ราคาข้าวโพด
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลิตเพื่อเป็นอาหารสัตว์ เป็นพืชอายุสั้น ที่ใช้น้ำน้อย หลังการเกี่ยวข้าวแล้วเกษตรกรตำบลเมืองหลวง ได้รวมกลุ่มปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อตัดเป็นต้นสด ในช่วงอายุ 80-90 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ฝักข้าวโพดอยู่ในระยะน้ำนม 50% เหมาะที่จะตัดมาสับบดใส่ถุงหรือถังเพื่อหมักให้ได้ระยะที่เหมาะสม เมื่อวัวกินจะได้รับโปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ แล้วส่งผลให้วัวเจริญเติบโตสมบูรณ์ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้งนี้ จะเป็นทางเลือกให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตและยกระดับรายได้เพื่อก้าวสู่วิถีการยังชีพที่มั่นคง คุณลัดดา วงษ์ภักดี เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดต้นสด เล่าให้ฟังว่า ปกติทำนาเป็นอาชีพหลัก หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวได้จัดพื้นที่ 7 ไร่ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย และเลี้ยงวัว 9 ตัว และควาย 7 ตัว ด้วยการปล่อยให้ไปกินหญ้าในทุ่งนาหรือกินฟางข้าวแห้ง วัวก็เจริญเติบโตได้ดีระดับหนึ่ง เมื่อก่อนนี้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อขายเป็นข้าวโพดฝักแก่ตากแห้งให้โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ ระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยว 120 วัน บางฤดูใช้ต้นทุนการผลิตมาก และได้รับผลต
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เปิดงานวันสาธิตการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา จากนั้นได้เดินทางไปยังแปลงข้าวโพด เพื่อขับรถเกี่ยวข้าวโพดในแปลงสาธิตและขับรถไถกลบเศษวัสดุการเกษตร และเยี่ยมชมจุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของสหกรณ์การเกษตรบ้านตาก จำกัด ซึ่งนำอุปกรณ์การตรวจวัดความชื้นและการกำหนดราคารับซื้อข้าวโพดตามคุณภาพผลผลิต เพี่อมาสาธิตถึงขั้นตอนกระบวนการในการรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกร โดยสหกรณ์ได้รับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร ความชื้น 30% ราคา 6.26 บาท/กก. แต่หากเกษตรกรนำมาแปรสภาพให้เหลือความชื้นไม่เกิน 14.5% จะขายได้ 8.00 บาท/กก. ซึ่งทางสหกรณ์ได้รวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรแล้วส่งจำหน่ายให้กับผู้แทนบริษัทเบทาโกร จำกัด (มหาชน) ก่อนส่งเข้าโรงงานผลิตอาหารสัตว์ต่อไป พื้นที่จังหวัดตากเข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา จำนวน 25,070.75 ไร่ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2,876 ราย และมีสหกรณ์ในจังหวัดตาก
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่แปลงเกษตรกร บ.ท่าลาด ม.9 ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานวันสาธิตและแปลงเรียนรู้ข้าวโพดหลังฤดูทำนา ในโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561 ที่อนุมัติในหลักการให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เพื่อปรับสมดุลของปริมาณการผลิต การตลาดข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรมีรายได้และอาชีพที่มั่นคงยั่งยืน จากกิจกรรมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในช่วงฤดูนาปรัง และลดการพึ่งพาจากภายนอกประเทศ โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา หรือพื้นที่นอกเขตชลประทานหรือพื้นที่นอกเขตชลประทานที่มีศักยภาพ และมีแหล่งน้ำตลอดฤดูเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา ตาม Zoning by Agri-map สำหรับ จ.สกลนครมีพื้นที่เพาะปลูกไปแล้วกว่า 3 พันไร่ การจัดงานวันสาธิตและแปลงเรียนรู้ข้าวโพดหลังฤดูทำนา โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาจังหวัดสกลนคร จัดขึ้นเพ
ไปได้สวย – โครงการปลูกข้าวโพดหลังนาปีนี้ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ คิดเป็นอัตราส่วนพื้นที่แล้วกว่า 71% เพราะนอกจากรัฐจะช่วยปัจจัยการผลิต ไร่ละ 2,000 บาท ดอกเบี้ยต่ำ 0.01% ต่อปี แล้ว ราคาข้าวโพดยังค่อนข้างสูงหน้าไซโลโรงงานอาหารสัตว์รับซื้อถึง กก.ละ 10.10 บาท คาดจะมีกำไรไร่ละไม่ต่ำกว่า กก.ละ 3,000 บาท โครงการสานพลังประชารัฐหนุนเกษตรกรปลูกข้าวโพดหลังนาปีนี้สุดเวิร์ก แห่ขึ้นทะเบียนคิดเป็นพื้นที่ถึง 71% แล้ว นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์หนุนส่งเสริมขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 3-4 ล้านไร่ พร้อมรับซื้อทดแทนการนำเข้า รายงานข่าวจากกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาปีนี้ ที่เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 พ.ย. นี้ ว่า จากการสำรวจเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวโพดหลังนาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 รอบ ในเดือน ก.ย.และ ต.ค.ที่ผ่านมา มีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร และสมาชิกลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั่วประเทศต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ทั้งสิ้น 116,486 ราย จำนวน 160,186 แปลง คิดเป็นพื้นที่ 1,014,9
พาณิชย์ชง นบขพ. รับมือ “ข้าวโพด ปี’61/62” ทะลักกว่า 5 ล้านตัน เหตุชาวไร่แห่ปลูก เตรียมเดินหน้ามาตรการบีบโรงงานอาหารสัตว์ ช่วยซื้อ กก. ละ 8.00 บาท ด้าน ส.การค้าและผลิตพืชไร่เพชรบูรณ์ วอนรัฐช่วยปัจจัยการผลิตไร่ละ 1,500 บาท นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ประชุมร่วมกับตัวแทนจากสมาคมผู้ค้าพืชไร่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เพื่อเตรียมกำหนดมาตรการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการผลิต ปี 2561/62 ซึ่งคาดว่าจะทยอยออกตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป โดยการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมประเมินว่า ปีนี้ผลผลิตข้าวโพดสูงกว่าปีก่อนที่มี ประมาณ 4.5 ล้านตัน เนื่องจากราคาขายข้าวโพดปีก่อนพุ่งขึ้นไปสูงถึง กก.ละ 10.00-10.50 บาท สูงกว่าระดับราคารับซื้อที่กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์รับซื้อจากเกษตรกร ในราคา กก.ละ 8.00 บาท ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกมากขึ้น ดังนั้น ทางกรมจึงได้เชิญทุกฝ่ายมาหารือเพื่อเตรียมกำหนดมาตรการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561/62 เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว
“พ่อค้าข้าวโพด” ระดมยื่นหนังสือร้อง 3 หน่วยงาน พาณิชย์-เกษตรฯ-สำนักนายกฯ ขอให้รัฐใช้มาตรการซื้อข้าวโพด 3 นำเข้าข้าวโพด 1 ส่วนต่อ พร้อมเปิดจุดรับซื้อข้าวโพด กก.ละ 8.30 บาท ที่ จ.ตาก ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2560 นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นายกสมาคมการค้าพืชไร่ พร้อมตัวแทนสมาคมฯ ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือกับ 3 หน่วยงานราชการ คือ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอให้คงมาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี โดยกำหนดสัดส่วนให้ผู้นำเข้าข้าวสาลีต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วนเพื่อนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ไว้ต่อไป เพื่อดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการนำเข้าข้าวสาลี พร้อมกันนี้ทางสมาคมฯ ยังได้เปิดจุดรับซื้อข้าวโพด ความชื้น 14.5% ราคา กก.ละ 8.30 บาท จากเกษตรกรภายในงานตลาดนัดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2560 ที่ จ.ตากด้วย สำหรับสาระสำคัญที่สมาคมฯ ขอให้คงมาตรการรับซื้อข้าวโพด 3 ส่วน เพื่อนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน เพื่อไม่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบจากปัญหาราค
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวรายงานการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศว่า ในช่วงครึ่งเดือนที่ผ่านมา มีการนำเข้า 3 ครั้ง จากยูเครน พร้อมระบุว่าการจัดเก็บภาษีนำเข้าข้าวสาลีถูกระงับตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันรัฐบาลนี้ยังไม่มีท่าทีพิจารณาแก้ไขให้กลับมาจัดเก็บภาษีดังเดิม การปล่อยให้มีการนำเข้าได้โดยอิสระ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเลือกใช้ข้าวสาลีมาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์โดยไม่ต้องเสียภาษี และส่งผลกระทบต่อเกษตรกรนั้น กระทรวงพาณิชย์ ขอชี้แจงว่าประเทศไทยผูกพันภาษีนำเข้าสินค้าข้าวสาลี (พิกัด 1001) ภายใต้ WTO ตั้งแต่ ปี 2538 ไว้ที่ร้อยละ 27 ต่อมาในปี 2550 (มีผล 12 ก.ย.50) กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปฏิรูปภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 เนื่องจากสินค้าข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารคน และไม่มีปลูกในประเทศ จึงจำเป็นต้องนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ โดยขณะนั้นยังไม่มีการแยกพิกัดข้าวสาลีที่เป็นอาหารคนกับอาหารสัตว์ ซึ่งภายใต้พันธกรณี WTO ไทยไม่สามารถห้ามนำเข้าข้าวสาลีได้ แต่สามารถขึ้นภาษีได้ ไม่เกินร้อยละ 27 ตามที่ผูกพันไว้ แต่สำหรับคู่ค้าที่มี FTA (เช่น กับออสเตร
ชง กกร. 7 สิงหาคมนี้ ออกประกาศคุมเข้มพ่อค้าพืชไร่จดทะเบียนแจ้งปริมาณสถานที่จัดเก็บ หลังเกษตรกรร้องเรียนราคาผลผลิตตกต่ำ ด้านสมาคมพ่อค้าพืชไร่รับสนองมาตรการของภาครัฐ ขีดเส้น 3 เดือน หากราคาข้าวโพดไม่ปรับขึ้น รัฐควรทบทวนมาตรการใหม่ นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรมเตรียมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ซึ่งมี นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธาน ในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 เพื่อออกประกาศตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 กำหนดให้ผู้ค้า และผู้ประกอบการค้าพืชไร่ เช่น ลานมัน ลานเทปาล์มน้ำมัน และผู้รับซื้อข้าวโพด ให้แจ้งปริมาณ และสถานที่จัดเก็บเพื่อให้สามารถตรวจสอบติดตามดูแลผู้ที่อยู่ในระบบการซื้อขายตามบัญชีที่เกิดขึ้นได้ “ที่ผ่านมามีเกษตรกรร้องเรียนว่าไม่ได้รับราคาที่เหมาะสมตามที่ภาครัฐกำหนด เช่น คุมราคาปลายทาง แต่เกษตรกรต้นทางขายได้ราคาต่ำ เกิดคำถามว่า แล้วกลางทางได้เท่าไร น่าจะดูแลกลางทางด้วย เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ดูแลเกษตรกร ต่อไปหากไม่แจ้งก็จะมีความผิดตามกฎหมายราคาสินค้าฯ” นา
ชง กกร. 7 ส.ค.นี้ ออกประกาศคุมเข้มพ่อค้าพืชไร่จดทะเบียนแจ้งปริมาณสถานที่จัดเก็บ หลังเกษตรกรร้องเรียนราคาผลผลิตตกต่ำ ด้านสมาคมพ่อค้าพืชไร่รับสนองมาตรการของภาครัฐ ขีดเส้น 3 เดือนหากราคาข้าวโพดไม่ปรับขึ้น รัฐควรทบทวนมาตรการใหม่ นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรมเตรียมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ซึ่งมีนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธาน ในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 เพื่อออกประกาศตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพ.ศ. 2542 กำหนดให้ผู้ค้า และผู้ประกอบการค้าพืชไร่ เช่น ลานมันลานเทปาล์มน้ำมัน และผู้รับซื้อข้าวโพด ให้แจ้งปริมาณ และสถานที่จัดเก็บเพื่อให้สามารถตรวจสอบติดตามดูแลผู้ที่อยู่ในระบบการซื้อขายตามบัญชีที่เกิดขึ้นได้ “ที่ผ่านมามีเกษตรกรร้องเรียนว่าไม่ได้รับราคาที่เหมาะสมตามที่ภาครัฐกำหนด เช่น คุมราค่าปลายทาง แต่เกษตรกรต้นทางขายได้ราคาต่ำ เกิดคำถามว่า แล้วกลางทางได้เท่าไร น่าจะดูแลกลางทางด้วย เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ดูแลเกษตรกร ต่อไปหากไม่แจ้งก็จะมีความผิดตามกฎหมายราคาสินค้าฯ” นางนันทว
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เพื่อติดตามสถานการณ์อาหารสัตว์และผลผลิตที่ต้องการใช้ในแต่ละปี ซึ่งพบว่าขณะนี้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบประมาณ 7-8 ล้านตันต่อปี ซึ่งสัดส่วน 50% ปลูกในพื้นที่ที่ถูกต้อง แต่อีกประมาณ 3-4 ล้านตัน เป็นข้าวโพดที่ได้จากการบุกรุกป่าเพื่อเพาะปลูก กระทรวงจึงต้องการส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดได้ตามปริมาณที่ผู้ซื้อต้องการ ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกในช่วงหลังทำนา เพื่อให้การเพาะปลูกถูกต้องตามกฎหมาย พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวว่า ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ จึงจะหารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้รับซื้อข้าวโพด และเกษตรกรผู้สมัครใจจะปลูกข้าวโพดหลังฤดูกาลทำนา เพื่อขายให้กับเอกชนที่ต้องการรับซื้อไปผลิตอาหารสัตว์ที่ใช้ในประเทศและส่งออก มีเป้าหมายเพื่อลดพื้นที่บุกรุกป่าซึ่งใช้ปลูกข้าวโพด ในโครงการนี้หากคุยวิธีการ กำหนดราคาแล้วเสร็จ จะร่วมกันลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) กันต่อไป พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวว่า ตามแผนการผลิตข้าวปี 2560/61 เพื่อลดพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว กระทรวงกำหนดมาตรการส่งเ