อุทกภัย
มวลน้ำเขื่อน แก่งกระจาน ไหลท่วมเมืองเพชร ระดมเสริมคันกั้นน้ำ เพิ่มเครื่องสูบน้ำ ผลักดันน้ำ สกัดกั้นไม่ให้เข้าเขตเมือง ระวังอีก 2-3 วัน น้ำจากเทือกเขาตะนาวศรีสมทบ ขณะที่ “จิสด้า” ชี้อีก 7 วัน น้ำทะเลหนุนซ้ำ กระหน่ำเพชรฯ อีกระลอก แก่งกระจาน / “บิ๊กตู่”ไปตรวจน้ำเพชรบุรี เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วม โดยเฉพาะที่ จ.เพชรบุรี น้ำจากเขื่อนแก่งกระจานล้นและต้องเร่งระบายออกจนท่วมพื้นที่ท้ายเขื่อนว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกฯ ลงไปดูในพื้นที่ จากนั้นตนจะลงไปดู คาดว่ายังรับมือได้ แต่ไม่อยากบอกว่าต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือ 150 เปอร์เซ็นต์ เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ จากการตรวจสอบเขื่อนพบยังแข็งแรงอยู่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะลงพื้นที่ จ.เพชรบุรี วันที่ 8 ส.ค. เพื่อติดตามสถานการณ์ และรับสรุปการบริหารจัดการน้ำ พร้อมเยี่ยมเยียนประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หลังจากติดตามสถานการณ์น้ำ จ.เพชรบุรีแล้ว นายกฯ วางแผนจะลงพื้นที่ จ.นครพนม จ.มุกดาหาร และ จ.บึงกาฬ เพราะน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนเริ่มได้รับผลกระทบ เสริมคันกั้น-ระด
ไต้ฝุ่นมาอีกลูก – เมื่อ 28 ก.ค. เอ็นเอชเค รายงานว่า สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของญี่ปุ่นแจ้งว่า “ไต้ฝุ่นชงดารี” เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด 144 ก.ม.ต่อช.ม. เคลื่อนตัวสู่หมู่เกาะโองาซาวาระ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น และจะมุ่งหน้าต่อไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับหมู่เกาะโองาซาวาระ อยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางทิศใต้ราว 1,000 ก.ม. ทางการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังพายุ เพราะคาดว่า อิทธิพลของพายุจะก่อให้เกิดฝนตกหนัก คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนอย่างน้อย 30 ม.ม.ต่อช.ม. นอกจากนี้ยังมีลมกระโชกแรง น้ำท่วมฉับพลัน คลื่นทะเลสูงและดินโคลนถล่ม ญี่ปุ่นเพิ่งประสบภัยฝนตกหนัก น้ำท่วมสูง และดินโคลนถล่มในหลายจังหวัดแถบภาคตะวันตก และภาคกลาง จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 225 ราย และอีก 13 คนยังคงสูญหาย เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ก่อนเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง และมีอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกิน 41 องศาเซลเซียสเมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะมีผู้เสียชีวิตกว่า 80 ราย อ่านข่าว : ญี่ปุ่นอ่วมร้อนมรณะ สังเวยพุ่ง 80 ศพ ป่วยกว่า 3 หมื่นคน (มีคลิป) โตเกียวร้อนปรอทแตก ดับแล้ว 40 ชีวิต ชี้ระอุยาวถึงเดือนสิงหาคม ตาย157ศพ หายน
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับมอบเงินเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โครงการ “ประชารัฐรวมใจ ใต้ร่มพระบารมี” โดยมี ดร.ถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเบทาโกร (ซ้ายสุด) ร่วมมอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท สมทบกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและองค์กรต่างๆ ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเร็วๆ นี้
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งด้านการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าและการออกตรวจสอบภาวะราคาสินค้า เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาหรือกักตุนสินค้า ยังได้สั่งให้หัวหน้า ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะพาณิชย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Mini MOC) ติดตามกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป เพื่อหาทางช่วยเหลือและฟื้นฟูการประกอบอาชีพ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมี 14 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น ศรีสะเกษ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และหนองคาย ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และพิจิตร ส่วนภาคกลางมี ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา ประชาชนได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้กว่า 119,000 ครัวเรือน จังหวัดที่ครัวเรือนได้รับผลกระทบมาก คือ จังหวัดสกลนคร ขอนแก่น และร้อยเอ็ด พื้นที่การเกษตรเสียหายประมาณ 1.34 ล้านไร่ จังหวัดที่พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายมากที่สุด ได้แก่ พิจิตร มหาสารคาม และสกลนคร สำหรับจังหวัดได้จัดตั้งตลาดขึ้นชั่วคราวบริเวณน้ำท่วม จำหน่าย
วันที่ 25 มกราคม 2560 นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่าเหตุจากอุทกภัยในจ.สงขลา ส่งผลกระทบให้พื้นที่การเกษตรเสียหายมากกว่า 200,000 ไร่ มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 8,891 ครัวเรือน 9 อำเภอ อ.ระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ สิงหนคร เมืองสงขลา ควนเนียง สะบ้าย้อย สะเดา และอ.นาหม่อม โดยเฉพาะ 4 อำเภอในโซนพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้พืชเศรษฐกิจได้รับความเสียหาย นายทรงพลเปิดเผยว่า จ.สงขลาได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรอย่างเร่งด่วน โดยอนุมัติวงเงิน 1,095,940 บาท ภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นช่วยเหลือเกษตรผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยได้แก่ เกษตรกรปลูกข้าวโพดหวาน 200 ไร่ รายละไม่เกิน 2 ไร่ เกษตรกรปลูกแตงโม 100 ไร่ รายละไม่เกิน 2 ไร่ เกษตรกรปลูกฟักทอง 100 ไร่ รายละไม่เกิน 2 ไร่ เกษตรกรปลูกถั่วเขียว 230 ไร่ รายละไม่เกิน 5 ไร่ จะเร่งดำเนินการภายหลังน้ำลด
จากสถานการณ์เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ช่วงปีใหม่ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2559 – 2 ม.ค.2560 ทำให้ในพื้นที่จังหวัดยะลา บริเวณที่ลุ่มแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย และน้ำท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลา 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.รามัน และ อ.บันนังสตา วันนี้ 2 ม.ค. นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา พร้อมด้วยนายเจษฎา จิตรัตน์ ปลัดจังหวัดยะลา นายกาส เส็นโต๊ะเย็บ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ได้ลงพื้นที่ อ.รามัน ที่บ้านสะโต ต.อาซ่อง ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับแม่น้ำสายบุรี น้ำได้เอ่อล้นตลิ่ง ไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนของชาวบ้านเป็นวงกว้าง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน จำนวนกว่า 200 ครัวเรือน ระดับน้ำที่เอ่อท่วม 1.15 เมตร ชาวบ้าน ต้องอพยพสัตว์เลี้ยง มาอยู่บนถนนภายในหมู่บ้าน ขณะที่การเดินทางเข้าไปในบ้านชาวบ้านต้องใช้เรือ โดยผู้ว่าได้มีการมอบถุงยังชีพช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยมอบให้กับชาวบ้านหมู่ที่ 5บ้านสะโต จำนวน 75 ถุง และมอบให้กับชาวบ้านหมู่ที
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เห็นชอบในหลักการมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2559/60 โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 งบกลาง กรอบวงเงิน 2,055.72 ล้านบาท ภายใต้ 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1. มาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2559/60 กรณีได้รับผลกระทบ 2. มาตรการพักชำระหนี้และขยายเวลาการรับชำระหนี้แก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2559/60 และ 3. มาตรการฟื้นฟูอาชีพสนับสนุนปัจจัยการผลิตและองค์ความรู้เพื่อการปรับตัวต่อภัยพิบัติ นั้น เบื้องต้นกรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามมาตรการแรก คือ แนวทางการดำเนินงานตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี 2559/60 กรณีได้รับผลกระทบ ซึ่งได้กำหนดคุณสมบัติเกษตรกรไว้โดยจะต้องเป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ตามประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2559 – 28 กุมภาพันธ์ 2560 และได้ขึ้นทะเบียนประกอบกิจกรรมเกษตรในช่วงที่ผ่านมากับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้ได้รับการช่วยเหลือเพียง 1 ด้าน และเ