สัตว์เศรษฐกิจ
เขตทุ่งครุ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “บางมด” นอกจากมีส้มบางมดที่เลื่องชื่อ เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในย่านนี้แล้ว เขตทุ่งครุ ยังมีของดีที่ขึ้นชื่อไม่แพ้ส้มบางมดอีกสิ่งหนึ่ง นั่นคือ “แพะ” ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ชาวชุมชนทุ่งครุนิยมเลี้ยง เนื่องจากในพื้นที่แห่งนี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ซึ่งหลักศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่า เด็กที่เกิดใหม่ต้องจัดพิธีรับขวัญโดยแจกทานเนื้อแพะ เกษตรกรในเขตทุ่งครุจึงนิยมเลี้ยงทั้งแพะนมและแพะเนื้อเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยจำหน่ายแพะและน้ำนมแพะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนนี้อย่างมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในซอยพุทธบูชา 36 เขตทุ่งครุ ได้รวมตัวกันตั้งเป็น “กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ทุ่งครุ” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ให้แก่ผู้สนใจอาชีพเลี้ยงแพะ การพัฒนาสายพันธุ์แพะ รวมถึงการจัดจำหน่าย ต่อมาในปี 2554 ได้มีการรวมกลุ่มสมาชิก 35 คน ในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดารุ้ลอิบาดะห์ เพื่อพัฒนาและต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมแพะอีกหลายชนิด เช่น สบู่ ครีมอาบน้ำ โลชั่นบำรุงผิว นมแพะพาสเจอไรซ์ โยเกิร์ตนมแพะ คุกกี้นมแพะ และทองม
“เมื่อ 10 ปีก่อน ราคาซื้อขายแพะเนื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 35-40 บาทเท่านั้น เมื่อปี 2553 รัฐบาลหันมาส่งเสริมการเลี้ยงแพะตามนโยบาย “ไทยเข้มแข็ง” ส่งผลให้ราคาแพะเนื้อในท้องตลาดเพิ่มสูงขึ้นจากการที่พ่อค้ารายใหญ่ต้องการจัดหาแพะจำหน่ายเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จนถึงปัจจุบันราคาขายแพะเนื้ออยู่ที่ 120 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้เกษตรกรหันมาสนใจเลี้ยงแพะกันอย่างกว้างขวาง” คุณธวัชชัย มากมี ปศุสัตว์อำเภอชัยบาดาล (โทร. (081) 365-8884) บอกเล่าถึงที่มาของตลาดเนื้อแพะที่ขายดี จังหวัดลพบุรีก็เป็นอีกหนึ่งในทำเลทองของการเลี้ยงแพะในพื้นที่ภาคกลาง นับตั้งแต่ปี 2554 จังหวัดลพบุรีได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณของจังหวัดให้กับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบบูรณาการ กิจกรรมส่งเสริมทดลองการเลี้ยงแพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจให้กับเกษตรกรจำนวน 50 ราย โดยสนับสนุนแพะพ่อ-แม่พันธุ์ ให้กับเกษตรกรจำนวนดังกล่าว รายละ 8 ตัว (เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 7 ตัว) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาอาชีพการเลี้ยงแพะก็ได้รับความสนใจจากเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ เฉพาะพื้นที่อำเภอชัยบาดาลเอง มีเกษตรกรรายย่อยสนใจเลี้ย
ซุกิ กับคนไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะ ซุกิ คือ ปลาช่อนทะเล ที่นำมาอัพเวอร์ชั่นใหม่ให้เป็นปลาช่อนทะเลคุณภาพสูงที่มีความอร่อยขึ้น เป็นปลาช่อนทะเลที่แข็งแรง ทนต่อโรค เลี้ยงง่าย โตไว ได้รับอาหารดี คนกินก็ได้กินเนื้อปลาที่อร่อยมากขึ้นกว่าปลาช่อนทะเลทั่วไป โดยคงคุณสมบัติที่ดีเลิศไว้ เป็นปลาที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด ด้วยคุณสมบัติโปรตีนสูง มีโอเมก้า 3 และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว DHA สูง และมีไขมันดีแทรกตัวอยู่ เมื่อกัดเข้าไปแล้วจะมีความชุ่มฉ่ำ Juicy เพิ่มอรรถรสในการกินเมนูนั้นมากขึ้น อีกทั้งเนื้อปลายังมีความขาว แน่น ทรงตัวและคงรูป จึงเป็นที่สนใจของเชฟ ร้านอาหาร คนที่รักในการทำอาหารและรักสุขภาพอย่างมาก ความต้องการที่จะผลักดันให้ปลาช่อนทะเล ของดีจากทะเลไทยเป็นหนึ่งในใจผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ทำให้โครงการ Booster โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยเพาะเลี้ยงกระชังน้ำลึกจากรัฐบาลนอร์เวย์ หลังจากเหตุการณ์สึนามิ เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของชาวภูเก็ต มาจับมือร่วมกัน
ไก่จ๋า…ได้ยินไหมว่าเสียงใคร…เป็นข้อความตอนหนึ่งของเพลง ไก่จ๋า ที่ฟังแล้วคิดอยากกินไก่ย่างไม้มะดันสักมื้อ เป็นไก่ย่างสูตรพิเศษที่มีเสียงเล่าขานว่าเลิศรสความอร่อย ด้วยการเลือกนำไม้มะดันมาหนีบไก่ เมื่อนำไปย่างทำให้เนื้อไก่ย่างสีเหลือง ได้กลิ่นหอมพร้อมความอร่อย สินค้าดีมีคุณภาพในถิ่นอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโอกาสดีที่การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ต้องผ่านเส้นทางไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน จึงได้แวะเข้าไปที่ร้านไก่ย่างแห่งหนึ่งทันที ขณะเดินผ่านบริเวณโรงครัวกลิ่นหอมก็โชยมาชวนให้ชิม เห็นมีคนมารอซื้อกลับบ้าน และมีคนสวมเสื้อซาฟารีกำลังพลิกกลับไก่บนเตาปิ้ง ทราบภายหลังว่า เป็น คุณพีปกรณ์ เฮงรัตนกุลเศรษฐ หรือ คุณโชค ผู้จัดการร้าน จึงได้พูดคุยกันพร้อมรวบรวมเป็นเรื่องราว ไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน…ไก่เศรษฐกิจ เลิศรสความอร่อย มาบอกเล่าสู่กัน คุณพีปกรณ์ เล่าให้ฟังว่า ต้องขอเล่าความถึงอดีตสักหน่อยว่า พื้นถิ่นที่แห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร แต่ประชาชนก็ต้องพบกับปัญหาการเดินทาง เช่น จากอุบลราชธานี ไป-กลับกรุงเทพฯ ต้องใช้บริการนั่งรถไฟ บางครั้งใช้เวลาข้ามวันข้ามคืน ถ้าต้องการเดินทางให้
“เอนก เหล่าธรรมทัศน์” รมว.การอุดมศึกษาฯ เยือนมหา’ลัยแพะ ยกเป็นต้นแบบสถาบันอุดมศึกษาขับเคลื่อนท้องถิ่นตามนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันของรัฐบาล ชูเป็นมหาวิทยาลัยของภาคประชาชนที่เกิดจากความพยายามของคนในพื้นที่จริง ๆ สร้างงาน สร้างเงินให้คนกระบี่ เตรียมถอดความสำเร็จเพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่น พร้อมชมงานวิจัย ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หนุนผลิตสัตว์เศรษฐกิจเมืองกระบี่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตรวจเยี่ยมมหา’ลัยแพะนานาชาติ กระบี่ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ณ ศรีผ่องฟาร์ม ฟาร์มสาธิตเลี้ยงแพะสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ บ้านน้ำจาน ต.กระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่ พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการการดำเนินงานของมหา’ลัย และโครงการความร่วมมือในการนำผลงานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการขับเคลื่อน Model แพะใน จ.กระบี่ และแพะในพื้นที่ภาคใต้เพื่อความยั่งยืน โดยมี ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.อว. นายสำราญ รอดเพชร ผู้ช่วย รมว.อว. ศาสตราจา
ปัจจุบัน กระแสการเลี้ยงกวางเชิงพาณิชย์มีเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้เลี้ยงไม่ต้องการเพียงแค่ขายหนัง กับเนื้อที่นำมาใช้ประโยชน์เท่านั้น แต่การนำเขากวางอ่อนมาแปรรูปด้วยการหมักในแอลกอฮอล์กับการผลิตเป็นเม็ดแคปซูลยังได้รับความสนใจในกลุ่มผู้รักสุขภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพบว่าเขากวางอ่อนอุดมด้วยแร่ธาตุ วิตามิน แคลเซียม ฮอร์โมน และกรดที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ช่วยในด้านการบำรุงร่างกาย รวมถึงยังสามารถรักษาอาการป่วยบางชนิดได้ จึงทำให้สามารถตอบโจทย์ตลาดลูกค้าในกลุ่มนี้ได้อย่างตรงเป้า นายสัตวแพทย์วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร กล่าวถึงบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ด้วยการศึกษาค้นคว้าวิจัยทดลองงานพัฒนาสัตว์การเกษตรที่เหมาะสมแก่ท้องถิ่น และนำออกเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติ พัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิต คุณหมอวิศุทธิ์ เผยว่า ที่ผ่านมามีชาวบ้านออกล่ากวางป่าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นอาหาร แล้วยังนำเขากวางไปปรุงเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศตามความเชื่อโบราณ ดังนั้น หากปล่อยให
ใช่ว่าแต่คนเท่านั้นที่ข้ามเส้นพรมแดน สรรพสัตว์ก็ข้ามแดนไปมาไม่รู้กี่ยุคสมัยมาแล้ว การข้ามแดนของพืชและสัตว์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ด้วยสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันอาจทำให้ยังชีวิตอยู่ไม่ได้ หรือทำให้สัตว์กลายพันธุ์ รวมทั้งอาจผสมข้ามพันธุ์ส่งผลให้สัตว์และพืชท้องถิ่นกลายพันธุ์ได้ กระนั้นอีกมุมหนึ่งสัตว์และพืชที่ข้ามแดนมาอาจเจริญเติบโตได้ดี กระทั่งนานไปก็กลายเป็นหนึ่งในเผ่าพันธุ์ประจำถิ่นไปโดยปริยาย เรื่องราวของสัตว์ข้ามแดนผนวกกับเรื่องของหญิงสาวรุ่นใหม่ 2 คน ที่อยู่ในวัยทำงานสร้างเนื้อสร้างตัว ทำให้ฉันสนใจสัตว์น้ำนามว่า กุ้ง ซึ่งไม่ใช่แค่กุ้งที่เห็นๆ กินๆ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน อย่างที่เรารู้จักกันในนามกุ้งชีแฮ้ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วยประมาณนี้ แต่กุ้งที่ว่านี้มีชื่อแปลกหูและรูปทรงแปลกตา เป็นกุ้งสัญชาติต่างประเทศที่นำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย เป็นกุ้งน้ำจืด สวยงามและกินได้ด้วย ฉันได้รับรู้เรื่องราวของกุ้งที่เดินทางไกลข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรมาสู่ดินแดนอุษาคเนย์ จนอดรนทนไม่อยู่ต้องตามหา 2 สาว นักเลี้ยงกุ้งมาคุยด้วย ไม่ใช่แค่กุ้งที่น่าสนใจ หากว่า 2 สาว ก็น่าสนใจในแง่ของเกษตรกรประมงรุ่นใหม่ ที่ไม่จำเป็นต
ไก่เชิงเมืองตราด สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ เตรียมเก็บน้ำเชื้อพัฒนาสายพันธุ์เชิงพาณิชย์และอนุรักษ์ “งานวันระกำหวาน ผลไม้ และของดีเมืองตราด ประจำปี 2562” การจัดกิจกรรมประลอง ไทยไฟท์ไก่ชน บ๊อกซิ่ง (Boxing) เป็นกิจกรรมเสริมของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตราดร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด และภาคเครือข่ายเกษตรกรร่วมกันจัดขึ้น เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไก่ชนพื้นเมืองของจังหวัดตราด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดตราด โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมชมและเชียร์กันอย่างคึกคัก ไก่ชนเมืองตราด ผลักดันเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ คุณวีระสันติ ประทุมพล ปศุสัตว์จังหวัดตราด เล่าว่า ไก่ชนพื้นเมืองจังหวัดตราดเป็นไก่ชนที่มีชื่อเสียงและสร้างชื่อให้ผู้เลี้ยงมายาวนาน รู้จักกันดีในชื่อ “ไก่เชิงท่าพริก” สายพันธุ์ตราดจะมีลีลาชั้นเชิงดี ตีเจ็บ เป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มเซียนไก่ ปัจจุบันไก่ชนจังหวัดตราดเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้ให้จำนวนมากจึงจัดกิจกรรมประลองไทยไฟท์ไก่ชน Boxing เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองตราดให้เป็นที่นิยมและรู้จักอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
ม. กาฬสินธุ์ เปิดงานวิจัย หงส์ดำ สัตว์คู่รักรับวาเลนไทน์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ศูนย์วิจัยภูและฝึกอบรมสิงห์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นประธานเปิดโครงการเลี้ยง หงส์ดำ (Black swan) ที่ถือเอาวันแห่งความรักเปิดตัวสัตว์ที่ครองคู่รักเดียวใจเดียว และกำลังเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่สามารถเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้ โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ นายกสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้การสนับสนุน โดยมี ดร.จิรนันท์ อินทรีย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นหัวหน้าคณะทำการวิจัยครั้งนี้ รศ.จิระพันธ์ กล่าวว่า หงส์ดำ เป็นสัตว์ที่อยู่ในแถบอากาศหนาว มีต้นกำเนิดที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งปกติจะพบมากคือ หงส์ขาว ส่วนหงส์ดำนั้นได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจ เพราะมีราคาสูง โดยมีการนำเข้าจากต่างประเทศมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยนานกว่า 20-30 ปีแล้ว มีความเชื่อมั่นว่าที่กาฬสินธุ์น่าจะเป็นอีกแหล่งเพาะเลี้ยง เพราะมีภูมิประเทศที่เหมาะสม อยู่ติดกับเขื่อนลำปาว สำหรับหงส์ดำปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมา
ในวันนี้สำหรับไก่งวงแล้ว ถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานเป็นอย่างมาก สังเกตุได้จากปัจจุบันได้มีฟาร์มเพาะเลี้ยงไก่งวงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด และเกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนไก่งวงกันมาอย่างต่อเนื่อง เบญจพรศิริฟาร์ม ที่มีคุณเบญจพร เบญจพรศิริ เป็นเจ้าของ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 119 หมู่ 5 ต.โพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. 08-0460-8969,08-6857-2747 เป็นหนึ่งในฟาร์มผู้เพาะเลี้ยงไก่งวงรายใหญ่ โดยปัจจุบันมีไก่งวงที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มมากว่า 1,000 ตัว ด้วยความทุ่มเทของผู้เป็นเจ้าของและครอบครัว ในการพัฒนาการเลี้ยงการจัดการฟาร์ม พัฒนาด้านสายพันธุ์ ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ฟาร์มแห่งนี้ได้รับการคัดเลือกจากกรมปศุสัตว์ให้เข้ารับรางวัลชนะเลิศระดับเขต และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกร สำหรับกาเรลี้ยงไก่งวงนั้น เบญจพรศิริฟาร์ม ได้เลี้ยงมาตั้งแต่เริ่มต้นการทำฟาร์มในปี 2524 ซึ่งขณะนั้นได้ทำฟาร์มในลักษณะของเกษตรผสมผสาน กอปรไปด้วยกิจกรรมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างหลากหลายชนิด “ในช่วงแรกนั้นสัตว์ที่สร้างรายได้ให้มากที่สุดคือ การเลี้ยงหม