สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภายในสวนยางอ่อนก่อนเปิดกรีด สามารถปลูกพืชอื่นได้หลากหลายชนิดที่เรียกว่าพืชแซมยางและพืชร่วมยาง ซึ่งชาวสวนยางขนาดเล็กจะคุ้นเคยกับการปลูกข้าวไร่ พืชไร่ หรือพืชผักในสวนยางเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือจำหน่ายเพื่อเสริมรายได้ในครอบครัว พืชแซมยางและพืชร่วมยางควรจะเป็นพืชที่ไม่รบกวนต่อการเจริญเติบโตของต้นยางหรือทำให้ผลผลิตของต้นยางลดลง โดยปลูกระหว่างแถวยางในขณะที่ต้นยางมีอายุไม่เกิน 3 ปี ส่วนพืชร่วมยางคือ พืชที่ปลูกระหว่างแถวยางโดยอาศัยร่มเงาของต้นยางเพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต สามารถปลูกได้ตั้งแต่ต้นยางมีอายุ 3 ปีขึ้นไป ดังในพื้นที่ภาคตะวันออกภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง นำแนวทางดังกล่าวมาปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรทฤษฎีใหม่ที่จัดพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกยางพารา นำกล้วยป่ามาปลูกเป็นพืชแซม เช่น กรณีของแปลงส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ของ คุณละมัย สนวัตร์ เกษตรกร หมู่ที่ 6 ตำบลหนองไร่ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมนำหลักการการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยให้การส่งเสริมตามหลักเศรษฐกิจพ
ลำไยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จีน ไทย และเวียดนาม นิยมกินในรูปเนื้อลำไยสด เนื้อลำไยอบแห้งสีทอง ลำไยอบแห้งทั้งเปลือกและแปรรูปต่างๆ เช่น ลำไยกระป๋อง น้ำลำไย เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ลำไยยังเป็นผลไม้ที่มีความมหัศจรรย์เพราะมีสรรพคุณเป็นยาและเป็นผลไม้มงคลในการเพิ่มพลังชีวิต ลำไย ภาษาจีนแมนดาริน เรียกว่า หลงเหยียน แปลว่า ตามังกร “ลำ” มาจากคำว่า “หลง” แปลว่า มังกร “ไย” มาจากคำว่า “เหยียน” แปลว่า ดวงตา มังกรถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมจีน โดยเชื่อกันว่าใครได้ฆ่ามังกรแล้วขอดกินเกล็ดมังกรนั้นจะเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ การได้กินหัว หาง หรือกินดวงตาของมังกรนั้น เป็นการเพิ่มพลังชีวิตอย่างวิเศษ ทำให้คนจีนตั้งแต่สมัยโบราณ จึงถือธรรมเนียมว่าจะเป็นเศรษฐีหรือยาจกอย่างไร เมื่อถึงฤดูกาลลำไย ต้องกินลำไยหรือตามังกร อย่างน้อย 2 ลูก เพื่อเป็นการเพิ่มพลังชีวิตตลอดปี หลังจากนั้น จะโยนเมล็ดทั้งสองขึ้นไปบนหลังคา เชื่อว่าเป็นการส่งดวงตาของมังกรขึ้นไปเฝ้ามองระแวดระวังเภทภัยที่จะมากล้ำกราย ชาวจีนเชื่อว่าลำไยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจและม้าม เหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอทรุดโทรม เช่น ส
คุณสุทิน ทองเอ็ม เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดสุโขทัย เลือกทำอาชีพเกษตรกรรม ตามรอยพ่อ แม่และญาติพี่น้องส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประกอบกับเขามีใจรัก อยากปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเอง แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน เหลือก็แบ่งจำหน่าย คุณสุทินได้ศึกษากิจกรรมไร่นาสวนผสมด้วยตนเอง โดยในระยะแรกทำในพื้นที่ของครอบครัวเป็นหลัก หลังจากแต่งงาน คุณสุทินได้ลงมือทำเกษตรผสมผสานของตนเองอย่างเต็มที่ โดยนำความรู้จากการศึกษาด้วยตนเองและศึกษาดูงานสวนเกษตรที่ประสบผลสำเร็จเป็นต้นแบบ นำมาปรับใช้ในแปลงเกษตรของตนเอง คุณสุทินเน้นการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุกกิจกรรมมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ดี คุณสุทินได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในชีวิต เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในปัจจุบัน ด้วยการ “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” เพื่อลดความเสี่ยงและอยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร ตื่นมาไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายนอกบ้าน แต่กลับกันทำให้เขามีรายได้ทุกวันจากผลผลิตที่ปลูกและเลี้ยงไว้ ทั้งผักสดปลอดสารพิษ กบ ปลา ไข่ไก่ ชาวบ้านสามารถมาเดินเก็บ หรือจับขึ้นมาชั่งกิ
ดิน เป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกพืช ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี การปลูกพืชอะไร? พืชใด? ก็ได้รับผลผลิตคุณภาพ แต่! ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ การปลูกพืชใด? ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ และไม่ได้ผลผลิต คุณภาพ ปัญหาดินมีทางออกเมื่อเกษตรกรก้าวหน้าได้ “คืนชีวิตผืนดินกันดาร ปลูกอินทผลัม ไม้ผลมูลค่าสูง” ประสบผลสำเร็จ มีรายได้เงินแสนเงินล้าน ให้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต และมีการยังชีพที่มั่นคงยั่งยืน คุณทวี มาสขาว อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ปัจจุบัน เป็นรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เล่าให้ฟังว่า ตำบลชอนสารเดช อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ดินมีลักษณะเป็นดินดาน ดินกรวด รากพืชไม่สามารถชอนไชเพื่อหาอาหารได้ หากต้องการปลูกพืชในดินแบบนี้ ต้องมีการเจาะระเบิดดินดาน หรือปรับปรุงดินขึ้นมาใหม่ ส่วนพืชที่ปลูกจะต้องเลือกเป็นชนิดที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี หรือเหมาะกับสภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท และสำนักงานเกษตรอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ได้ให้การช่วยเหลือเกษตรกรโดยการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่มีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อ
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก.3) นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมความสำเร็จขนุนแปลงใหญ่ ตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี หนึ่งในวิสาหกิจชุมชนที่มีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรโดยยึดหลักตลาดนำการเกษตรอย่างครบวงจร ส่งออกจีน และยุโรป สร้างรายได้แก่ชุมชน เตรียมขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ขนุนหนองเหียง นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก.3) เปิดเผยว่า อำเภอพนัสนิคม มีเกษตรกรผู้ปลูกขนุนในพื้นที่เกือบทุกตำบล และปลูกมากในพื้นที่ตำบลหนองเหียง โดยปลูกอย่างจริงจังเป็นอาชีพสามารถส่งจำหน่ายเป็นรายได้หลักและรายได้เสริมเป็นอย่างดี ที่สำคัญเป็นขนุนคุณภาพ ตั้งแต่ขนาด ปริมาณ เนื้อผิว และรสชาติ เป็นที่ยอมรับของตลาด เกษตรกรมีการจัดการด้านการตลาดอย่างเด่นชัด ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออกต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบผลสดและแบบแกะเนื้อแช่แข็ง ส่วนผลอ่อนขนาดเล็กที่ไม่ได้คุณภาพจะนำมาแปรรูป โดยผลสุกได้นำมาแปรรูป อาทิ ขนุนลอยแก้ว ขนุนเชื่อมอบแห้ง แยมขนุน เป็นต้น ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก “สสก.3 จังหวัดระยอง
“สับปะรด โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายปีละครั้ง แต่ผมสามารถทำสับปะรดนอกฤดู ขายผลสดคุณภาพ ออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี” เป็นความภาคภูมิใจของ คุณกฤษณะ สิทธิหาญ เกษตรกรต้นแบบ Smart Farmer ผู้ปลูกสับปะรด เจ้าของแปลงเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (สับปะรด) จังหวัดลำปาง เคล็ดลับการทำสับปะรดนอกฤดู เกษตรกรโดยทั่วไปที่ปลูกสับปะรด จะเริ่มปลูกลงหน่อพร้อมกันทั้งแปลง และอีกประมาณ 12-16 เดือน ก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายสู่ตลาดพร้อมกัน ทำให้ผลผลิตมาก ราคาไม่ดี ถึงแม้จะนำไปแปรรูปก็ไม่ทัน เกิดการเน่าเสีย เป็นปัญหาและความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ทำอย่างไร จะทำให้สับปะรดกระจายออกสู่ตลาด ผู้บริโภคสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปี ไม่กระจุกออกพร้อมกัน เป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับ คุณเอก หรือ คุณกฤษณะ สิทธิหาญ วัย 42 ปี และหลังจากการทดลองทดสอบอยู่ 3 ปี ก็ได้คำตอบคือ การทำสับปะรดนอกฤดู โดยทยอยปลูก ทยอยเก็บ สำหรับเคล็ดลับการทำสับปะรดนอกฤดู มีวิธีการดังนี้ การเตรียมดิน จะไถกลบ 2-3 รอบ สังเกตถ้าหญ้าหรือวัชพืชขึ้น แสดงว่าดินดี ที่ตรงไหนหญ้าหรือวัชพืชไม่ขึ้น แสดงว่าดินไม่ดี ต้องเติมปุ๋ยหรือธาตุอาหา
ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศฟิลิปปินส์และเม็กซิโก ซึ่งมะม่วงที่ส่งออกนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ปลูกแพร่หลายมากที่สุดจะเป็นพันธุ์เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ อกร่อง ฟ้าลั่น และโชคอนันต์ แต่ละสายพันธุ์จะมีรสชาติและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ คุณอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี 8 จังหวัดของภาคตะวันตก มีการเพาะปลูกพืชหลายชนิดหนึ่งในนั้นคือ มะม่วง ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย สำหรับในพื้นที่ภาคตะวันตกนั้น ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีเกษตรกรปลูกมะม่วงจำนวนไม่น้อยบางสวนก็ประสบความสำเร็จดี บางสวนก็พอจะสร้างรายได้ในระดับปานกลาง แต่ยังมีอีกไม่น้อยที่ประสบปัญหาด้านการผลิตและการตลาด ซึ่งเกษตรกรแต่ละรายมีทางเลือกด้านการตลาดที่ไม่เหมือนกัน ส่วนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงที่รวมกันเป็นกลุ่มจะมีพลังในการต่อรองทั้งด้านการตลาดและการซื้อปัจจัยการผลิตที่ดีกว่า “
ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการปลูกโกโก้เป็นอย่างมาก เกษตรกรไทยหันกลับมาให้ความสนใจปลูกโกโก้มากขึ้นในช่วงนี้เนื่องจากผลตอบแทนดีกว่าพืชเศรษฐกิจหลายชนิด โดยพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ อยู่ที่ 5,464.39 ไร่ และพื้นที่เก็บเกี่ยว 4,090.66 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ คิดเป็นพื้นที่ 3,957.59 ไร่ ซึ่งจังหวัดที่ปลูกมากคือ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง และจังหวัดตาก ขณะที่ภาคตะวันออกก็ปลูกมากเช่นกันโดยมีพื้นที่เพาะปลูก 586.48 ไร่ จังหวัดที่ปลูกมากคือ จังหวัดจันทบุรี ขณะที่ผู้ผลิตช็อกโกแลตในประเทศไทยยืนยันว่า ความต้องการบริโภคช็อกโกแลตของคนไทยอยู่ที่ 120 กรัม ต่อคน ต่อปี เมื่อเทียบกับประเทศเบลเยียมอยู่ที่ 8 กิโลกรัม ต่อคน ต่อปี โกโก้สามารถป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมได้หลายผลิตภัณฑ์ ทั้งบริโภคเป็นอาหารทำเป็นช็อกโกแลตโอวัลติน หรือไมโล และยังใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเครื่องสำอาง ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนรับซื้อเมล็ดตากแห้งในราคากิโลกรัมละ 50 บาท เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือว่าตลาดโกโก้ในไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก ทั้งนี้ คุ
“พื้นที่ภาคกลางน้ำดี อยู่ใกล้ตลาด…ใช้การตลาดนำหน้าการผลิต” การเกษตรในภาคกลางมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์ ประมง ท่องเที่ยวเชิงเกษตร และอื่นๆ ภูมิภาคนี้สามารถปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าว (โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง) พืชไร่ พืชผักมากกว่า 1 ครั้งในรอบปี โดยจังหวัดที่มีความถี่ของการใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูกค่อนข้างสูงคือ ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง ส่วนการทำการเกษตรแบบผสมผสานนั้นสิ่งที่จะต้องมีและพร้อมมากที่สุดคือ ที่ดิน ทุน แรงงาน ที่เหมาะสมกับการทำการเกษตร จะต้องมีความอดทนสูง มีความขยัน จึงจะสามารถที่จะประสบความสำเร็จในการวางแผนและการจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้ดีและมีประสิทธิภาพ แม้ว่าธุรกิจเกษตรพืชไร่ในภาคกลางจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความน่าสนใจ แต่ผู้ประกอบการควรที่จะศึกษาถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจลงทุนและการวางแผนต่อยอดธุรกิจต่อไปในระยะยาว กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ คุณทวี มาสขาว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท กรมส่งเสริมการเกษตร ซ
คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางกรมส่งเสริมการเกษตร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาคุณภาพลำไย พร้อมกันนี้ได้สรุปองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้เกษตรกรได้นำไปปรับใช้ในการปฏิบัติดูแลรักษาลำไยเพื่อให้ได้คุณภาพ โดยมี 13 ขั้นตอน การที่ควรปฏิบัติ ดังนี้ ระยะที่ 1 ช่วงเตรียมต้น (กันยายน-ตุลาคม) ขั้นตอนที่ 1 – การตัดแต่งกิ่ง…เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง เปิดกลางทรงพุ่มให้ได้รับแสงสว่างมากขึ้น คลุมโคนต้นด้วยใบลำไยที่ตัดทิ้ง ขั้นตอนที่ 2 – แตกใบอ่อน ครั้งที่ 1…ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นละ 10 กิโลกรัม และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 ร่วมกับ 15-15-15 และ 0-0-60 (ช่วงแตกใบ ครั้งที่ 1) สัดส่วน 1:1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น ในระยะนี้ให้ระวังโรคและแมลง ได้แก่ ไรสี่ขา เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง และโรคพุ่มไม้กวาด ระยะที่ 2 ช่วงก่อนออกดอก (พฤศจิกายน-ธันวาคม) ขั้นตอนที่ 3 – ขั้นตอนที่ 4 – แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 จนถึงใบแก่สมบูรณ์…ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง สารป้องกันกำจัดเชื้อราและฮอร์โมนบำ