สำนักงาน กศน.
การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำนักงาน กศน. ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดและองค์กรภาคีเครือข่าย จัดการศึกษาอาชีพให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้ ประสบการณ์และทักษะไปใช้ในการประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวอย่างมีความสุข สร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติต่อไป ศกภ. (วิทยาลัยในวัง) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก หรือ ศกภ. (วิทยาลัยในวัง) เป็นสถานศึกษาในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เน้นจัดการเรียนรู้ในรูปแบบการจัดการศึกษาต่อเนื่องด้านศิลปะไทยโบราณช่างสิบหมู่และศิลปวัฒนธรรมไทย วิทยาลัยในวัง เป็นหน่วยงานในความร่วมมือระหว่างสำนักพระราชวังและสำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ โดยมุ่งหวังให้คนไทยเกิดความรัก ความศรัทธา ร่วม “สืบสาน รักษา ต่อยอด” งานศิลปะไทยโบราณช่างสิบหมู่และศิลปวัฒนธรรมไทยสู่คนรุ่นหลัง โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในลักษณะการเรียนรู้ตามอัธยาศัย นำผลิตภัณฑ์ผลงานนักศึกษามาจัดแสดงและจำหน่ายในรูปแ
สำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็น กศน.จังหวัดแห่งแรกของประเทศไทย มุ่งมั่น จัดการเรียนรู้ที่หลากหลายให้สอดคล้องกับบริบทการทำงานและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแก่ประชาชนทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ พัฒนาทักษะทางอาชีพ สร้างรายได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งส่งเสริมการศึกษาแก่ผู้พิการให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี สำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงาน กศน. โดยขับเคลื่อนนโยบาย กศน.wow ที่เกิดจากการร่วมคิดร่วมทำจนเป็น กศน. 5 ดาว 5G พรีเมี่ยม และนครแห่งการอ่าน สำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานี ให้ความสำคัญกับนโยบาย “อุบลราชธานี…นครแห่งการอ่าน” อย่างจริงจัง ด้วยการจัดกิจกรรม และส่งเสริมนโยบายในการปลูกฝังการอ่านให้เกิดขึ้นในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง การอ่านเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ แม้ว่าเทคโนโลยีจะเจริญก้าวหน้า แต่ก็ใช้การอ่านในการศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น สำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานี จึงร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจัดงานสัปดาห์หนังสื
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) มีสถานศึกษาประเภทขึ้นตรง จำนวน 9 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่บริเวณชายแดน หรือพื้นที่บริการในหลายจังหวัด และมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความจำเป็น ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมสนับสนุนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมความมั่นคงและการเมือง ประกอบด้วย 1.ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดาริ ( ศฝก.) 2.ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน (ศฝช.) จำนวน 7 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงราย ชุมพร ปัตตานี สระแก้ว อุตรดิตถ์ มุกดาหาร และสุรินทร์ 3.ศูนย์ฝึกอาชีพจังหวัดกาญจนบุรี “สามสงฆ์ทรงพระคุณ” เรียกโดยย่อว่า ศฝส. ศูนย์ฝึกวิชาชีพกาญจนบุรี สามสงฆ์ทรงพระคุณ ศูนย์ฝึกวิชาชีพจังหวัดกาญจนบุรี สามสงฆ์ทรงพระคุณ (ศฝส.) ตั้งอยู่เลขที่ หมู่ที่ 1 ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ศฝส. มีอำนาจและหน้าที่หลักดังต่อไปนี้ คือ จัดการศึกษาและฝึกอบรมด้านอาชีพ
ในอดีต ผลกระทบของสงครามในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา ราษฎรกัมพูชาจำนวนมากได้หลบหนีการสู้รบและหนีความอดอยากเข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณชายแดนจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ทำให้ความเป็นอยู่ของราษฎรไทยแถบนี้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก รัฐบาลจำเป็นต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งวิธีการหนึ่งคือ การพัฒนาอาชีพราษฎรไทย เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ศูนย์อำนวยการร่วมกองบัญชาการทหารสูงสุด และกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนจากผลกระทบดังกล่าว จึงได้ประสานงานขอความช่วยเหลืองบประมาณจากญี่ปุ่น จัดตั้ง “ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว” (ศฝช.สระแก้ว) เมื่อ 23 กันยายน 2525 เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ชายแดน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และพื้นที่ตามโครงการพระราชดำริ (โครงการทับทิมสยาม 02) ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ประชาคมอาเซียนและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน ศฝช.สระแก้ว จัดเป็นอุทยานการศึกษาของจังหวัดสระแก้ว มีหน่วยงานทางการศึกษา จำนวน 6 แห่ง ใช้พื้นที่ในบริเวณร่วมกัน ได้แก่ สำนักง
หลังจากกระทรวงสาธารณสุข ได้ปลดล็อกส่วนใบ ราก ลำต้น ของกัญชาออกจากรายการยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 โดยมีเจตนารมย์ให้ประชาชนใช้เพื่อการดูแลสุขภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในชุมชนนั้นๆ ทำให้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้เริ่มพัฒนารูปแบบธุรกิจอาหารที่มีส่วนผสมของใบกัญชา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วโลก ในคุณค่าด้านวัฒนธรรมและสุขภาพ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ศึกษาค้นคว้าความรู้ดั้งเดิม และการวิจัยสมัยใหม่ของการใช้กัญชา ทำให้พบว่า บรรพบุรุษไทยมีความเฉลียวฉลาดในการเลือกใช้พืชพรรณเพื่อดูแลสุขภาพ เพราะความรู้ของบรรพบุรุษช่างสอดคล้องกับการวิจัยสมัยใหม่ จึงนำมาสู่โครงการ “มาชิมกัญ” ทำให้เกิดกระแสบริโภคกัญชาฟีเวอร์ เป็นที่สนใจของคนไทยทั่วประเทศและต่างชาติจำนวนมาก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ดำเนินการติดตามความปลอดภัยในการรับประทานอาหารที่ปรุงจากกัญชาด้วยเพื่อให้มีข้อมูลอย่างรอบด้าน สนับสนุนให้เกิดรูปแบบธุรกิจอย่างยั่งยืน ทำให้ตำรับเมนูกัญชามีความปลอดภัยดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังได้ถ่ายทอดชุดความรู้และประสบการณ์ที่ได้ศึกษาค
วิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีคนไทยอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการท่องเที่ยว ผลกระทบด้านสุขภาพ ด้านการส่งออก ด้านการศึกษา ที่น่าห่วงสุดคือ ผลกระทบในภาคเศรษฐกิจ ซึ่งหลายกิจการต้องปิดตัวลง หรือชะลอการลงทุน จึงเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก ทำให้อัตราการว่างงานของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย ตลอดช่วงระยะเวลา 1 ปีเศษที่ผ่านมา ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกท้อถอยได้ แต่อย่าสิ้นหวัง เพราะคนที่อยู่รอดไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุด แต่เป็นคนที่รู้จักการปรับตัวที่สุด (ชาร์ลส์ ดาวิน) ทางออกที่ดีที่สุดในยามนี้ คือการฝึกวิชาชีพให้มีความรู้ติดตัว พัฒนาทักษะวิชาชีพ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน หากทุกคนร่วมกันยืนหยัด ใฝ่เรียนรู้แล้วปรับตัว สุดท้าย ก็จะผ่านปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไปได้อย่างราบรื่น ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงาน กศน. ได้ดำเนินการให้มีโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนขึ้น โดยใช้สถานศึกษา กศน. และ กศน. ตำบล หรือแขวง เป็นฐานการจัดกิจกรรมให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่บริการ โดยมีความเชื่อมั่นว่า โครงการดัง
สำนักงาน กศน. จัดโครงการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สินค้า กศน. ของประชาชนที่ผ่านการฝึกอบรมอาชีพจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน จากสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน.กทม จำนวน 50 แห่ง นำโดย นายปรเมศวร์ ศิริรัตน์ ผอ.สำนักงาน กศน. กรุงเทพมหานคร โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์/สินค้า กศน. ผ่านการไลฟ์สด ทางเฟซบุ๊กไลฟ์ ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (ETV) ณ ศูนย์การเรียนรู้วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต กทม. โอ่งผ้าไหมลายไทย เขตราชเทวี เป็นพื้นที่ที่ได้รับการการันตีได้ถึงความงดงามของผ้าไหมทอมือที่ชุมชนบ้านครัว ซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆ ของชาวมุสลิม อยู่ริมคลองแสนแสบ ผ้าไหมทอมือของชาวบ้านครัว มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ทันสมัย และแปลกตา ภายใต้ยี่ห้อ “จิมทอมป์สัน” ทำให้คนทั่วไปยอมรับถึงความงดงามของผ้าไหมเขตราชเทวี โอ่งผ้าไหมลายไทย เป็นฝีมือของนักศึกษา กศน.เขตราชเทวี ที่ได้เล็งเห็นความงดงามของผ้าไหมบ้านครัว นักศึกษาจึงได้คิดและประดิษฐ์โอ่งผ้าไหมลายไทยขึ้นในรูปแบบของโครงงานเพื่อนำเสนอคณะครู กศน. เขตราชเทวี และได้รับรางวัลโ
สำนักงาน กศน. เป็นหน่วยงานที่มุ่งสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นภาพรวมของการศึกษาตลอดชีวิตแล้ว ยังมุ่งส่งเสริมฝึกทักษะด้านการพัฒนาอาชีพ ให้ประชาชนในชุมชนทั่วประเทศ ภายใต้โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เพื่อให้แต่ละชุมชนผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนนั้นๆ เป็นรายได้เสริม หรืออาจจะเป็นรายได้หลักของครอบครัวในอนาคต เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่แหล่งเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ตามวิถีพ่อ วิถีพอเพียง สำนักงาน กศน.อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและสร้างช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์/สินค้า กศน.พรีเมี่ยม ผ่านช่องทางออนไลน์ “Signature Market By ชุมชน กศน.” สานต่อภูมิปัญญาล้ำค่าจากท้องถิ่นไปสู่ตลาดโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน เติมเต็มความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสู่ชุมชน ปัจจุบัน สำนักงาน กศน.จังหวัดปทุมธานี ภายใต้การนำของ นางวิบูลผล พร้อมมูล ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดปทุมธานี ได้เดินหน้าส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย และผลิตภัณฑ์สินค้าจากการฝึกอ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พัฒนานวัตกรรม ศึกษาวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีการใช้พืชสมุนไพรไทยในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชน “กัญชาและกัญชง” จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีทั้งโทษและประโยชน์ ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ภายใต้การกำกับของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม พบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการนำกัญชาและกัญชงมาใช้ประโยชน์ จากนโยบายดังกล่าว นำไปสู่การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อนำความรู้ “กัญชาและกัญชง” ไปใช้จัดการเรียนการสอน ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ กระทรวงสาธารณสุข โดยมี ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนดำเนินการพัฒนาคุณภาพวิชาการ การวิจัย การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน “กัญชาและกัญชง” ให้กับนักศึกษาและประชาชน ทั้งนี้ สำนักงาน กศน. มอบหมายให้สำนักงาน กศน.กทม. ร่วมกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ จัดทำหลักสูตรรายวิ
เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเวทีนำเสนอนโยบาย “คลังปัญญาผู้สูงอายุ เพื่อรวมพลังภาคีและสร้างชุมชนสุขภาวะ” โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบคลังปัญญาผู้สูงอายุ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการความรู้ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการสื่อสาร เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา เพื่อขับเคลื่อนสู่สังคมสุขภาวะ การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ใช้นโยบาย กศน. Wow ด้านที่ 4 คือ การเสริมสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่าย Good Partnership ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (มสพช.) การทำงานร่วมกันในครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักคือ นำเอาศักยภาพของบุคลากรและจุดแข็งของแต่ละหน่วยงานมาร่วมกัน จะดำเนินการร่วมกับเครือข่ายโรงเรียน ชุมชน ผู้สูงอายุ และศูนย์เรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อสนับสนุนให้ศูนย์เรียนรู