวัย 36 ปี ประธานกลุ่ม
โอกาสมีไว้ให้พุ่งชน คงเป็นคำพูดที่ไม่ผิดนัก สำหรับนักธุรกิจวัย 24 ปีคนนี้ ที่สามารถต่อยอดธุรกิจของครอบครัว ไปสู่ธุรกิจทำเงินและสามารถต่อยอดธุรกิจที่มีให้เติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบได้อย่างดีทีเดียว คุณณัฐวุฒิ เทพเซ่งลี เจ้าของธุรกิจ “ปูนึ่ง นำโชค” วัย 24 ปี เล่าว่า “เดิมเป็นคนสุราษฎร์ธานี ครอบครัวมีธุรกิจแพปูม้า มีเรือออกจับปูม้าและจับหมึกสายหยุดอยู่ก่อน แต่เป็นแพเล็กๆ ที่เมื่อได้วัตถุดิบมาก็เอาไปขายให้กับแพที่ใหญ่กว่ามารับซื้อไป วัตถุดิบที่ได้ก็ส่งไปขายหมด การขยายธุรกิจที่บ้านค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เพิ่งมาขยายได้จริง ก็เมื่อประมาณ 5 ปีมานี้ ส่วนตนนั้น ตอนเรียน เรียนอยู่ที่จังหวัดหัวหิน หลังเรียนจบก็เข้าทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศ ทำได้ประมาณ 6-7 เดือน ก็ได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่ได้ทำ ด้วยเหตุผลทางโอกาสจากงานประจำที่ทำ ได้พบปะกับนักธุรกิจ ทำให้ได้ไอเดียและเกิดแนวคิดจากนักธุรกิจหลายท่านแนะนำว่า หากอยากทำธุรกิจ ลองมองหาสิ่งที่ใกล้ตัว รู้จักและชอบในการเริ่มต้น จึงปรึกษากับทางบ้านว่า หากนำเอาวัตถุดิบจากแพของเราเองมาต่อยอด โดยเฉพาะปูม้า ซึ่งทางแพที่สุราษฎร์ธานี มีคนมาแกะปูที่แพเพื่อขา