ม.แม่โจ้
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ บริษัท ไทยคานาบีส จำกัด ได้มีพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อร่วมวิจัยทดสอบสายพันธุ์เฮมพ์ในประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ดร. วิโรจน์ สุ่มใหญ่ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยคานาบิส จำกัด พร้อมด้วย นางสุกัลยา แลนด์ กรรมการบริษัท ไทยคานาบิส จำกัด เป็นผู้แทนลงนามของทั้งสองฝ่าย และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศาสตราจารย์ ดร. อานัฐ ตันโช หัวหน้าโครงการวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายดอน แลนด์ นายสิโรตม์ ชูติวัตร กรรมการบริษัท ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 2 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการทดสอบสายพันธุ์เฮมพ์ (Hemp) เพื่อหาปริมาณสารสำคัญ THC และ CBD ด้วยการปลูกในระบบอินทรีย์ เป็นโครงการที่จะดำเนินงาน ร่วมกันศึกษาวิจัยและคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์เฮมพ์ (Hemp) หรือมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis SivaLsbsp. Sativa ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในประเทศไทย และมีปริมาณสารสำคัญ THC และ CBD ในปริมาณที่เหมาะสมต่อกา
เมื่อวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ารับรางวัลเชิดชูเกียรติ “ผู้สนับสนุนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน กระทรวงมหาดไทยเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” จาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งทางกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ที่ปฏิบัติงานและผู้สนับสนุน การดำเนินงานกิจกรรมการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดี เป็นประธาน นำคณะผู้บริหาร บุคลากร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประสิทธิ์ โนรี นายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ในฐานะผู้แทนศิษย์เก่าทั่วประเทศ และผู้แทนองค์กรนักศึกษา เข้าร่วมพิธีบรวงสรวงพระพิรุณทรงนาค จากนั้นวางพวงมาลาคารวะอนุสาวรีย์คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ ผู้บุกเบิกก่อตั้งแม่โจ้ จนได้ชื่อว่า เป็น “บิดาเกษตรแม่โจ้” แล้วจึงเป็นพิธีทำบุญทางศาสนา ณ อาคารแผ่พืชน์ จากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ภาคเหนือ สู่…มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในวันนี้ แม่โจ้ครบ 86 ปี ได้บุกเบิก ฝ่าฟัน ต่อสู้ และเจริญเติบโต สั่งสมประสบการณ์ บันทึกประวัติศาสตร์ด้านการเกษตรของไทย ยึดมั่นไว้ซึ่งอุดมการณ์ มุ่งสู่วิสัยทัศน์การ “เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่มีความเป็นเลิศทางด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ” ด้วยปรัชญาที่แน่วแน่ “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิต สู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรา
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสถาบันคลังสมองของชาติ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แหลมไทย อาษานอก และทีมงานวิจัย สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ ดำเนินโครงการ “การยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในจังหวัดแพร่” เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ไม้สักของผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ในงานวิจัยสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไม้สักและประชาชนทั่วไป มหาวิทยาลัยจึงจัดการประชุม “คืนความรู้งานวิจัยห่วงโซ่คุณค่าไม้สักสู่เมืองแพร่” โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดการประชุมและร่วมปาฐกถาดังกล่าว โดยมี อาจารย์ ดร. ศุกรี อยู่สุข คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเปิดเวทีเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยน
เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและเทคโนโลยี (อว.) ได้ดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Meeting) เพื่อลงนามความร่วมมือ กับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non degree) ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill / Upskill / Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคติหลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมี รองศาสตราจารย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัย เป็นผู้แทนลงนามทั้ง 2 ฝ่าย ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงฯ (ศรีอยุธยา) กรุงเทพฯ และห้องประชุมพวงแสด สำนักงานมหาวิทยาลัย ชั้น 2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษานำร่องที่เข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งให้นโยบายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนขอ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวทั่วไทยสู้ภัย covid -19 เตรียมแพ็กเมล็ดพันธุ์ผัก 100,000 ชุด ส่งตรงถึงบ้านให้คนไทยมีผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้ผ่านพ้นวิกฤต covid-19 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า “โครงการนี้เกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่จะต้องการช่วยเหลือสังคม เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสร้างความมั่งคงทางอาหาร พึ่งพาตนเองได้ และเป็นการเตรียมความพร้อมระดับครัวเรือนในการสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ และศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่จะช่วยให้คนไทยมีพืชผัก อาหารปลอดภัย ในช่วงวิกฤต- 19” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ อาจารย์ประจำสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่จัดเตรียมไว้ มีจำนวน 100,000 ชุด เป็นเมล็ดพันธุ์จากศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 รศ.ดร. ระพีพันธ์ แดงตันกี คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปางช้างแม่แตง ส่งมอบผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ นาโนไนน์ ซิลเวอร์สเปรย์ ให้กับจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 300 ลิตร โดยมี นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้รับมอบ เพื่อใช้ในการฉีดพ่นฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 บริเวณโดยรอบสถานีขนส่งและสถานีรถไฟ ซึ่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่าแอลกอฮอล์ นาน 7-14 วัน ขณะนี้ ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้นำผลิตภัณฑ์นาโนไนน์ซิลเวอร์สเปรย์ เข้าใช้ฉีดพ่นในพื้นที่ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยผนึกกำลังกับทางคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปฏิบัติการเพื่อร่วมกับยับยั้งการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 รศ.ดร. ระพีพันธ์ แดงตันกี คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อดีตหัวหน้าศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมนาโนและไบโอพลาสติก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า “ผลิตภันฑ์ซิลเวอร์นาโนนี้วิจัยสำเร็จเมื่อ 8 ปีที่แล้วในปี 2554 ซิลเวอร์นาโนเป็นเทคโนโลยีจิ๋วที่ใช้ป้องกันเชื้อโรคอย่างแพร่หลายในต่างประเทศโดยเฉพาะทา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของภาคการเกษตรไทย โดยภายใต้งานประชุม สวทช.-วิทย์สัญจรภาคเหนือ ประจำปี 2563 ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมตัวอย่างความร่วมมือจำนวน 2 ผลงาน คือ ผลงานเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่แปลงวิจัยลำไย ที่ได้ทดสอบใช้งานเทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อการเกษตร และระบบการให้น้ำอัตโนมัติสำหรับพืชไร่และพืชสวน ผ่าน Smart IoT และอีกผลงานคือ แปลงทดสอบผลิตมะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ของ สวทช. ในระบบเกษตรอินทรีย์ ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยว่า สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร (สท.) ดำเนินงานให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรแบบครบวงจร ภายใต้การทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการปฏิรูปภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีแ
เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ, ศูนย์ความเป็นเลิศปลาบึกสยามและปลาบึกลูกผสมสยาม และอุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรและอาหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีพิธีลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และ สมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้, ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ และ รองศาสตราจารย์ ดร. ภก. สุรพล นธการกิจกุล นายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนลงนามของแต่ละฝ่าย และมีตัวแทนสภาเกษตรกรของแต่ละจังหวัดร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การบันทึกลงนามความร่วมมือในครั้งนี้มีระยะเวลา 5 ปี เพื่อร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนการผลิต การศึกษาวิจัยนวัตกรรมทางด้านการเกษตร อาหาร และเครื่องสำอาง ร่วมผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยสู่ภาคเอกชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้อย่างเต็มรูปแบบและยังเป็นการผลักดันบริการวิชาการด้านต่
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงานมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียง ครั้งที่ 14 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในวันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป ณ สนามแข่งขัน คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์ ศิลมั่น อาจารย์คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า “การแข่งขันนกเขาชวาเสียงมหาวิทยาลัยได้จัดขึ้นทุกปีครั้งนี้จัดเป็น ครั้งที่ 14 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของมหาวิทยาลัย ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงนกเขาชวา เพิ่มมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานถ้วยรางวัลแก่นกที่ชนะเลิศในแต่ละประเภท คือ เสียงเล็ก เสียงกลาง เสียงใหญ่และนกดาวรุ่ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และแก่ผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียงเป็นยิ่งนัก ซึ่งคาดว่าจะมีผู