มาตรฐานสินค้าเกษตร
“มกอช.” เกาะติดเทรนด์สุขภาพ จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้มาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้ “สัญลักษณ์ Q” หวังกระตุ้นผู้ผลิต-ผู้บริโภค-ผู้จำหน่าย เห็นความสำคัญชี้เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณภาพและมาตรฐานปลอดภัยจากสารตกค้าง ปนเปื้อน ช่วยปกป้องและคุ้มครองผู้บริโภคให้มีสุขภาพดี เพิ่มโอกาสและช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เผยล่าสุดจัดทำมาตรฐานบังคับสำเร็จ 6 เรื่อง และมาตรฐานทั่วไป 117 เรื่อง นายกฤษ อุตตมะเวทิน เลขานุการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มียุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารทั้งที่ส่งออกและบริโภคภายในประเทศของไทยให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบกับปัจจุบันผู้บริโภคได้หันมาให้ความสำคัญกับใส่ใจสุขภาพจนกลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก ดังนั้น มกอช. ในฐานะที่เป็นองค์กรนำด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศยอมรับ ซึ่งทำหน้าที่เสริมสร้างและกำหนดมาตรฐาน ระบบตรวจสอบและรับรองสินค้าเกษตรและอาหารให้สอดคล้องกับแนวทางสากล จึงได้จัดโครงการประชา
“มกอช.”โหมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้สัญลักษณ์ Q เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับสินค้าเกษตรคุณภาพให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้ขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยทางอาหารและการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิต ด้วยการยกระดับราคาสินค้าเกษตรและอาหารให้สูงขึ้นจากการผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล มกอช.ได้ขานรับนโยบายดังกล่าวด้วยการเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร Q ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ใช้แสดงกับสินค้าเกษตรและอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มีคุณภาพ และปลอดภัย รวมทั้งได้ขอความร่วมมือกับทางภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าประเภท Modern trade เช่น ท็อปส์ บิ๊กซี เดอะมอลล์ แม็คโครรวมถึงตลาดสดต่าง ๆ ผ่านทางสมาคมตลาดสด ฯลฯ เพื่อให้ช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรและอาหารที่มีเครื่องหมาย Q โดยเปิดให้มีมุมจำหน่ายสินค้าที่
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสร่วมคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางติดตาม คุณประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ไปตรวจสอบคุณภาพข้าวทั้งระบบ ย้อนรอยเส้นทางกว่าจะเป็นข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์แท้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยกระดับข้าวไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน กรมการข้าวคุมคุณภาพข้าวสาร Q ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ การลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดในครั้งนี้ ทำให้รู้ว่า เกษตรกรชาวนาไทยจำนวนมากกำลังเร่งปรับตัวเพื่อก้าวสู่ระบบตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ขณะเดียวกัน กรมการข้าวก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงสีข้าว ในการเชื่อมโยงข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร เพื่อรวบรวมและคัดบรรจุเป็นข้าวสาร Q ต่อไป คุณประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าวให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร สร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งกว่าจะเป็นสินค้าข้าวสารที่ได้รับเครื่องหมาย Q การันตีคุณภาพจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว ดังนี้ มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP Seed) เริ่มจากเมล็ดพันธุ์
กรมการข้าวตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด ดูแนวทางการตรวจประเมินโรงสีข้าวGMP ผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว Q และเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าวได้มอบหมายให้นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว นำคณะเจ้าหน้าที่จากกรมการข้าว ได้แก่ นายประสงค์ ทองพันธุ์ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์ ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าว ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชน เดินทางตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด เพื่อเยี่ยมชมแนวทางการตรวจประเมินโรงสีข้าวGMP ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(มกษ.4403) และผลิตภัณฑ์สินค้าข้าวQ ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(มกษ.4000) รวมทั้งการแสดงเครื่องหมายรับรอง GMP โรงสีข้าว ผลิตภัณฑ์สินค้าข้าว Q และเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้จากกรมการข้าว ทั้งนี้สหกรณ์การเกษตรเมืองร้อยเอ็ด จำกัด เป็นสหกรณ์ที่ผลิตข้าวสารที่มีคุณภาพส่งผู้บริโภคมายาวนาน มีการรักษาและพัฒนาคุณภาพสินค้าตั้งแต่ขบวนการ
บริษัท สยามแม็คโคร จํากัด (มหาชน) โดย คุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร ผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพ ร่วมกับ ดร.ชวนพิศ อรุณรังสิกุล ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน คุณพินตา ศรีประย่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดอบรมเรื่อง “มาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเกษตร ด้วยมาตรฐาน ThaiGAP” ให้แก่พันธมิตรทางการค้าด้านการเกษตรของแม็คโครกว่า 60 ราย เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรไทย ก้าวไกลสู่มาตรฐานโลก โดยเพิ่มโอกาสและช่องทางในการกระจายสินค้าในระดับนานาชาติ อีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าแม็คโครในการซื้อสินค้าปลอดภัย ณ อาคารธาราพัฒนาการ แม็คโคร สำนักงานใหญ่
นายนราวิทย์ เปาอินทร์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย กล่าวถึงความสำคัญต่อการพัฒนาสินค้าเกษตรเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากลว่า สินค้าเกษตรที่สามารถส่งออกไปต่างประเทศ จำเป็นต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากต้นทาง หรือภาครัฐ ตามรายการที่กำหนด ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดโลกได้ การรับรองมาตรฐานผู้ประกอบการจำเป็นต้องส่งสินค้าไปตรวจรับรองทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลทั่วโลก งานบริการของเซ็นทรัลแล็บไทย แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านบริการตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ เช่น สารเคมีตกค้าง ยาปฏิชีวนะ เชื้อก่อโรค สินค้าจีเอ็มโอ (GMO) หรือการปนเปื้อนดีเอ็นเอสัตว์ในอาหาร และด้านบริการตรวจรับรองมาตรฐานนอกห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจประเมินและรับรองคุณภาพและผลผลิต การตรวจรับรองด้านพืช การวิเคราะห์คุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม สำหรับภาคการเกษตร มีการทดสอบหาสารพิษตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตร 4 กลุ่ม ประกอบด้วย สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม Organocholorine, สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม Carbamate, สารเคมีกำจัดศตรูพืชในกลุ่ม Organophosphate
การทำการเกษตรในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรจะต้องมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการผลิต อันจะนำไปสู่การผลิตที่สามารถวางแผนการผลิตและจัดการด้านต่างๆ เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกพื้นที่ปลูก การจัดการแปลงปลูก การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การใช้สารกำจัดศัตรูพืชและอื่นๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม อันจะนำไปสู่ผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและตลาด ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้บริโภคและการตลาดได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐานตลอดจนถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายรวมถึงสิ่งแวดล้อม จึงทำให้หลายหน่วยงานได้มีการส่งเสริม สนับสนุนและสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีมาตรฐานรองรับเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่ตระหนักถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งสินค้าที่ได้รับมาตรฐานยังจะเป็นโอกาสในการพัฒนาสู่การขยายตลาดสู่สากลมากขึ้นอีกด้วย นิตยสารรักษ์เกษตรจึงร่วมกับสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย สนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนการเกษตรของประเทศ สู่ เกษตร 4.0 เพื่อพัฒนาศักยภาพการเกษตรให้ก้าวไปข้างหน้าเพื่อแข่งขันกับต่างประเทศได้ จัดง