เด็กเกษตร
วันเด็กปีนี้เทคโนโลยีชาวบ้านไม่ขอพลาดเรื่องราวดีๆ ของเยาวชนเกษตร ที่ใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการหารายได้เสริมจากการทำเกษตร และเสริมทักษะการประกอบอาชีพ บอกเลยว่าเด็กๆ แต่ละคนมีฝีมือการทำเกษตรที่ไม่ธรรมดา บางคนปลูกต้นไม้ขายได้ต้นละครึ่งล้านเลยทีเดียว 1.น้องจรณ์ หนุ่มน้อยลูกครึ่งหัวใจเกษตร น้องจรณ์ หนุ่มน้อยลูกครึ่งไทยอเมริกัน ที่จะพาทุกคนมาปลูกผัก แบบวิถีชาวบ้านไปพร้อมๆ กัน ติดตามการปลูกผักสไตล์น้องจรณ์กันได้เลยว่า จะมีเทคนิค-เคล็ดลับ อะไรมาฝากกันบ้าง รับรองได้ว่าทุกท่านจะได้ทั้งความรู้ รอยยิ้ม และความสุขสนุกสนานเป็นของแถมจากคลิปนี้แน่นอน! ดูคลิปน้องจรณ์สอนปลูกผัก https://www.technologychaoban.com/highlight-clip/article_220771 2.น้องอร สาวน้อยมือฉมัง เพาะเลี้ยง “ออดิบจันทร์ฉาย” ขายได้ต้นละ 555,555 บาท หากย้อนไปเมื่อประมาณ 2-3 ปีมาแล้ว กระแสของไม้ด่างมาแรงมากๆ สร้างรายได้ให้ใครหลายคนเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งน้องอร-เด็กหญิงวริศรา มีเถื่อน สาวน้อยมือฉมัง ก็เป็นหนึ่งในผู้เพาะเลี้ยง “ออดิบจันทร์ฉาย” ขายได้ต้นละ 555,555 บาทเลยทีเดียว อ่านเพิ่มเติม https://www.technologychaoban.com/bullet-news-t
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เด็กนักเรียนคนหนึ่ง จะแบ่งเวลามาทำเกษตร เพื่อให้มีรายได้นำมาจุนเจือครอบครัว และยังต้องทำหน้าที่นักเรียนที่ดี เพื่อให้ได้ศึกษาต่อยังสาขาวิชาที่ต้องการ ก่อนจบออกมาทำงานที่รัก แต่ นายกฤตเมธ โกดี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ก็ทำได้ นายกฤตเมธ หรือ น้องฟิวส์ มีแววเป็นเด็กรักเกษตรมาตั้งแต่เล็ก เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาก็สนใจการปลูกพืชผัก เมื่อขึ้นระดับชั้นมัธยมศึกษาก็เริ่มหาเลี้ยงสัตว์และเพาะพันธุ์สัตว์ที่จับต้องได้ เพื่อขาย สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ครอบครัวของน้องฟิวส์ มีฐานะยากจน พ่อและแม่เป็นข้าราชการ แต่ก็มีหนี้สินจำนวนมาก ทำให้น้องฟิวส์ ไม่ได้รับการโอบอุ้มดูแลที่ดีนัก อุปกรณ์การเรียน หรือการสนับสนุนส่งเสริมการเรียนที่นอกเหนือจากโรงเรียนจัดการศึกษาให้จึงไม่มีเหมือนเด็กอื่น ทำให้น้องฟิวส์มองภาพการดำเนินชีวิตของตนในอนาคตเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงมองหาหนทางช่วยเหลือครอบครัวด้วยการสร้างรายได้ น้องฟิวส์ เริ่มสร้างรายได้ให้กับตนเอง ไม่ให้เป็นภาระของครอบครัว ด้วยการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามจำหน่าย ปลูกพืชผักไว้รับประทานเองภายในบ้าน ลดค่าใ
แม้วิกฤตโควิด-19 จะยังคงอยู่คู่ขนานไปกับการดำรงชีวิตของคนทุกที่ แต่สถานที่หนึ่งซึ่งจะขาดตอน ไม่มีความเคลื่อนไหวคงไม่ได้ คือ สถานศึกษา เพราะการศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมให้กับเยาวชน ให้ได้รับไว้เป็นรากฐานของการดำรงชีวิตในทุกช่วงอายุ จังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ ครูและนักเรียนจำเป็นต้องสื่อสารการเรียนการสอนทางออนไลน์ เป็นความโชคดีที่โรงเรียนทัพราชวิทยา ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย ทั้งยังมีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพิ่มเข้ามาเป็นสายอาชีพให้กับนักเรียน เห็นได้ว่านักเรียนเกือบทั้งหมดอยู่ในวัยที่รับผิดชอบการเรียนด้วยตนเองได้ การเรียนการสอนออนไลน์ในวิชาในเชิงวิชาการ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีระบบ ส่วนการเรียนการสอนในวิชากิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ เช่น การงานพื้นฐานอาชีพ หรือวิชาเศรษฐกิจพอเพียง มีนักเรียนจำนวนหนึ่งเท่านั้น ที่สามารถปฏิบัติจริง ครูสุวรรณี สุโทษา ครูสอนเกษตร ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ข้อมูลว่า โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมดประมาณ 800 คน เด็กนักเรียนทุกคนได้ลงสัมผัสกับกิจกรรมเกษตรทุกกิจก
โรงเรียนชุมชนทมป่าข่า หมู่ที่ 2 ตำบลทมนางาม อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 เปิดการเรียนการสอนระดับอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา เกือบ 300 คน และบุคลากรครู เกือบ 20 คน การดำเนินงานของยุวเกษตรกรโรงเรียนชุมชนทมป่าข่า เริ่มจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุดรธานี ประสานงานกับโรงเรียนให้จัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนขึ้น และให้มีการดำเนินงานตามกระบวนการของยุวเกษตรกร ซึ่งโรงเรียนชุมชนทมป่าข่าได้มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยได้รับหนังสือรับรองการจัดตั้งสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 สมาชิก 40 ราย จากสำนักงานเกษตรอำเภอโนนสะอาด โดยมี อาจารย์พงษ์ศักดิ์ ระวิโรจน์ เป็นที่ปรึกษา โดยเริ่มทำโครงการเลี้ยงปลาดุก 2,000 ตัว กบ 2 บ่อ ปลูกผัก กิจกรรมดำเนินมาระยะหนึ่งแต่ประสบปัญหาขายไม่ได้ราคา ค่าอาหารแพง และอาจารย์ที่ปรึกษาเกษียณอายุราชการไป การสืบสานกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรจึงขาดช่วงไป เหลือเพียงการเรียนในวิชาเรียนเกษตรเท่านั้น โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเป็นชั้นเรียน ต่อมาในปี
วันนี้มีโอกาสเดินทางไปอำเภอกุสุมาลย์ โดยได้รับคำเชิญชวนจาก คุณนพรัตน์ ไชยอิ่นคำ หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป (นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ) สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร โดยมี คุณอัจฉริยา อินธิแสน ตำแหน่งนักวิชาการสหกรณ์ สังกัดกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ จังหวัดสกลนคร ร่วมเดินทางไปตรวจเยี่ยมและชมผลงานของคณะครูและนักเรียน บ้านกุงศรี และบ้านนาเพียงเก่า ตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ในเรื่องการจัดทำสหกรณ์นักเรียน และการเกษตรในโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนทั้งสองแห่งมีกิจกรรมที่ถือว่าประสบผลสำเร็จ ในด้านสหกรณ์ เดินทางด้วยรถยนต์ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร มี คุณกรวิภา คงอิ่ม สหกรณ์จังหวัดสกลนคร ได้มอบหมายให้ คุณอัจฉริยา อินธิแสน ตำแหน่งนักวิชาการสหกรณ์ สังกัดกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ จังหวัดสกลนคร เป็นผู้พาคณะเดินทางลงพื้นที่ เช้าตรู่นัดแนะกันที่ หน้าสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร รถพร้อมคนพร้อมมุ่งหน้าไปตามถนนสายสกลนคร-นครพนม ผ่านตัวเมือง เลี้ยวขวา เข้าสู่เส้นทางสกลนคร-นครพนม ถึงบ้านท่าแร่ ดินแดนที่โด่งดังหากเอ่ยชื่อแล้วน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก บ้านท่าแร่ที่กำลังจะกลายเป็นตำนานไปแล้ว แต่เดิมเ
เกือบครบ 10 ทศวรรษ ของการก่อตั้งโรงเรียนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่กลางทุ่ง ในพื้นที่ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี และถึงปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นโรงเรียนเล็กๆ อยู่เช่นเดิม เพราะมีการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย และ ระดับประถมศึกษาเท่านั้น อาจารย์วนิดา พิพัฒน์วัฒนะกุล ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดอมฤตวารี ผู้ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการเรียนการสอนทั้งหมดของโรงเรียน พานักเรียนจำนวนหลายสิบคนให้การต้อนรับ พร้อมกับน้ำกระเจี๊ยบ ฝีมือนักเรียน จากวิชาเรียนการงานพื้นฐานอาชีพ มาเสิร์ฟคลายร้อน นักเรียนทั้งหมดของโรงเรียน มีทั้งสิ้น 231 คน มีบุคลากรทางการศึกษา 18 คน เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่โรงเรียนที่มีอยู่ไม่มากนัก กับ จำนวนนักเรียนและบุคลากร ก็ถือว่าเหมาะสม ซึ่งพื้นที่โดยรอบถูกบริหารจัดการเป็นอาคารเรียนส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นอาคารอเนกประสงค์ โรงอาหาร และมีสนามหญ้าเล็กๆ พื้นที่ที่เหลือนอกจากนั้นเป็นพื้นปูนซีเมนต์ แต่ถึงอย่างนั้นโรงเรียนก็ยังให้ความสำคัญกับการเกษตร ยังคงทำแปลงผักสวนครัวและปลูกไม้ผล เลี้ยงปลา ไว้ในพื้นที่ส่วนหนึ่ง อาจารย์วนิดา บอกว่า โรงเรียนก่อตั้งมานาน บุคลากรไม่มาก และไม่มีค
มุมหนึ่งของประเทศไทย ในแถบพื้นที่ภาคอีสาน โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ ตำบลตานี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นโรงเรียนหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการเกษตร โดยมีเป้าหมายที่การจัดการด้านอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนอย่างถูกสุขลักษณะ โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ อยู่ในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการจัดการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 12 พื้นที่นำร่องและลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการขับเคลื่อนสนับสนุนระบบการจัดการอาหารในโรงเรียนและชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ระหว่าง คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้นำชุมชน อย่างที่กล่าวข้างต้น เมื่อโรงเรียนให้ความสำคัญกับโภชนาการของนักเรียน จึงเห็นได้ว่าที่ผ่านมา โรงเรียนได้มีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง เพื่อการจัดการอาหารในโรงเรียนสำหรับเด็กนักเรียน ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 235 คน โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของคณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง ช่วยกันจัดหาและผลิตวัตถุดิบ พืช ผัก ผลไม้ นำมาทำอาหารให้เด็กๆ ได้รับประทานอย่างถูกต
แม้จะเป็นโรงเรียนในสังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภายใต้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน แต่ก็สร้างสถิติของการสอนได้อย่างมีคุณภาพ เทียบเท่าและไม่แตกต่างจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในระดับโรงเรียนสังกัดเดียวกัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งสบายใจ หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จัดว่าเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพด้านวิชาการอันดับต้นของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาทั้งหมด 4 โรง บุคลากรครู 6 คน เด็กนักเรียน 135 คน มีการเรียนการสอนในระดับอนุบาล และประถมศึกษา ร.ต.ท. ประพันธ์ รัตนอุดม ครูใหญ่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งสบายใจ เล่าให้ฟังว่า โรงเรียนมีเด็กนักเรียนจากหมู่บ้าน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 รัศมีการเดินทางจากบ้านมาโรงเรียน ในระยะ 5-6 กิโลเมตร ในทุกวันเด็กนักเรียนจะมาถึงโรงเรียนก่อนเวลา 07.00 น. เพื่อรับประทานอาหารเช้าร่วมกันในเวลา 07.00 น. โดยโรงเรียนจัดหาไว้ให้ รวมถึงมื้อกลางวันที่โรงเรียนก็จัดหาไว้ให้นักเรียนด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะได้รับงบประมาณสำหรับอาหารกลางวันจากภาครัฐ แต่โรงเรียนเห
โรงเรียนวัดท่าชัย ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ก่อตั้งมาภายใต้การอุปการะของวัดท่าชัย เริ่มต้นจากการสอนบนหอฉัน ภายในวัดท่าชัย มี ครูทา จิตหนัก เป็นครูใหญ่คนแรก และเป็นครูคนเดียว นอกเหนือจากนั้นนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาช่วยสอน ทำให้วัน เดือน ที่ก่อตั้งไม่ปรากฏแน่ชัด มีเพียงปี พ.ศ. ที่ระบุไว้ว่าก่อตั้งเป็นโรงเรียนประชาบาล ต่อมา พ.ศ. 2475 ชาวบ้านกับเจ้าอาวาสร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น 1 หลัง เป็นอาคารไม้ ใต้ถุนสูง มี 3 ห้องเรียน รับนักเรียนได้ประมาณ 90 คน น่าเสียดาย หลังจากนั้นไม่ถึง 10 ปี โรงเรียนก็ต้องรื้ออาคารเรียนออกทั้งหมด เพราะแม่น้ำนครนายกเปลี่ยนทิศทางเดินกระแสน้ำ ทำให้พัดกัดเซาะตลิ่งพังใกล้เข้ามากับอาคารเรียน จึงจำเป็นต้องรื้อย้ายอาคารเรียนออกมาปลูกสร้างฝั่งตรงข้ามกับวัดท่าชัย โดยมีชาวบ้านมอบที่ดินให้ จำนวน 3 ไร่ เพื่อปลูกสร้างอาคารเรียน ถึงปัจจุบันมีอาคารเรียน 2 หลัง ยกพื้นสูง อาคารอเนกประสงค์ ศาลาใช้สอย และอื่นๆ ตามแต่ที่โรงเรียนควรจะมี แม้ว่าพื้นที่จะมีไม่มากนัก แต่ที่น้อยกว่าพื้นที่ และสัดส่วนไม่พอดีกัน คือ จำนวนครูและนักเรียน บุคลากรครูที่สอนได้มีเพียง 4 ท่าน ส่วนนั
อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นอำเภอหนึ่งที่อดีตเป็นเมืองหน้าด่านของดินแดนในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า อำเภอจันทึก เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าดงทึบ มีไข้ป่าชุกชุม ไม่สะดวกต่อการติดต่อเมืองหลวง จึงเปลี่ยนมาเป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า ด่านจันทึก ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสีคิ้ว จากการเรียกชื่อในอดีต แสดงให้เห็นถึงความแห้งแล้งและห่างไกลความเจริญ แม้ว่าปัจจุบันความเจริญจะเข้าถึงเกือบทุกส่วนแล้วก็ตาม แต่ในบางพื้นที่ก็ยังประสบกับภาวะแล้งแห้งอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น โรงเรียนบ้านวังโรงใหญ่สามัคคี หมู่ที่ 7 ตำบลวังโรงใหญ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แม้จะเป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีการเรียนการสอนให้กับเด็กนักเรียนตั้งแต่อนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 252 คน มีบุคลากรทางการศึกษา รวมนักการภารโรง และผู้อำนวยการ ทั้งสิ้น 18 คน ทั้งยังมีพื้นที่ของโรงเรียนเองทั้งหมด 26 ไร่ 1 งาน 69 ตารางวา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่มาก แต่เมื่อโรงเรียนจะนำมาจัดสรรเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานให้กับเด็กนักเรียน ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง แ