ราคายาง
จากมาตรการในการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งเรื่องการลดพื้นที่ปลูก เพิ่มการใช้ยางในส่วนราชการ รวมถึงการชดเชยดอกร้อยละ 3 ให้กับผู้ประกอบกิจการที่รับซื้อยางในประเทศ ที่ต้องการกู้เงิน หรือขอโอดี เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นายปรีชา สุขเกษม เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดสงขลา กล่าวว่าเห็นด้วยกับมาตรการในการช่วยเหลือของรัฐ แม้จะยังเป็นมาตรการเดิม ๆ ซึ่งที่ผ่านมานั้นสมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดสงขลาได้นำเสนอปัญหา และคิดว่ารัฐบาลทราบแล้ว ดังนั้นการส่งเสริมให้ชาวสวนยางลดพื้นที่ปลูก จะมีมาตรการในการรองรับอย่างไร จึงมองว่า ควรจะเปิดเวทีเสวนาวิกฤติยางพารา โดยการเชิญบุคคลที่มีความรู้ความสามารถจากทุกภาคส่วนมาคุยกันว่า ปัญหายางพาราทำอย่างไร และให้รัฐบาลประกาศชัดเจนว่า ทิศทางยางพาราของประเทศจะเป็นอย่างไร ลดพื้นที่ปลูกกี่เปอร์เซ็นต์ ส่งเสริมให้ปลูกอะไรบ้าง และเมื่อส่งเสริมปลูกพืชทดแทนแล้วก็ควรจะมีมาตรการรองรับ จนสุดห่วงโซ่ คือตั้งแต่การปลูก การมีโรงงานแปรรูปจนถึงการส่งขาย เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจและมองเห็นภาพในการปรับเปลี่ยนพืชอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม ทางสมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดสงขลา
นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งดำเนินการแก้ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อปลูกยางพารา และลดปริมาณน้ำยางพาราจากพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก ทั้งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อนำมาฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าที่มีสภาพสมบูรณ์ดังเดิมโดยเฉพาะกลุ่มนายทุน ดังนั้น เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมปริมาณน้ำยางพาราจำนวนประมาณ 300,000 ตัน/ปี ควบคู่การแก้ไขปัญหากลุ่มราษฎรผู้ยากไร้ จึงได้ประสานงานกับการยางแห่งประเทศไทย สำรวจการถือครอบครอง เพื่อจะนำข้อมูลไปจัดสรรที่ดินทำกิน ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) “มาตรการแก้ไขปัญหาสวนยางพาราในพื้นที่ป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดออกมา 6 แนวทาง ได้แก่ 1.) เร่งรัดดำเนินคดีสวนยางพารานายทุนที่อยู่ในพื้นที่ป่า 1.32 ล้านไร่ ซึ่งปัจจุบันดำเนินคดีไปแล้ว 160,000 ไร่ 2.) ควบคุมพื้นที่ที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมดไม่ให้มีการกรีดน้ำยาง 3.) ลดการกรีดยางในพื้นที่รับผิดชอบของ อ.อ.ป. จำนวน 86,000 ไร่ โดยในปี 2560 – 2561 จะดำเนินการลดพื้นที่ปลูกยางพ
ธุรกิจเมืองตรังโคม่าตามราคายางพารา ผลประกอบการดิ่งเหว 70% ในรอบ 5 ปี ขณะที่การลงทุนใหม่ไม่ขยับหวั่นความเสี่ยงสูง อัด กยท.ทำงานผิดพลาด ฉุดราคาร่วงต่อเนื่อง แฉราคาไม่เป็นไปตามกลไกการตลาด จี้รัฐบาลหนุนการแปรรูปจริงจัง นายพิชัย มะนะสุทธิ ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้ภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัดตรังถือว่ายังชะลอตัวและเงียบเหงา ซึ่งเป็นผลมาจากราคายางพาราที่ตกต่ำมาตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน สภาพคล่องทางการเงินติดขัดไปหมด เรื่องนี้ก็ได้แต่บอกผู้ประกอบการทุกท่านว่า เราต้องอดทน และมีความพยายามในการดำเนินธุรกิจให้มากขึ้น การลงทุนก็ต้องมีความแตกต่างไม่ซ้ำแบบกัน ต้องลงทุนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง และยอมรับว่าที่ผ่านมาจนถึงช่วงนี้ยังไม่ค่อยมีนักธุรกิจรายใดกล้าลงทุน เพราะมีความเสี่ยงสูง ทั้งนี้ ผลจากราคายางพาราที่ตกต่ำ ทำให้ผลประกอบการของธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ บ้านที่อยู่อาศัย ยอดขายลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 หรือลดลงไปกว่า 65-70% เมื่อเทียบกับช่วงที่ราคาย
“บิ๊กตู่” ประชุม คสช.- ครม. ลั่น รัฐบาลนี้ พูดว่าจะทำอะไรบ้าง ท้า นักการเมืองเสนอมา จะแก้ปัญหาประเทศอย่างไร เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานการประชุม คสช. ก่อนเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนนตรี(ครม.) โดยก่อนการประชุม พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะเข้าประชาสัมพันธ์งานตลาดเกษตรเกรดพรีเมี่ยม โดยได้นำตัวอย่างสินค้าเกษตร เกรดพรีเมี่ยมกว่า 20 รายการ จากกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ กลุ่มยังสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ อาทิการเปิดตัวข้าวพันธุ์ เพื่อสุขภาพ คือพันธุ์ กข 43 Low Sugar ทองม้วน และคุ๊กกี้ ผลิตจากข้าวทับทิมชุมแพ เครื่องสำอางค์สกัดจากหอมหัวใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้ระหว่างการเยี่ยมชม นายกรัฐมนตรี ได้รับมอบข้าวสารพันธุ์ กข 43 Low Sugar พร้อมกล่าวว่า ข้าวพันธุ์ใหม่ กินแล้วดีต่อใจ รวมทั้งยังให้ความสนใจและชื่นชมสินค้าที่มีการต่อยอดจากการเลี้ยงปลากัด รวมทั้งชื่นชมดอกกล้วยไม้พิศชมพู จากกลุ่มแปลงใหญ่ รวมทั้งเครื่องประดับที่ทำจากดอกกล้วยไม้จริง โดยได้ทดลองทาบที่หน้าอกเสื้อของพล.อ.
นอกเหนือจากเรื่องน้ำท่วมที่หลายจังหวัดเผชิญอยู่ตอนนี้ อีกปัญหาที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขคือกรณีราคายางพารา ซึ่งชาวสวนยางระบุว่าตกต่ำมากเป็นประวัติการณ์ สาเหตุและต้นตอเกิดจากอะไร มีเสียงสะท้อนทั้งจากชาวสวนยางและอดีตส.ส.ใต้ พื้นที่ปลูกยางมากที่สุดของไทย 1.สุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สคยท.) พวกเราเกษตรกรชาวสวนยางเปิดโอกาสและฝากความหวังไว้กับผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งมาจากผู้แทนชาวสวนยาง จำนวน 5 คน หรือ 1 ใน 3 จากบอร์ดจำนวน 15 คน ถือว่าไม่น้อยเลยสำหรับอำนาจการตัดสินใจ เพราะร่างเดิมของ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย กำหนดให้มีผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยางแค่เพียง 1 คน ส่วนตัวในฐานะอดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย ได้ร่วมต่อสู้จนสามารถเพิ่มจำนวนตัวแทนชาวสวนยางในบอร์ดเป็น 5 คน แต่เกือบ 2 ปี ที่พวกเขาบริหารงาน พวกเราชาวสวนยางผิดหวังอย่างมากและเชื่อว่าเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศ 1.7 ล้านคนไม่เคยรู้จักพวกเขาเหล่านี้ เพราะไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงจากชาวสวนยาง เป็นการเข้ามา
รัฐมนตรีไทย-มาเลย์-อินโด แถลงผลประชุมสภาไตรภาคียางพารา เตรียมร่วมมือพัฒนาการวิจัยและอุตสาหกรรมยาง เน้นนำยางธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ตั้งเป้าพัฒนายางพาราให้ยั่งยืนและมั่นคง เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีสภาไตรภาคียางพารา ประจำปี 2560 ภายใต้สภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) นำโดย พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย ร่วมกับ MR. MAH SIEW KEONG (ดาตุ๊ก เสอรี มะ ซีอีว เขี่ยว) รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและสินค้าโภคภัณฑ์ ประเทศมาเลเซีย และ Drs. Enggartiasto Lukita (ดอกเตอร์ รัน ดุช แองการ์ตีอาสโต้ ลูกีตา) รัฐมนตรีกระทรวงการค้า ประเทศอินโดนีเซีย เผยความร่วมมือในฐานะประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติของโลก มุ่งพัฒนายางพาราสู่ความยั่งยืน เน้นแปรรูปโดยแต่ละประเทศสมาชิกส่งเสริมแปรรูปใช้ยางในประเทศ ชูถนนยางพารา ณ โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงปีพ.ศ. 2559- 2560 อุตสาหกรรมยางธรรมชาติยังคงได้รับอิทธิพลจากตลาดต่างประเทศและสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกร
เมื่อเร็วๆนี้ ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นผู้ร่วมเสวนาหัวข้อ อนาคตยางพาราไทย โอกาสและความท้าทาย ภายในงานสัมมนาพิเศษ “จับทิศ พิชิตราคายางพารา” โดยเจาะลึกแนวโน้มทิศทางราคายางครึ่งหลังปี 60 พร้อมชี้แนวทางสนับสนุนสินค้ายางพาราของภาครัฐในฐานะประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ชั้น 3 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดร. ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ภาพรวมของการเสวนาในวันนี้ ได้นำเสนอผลการประชุมในระดับไตรภาคีให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรวมถึงผู้เข้าร่วมงานรับทราบ ว่า 3 ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มองว่าปัจจัยพื้นฐานยางพาราในระยะยาวยังคงแข็งแกร่ง คือ มีความต้องการใช้ยางสูง ขณะเดียวกันปริมาณยางช่วงเวลานี้เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้อยกว่า เนื่องจากประสบอุทกภัยน้ำท่วม ฝนตกหนัก ทั้งภาคอีสานและภาคใต้ ขณะที่ประเทศอินโดนีเซียประสบภาวะอากาศหนาวไม่สามารถกรีดยางได้ ปริมาณยางที่ออกมาสู่ตลาดจึงมีปริมาณค่อนข้างต่ำ ฉะนั้น เมื่อมองปัจจัย demand และ supply ประกอบกันแล้วยังเป็น
เกษตรกรภาคใต้ จี้ “บิ๊กตู่” หาวิธีขายยางให้ได้ 80 บาท กำหนดปาล์มน้ำมันเป็นสินค้าส่งออก เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 19 กรกฎาคม ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) นายสัญญพงศ์ ภู่ประดิษฐศิลป์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง นำคณะตัวแทนเกษตรกร จ.พัทลุง สงขลา และสุราษฎร์ธานี ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียกร้องให้เร่งแก้ปัญหาราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน นายสัญญพงศ์กล่าวว่า ด้วยปัญหาราคายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร เพราะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและยังมีภาระหนี้สิน สำหรับปัญหายางพารา ขอให้รัฐบาลดำเนินการดังนี้ 1.หาวิธีการให้เกษตรกรขายยางในราคากิโลกรัมละ 60-80 บาท 2.เร่งใช้ยางในสต๊อกมาแปรรูป เช่น หมอน ที่นอนในหน่วยงานต่างๆ ฯลฯ 3.ส่งเสริมการผลิตยางรถยนต์ โดยให้สิทธิพิเศษในการตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราทุกประเภท 4.จัดตั้งเมืองยางภาคใต้ให้เป็นรูปธรรม นายสัญญพงศ์กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาปาล์มน้ำมัน ขอให้ดำเนินการ 1.หาวิธีการให้เกษตรกรขายปาล์มน้ำมันในราคา กก.ละ 5-6 บาท 2.
พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวถึงกรณีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในภาคใต้ที่ออกมายื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับปัญหาราคายางตกต่ำนั้นว่า ต้องปล่อยให้ราคาขึ้นตามกลไกตลาด ซึ่งต้องทำหลายอย่างควบคู่กันไป และเชื่อว่าภายใน 1-2 เดือนราคาจะขึ้นไปตามธรรมชาติ “การที่มีนักการเมืองบางท่านที่ออกมาผมก็เข้าใจเพราะท่านเป็นนักการเมือง ถ้าประชาชนเดือดร้อนแล้วท่านไม่ออกมาเสนอโน่นเสนอนี่ก็คงเป็นเรื่องประหลาด ส่วนข้อเสนอผมดูทุกข้อแล้วว่าเราทำหมดแล้ว เว้นเรื่องเดียวคือที่ต้องการให้ราคายางขึ้นไป 70 บาท/กก. …เราไม่ได้นิ่งนอนใจ ทุกข้อเสนอ ไม่ว่าท่านจะเป็นอดีต ส.ส. หรือผู้นำองค์กรใดก็แล้วแต่เราไม่เคยเพิกเฉย อันไหนทำแล้วก็บอกว่าทำแล้ว อันไหนกำลังทำก็บอกกำลังทำ อันไหนทำไม่ได้เราก็บอกให้รอเวลาสักนิดนึง เราไม่เคยปฏิเสธทุกข้อเสนอ”พล.อ.ฉัตรเฉลิม กล่าว นอกจากนี้ ทางผู้ประกอบการรายใหญ่ 5 รายจะเข้ามาสนับสนุนกองทุน ส่วนพ.ร.บ.ควบคุมยาง จะปัดฝุ่นและทำให้ดีขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงในเรื่องการส่งออกยาง การตรวจสต็อกยาง การควบคุมคุณภาพยาง ปัญหาอีกอย่างคือประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกยางที่เป็นวัตถุดิบ ขณะนี้นโยบ
พ่อค้า นักธุรกิจนั่งไม่ติด ราคายางผันผวนทุบกำลังซื้อวูบหนักหมื่นล้าน การค้าขายหลายจังหวัดเงียบเหงา ยอดขายสินค้าซบเซาอีกระลอก วอนรัฐบาลทำงานเชิงรุก เร่งวิจัย/แปรรูปเพิ่มการใช้ยางในประเทศจริงจัง จี้ปลดล็อกทีโออาร์จัดซื้อจัดจ้างให้นำยางพารามาผสมทำถนนได้ แนะเกษตรกรชาวสวนยางอย่าทำพืชเชิงเดี่ยว ควรปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์เพิ่มรายได้ นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ เนื่องจากยางพาราเป็นรายได้หลักของเกษตรกร โดยในแต่ละปีมีน้ำยางพาราออกสู่ตลาดประมาณ 3 ล้านกว่าตันทั่วประเทศ และเมื่อราคายางพาราลดลงทุก ๆ 10 บาท/กิโลกรัม (กก.) จะส่งผลให้มูลค่าลดลงไปกว่า 30,000 ล้านบาท ทั้งนี้มองว่าราคายางควรจะอยู่ที่ 70 บาทขึ้นไป/กก. เกษตรกรจึงจะสามารถปรับตัวและผ่านไปได้ แต่หากราคาสูงถึง 90 บาท/กก.จะดีมาก แต่อาจจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากสต๊อกยางของโลกยังมีอยู่ ทั้งนี้มองว่าหากรัฐบาลมีความจริงใจและจริงจังในการนำงบประมาณมาวิจัย(Research)เพื่อหาวิธีการนำยางไปเป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในการทำผลิตภัณฑ