มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
BEDO ม.บูรพา ม.สวนสุนันทา จับมือสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวกระแสใหม่ ภายใต้โครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ มุ่งขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีเขียวอย่างยั่งยืน นำร่อง 3 อำเภอ ใน จังหวัดประจวบฯคีรีขันธ์ เพิ่มขีดความสามารถด้านท่องเที่ยวให้ชุมชนควบคู่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้แท้จริง นายปรีดา สุขใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้อนุมัติให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ดำเนินการตามข้อนำเสนอของกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรอบระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2566-2569 โดยเลือกนำร่องโครงการฯที่ จ.ประจวบฯ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความแตกต่างและมีความหลากหลายทางภูมิประเทศและภูมินิเวศน์ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยบูรพาในการดำเนินการทำแผนแม่บท และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าว ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในการดำรงชี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเวทีเสวนางาน “ทุนนวัตกรรมเพื่อสังคมไปใช้ประโยชน์” จังหวัดอุดรธานี จัดแสดงผลงานความก้าวหน้างานวิจัย และนวัตกรรมของชุมชนที่นำไปใช้งานจริงมากกว่า 20 ผลงาน เผยช่วยแก้ปัญหาสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ ตอกย้ำการทำงานของมหาวิทยาลัยสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รองศาสตราจารย์ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มรภ.) กล่าวว่า มรภ.สวนสุนันทาได้ดำเนินการวิจัยร่วมกับชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศไทยในหลายมิติบนฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ 1. ต่อยอดอดีต 2. ปรับปรุงปัจจุบัน และ 3. การสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต อีกทั้งยังสอดคล้องกับหลักการที่ว่า หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (SIDUP-Isan) ได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการศึกษา ที่ได้นำความเป็นจริงของชุมชนมาทำการศึกษาร่วมกันด้วย โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมของชุมชน “จากการดำเนินงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ร่วมกับการทำงาน เ
ม.ราชภัฏสวนสุนันทา เดินหน้าเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการชั้นนำ มุ่งพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากมหา’ลัยสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพิ่มมูลค่า พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาของชุมชน หวังยกระดับรายได้ครัวเรือน จับมือ 7 หน่วยงานจัดกิจกรรม “ตลาดในสวน” ณ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม สร้างความเข้มแข็งระดับชุมชน นายอรรถพันธุ์ สงวนเสริมศรี ปลัดจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า การร่วมมือกันของหน่วยงาน 8 ฝ่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ธนาคารออมสิน ภาค 4 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม องค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที และเทศบาลตำบลบางยี่รงค์ จังหวัดสมุทรสงคราม ในการจัดกิจกรรม“ตลาดในสวน” ที่ตำบลบางยี่รงค์ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นนี้ ได้มีการนำองค์ความรู้จากการวิจัย นวัตกรรม การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมของท้องถิ่นในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให
BEDO จับมือ มรภ.สวนสุนันทา หนุน ชุมชน และ ผู้ประกอบการ ร่วมลงนาม MOU ขับเคลื่อน“โครงการยกระดับสินค้าชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม” เมื่อ วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมปีติพงศ์พึ่งบุญ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความ ระหว่างชุมชน และผู้ประกอบการ ภายใต้ “โครงการยกระดับสินค้าชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม” นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ BEDO กล่าวว่า “พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างชุมชน และผู้ประกอบการที่ร่วมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ภายใต้ “โครงการยกระดับสินค้าชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม” โดยปีงบประมาณ 2566 นี้ โดยร่วมจัดทำโครงการฯกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในการพัฒนาธุรกิจโดยการจับคู่นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการกับชุมชน ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนที่อยู่ในเครือข่ายของ BEDO อยู่แล้ว โดยจะมีการพิจารณาจากคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งรับฟังข้อเส
ดร.ภานุ พัฒนปณิธิพงศ์ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยว่า ‘กล้วยหอมทอง’ เป็นสินค้าเกษตรของไทยที่ได้รับความนิยม เป็นที่ต้องการของตลาด และแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค แต่ด้วย ‘กล้วยหอมทอง’ เป็นผลไม้เขตร้อน อายุการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในแต่ละฤดูกาล ล้วนส่งผลกระทบต่อผลผลิต ตกเกรด ไม่ได้มาตรฐาน และปัญหาอื่นๆ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เรื่องการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพสินค้า เกษตรกร ชุมชน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้ลงพื้นที่ศึกษาสภาพสถานการณ์และศักยภาพการปลูกกล้วยหอมทองในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลูกใหม่ มีระบบนิเวศน์กับสภาพแวดล้อมที่ยังสมบูรณ์ ปัญหาแมลง ต้นทุนค่าปุ๋ยและสารเคมีน้อย จึงทำให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงกว่าพืชเดิมที่เคยปลูกมานาน แต่มีการสะสมของโรค “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองบ้านโคก&
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มรภ.สส) จัดงานแถลงข่าวการดำเนินงานพัฒนา MSME ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับส่วนแบ่งทางการตลาด ประจำปี 2566 ขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เปิดประตู สู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ” นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้เกียรติเป็นประธาน และกล่าวเปิดการดำเนินงานพัฒนา MSME ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับส่วนแบ่งทางการตลาด ประจำปี 2566 โดยมีเป้าหมายมุ่งสร้างโอกาส เปิดประตูสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพิ่มโอกาสรับส่วนแบ่งทางการตลาด ให้ MSME ไทย เข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีมูลค่ากว่า 1.167 ล้านล้านบาท ซึ่งกิจกรรมในปีนี้ มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ภายใต้การดำเนินกิจกรรมฯ โดยสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำ
หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (SOCIAL INNOVATION DRIVING UNIT) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน” ขอเชิญ ผู้ประกอบการ วิสหากิจชุมชน หรือกลุ่มโอทอป ที่สนใจนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ประจำปี 2566 ตั้งแต่วันนี้ ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566 คุณสมบัติ -ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มโอทอป ที่มีความต้องการนำผลงานนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน -ชุมชนมีความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการอบรมออนไลน์ -ต้องเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมภายใต้ 12 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน -สามารถเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ ของการจัดกิจกรรมอบรม -มีความรู้ความเข้าใจในการร่วมกิจกรรม และทำให้เกิดผลลัพธ์ของโครงการในกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย รายชื่อผลงานนวัตกรรมพร้อมใช้ 1) ชุดอุปกรณ์สร้างสรรค์ลายเสื่อเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมบ้านผึ้ง เพื่อลดขั้นตอนและเพิ่มปริมาณของผลผลิตสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งและผลผลิตในสว
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA เปิดรับทุนนวัตกรรมเพื่อสังคมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ SidUP-Isan ประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ปีงบประมาณ 2566 โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เปิดให้คณาจารย์ นักวิจัย เข้าร่วมส่งผลงานนวัตกรรมพร้อมใช้ ในโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นผลงานวัตกรรมพร้อมใช้ที่ตอบโจทย์ต้นทุนทางทรัพยากรของพื้นที่เป้าหมาย มุ่งหวังพัฒนาผลงานนวัตกรรมมให้ชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุด และยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA พิจารณาคัดเลือกผลงานนวัตกรรมพร้อมใช้ Finalists ในโครงการทุนนวัตกรรมเพื่อสังคมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน” SIDUP-Isan ประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ให้กับนักวิจัยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก นายเฉลิมพงษ์ กล้าขยัน นักพัฒนานวัตกรรมอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งช
นายอทิตยา บัวศรี ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นักวิจัยโครงการย่อย ภายใต้ทุนสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐาน (Fundamental Fund) ประเภท Basic Research Fund ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ได้กล่าวถึงชุดโครงการวิจัยในชื่อ เรื่อง นวัตวิถีอาหารสตรีทฟู๊ดสู่การส่งเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากชุมชนเมืองกรุงเทพมหานครเพื่อการท่องเที่ยวระดับโลก นายอทิตยา บัวศรี กล่าวว่ากรุงเทพมหานคร เป็นสวรรค์แห่งอาหารริมทาง หรือเมืองที่มีอาหารริมทาง (Street Food) ดีที่สุดในโลกต่อเนื่องจากปี 2561 (ที่มาสำนักงานสถิติแห่งชาติ) ด้วยประเภทอาหารที่หลากหลาย กรุงเทพมหานครจึงเป็นเมืองจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ที่หลงไหลในอาหาร ผู้ประกอบการธุรกิจร้านสตรีทฟู๊ดจึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการพัฒนามูลค่าเพิ่มให้กับอาหาร พัฒนาสมรรถนะด้านการขาย การบริการ ภาษาเพื่องานขาย ควบคู่ไปกับการยกระดับมาตรฐานอาหาร ความสะอาดและความปลอดภัย การออกแบบ การจัดหาปัจจัยการผลิต
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในการผลิตคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรดปัตตาเวียและบรรจุภัณฑ์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาสินค้าล้นตลาดและราคาตกต่ำในฤดูการเก็บผลผลิตโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่การปลูกสับปะรดแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ นอกจากนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้ผู้ค้าสับปะรดต่างจังหวัดไม่เข้ามารับซื้อสับปะรดในจังหวัดระยอง ทำให้ปริมาณสับปะรดเกินความต้องการของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ อีกทั้งโรงงานยังประสบปัญหาการส่งออกต่างประเทศ จึงได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารฟังก์ชันมาประยุกต์ใช้ เสริมศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านที่มีอยู่เดิม พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันคณะผู้วิจัยยังมีแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อต่อยอดให้เกิดประโยชน์ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นแนวทางหนึ่งในการลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการทำการเกษตรของชุมชน โดยการนำใบสับปะ