สตาร์ทอัพ
นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติกำหนดหลักชัยสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า ทิศทางการแข่งขันทางธุรกิจไม่ได้มุ่งแต่การเพิ่มยอดขายอีกต่อไป แต่คือการสร้างเครือข่าย “คืนความเป็นสีเขียว” ให้กับโลก ซึ่ง SDGs ที่ยั่งยืนไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในระดับชาติ แต่คือการเปิดประตูสู่บริบทของความเป็นนานาชาติ เพื่อรวมพลังสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ระดับโลกให้ได้ตามหลักชัยแห่งองค์การสหประชาชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) และประธานสาขาการจัดการเพื่อความยั่งยืน (Managing for Sustainability) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) จึงได้ริเริ่มจัดหลักสูตรการเรียนการสอนรายวิชาออนไลน์ “Sustainable Management for International Business and Startup” ทาง MUx ขึ้นเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก โดยมุ่งเปิดมุมมองกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งประกอบไปด้วยคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในการประกอบการธุรกิจที่ต่อยอดจากนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ตอบโจทย์สังคมในโลกยุคใหม่ให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในบริบทแห่งความเป็นนานาชาติ ด
ตัวอย่างที่นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ กลุ่มสตาร์ทอัพ จากกลุ่มนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย นายกวิน น้าวัฒนไพบูลย์ ที่ได้ต่อยอดพัฒนาชุดตรวจ RT-LAMP ตั้งแต่เมื่อครั้งที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จนปัจจุบันได้พัฒนาสู่เวอร์ชั่น 3 ที่สามารถตรวจครอบคลุมสายพันธุ์ OMICRON และสายพันธุ์อื่นๆ ที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เฝ้าระวัง ได้แก่ DELTA, ALPHA และ BETA ซึ่งเป็นผลงานนวัตกรรมร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คณะวิทยาศาสตร์ ประกอบกับการสนับสนุนจาก สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล “สายพันธุ์ OMICRON เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส COVID-19 จนทำให้สามารถเข้าไปจับกับเซลล์ในร่างกายได้ง่ายขึ้น ซึ่งการกลายพันธุ์เป็นธรรมชาติของเชื้อไวรัสโดยทั่วไป สำหรับชุดตรวจ RT-LAMP เวอร์ชั่น 3 นี้ นอกจากผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา (อย.) แล้ว ยังมีจุดเด่นที่ความไว และเวลาที่ใช้ตรวจที่สั้นกว่าสองเวอร์ชั่นแรก โดยมีความไวถึงร้อยละ 96.51 และใช้เวลาตรวจเพียง 30 นาทีจากการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูก (Nas
ธุรกิจแบบสตาร์ทอัพที่ทำไป ทดลองไป หาข้อมูลไป เป็นหนึ่งในแนวคิด ที่ noBitter ฟาร์มผักขนาดเล็กใจกลางเมือง ของ ดร.วิลาศ ฉ่ำเลิศวัฒน์ และทีมงาน ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนเมือง ดร.วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง กล่าวว่า เป้าหมายของ noBitter คือ ต้องการที่จะปลูกผักเพื่อคนเมืองจริงๆ เนื่องจากพืชผักที่จำหน่ายอยู่ตามซุปเปอร์ส่วนใหญ่ที่คนเมืองบริโภค ยังตรวจเจอสารพิษอยู่ ทั้งๆ ที่เป็นผักออร์แกนิก ดังนั้น การปลูกผักปลอดภัยที่จำหน่าย ณ จุดขายได้ ทันทีจะเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเมืองได้ “noBitter เราให้นิยามมันว่า เป็น mini plant factory เป็นโรงงานปลูกผักขนาดเล็กในกลางเมือง สาเหตุที่ตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะผลิตผักขึ้นมาเพื่อจะตอบสนองความต้องการของชุมชนเมืองได้ ซึ่งที่ตั้งปัจจุบันเราคือ อยู่ใน Space At Siam เป็น Co-Working Space ที่หนึ่ง โดยชั้นล่างจะมีเด็กๆ มาใช้บริการเรียนหนังสือ นั่งทำงาน แล้วชั้นบนที่เป็นลานนั่งเล่นไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ เราก็กั้นพื้นที่ขึ้นมาเล็กๆ ส่วนหนึ่งแล้วก็ทดลองทำ” จุดเริ่มต้นของ noBitter ลงมือทำจากการขาดองค์คว
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์แบรนด์ Tropica King (ทรอปิก้า คิงส์) ในโครงการ Startup Voucher (โครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม) ประจำปี 2561 ช่วยต่อยอดธุรกิจด้านการตลาด เพิ่มโอกาสเข้าถึงและขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบริการของหน่วยงานต่างๆ ผู้ประกอบการชี้ ธุรกิจนวัตกรรมนี้มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่สินค้าล้นตลาดหรือขายไม่ทันช่วง COVID-19 เป็น “มะม่วงน้ำดอกไม้พร้อมปั่นแบบซอง” นวัตกรรมคนไทย 100% คุณสุรวิชญ์ ทิพยารมณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลพาร์ทเนอร์อินเตอร์ฟู้ด จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าร่วมโครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ หรือ Startup Voucher ประจำปี 2561 ของ สวทช. ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัท ภายใต้แบรนด์ Tropica King (ทรอปิก้า คิงส์) ได้นำเทคโนโลยีการแปรรูปใหม่ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการ
บริษัท วี เชฟ ประเทศไทย จำกัด หรือ We Chef (Thailand) หนึ่งในสตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมบ่มเพาะในโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี 2562 หรือ SUCCESS 2019 ของศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแอพพลิเคชันจองช่องจอดขายอาหารในปั้มน้ำมันผ่านมือถือ หรือ Food Truck @PT Station จนปัจจุบันขยายไปสู่การจองช่องจอดรถขายอาหารตามหมู่บ้าน ตลาด และงานอีเว้นท์ต่างๆ (Food Truck @Home / Food Truck @Market / Food Truck on Event) ยกนิยาม ‘เปลี่ยนครัวที่บ้านให้เป็นงาน เปลี่ยนฝีมือทำอาหารให้เป็นเงิน’ ตอบโจทย์คนรักอาหารและอยากให้คนชิม โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบแอพพลิเคชันเข้ามาช่วยบริหารจัดการ สร้างรายได้และยกระดับผู้ประกอบการ นายวินิจ ลิ่มเจริญ CEO & Founder บริษัท วี เชฟ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการพัฒนา Food Service Platform ของ We Chef หรือแอพจองช่องจอดขายอาหารในปั้มผ่านโทรศัพท์มือถือ คือการสร้างช่องทางการขายอาหารให้คนท
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขอเชิญผู้ประกอบกิจการซอฟต์แวร์และไอทีทุกประเภท รวมถึงผู้ประกอบการด้านนาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพ ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ จัดโครงสร้างองค์กรอย่างเป็นระบบ พร้อมเพิ่มศักยภาพให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยกลไกบ่มเพาะ เชื่อมโยงพันธมิตร และขยายเครือข่ายออกสู่ตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ สมัครเข้าร่วม “โครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (SUCCESS 2019)” เพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สมัครออนไลน์และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/30SuZ5O สอบถามเพิ่มเติม โทร. (02) 564-7000 ต่อ 81496, (081) 913-1828 อี-เมล [email protected]
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ยกผลงานดีเด่น หลักสูตรเด็ดๆ ขึ้นห้างเพื่อโชว์นวัตกรรมบัณฑิตศึกษา แปลงความคิดเป็นสินทรัพย์นวัตกรรมที่ขายได้ มีผลงานดีเด่นหลายประเภทที่เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ผู้สนใจ นักธุรกิจ ที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงการพาณิชย์ได้ ผลงานที่นำเสนอมีทั้งนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ดังนี้ ระบบการปลูกผักในบรรจุภัณฑ์…เป็นนวัตกรรมการปลูกผักในรูปแบบใหม่ เป็นผลงานของ นายทิวา จามะรี เป็นประสบการณ์ใหม่ของการบริโภคผักด้วยเทคโนโลยีการปลูกในระบบปิดภายใต้แสงไฟเทียม มีการดูแลอย่างพิถีพิถันทุกขั้นตอนการผลิต สามารถลดแรงงาน ลดขั้นตอนกระบวนการผลิตได้มากกว่าระบบการปลูกผักทั่วไป คือไม่ต้องเคลื่อนย้ายผักจากแปลงปลูกมายังโรงคัดแยกผัก ไม่ต้องคัดแยกผัก หรืออื่นๆ ที่จะต้องใช้แรงงานหรือเครื่องจักร การปลูกวิธีนี้เป็นการผสมผสานที่ช่วยให้ผักโตเร็ว ลงทุนต่ำ ผสมผสานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ที่พืชผักสามารถเจริญเติบโตอยู่ภายในได้อย่างรวดเร็วมากกว่าปกติถึงร้อยละ 50 จึงทำให้สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้งปี ไม่มีปัญหาเรื่องฤดูกาล พืชผักไม่ได้ส
มีโอกาสไปเดินชมงาน “สมาร์ท เอสเอ็มอี เอ็กซ์โป 2018” ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าแรงประชาสัมพันธ์ส่งผลให้คนแห่ชมงานอย่างล้นหลาม โดยมีบรรดาเอสเอ็มอีไทย (SMEs) ตบเท้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง โดยมีผู้สนับสนุนรายใหญ่ร่วมขบวนด้วย อาทิ ซีพี รีเทลลิงค์ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมาเปิดอบรมหลักสูตรกาแฟฟรี ทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เรียกว่า แม้แต่ผู้เขียนเองไปลงทะเบียนเรียน ก็ปรากฏว่าแพ้จำนวนประชาชนจากต่างจังหวัดที่เดินทางมารอคิวรับอบรมกันจนยาวเหยียด ทำให้พื้นที่อบรมแม้จะกว้างแค่ไหนก็ต้องจัดคิวใหม่เพื่อให้ทุกๆ ท่านที่มาไม่เสียเวลาและไม่เสียความตั้งใจนั่นเอง นอกจากนี้ ภายในงานยังมีผู้ประกอบการรายใหญ่ในแวดวงอาหารทะเล อย่างบริษัท ศิริคุณ ซีฟู้ดส์ จำกัด นำ “ปลาทู” ภายใต้แบรนด์ “เดลิช อินสไปเรอร์” (Delish inspirer) มาเปิดตัวในงานนี้เป็นครั้งแรก พร้อมกับให้โอกาสผู้สนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย ด้วยเงินเริ่มต้นในการสมัคร 5,000 บาท รับปลาทูขั้นต่ำ 50 แพ็ก ไปจำหน่ายทันที ซึ่งก็เหมาะสำหรับไปขายในกลุ่มลูกค้าที่เป็นแม่บ้านที่ต้องการความสะดวกสบายในการประกอบอาหารและรับประทาน ที่สำคัญยังได้ความรู้จาก คุณพรรัตน์
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนที่ลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ กำหนดให้ผู้มีเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นเงินลงทุนในหุ้นเพื่อจัดตั้งหรือลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) สามารถนำเงินลงทุนดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้นโดยผู้มีเงินได้ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่น้อยกว่า 2 ปีต่อเนื่องกันนับแต่วันที่ลงทุนในหุ้นนั้น เว้นแต่ทุพพลภาพหรือตาย นางสาวกุลยา กล่าวว่า การใช้สิทธิประโยชน์ภาษีมีเงื่อนไข ประกอบด้วย ผู้มีเงินได้ดังกล่าว ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเป็นเงินลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีคุณสมบัต
พาไปรู้จักกับบริษัทสตาร์ทอัพต่างแดนที่ชื่อว่า Perfect Day ซึ่งมากับคอนเซ็ปต์ขายไอเดียคนรุ่นใหม่ใส่ใจโลก มีความเป็นอิโค่รักษ์สิ่งแวดล้อมกับการผลิตน้ำนมโดยไม่ใช้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์อันเกี่ยวเนื่องจากสัตว์ พร้อมกับการมุ่งไปที่เทรนด์สุขภาพ ด้วยการพยายามสร้างน้ำนมที่มีโภชนาการ ปลอดภัย และยั่งยืนมากกว่าฟาร์มปศุสัตว์ที่ด้านหนึ่งก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการพยายามขายไอเดียว่า น้ำนมคราฟต์ของเขาจะมีรสชาติไม่ต่างจากนมวัว สำหรับ Perfect Day เป็นบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกันอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งออกมาประกาศจะผลิตน้ำนมในกระบวนการปราณีตระดับที่เขาบอกว่า เหมือนการผลิตคราฟต์เบียร์ ซึ่งต้องการทำการตลาดผลิต คราฟต์ มิลค์ ออกมาให้ได้ในปลายปี 2017 นี้ โดยวิธีผลิตเขาอธิบายว่าใช้กรรมวิธีแบบทำมือทีละขั้นละตอนให้เหมือนการผลิตคราฟต์เบียร์ที่มีความปราณีตในรสชาติ โดยยืนยันว่าผลทดสอบออกมานั้นให้รสชาติไม่ต่างจากดื่มนมวัว โดยใช้ยีสต์จากนมธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการหล่อเลี้ยงทางวิทยาศาสตร์ และลงลึกระดับอีโค่ด้วยการหล่อเลี้ยงยีสต์นั้นด้วยน้ำตาล ซึ่งที่มาผ่านกระบวนการพลังงานทดแทนที่ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม โดยทางผู้ผลิ