พืชอายุสั้น
คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้ คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ ติดตามงานส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน พื้นที่กว่า 1,042 ตารางกิโลเมตร นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ 10 คน ข้าวหอมมะลิ เป้าหมายหลักนำนโยบายแห่งรัฐ คือการเกษตรระบบแปลงใหญ่ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างคุณภาพ การบริหารจัดการ สู่การตลาดที่ดี ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ข้าวหอมมะลิ ฐานเรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิต สู่การตลาดคุณภาพ เป็นศูนย์การศึกษาดูงานของชุมชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง เป้าหมาย คือ เกษตรกรกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ครอบครัวเกษตรกรมีความสุข กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องแบกรับภารกิจหลัก ผ่านทางพบ คุณยอด หลักสนาม อยู่บ้านเลขที่ 50 ม. 15 บ้านหนองมั่ง ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โทร. 083-344-7040 เกษตรกรหนุ่มใหญ่ กำลังก้มๆ เงยๆ ในแปลงพืชผัก เป็นมะเขือเปราะ อายุ 35-40 วัน ปลูกด้วยการบริหารจัดการน้ำแบบประหยัด สูบน้ำใต้ดินมาใช้ คลุมหน้าดินด้วยฟ
ก่อนเข้าถึงเนื้อหา ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า อำเภอสะเมิง เป็นพื้นที่ภูเขาสูง ฉะนั้น จะมีพื้นที่ราบสำหรับทำนาน้อย จะได้ข้าวประมาณ 100 ถัง ขายได้เงินประมาณ 10,000 บาท เมื่อปี 2557 สถาบัน IQS เข้ามาส่งเสริมการผลิตหญ้าหวาน จึงตัดสินใจทดลองปลูก จำนวน 1 ไร่ จนถึงปัจจุบันเปรียบเทียบแล้วมีรายได้มากกว่าการปลูกข้าวถึง 7 เท่า ต่อปี หญ้าหวานนั้น หลังจากปลูกได้ 30 ถึง 45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยทยอยเก็บทุกวัน ส่วนหญ้าหวานสด 10 กิโลกรัม เมื่อตากแห้งในโรงเรือนหลังคาพลาสติก หากแดดจัด ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จะเหลือน้ำหนักแห้ง ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม คุณภาพของหญ้าหวานจะแตกต่างกัน ในแต่ละฤดูกาลคือ หน้าร้อนและหน้าฝนใบจะบางต้นสูง แต่หน้าหนาวใบจะหนาต้นจะเตี้ย หญ้าหวานถือเป็นพืชทนแล้ง จากช่วงแล้งที่ผ่านมาไม่มีน้ำรดระยะเวลาเป็นเดือนก็ไม่ได้รับผลกระทบ สามารถปลูกเป็นพืชทางเลือกทดแทนข้าวที่มีปัญหาด้านราคาอยู่ในขณะนี้ และเป็นพืชทนแล้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อีกด้วย คุณละออง ศรีวรรณะ เกษตรกรบ้านอมลอง บ้านเลขที่ 94 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิตหญ้าหวานมาตรฐานออร์แกนิกไทยแล
กระแสนิยมคนชอบรับประทานต้นอ่อนทานตะวัน กำลังมาแรง หลายคนมองหาวิธีการปลูก การเพาะ หรือบางคนเพาะขายเป็นอาชีพเสริมก็มี เนื่องจากตลาดยังนิยมและสามารถขายได้ เพราะเป็นผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ดูแลไม่ยาก อีกทั้งยังไร้สารเคมีอีกด้วย ซึ่งหลายคนที่หันมาปลูกต้นอ่อนทานตะวันขาย ไม่เพียงแต่ทำเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น แต่ยังสามารถทำเป็นอาชีพหลัก สร้างรายได้ให้เป็นอย่างดีอีกด้วย คุณสวรินทร์ ขุนโยธา หรือ คุณกัล วัย 41 ปี เจ้าของกิจการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน ซึ่งมีโรงเรือนเพาะปลูก โรงเล็กๆ ข้างบ้าน เล่าเรื่องราวของเธอให้ฟังว่า “เติบโตมาจากครอบครัวที่ปลูกผัก จึงทำให้เข้าใจการปลูกผักหรือวิธีการต่างๆ ได้ง่าย แต่ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ทำอาชีพเพาะปลูกอะไร เป็นเพียงพนักงานของรัฐคนหนึ่งเท่านั้น เพาะต้นอ่อนไม่ยุ่งยาก ทำได้เองที่บ้าน ด้วยวิธีการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีเข้ามาช่วยในการปลูก ต้นอ่อนทานตะวันจึงเป็นอาหารที่ไม่มีสารเคมี โดยคุณกัลบอกถึงสโลแกนการปลูกผักว่า “ไม่สวยแต่ปลอดภัย” พื้นที่ข้างบ้าน ที่ใช้ในการปลูกต้นอ่อนทานตะวันมีเพียงประมาณ 4-5 เมตร โดยทำชั้นปลูกแบบคอนโดฯ ปลูกได้ประมาณ 20-25 ถาด ซึ่งต้องวางแผนงา
ชะอมเป็นผักพื้นบ้านอีกหนึ่งชนิดที่คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานกันดี ทุกๆบ้านจะใช้พื้นที่ว่างตามรั้วบ้านปลูกชะอมเพียงไม่กี่ต้นเพื่อเก็บไว้รับประทานกันเองในครอบครัวจนถึงปัจจุบัน ความต้องการบริโภคชะอมที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ปัจจุบันชะอมกลายเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งชนิดที่เกษตรกรหันมาปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดนครนายก ทำให้มีเงินสะพัดปีละหลายล้านบาทจากการปลูกชะอมตัดยอดจำหน่ายและตอนกิ่งขายในชุมชนรองจากข้าวและไม้ผลอย่างมะยงชิด คุณบุญเรือง ปิ่นเกตุ หนึ่งในเกษตรกรที่หันมาให้ความสนใจปลูกชะอมตัดยอดจำหน่ายอยู่ในพื้นที่ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก โดยใช้พื้นที่บริเวณรอบบ้านปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ปลูกชะอมพื้นที่ว่างตามริมรั้วหรือพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ถูกปรับปรุงเพื่อใช้ปลูกชะอม ปลูกผสมผสานในสวนผลไม้ ซึ่งผลผลิตที่ใด้ส่งจำหน่ายออกไปในรูปแบบมัดกำ ราคากำละ 2-6 บาท สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในช่วงที่รอเก็บเกี่ยวข้าวที่เป็นอาชีพหลัก “ชะอม เราปลูกประมาณ 2 เดือนขึ้นไป ยอดจะแตกออกมาให้เก็บผลผลิต ยิ่งมีการดูแลที่ถูกวิธีและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอสามารถเก็บยอดได้วันเว้นวัน ซึ่งแต่ละคร
คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณ ติดตามงานส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน พื้นที่กว่า 1,042 ตารางกิโลเมตร นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ 10 คน ข้าวหอมมะลิ เป้าหมายหลักนำนโยบายแห่งรัฐ คือการเกษตรระบบแปลงใหญ่ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างคุณภาพ การบริหารจัดการ สู่การตลาดที่ดี ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) ข้าวหอมมะลิ ฐานเรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิต สู่การตลาดคุณภาพ เป็นศูนย์การศึกษาดูงานของชุมชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง เป้าหมาย คือ เกษตรกรกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ครอบครัวเกษตรกรมีความสุข กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องแบกรับภารกิจหลัก ผ่านทางพบ คุณยอด หลักสนาม อยู่บ้านเลขที่ 50 ม.15 บ้านหนองมั่ง ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โทร.083-3447040 เกษตรกรหนุ่มใหญ่ กำลังก้มๆเงย ในแปลงพืชผัก เป็นมะเขือเปราะ อายุ 35-40 วัน ปลูกด้วยการบริหารจัดการน้ำแบบประหยัด สูบน้ำใต้ดินมาใช้ คลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว
ผักชีฝรั่ง เป็นผักและสมุนไพรไทยที่นิยมนำมาปรุงอาหารในหลากหลายเมนู โดยเฉพาะอาหารอีสาน เนื่องจากใบมีรสชาติจืด แต่มีกลิ่นหอมแรง สามารถปรับปรุงกลิ่นอาหารให้ชวนรับประทานมากขึ้น ผักชีฝรั่งเป็นพืชอายุสั้น ใช้เวลาปลูกประมาณ 6 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว โดยเกษตรกรจะปลูกในโรงเรือนความสูงประมาณ 1.70-2.00 เมตร ด้านบนจะมุงตาข่ายพรางแสง ให้แสงส่องผ่านได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ โดยการปลูกผักชีฝรั่งจะใช้เมล็ด ปลูกระบบร่องน้ำจึงได้ผลผลิตดี โดยหน้าร่องควรกว้าง 6 เมตร หรือ 3 วา ร่องน้ำกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ส่วนความยาวแล้วแต่พื้นที่ และหลังจากหว่านเมล็ดลงไปแล้ว 10- 15 วัน เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้า ซึ่งในช่วงนี้จะต้องดูแลกำจัดวัชพืช รดน้ำอย่าให้ขาด เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน และพอต้นกล้าอายุได้ 1 เดือน ก็จะเริ่มบำรุงปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนตลาดจะเป็นตลาดในประเทศ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจำหน่ายกิโลกรัมละ 45 บาท ซึ่งแต่ละรอบจะเก็บผลผลิตได้ 3-4 ตัน ทำรายได้เฉลี่ย 3-4 แสนบาท ที่มา มติชนออนไลน์