ราคาไข่ไก่
อากาศร้อน ดันราคา ‘ไข่ไก่’ ปรับขึ้นแผงละ 6 บาท มีผล 17 เม.ย. จ่อขยับอีกรอบ เมื่อวันที่ 16 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายสหกรณ์ ประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด ได้แจ้งราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร น้ำหนัก 20.5 กิโลกรัมขึ้นไป อยู่ที่ฟองละ 3.40 บาท โดยเป็นการปรับขึ้น 20 สตางค์ต่อฟอง หรือแผงละ 6 บาท จากก่อนหน้าราคาอยู่ที่ 3.20 บาทต่อฟอง มีผลวันที่ 17 เมษายน 2568 นายปรีชา เอมอิ่ม นายกสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย กล่าวว่า สาเหตุที่ไข่ไก่ปรับราคาขายขึ้น เกิดจากในช่วงนี้สภาพอากาศร้อนทำให้แม่ไก่ออกไข่ได้น้อย ประกอบกับมีการปลดไก่ยืนกรง ทำให้ไข่ไก่ไม่ล้นตลาด ราคาจะเป็นไปตามกลไกตลาด ทั้งนี้ ฟาร์มมีแผนจะปรับราคาขึ้น 40 สตางค์ หลังวันที่ 17 เมษายน ขึ้น 20 สตางค์ต่อฟอง คาดว่าคงจะปรับขึ้นอีกครั้ง แต่คงบอกไม่ได้ว่าจะเป็นเมื่อไหร่ ขณะที่เศรษฐกิจและกำลังซื้อก็ยังไม่ค่อยดี
ส.ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประกาศลดราคาไข่ไก่ แผงละ 6 บาท มีผลตั้งแต่ 21 ตุลาคม สวนทางไข่เป็ดพุ่งต่อ เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ 4 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด ได้ออกประกาศราคาแนะนำไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเกษตรกร อยู่ที่ฟองละ 3.80 บาท (น้ำหนัก 20.5 กิโลกรัมขึ้นไป) ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2567 ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงราคาจะแจ้งให้ทราบภายหลัง โดยราคาดังกล่าว เป็นการปรับลงฟองละ 20 สตางค์ จากปัจจุบันฟองละ 4 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ปรับขึ้นไปฟองละ 20 สตางค์ หรือแผงละ 6 บาท เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ขณะที่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดไข่ได้ออกประกาศเพื่อแจ้งสมาชิกเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาไข่เป็ดหน้าฟาร์ม โดยมีรายละเอียดว่า สมาคมขอแจ้งราคาไข่เป็ด ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร ประกาศปรับราคาไข่เป็ดขึ้นอีก 10 สตางค์ เป็นราคาฟองละ 5.20 บาท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงราคาสมาคมจะแจ้งให้ทราบต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงาน
ผู้เลี้ยงไก่ เผย ไข่ขึ้นราคาแผงละ 6 บาท เหตุปีนี้ร้อนจัด คนยังแย่ ไก่ก็เอาชีวิตไม่รอด คาดหากอากาศเริ่มผ่อนคลาย ราคาน่าจะลดลงจากเดิม จากกรณีที่สมาคม-สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ได้ประกาศปรับราคา ไข่ไก่ขึ้นแผงละ 6 บาท หรือฟองละ 20 สตางค์ ดันราคาไข่คละหน้าฟาร์มสูงถึง 3.60 บาท ผู้สื่อข่าวเดินทางไปสอบถาม นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไข่ไก่ ถึงสาเหตุของการปรับขึ้นราคาดังกล่าว นายมาโนช กล่าวว่า สาเหตุของการปรับขึ้นราคาไข่ไก่ มีสาเหตุอยู่ประมาณ 3-4 ประการ คือ คนเลี้ยงที่ผ่านมาตั้งแต่กินเจ หลังเดือนตุลาคม 2566 ขายขาดทุนมาโดยตลอด จากประกาศ 4 บาท มาเหลือ 3.40 บาท แต่ขายจริงๆ คนกลางก็กดราคาเหลือประมาณ 3 บาท 3 บาทกว่า เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนเลี้ยงต้องปรับตัวเลี้ยงให้น้อยลง บางคนต้องเลิกหรือหยุดการเลี้ยงไปบางส่วน ประการที่ 2 คือ ปีนี้อากาศร้อนมาก คนยังแย่ ไก่ที่อยู่ในกรงมันก็เอาชีวิตไม่รอดเหมือนกัน จึงเป็นสาเหตุหลักทำให้เปอร์เซ็นต์ไข่ในฟาร์มลดลง โดยประมาณ 5-6% จึงทำให้มีการปรับราคาไข่ไก่ขึ้น แต่การปรับราคานั้น ไม่สามารถปรับตามใจชอบได้ ต้องดูกลไกตลาด ว่าตลาดยอมรับได้ไหม สินค้าเรามีมากน้อยแค่ไหน อย่
ปศุสัตว์ ชี้ราคา “ไข่ไก่” ไม่แพง หลังขยับขึ้นแผงละ 6 บาท ยังต่ำกว่าต้นทุนผลิต มีช่องว่างให้ปรับขึ้นได้อีก เผยสาเหตุปริมาณลดลง วันที่ 17 เมษายน 2567 น.สพ.โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ไข่ไก่เดือนเมษายน 2567 มีกำลังการผลิตไก่ไข่ยืนกรง 51.98 ล้านตัว ประมาณการผลผลิต 43.15 ล้านฟองต่อวัน คาดการณ์อัตราการบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประมาณ 41-42 ล้านฟองต่อวัน และส่งออกเฉลี่ยประมาณวันละ 1.23 ล้านฟองต่อวัน มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาไข่ไก่ภายในประเทศปรับตัวลดลง รวมบริโภคภายในประเทศร่วมกับส่งออก ประมาณ 42-43 ล้านฟองต่อวัน ทั้งนี้ ช่วงเมษายน 2567 หลังจากสภาวะอากาศเข้าสู่ฤดูร้อน ส่งผลให้ไข่ไก่ขนาดใหญ่มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง รวมถึงมีการส่งออกไข่ไก่ได้มากขึ้น คาดการณ์การผลิต-การบริโภคเข้าใกล้สมดุล โดยต้นทุนการผลิตไข่ไก่ไตรมาส 4 ปี 2566 เฉลี่ยฟองละ 3.63 บาท และต้นทุนการผลิตไข่ไก่ ไตรมาส 1 ปี 2567 เฉลี่ยฟองละ 3.63 บาท ดังนั้น ราคาไข่ไก่ขึ้นลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์อื่นๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่อาจปรับตัวสูงขึ้นจากปัญหาวัตถุดิบอา
ในยุคนี้ในเรื่องของวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร กำลังได้รับความใส่ใจมากขึ้นจากผู้บริโภคโดยมุ่งเน้นไปในเรื่องของการกินผักอินทรีย์ ตลอดไปจนถึงผักที่ปลอดภัยในการผลิต จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้เกษตรกรมีการปรับตัวในเรื่องของการผลิต เพื่อให้สินค้าของตนเองเป็นที่ต้องการของตลาดและจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น อย่างเกษตรกรทางด้านปศุสัตว์ก็ได้มีการผลิตอาหารให้ปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการเลี้ยงสัตว์ให้ปลอดจากยาปฏิชีวนะต่างๆ หรือการเลี้ยงให้สัตว์มีอารมณ์ดี ก็จะช่วยให้ได้เนื้อสัตว์หรือวัตถุดิบที่มีคุณภาพ อย่างการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้ไก่ไม่เครียดแล้ว ยังส่งผลไปถึงคุณภาพของไข่ให้มีลักษณะที่พิเศษกว่าไข่ไก่ที่เลี้ยงในระบบทั่วไป ทำให้ไก่ไข่ที่ผ่านการเลี้ยงด้วยวิธีนี้เป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการ คุณปัฐยาวดี แจงเชื้อ เกษตรกรชาวจังหวัดจันทบุรี ได้มีการปรับเปลี่ยนจากการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี มาสู่การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ไข่ทุกฟองแม้มีขนาดที่แตกต่างกัน แต่สามารถจำหน่ายได้ในราคาเดียวกัน ส่งผลให้การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์นอกจากจะให้ราคาที่ดีแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการกำ
จากกระแสการใส่ใจในเรื่องของสุขภาพที่มีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคยุคนี้ใส่ใจในเรื่องของอาหารการกินเป็นอย่างมาก โดยเลือกซื้อวัตถุดิบที่มาปรุงอาหาร เน้นเป็นวัตถุดิบที่ปลอดภัย ผ่านกระบวนการผลิตที่ใส่ใจทุกรายละเอียด เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าเมื่อกินแล้วดีต่อสุขภาพ โดยสุขภาพที่ดีเริ่มจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ไข่ เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่มีคุณประโยชน์ สามารถกินและนำมาประกอบอาหารได้ทุกวัน จึงได้มีการพัฒนาการเลี้ยงในแบบเป็นไก่ไข่อารมณ์ เพื่อให้ไก่ผลิตไข่ที่ดีมีคุณภาพ พร้อมทั้งเป็นสินค้าที่มีมูลค่า ตลาดมีความต้องการเหมือนเช่นไข่ไก่อารมณ์ดีของ คุณกชกร ช่วยณรงค์ ตั้งอยู่ที่ 27 หมู่ที่ 5 ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระทำให้ไข่ที่ได้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง ปริมาณผลผลิตมีไม่เพียงต่อความต้องการเลยทีเดียว คุณกชกร เล่าให้ฟังว่า เธอจบการศึกษาในสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และได้นำองค์ความรู้จากการเรียนมาช่วยครอบครัวดำเนินธุรกิจคือการเลี้ยงไก่ไข่และโคนม พร้อมทั้งต่อยอดการเลี้ยงไก่ไข่เป็นแบบไก่อารมณ
เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ระบุราคาไข่ไก่เพิ่งเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ 3 เดือน เกษตรกรผู้เลี้ยงเริ่มกลับมามีกำไรสามารถฟื้นตัวได้ หลังเดือดร้อนแบกภาระขาดทุนมานานร่วม 2 ปี ขอให้รัฐมนตรีใหม่ยังคงการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ต่อไป ให้ราคาไข่ไก่เป็นไปตามกลไกตลาด สร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ กล่าวว่า สถานการณ์ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มในปัจจุบันเป็นไปตามกลไกตลาด เกิดจากปริมาณการผลิตและความต้องการบริโภคเข้าสู่ภาวะสมดุล ซึ่งต้องขอขอบคุณ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ที่ได้ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำจากการผลิตล้นตลาดอย่างจริงจังตั้งแต่ปลายปี 2561 ด้วยการปรับสมดุลการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการในการบริโภค และได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และเกษตรกร อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาไข่ไก่คละทยอยปรับมาอยู่ในระดับที่พ้นต้นทุนการเลี้ยงไปไม่มาก แต่ก็ช่วยเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น หลังจากแบกภาระการขาดทุนมานาน จนทำให้ผู้เลี้ยงหลายรายจำต้องเลิกเลี้ยงไป “สถานการณ์ราคาไข่ไก่ในช่วงนี้ช่วยให้ผู้เลี้
มกอช.เร่งผลักดันมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ขึ้นแท่นมาตรฐานบังคับยกระดับฟาร์มไก่ไข่เข้าสู่ระบบมาตรฐาน ป้องกันความเสี่ยงของโรคอุบัติใหม่ พร้อมตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและรองรับการส่งออกไข่ไก่ในอนาคต นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ขณะนี้มกอช.อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรเป็นประธาน เพื่อให้ความเห็นชอบในหลักการในการกำหนดมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่เพื่อให้เป็นมาตรฐานบังคับ และคาดว่าหากขบวนการแล้วเสร็จสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาประมาณเดือน พ.ย.-ธ.ค. ปลายปี 2561และปลายปี 2562 จะเริ่มบังคับสำหรับฟาร์มขนาดใหญ่ตามลำดับ สำหรับ สาเหตุที่ประเทศไทยต้องเร่งออกมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่เพื่อให้เป็นมาตรฐานบังคับ มีผลมาจากตามที่คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg board) ได้พิจารณาสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยที่ประสบปัญหา ทั้งที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาด การควบคุมความปลอดภัยและคุณภาพสินค้า การจัดการตลาดไข่ไก่ในประเทศ รวมทั้งการเปิดตลาดการค้าไข่ไก่ในขีดความสามารถและศักยภ
นายมาโนช ชูทับทิม อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือเอ้กบอร์ด (Egg Board) เปิดเผยว่า ในฐานะเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ขอสนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ ของคณะกรรมการ Egg Board ด้วยการลดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อยู่ที่ 500,000-550,000 ตัวต่อปี จากเดิมที่มีการนำเข้า 610,000 ตัวต่อปี หากทำได้จริงจะช่วยสร้างความสมดุลของการผลิตไข่ไก่และความต้องการบริโภค ส่งผลให้ราคาไข่ไก่มีเสถียรภาพมากขึ้น ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำจากปริมาณผลผลิตล้นตลาดสะสมในขณะนี้ได้ “การลดนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ให้อยู่ที่ 500,000-550,000 ตัว เป็นอีกแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความสมดุลระหว่างการผลิตไข่ไก่ให้เหมาะสมกับการบริโภคตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งจะเห็นผลระยะยาว และเมื่อดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่น โดยเฉพาะความร่วมมือช่วยกันปลดแม่ไก่ยืนกรงร่วมด้วย เชื่อว่าจะช่วยลดผลกระทบจากปัญหาราคาไข่ไก่ได้อย่างแน่นอน” นายมาโนช กล่าว ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่เผชิญกับการขายไข่ไก่ในราคาต่ำกว่าต
ส.ผู้เลี้ยงไก่ไข่ค้านใช้ กม.นำเข้าส่งออก คุมนำเข้าปู่ย่า-พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ แนะตั้งกองทุนช่วยเหลือแก้ปัญหาไข่ล้น เก็บนำเข้าตัวละ 100 บาท-เอ้กบอร์ดชี้ต้องหารือรอบด้านกับกระทรวงพาณิชย์หวั่นขัด WTO นายอรรณพ อัครนิธิยานนท์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เปิดเผยว่า ตามมติประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg board) เห็นชอบให้อาศัยพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ออกประกาศเพื่อบังคับใช้กับผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าไก่ปู่ย่าพันธุ์ (GP) และไก่พ่อแม่พันธุ์ (GS) ให้ปฏิบัติตามโควตานำเข้าอย่างเคร่งครัด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมไข่ไก่ล้นตลาดนั้น ทางสมาคมไม่เห็นด้วย เพราะจะส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดในปีཹ ลดลงเสี่ยงเกิดปัญหาผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ ขณะที่ภาวะที่ไข่ล้นตลาดของไทยนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเป็นบางช่วงเวลา หากมีการบริหารจัดการที่ดีปัญหาดังกล่าวก็จะแก้ไขได้โดยที่ไม่มีผู้ได้รับผลกระทบถึงขั้นได้รับความเสียหาย กรณีราคาไข่ปรับลดลงสุดท้ายไข่ทุกฟองก็สามารถขายได้หมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการบริโภคยังมีอยู่อีกทั้ง