สภาเกษตรกร
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นพยานลงนาม พร้อมกับ นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยกัญชาทางการแพทย์ ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดี กับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา โดย นางสาวสิริน ชะเอมเทศ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา ณ ห้อง 902 อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี ว่า ต้องขอขอบคุณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ได้กรุณาลงมาสัมผัส มาศึกษาวิจัยเรื่องกัญชาร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพราะส่วนตัวเชื่อว่าสายพันธุ์ดีๆ ของกัญชาในประเทศไทยยังคงมียู่เยอะ และเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีศักยภาพมากพอที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เด่นๆ ของเราเองได้ และเชื่อมั่นเช่นกันว่า เราสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาจากการขายเมล็ดพันธุ์กัญชา แทนที่จะซื้อสายพันธุ์นำเข้ามาในประเทศ ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ลงนามบันทึกความร่วมม
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงการประชุมคณะทำงานด้านข้าวและชาวนาไทย ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เรื่อง ข้าวและชาวนา จัดโดยสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่าเป็นครั้งแรกที่มีการพูดคุยพร้อมกันกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 9 สมาคม 1 ศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำ ชาวนา ผลิต กลางน้ำ โรงสี แปรรูป และปลายน้ำ ผู้ส่งออก ตลาด เพื่อจะเตรียมวางแผนการผลิตในฤดูกาลถัดไปของชาวนา ทั้งนี้ ด้วยปัญหาหลักของชาวนา ได้แก่ 1. ต้นทุนการผลิตสูงไม่คุ้มทุน 2. ผลผลิตต่อไร่ต่ำ 3. คุณภาพข้าวไม่ตรงตามความต้องการของตลาด 4. ขาดการวางแผนร่วมในการผลิต ซึ่งข้อสรุปในที่ประชุมเพื่อเป็นแผนการทำงานต่อไป คือตั้งกลุ่มทำงานเพื่อหารือเรื่องแผนการผลิตข้าวในรอบต่อไปว่าควรจะผลิตข้าวสายพันธุ์อะไรบ้าง เช่น ข้าวพื้นนุ่ม ข้าวพื้นแข็ง ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิ หรือข้าวอื่นๆ ในแต่ละพื้นที่ โดยนำข้อมูลจากผู้ส่งออกนำไปให้ชาวนาใช้ประกอบ ทั้งเรื่องการผลิต, กระบวนการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งหลายเครือข่าย/องค์กร มีวิธีลด
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมกับ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ (สกช.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเกษตร โดยมี นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ นายรัตนะ สวามีชัย เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วย นายวินิต อธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ นายศรีสะเกษ สมาน รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ลงนาม นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวต้อนรับ คณะผู้บริหารจากสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมเปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ทั้งสองหน่วยงานมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการให้ความร่วมมือด้านวิชาการ การบูรณาการฐานข้อมูลด้านการเกษตร เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทั้งด้านการวิเคราะห์ วิจัยและการพยากรณ์ทางด้านการเกษตร ตลอดจนบูรณาการฐานข้อมูลในการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยง และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทั้งสองหน่วยงานร่วมกัน โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสารสนเทศการเกษตร ระบบฐานข้อมูล Big Data งาน
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ได้จัดประชุม ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง เพื่อหารือแนวทางการนำใบกัญชามาใช้ในการประกอบอาหารและต่อยอดเพิ่มมูลค่ากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายจำลักษณ์ กันเพ็ชร์ พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จังหวัดลำปาง สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเมืองเขลางค์นคร และผู้ประกอบการร้านอาหารจังหวัดลำปาง จำนวน 20 ร้าน และภาคีเครือข่าย มีมติเห็นชอบจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยว ประชาชน ผู้สนใจ ได้ชิม ชอปปิง ผลิตภัณฑ์จากกัญชา ได้ลองลิ้มรสกัน ในงาน “มหกรรมอาหารที่มีส่วนผสมของพืชกัญชา” วันที่ 19 มีนาคม 2564 ณ บริเวณลานรถม้า เซ็นทรัลพลาซ่า ลำปาง โดยภายในงานจะมีเมนูอาหารพื้นเมืองอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง ที่สร้างความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน เช่น ไส้อั่วที่มีส่วนผสมของกัญชา ซี่โครงหมูรมควันผสมใบกัญชา เป็นต้น ซึ่งร้านอาหารที่เข้าร่วมออ
นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัญหาโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลังยังคงมีอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่แพร่ระบาด 28 จังหวัด การระบาดเพิ่มขึ้นคิดเป็นนัยยะเกินกว่า 200% พื้นที่เกินกว่า 4 แสนไร่ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะสามารถควบคุมหรือป้องกันโรคได้อยู่หรือไม่ ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งจากพื้นที่การแพร่ระบาด การเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ สายพันธุ์ต้านทาน ราคาตกต่ำ การขนส่ง การส่งออกต่างประเทศ โครงการช่วยเหลือเยียวยา ฯลฯ ปัญหาหลักประเด็นสำคัญหนึ่งคือกฎเกณฑ์ กติกาของระบบราชการที่เป็นเงื่อนไข อุปสรรค ซึ่งหากโรคไวรัสใบด่างยังคงระบาดเช่นนี้ เกรงว่าในปีการผลิต 2565 จะยังมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้อยู่หรือไม่ ด้านราคามันสำปะหลังสภาเกษตรกรแห่งชาติพยายามผลักดันเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เช่นล่าสุดได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการราคาไปยัง 4 สมาคม เพื่อการกำหนดราคามันสำปะหลังภายในประเทศ ประกาศกำหนดราคาแนะนำ และแจ้งประกาศราคาแนะนำทุก 15 วัน รวมทั้งกำหนดให้มีมาตรการเพื่อป้องกันการขายตัดราคา ทั้งนี้ หากมองถึงการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คณะกรรมก
นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี และประธานคณะกรรมการด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวถึงผลกระทบผลผลิตผลไม้จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID -19) ว่า ตลาดหลักผลไม้ของไทยคือประเทศจีน แต่ยามนี้เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้แต่ประเทศแถบยุโรปก็ส่งออกไปไม่ได้เหมือนกันเพราะสายการบินปิดการขนส่ง เกษตรกรมีความวิตกกังวลกับผลผลิตที่ออกมาในช่วงของเดือนมีนาคม คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ก่อนหน้านี้ลำไยได้รับผลกระทบไปแล้ว กอปรกับภัยแล้งจึงซ้ำเป็น 2 แรง โดยในขณะนี้เกษตรกรได้พยายามดูแลผลผลิตของตัวเองให้รอดจากภัยแล้งก่อน แล้วมองตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะการกระจายผลผลิตในพื้นที่จังหวัดให้มากขึ้น รวมทั้งการใช้สถาบันเกษตรกร เช่น ระบบสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจแปลงใหญ่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การตลาดของกระทรวงมหาดไทย ต้องเร่งหารือให้เร็วที่สุด หากผลผลิตออกมาแล้วจะแก้ไขปัญหาไม่ทัน ส่วนตลาดต่างประเทศซึ่งเป็นตลาดหลักเมื่อได้รับผลกระทบจะแก้ไขปัญหาได้ยาก แต่หากเตรียมความพร้อมในประเทศได้ก่อน ส่วนต่างหรือเกินจึงค่อยดำเนินการต่อ ส่วนเรื่องราคา
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทั้งสองหน่วยงานจะร่วมมือกันดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการนำความรู้และเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรด้วยความเหมาะสมพอเพียง อย่างมีแบบแผน โดยมีแนวทางขับเคลื่อนความร่วมมือให้เกิดขึ้น ได้แก่ การพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกรรุ่นใหม่ด้วยการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งสภาเกษตรกรฯ มีกลุ่มเป้าหมายอยู่อำเภอละอย่างน้อย 1 คน , การสร้างและใช้แอปพลิเคชั่นในกระบวนการผลิต รับรองผลผลิต การแปรรูปและการตลาดด้วยการพัฒนาความสามารถของบุคลากรสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ บุคลากรภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารให้เข้าถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการผลิต แปรรูปและการตลาดตลอดทั้งห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานซึ่งจะเริ่มต้นจากการจัดทำแอปพลิเคชั่นการเลี้ยงกุ้ง การปลูกผักเพื่อการส่งออก เป็นต้น การเข้าถึงบริการข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยทราบว่
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 นายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวในการเปิดงานโครงการประชุมสัมมนาขับเคลื่อนการพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ณ โรงแรม พี.ซี.พาเลซ จังหวัดสกลนคร ว่า “กัญชา” เป็นพืชสมุนไพรที่มีมาแต่โบราณ มีการนำมาใช้จนเป็นตำรับยาพื้นบ้าน ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย กว่า 40 ปีที่ผ่านมาหลังจากมีการใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การใช้ประโยชน์จากกัญชาได้ถูกควบคุมให้เป็นยาเสพติด การใช้ประโยชน์ทางคุณค่าของสมุนไพรจึงน้อยลง แต่ยังคงถูกใช้ในตำราของชาวบ้านเพื่อการพึ่งพาตนเอง ในพื้นที่เทือกเขาภูพาน ที่เป็นแหล่งกำเนิดกัญชาพื้นบ้าน เช่น พันธุ์หางกระรอก พันธุ์ฝอยทอง พันธุ์หางเสือ โดยเฉพาะพันธุ์หางกระรอก ได้มีการนำไปใช้กระจายไปทั่วโลกจนยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตที่ดีที่สุดในโลก ทั้งนี้ ในช่วงแรกเรื่องกลไกของกฎหมายประชาชนมักสับสน ไม่อยากให้หลงประเด็น และเข้าสู่วังวนของการทำผิดกฎหมาย ในการจัดโครงการขับเคลื่อนการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ที่สภาเกษตรกรฯ จัดขึ้น หากมีข้อสงสัย คลางแคลงในกฎหมาย ขั้นตอน วิธีการ ในการใช้กัญชาเพื่อเป็นยารักษาโรค ให้สอบถามกับวิท
นางจันทนา มณีโชติ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปผักหวานป่า จ.สระบุรี เปิดเผยว่า “กลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปผักหวานป่า” ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2559 ด้วย ต.สร่างโศก อ.บ้านหมอ มีพืชประจำถิ่นขึ้นชื่อ คือ “ผักหวานป่า” เป็นพืชยืนต้น อายุยืนนานไม่ต้องดูแลมากนัก ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ในระยะยาวนาน ปลูกร่วมกับข้าวโพด มันแกว หรือพืชผักอื่นๆ และด้วยลักษณะดิน สภาพพื้นที่และสภาพอากาศเหมาะสมในการปลูก ในขณะที่อำเภอใกล้เคียงไม่สามารถปลูกได้ด้วยปัญหาจากน้ำท่วมขังและการบำรุง เดิมจะจำหน่ายยอดสดในราคาประมาณกิโลกรัมละ 100 บาท แต่บางฤดูกาลผลผลิตมีปริมาณมากทำให้ราคาลดลงไม่คุ้มต้นทุนค่าปลูก “ผักหวานป่า” สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม ทอดกรอบ ชุบไข่ และยังนิยมนำผักหวานมาแกล้มอาหารรสจัดจำพวกส้มตำและลาบ หรือจิ้มกับแจ่วและน้ำพริกได้ทุกชนิด ประโยชน์ของผักหวานป่าคนโบราณนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด ใบและรากมีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ รากเป็นยาฤทธิ์เย็นแก้ไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก่นของต้นนำมาต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อ และอื่นๆ “ผักหวานป่า” เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดย
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ในปี 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พัฒนาต่อยอดจากการทำแผนตำบลกับองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัด ด้วยโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – กันยายน 2561 เพื่อผนวกการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเกษตรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการจนสามารถยกระดับจากผู้ผลิตที่ตอบสนองความต้องการระดับท้องถิ่น สู่ผู้ผลิตระดับ SMEs ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดในระดับสากลได้ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ ด้วยเป้าหมายเพื่อต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น 20% , อายุการเก็บรักษาผลิตผลนานขึ้น 10% ใน 878 ตำบล 300 องค์กรเกษตร 200 นวัตกรรม เกษตรกร 10,000 ราย ทั่วประเทศ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ