มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
1 ต.ค 2565 ณ ลาน Atrium 1 Siam Center บริษัท โว๊ค อัพ ทาวน์ จำกัด ได้มีการเปิดตัว แบรนด์ “NISIT VIPVUP” (นิสิต วิบวับ) พร้อมผลิตภัณฑ์ด้านความงาม 2 ตัวด้วยกันได้แก่ “นิสิตเซรั่ม” และ “นิสิตกันแดด” โดยมีศิลปินนักร้องชื่อดังอย่าง “พลอยชมพู” และ มิ้น-นวินดา เบอร์ต็อดตี มาเป็นพรีเซนเตอร์ อย่างเป็นทางการให้กับแบรนด์ สำหรับ “นิสิตเซรั่ม” นั้นเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่พัฒนามาจาก “เกลือหิมาลายัน” หรือ “เกลือชมพู” ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากใบหน้า ขณะที่ “นิสิตกันแดด” มีคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากแสงแดดนาน 12 ชั่วโมง โดยผลิตภัณฑ์ทั้งสองตัวนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท โว๊ค อัพ ทาวน์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย สำหรับนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง ที่สามารถวิจัย “เกลือหิมาลายัน” จนกลายมาเป็นเซรั่มที่ช่วยฟื้นฟูผิวหน้าได้ในที่สุด และได้รับรางวัล “การันตีธุรกิจและผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี 2021” และ HWB AWARDS 2022 Watsons Health Wellness & Beaut
รศ.ดร.รจนา จันทราสา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยและพัฒนา และศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ทำโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เหลือใช้จากกุหลาบบูชา” ขึ้น โดยร่วมมือกับวัดจุฬามณีและชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องด้วยวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในอำเภออัมพวา ที่ประชาชนต่างหลั่งไหลมาเคารพกราบไหว้ขอพร “ท้าวเวสสุวรรณ” ในปัจจุบันจะมีประชาชนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มีความเลื่อมใสศรัทธา นำดอกกุหลาบมากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมากอย่างไม่ขาดสาย ปัญหาที่ตามมาคือวัดต้องจัดการของเหลือใช้จากการบูชาเพิ่มขึ้นทุกขณะ ซึ่งไม่เพียงเสียค่าใช้จ่ายยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังนั้น โครงการวิจัยดังกล่าวจึงตอบโจทย์ความต้องการของวัดและชุมชน ในการพัฒนาสิ่งเหลือใช้จากกุหลาบบูชามาเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ สร้างมูลค่าเพิ่ม และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร.ภญ.พิมพร ทองเมือง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า โครงการศึกษาวิจ
ผศ.ดร.คมสัน โสมณวัตร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) วิทยาเขตนครปฐม เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มียุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการชั้นนำ และการพัฒนางานวิจัยเพื่อต่อยอดสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่ม Startup และ OTOP เพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน สร้างอาชีพและรายได้ของคนในชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงได้ร่วมมือกับชุมชนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เปิดตัว “ศูนย์เรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี บ้านเชียง” เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดเรื่องราวมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าภูมิปัญญาการปั้นหม้อเขียนสีเอกลักษณ์บ้านเชียง ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี เป็นกลุ่มอาชีพหนึ่งของตำบลบ้านเชียง โดยเน้นผลิตเครื่องปั้นดินเผาอย่างครบวงจรที่สืบสานวิธีการหรือกระบวนการดั้งเดิม ตั้งแต่การปั้น เผา เขียนลายเขียนสี และต่อยอดพัฒนาเครื่องปั้นดินเผานั้นให้เป็นของที่ระลึกสำหรับจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งสถาบันวิจัยแ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตอกย้ำความสำเร็จใช้งานวิจัยต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนได้จริง รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยถึงผลการจัดงานแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานวิจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนและสมาชิกในชุมชนจังหวัดอุดรธานี “Startup Champions Model” สู่การยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ที่จังหวัดอุดรธานี ว่า การจัดงานดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการวิจัยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเสริมสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ด้วยการนำงานวิจัยไปต่อยอดภูมิปัญญาของชาวบ้าน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐานและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้
รศ.ดร.รจนา จันทราสา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมมือกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พัฒนาการจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และบริษัท แอ๊ดด้า ฟุตแวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กำหนดจัดการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานวิจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนและสมาชิกในชุมชนจังหวัดอุดรธานี “Startup Champions Model” สู่การยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา จังหวัดอุดรธานี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมการยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้เป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากงานวิจัยในชุมชนจนต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้ ช่วยเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีผลงานวิชาการสู่การยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างย
หลังคว้าแชมป์รางวัลเหรียญทองมาหลายรุ่น สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมการประกวดผลงานวิชาการสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ” เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เป็นรู้จักในระดับประเทศและระดับนานาชาติ สามารถนำไปต่อยอดขยายผลสู่การปฏิบัติ พัฒนาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย สร้างชุมชนที่มีความเข้มแข็งมีรายได้ที่ยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร.รจนา จันทราสา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ผลักดันให้มีการจัดทำ “โครงการส่งเสริมการประกวดผลงานวิชาการสู่เวทีระดับชาติและนานาชาติ” มาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ และนักวิจัยของ มรภ.สวนสุนันทา ได้พัฒนาสร้างสรรค์งานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้มีพื้นที่แสดงความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ เรียกได้ว่า “ เป็นคลังความรู้ สร้างปัญญาและนวัตกรรมด้านวิจัย บริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล” ที่สามารถส่งเสริมในการสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยให้เป็น
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สนองพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สร้างครัวเรือนต้นแบบพัฒนาอาชีพ ยกระดับสินค้าชุมชน เพิ่มมูลค่า พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน รศ.พญ.ดวงพร นะคาพันธุ์ชัย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยว่า โครงการสหเวชศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อยกระดับรายได้สร้างอาชีพให้กับประชาชน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยการคัดเลือกชุมชนที่มีเกณฑ์ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยและต้องการเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพต่อยอดสร้างรายได้ที่มั่นคงยิ่งขึ้น ในปี 2564 ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จากผลการสำรวจข้อมูลพบว่ามี 3 ชุมชม ได้แก่ ชุมชนตลาดน้ำบางน้อย ตำบลกระดังงา ชุมชนตำบลบางนกแขวกและชุมชนตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม รวม 8 ครัวเรือน เป็นพื้นที่เข้าหลักเกณฑ์และมีความต้องการจะเข้าร่วมโครงการ โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของครัวเรือนในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคง โดยมี
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสวนนงนุช ผลักดันงานวิจัยนำอาหารไทยชาววังในตำรับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ เผยแพร่สู่สาธารณชน จากการที่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนทุนวิจัย ให้กับโครงการวิจัยเพื่อ ”พัฒนามาตรฐานตำรับอาหารวังสวนสุนันทา เชิงสุขภาพสู่ตลาดโลก” ภายใต้แผนงานวิจัยครัวไทยสู่ตลาดโลก ในปีงบประมาณ 2560 โดยมี ผศ.ดร.วิทยา เมฆขำ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งได้ผลผลิตจากงานวิจัยเป็นสูตรและกระบวนการผลิตอาหารวังสวนสุนันทาซึ่งเป็นอาหารไทยชาววังในตำรับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ 3 ตำรับ ประกอบด้วยปลาร้าในกะลา ข้าวปิ้งสำเร็จรูปแช่แข็ง และไก่นมวัวสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องพร้อมบริโภค ผลสำเร็จจากการวิจัยดังกล่าวได้รับความสนใจจาก บริษัท นงนุชพัทยาการ์เด้น ดีไซน์ จำกัด จึงได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารวังสวนสุนันทา ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กับ บริษัท นงนุชพัทยาการ์เด้น ดีไซน์ จำกัด โดย นายกัมพล