องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ)
องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย จัดพิธีปิดโครงการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบน้ำและน้ำเสีย (WaCCliM) ประเทศไทย โดยโครงการฯ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนน้ำและน้ำเสียให้แก่พื้นที่นำร่อง 4 พื้นที่ของประเทศ ขณะที่ทั่วโลกกำลังวิตกกังวลกับการควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิโลกให้ได้ 1.5 องศาเซลเซียส ทุกภาคส่วนได้เริ่มวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ระบุว่าการบำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาลคิดเป็นร้อยละ 47.5 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนของเสียในประเทศไทย หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งประเทศ จากแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยปีพ.ศ. 2564-2573 ได้กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากภาคการจัดการน้ำเสียไว้ที่ 700,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปีพ.ศ. 2573 โครงการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบน้ำและน้ำเสีย หรือโครงการ WaCCliM ภายใต้แผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) ได้รับการสนับสนุนงบปร
การพัฒนาของโลกในมิติต่างๆ บางครั้งทำให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เกิดการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ เสื่อมโทรม เกิดมหาอุทกภัย ภาวะโลกร้อนและการปล่อยก๊าชเรือนกระจก การผลิตข้าว ในบางกรณี ก็ทำให้เกิดสิ่งที่แนะนำมา เมื่อเร็วๆ นี้ คุณฤทธิสรรค์ เทพพิทักษ์ นายอำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้เป็นประธานเปิดงานโครงการ “ข้าวยั่งยืน” ตามโครงการตลาดนำการผลิต เพื่อเกษตรกรรายย่อย (Market Oriented Small holder Value Chain : MSVC) และมีการลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกลุ่มเกษตรกรข้าวยั่งยืน กับบริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด มีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) เป็นสักขีพยาน ณ ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โครงการตลาดนำการผลิต เพื่อเกษตรกรรายย่อย เป็นโครงการความร่วมมือขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) ร่วมกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด สาเหตุที่มีโครงการนี้ขึ้นมานั้น…เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ เกษตรกรหรือชาวนามีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้บริโภคปลอดภัย สิ่งแวดล้อมไม่เสื่อ