วัยเกษียณ
นางณัฐญา นิยมานุสร ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.อยู่ระหว่างศึกษาแพลตฟอร์มผู้ให้คำแนะนำด้านกองทุนรวม (เวลท์ แอดไวเซอร์) ซึ่งอาจจะผสมผสานทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำแนะนำ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นเครื่องมือให้นักลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนรวมได้ง่ายขึ้น และเพื่อแก้ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลการเลือกกองทุนรวมที่เหมาะสม รวมถึงการรองรับแผนการออมเงินสำหรับวัยเกษียณ อย่างไรก็ตาม สำหรับเทรนด์ในปัจจุบันประชาชนมีแนวโน้มลงทุนและออมเงินมากขึ้น โดยพยายามแสวงหาการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งการลงทุนในกองทุนรวมเป็นทางเลือกหนึ่งที่นิยม จึงเห็นการเติบโตของกองทุนรวมเพิ่มขึ้นทุกปี โดยข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2560 มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม (เอ็นเอวี) อยู่ที่ 4.45 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.95 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่เอ็นเอวีอยู่ที่ 2.28 ล้านล้านบาท มีจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุน 5.39 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 1.51 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2555 ที่มีจำนวนผู้ถือหน่วยลงทุนอยู่ที่ 3.55 ล้านบัญชี และมีจำนวนกองทุนรวมในตลาดประมาณ 1,300 กอง “จากปัญหาเรื่องการเปิดเผยข
นางพรอนงค์ บุษราตระกูล นักวิจัยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงผลการวิจัยเกี่ยวกับระดับสินทรัพย์ และการออมขั้นต่ำที่ผู้เกษียณอายุพึงมีในช่วงวัยสูงอายุ ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2563 เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุจะมีมากถึงกว่า 13 ล้านคน คิดเป็น 25% ของประชากรทั้งประเทศ หากผู้เกษียณและผู้สูงอายุไม่มีเงินออมเพียงพอต่อการดำรงชีพในอนาคต จะส่งผลให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างกว่า 56.5% มีรายได้เพียงพอสำหรับช่วงเกษียณอายุ ส่วนอีกเกือบ 40% ตอบว่าไม่เพียงพอ และเพียงพอเป็นบางครั้ง ซึ่งรายได้หลักช่วงเกษียณของผู้สูงอายุไทยยังคงมาจากเงินรายได้ของลูกหลาน นางพรอนงค์ กล่าวว่า จากการวิจัยยังพบว่าประชากรไทยทั่วไปที่มีอายุ 22 ปีในปัจจุบัน และเป็นผู้ประกันตนในประกันสังคมเท่านั้น ถึงจะเพียงพอไม่ต้องออมเพิ่ม แต่หากไม่ได้อยู่ในประกันสังคม จะต้องออมเพิ่ม ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 2,000 บาท โดยเพิ่มการออมที่มีผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 3% ต่อปี ส่วนผู้ที่อายุมากขึ้น เช่น 33 ปีขึ้นไป แม้จะมีประกันสังคม ก็ต้องเพิ่มการออม
เดือนกันยายนผ่านมาแล้วก็ผ่านไปทุกๆ ปี แต่สำหรับข้าราชการน้อยใหญ่ในเมืองไทย ทุกคนรู้กันดีว่าสิ่งที่จะไปพร้อมๆ กับการสิ้นสุดของเดือนกันยายนก็คือ ข้าราชการที่อายุถึง 60 ปี ต้องลาจากภาระการงานด้วยการเกษียณ ไม่ว่าตำแหน่งจะเล็กใหญ่ หน้าที่การงานจะสำคัญเพียงใด คำว่า “เกษียณ” ก็รอคอยข้าราชการและผู้ที่ทำงานให้รัฐทุกท่านอยู่ แต่ชีวิตหลังเกษียณจะดำเนินไปอย่างไรก็แล้วแต่การวางแผนและการปรับตัวของผู้เกษียณแต่ละท่าน บทความชิ้นนี้จึงขอนำเสนอชีวิตหลังเกษียณของอดีตข้าราชการที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก รับใช้ประเทศและคนไทยมาทั่วทิศ ตามไปดูว่าชีวิตหลังเกษียณของท่านจะเป็นอย่างไร จุดเริ่มต้นกับ 38 ปีของชีวิตข้าราชการ พาท่านมารู้จักกับ คุณสุพจน์ เที่ยงน้อย ข้าราชการบำนาญของกระทรวงมหาดไทย อดีตข้าราชการที่บุกเบิกงานในชนบทมาหลายพื้นที่ทั่วประเทศ คุณสุพจน์เริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า “หลังจากผมเรียนจบจากก่อสร้างอุเทนถวาย (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคตะวันตก อุเทนถวาย) และวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ) ผมก็สอบบรรจุได้และเริ่มต้นรับราชการตั้งแต่อาย
นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ นายอำเภอครบุรี พร้อมด้วยนายสมชาติ เดชดอน นายกเทศมนตรีตำบลครบุรีใต้ เดินทางไปเยี่ยมเยียนพบปะกับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา โดยหนึ่งในนั้นเป็นเป็นบ้านของนายบุญ เจริญครบุรี อายุ 73 ปี อาศัยอยู่กับภรรยาและบุตรชาย มีความพิเศษคือมีต้นผักหวานขนาดใหญ่อยู่หน้าบ้านถึง 4 ต้น ทั้งที่มีเนื้อที่ไม่ถึงสองไร่ อีกทั้งต้นผักหวานยังสูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่หน้าบ้าน พร้อมกับมีการตั้งนั่งร้านไม้ไผ่ไว้รอบๆ ทุกต้น และยังพบว่ามียอดผักหวานผลิแตกยอดอ่อนอยู่เต็มต้น จากการสอบถามลุงบุญ เจริญครบุรี เจ้าของบ้าน เล่าว่า ต้นผักหวานทั้งสี่ต้นที่เห็นดังกล่าว ได้นำเอาเมล็ดพันธุ์จากในพื้นที่มาเพาะปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ที่ผ่านมา ระยะเวลาผ่านไปนานกว่า 20 ปี ลำต้นก็สูงใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาผลิใบออกมาให้ได้เก็บกินอยู่เรื่อย โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมไปจนสิ้นสุดเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี แรกๆ ก็แตกยอดให้พอได้เก็บกิน แต่ต่อมาเมื่อต้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็ให้ผลผลิตมากขึ้นจนกินไม่ทันและสามารถเก็บไปจำหน่ายสร้างเป็นรายได้เสริมทั้งในส่วนของยอดอ่อนและเมล็ดพันธุ์ สร้างรายได้เสริมปีละหลายหมื่นบาท ลุง