ราคาหมู
นายธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (พิกบอร์ด) ว่า จากราคาหมูที่ลดลง 25% จากราคา 60 บาท/กิโลกรัม (กก.) ลดเหลือ 45 บาท/กก.ในรอบ 6 เดือน ปัจจุบันประเทศไทยบริโภคหมูประมาณวันละ 50,000 ตัว จากราคาที่ลดลงขาดทุนตัวละ 1,500 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงขาดทุนวันละ 75 ล้านบาท หรือขาดทุน 13,500 ล้านบาท โดยราคาหมูสัปดาห์แรกของเดือน ม.ค. 2561 ภาคเหนือราคาเฉลี่ย 54 บาท/กก. ภาคอีสานราคา 45 บาท/กก. ภาคตะวันออกราคา 48 บาท/กก.ภาคตะวันตกราคา 40 บาท/กก. และภาคใต้ราคา 47 บาท/กก. เฉลี่ยหมูในประเทศ 46.80 บาท/กก. ทั้งนี้ จากราคาสุกรต่ำและผู้เลี้ยงรายย่อยขาดทุนเพราะราคาจำหน่ายต่ำกว่าต้นทุน สมาคมและผู้เลี้ยงต่าง ๆ ขอเงิน 1,190 ล้านบาท เพื่อทำ3 กิจกรรม คือ 1.ตัดวงจรหมูขุนเพื่อทำหมูหัน 1 แสนตัว ขนาดน้ำหนัก8 กก. ชดเชยให้เกษตรกร 400 บาทต่อตัว รวมเป็นเงินงบประมาณ 40ล้านบาท ระหว่างเดือน ก.พ.-พ.ย. 2561 2.ปลดแม่สุกร 10% จำนวน 1 แสนตัว ชดเชยให้เกษตรกร 6,000 บาทต่อตัว รวมเงินงบประมาณ 600 ล้านบาท และ 3.การนำเนื้อสุกรเก็บเข้าห้องเย็น 1 แสนตัว ราคาตัวละ 5,50
นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูกำลังประสบปัญหาราคาหมูตกต่ำ ราคาประกาศหมูเป็นหน้าฟาร์มลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 แล้ว ปัจจุบันราคาซื้อขายราคา 44-45 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 55 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว เป็นผลจากหลายปัจจัย อาทิ กำลังการบริโภคตกต่ำ กำลังซื้อของผู้บริโภคถดถอยลงไปมาก เมื่อปริมาณผลผลิตไม่สมดุลต่อการบริโภคปริมาณหมูจึงล้นตลาด และปริมาณหมูที่สะสมมากทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องขายในราคาต่ำ ประกอบกับทั่วประเทศยังมีปริมาณฝนตกชุกหนาแน่น ส่งผลให้เกษตรในหลายพื้นที่ต้องเร่งระบายหมูออกสู่ตลาดเพื่อลดความเสี่ยงกับภาวะน้ำท่วม ขณะเดียวกันปัจจุบันยังเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้การบริโภคเนื้อหมูต่ำลงอย่างชัดเจน บวกกับผู้เลี้ยงเกิดความตระหนกเกี่ยวกับหมูสหรัฐอเมริกา ที่ภาครัฐมีแนวโน้มจะเปิดรับการนำเข้าเนื้อหมูสหรัฐฯที่ใช้สารเร่งเนื้อแดง ทำให้เกษตรกรทยอยเลิกเลี้ยงเพื่อหนีปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยและรายกลางที่ไม่สามารถแข่งขันด้านตลาดได้อย่างแน่นอน “ราคาหมูตอนนี้ลดต่ำลงจนไม่คุ้มทุนแล้ว เกษตรกรจำเป็นต้องขายหมูขาดทุนผูกหา