เทคโนโลยี
GeoAg หรือ จีโอแอ็ค เป็นแอปพลิชันที่วิเคราะห์ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ และจัดเก็บข้อมูลเชิงแผนที่ด้วยใช้เทคโนโลยี GIS ที่ถูกพัฒนาและให้บริการโดยบริษัท Esri Thailand ผู้เชี่ยวชาญด้าน Location Intelligence จุดเด่นของแอปพลิเคชัน GeoAg คือ การวิเคราะห์และคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นผ่านการประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ตั้งแต่ผลผลิตไปจนถึงการคาดเดาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถวางแผนการจัดการผลผลิตได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ GeoAg ยังเสริมการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เปิดให้บริการโดย Esri Thailand อีกด้วย วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาดูความสามารถของ GeoAg ที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือให้ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมีประสิทธิภาพและความแม่นยำมากยิ่งขึ้น GeoAg เป็นการบูรณาการระหว่างข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อมูลที่สามารถคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวนี้เองที่จะเข้ามาทำให้ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรนั้นมีความแม่นยำในการคาดเดาการผลิตและการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีพิธีบันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือ ด้าน Research and Lifelong Learning on Aluminum Wheel Manufacturing Technology ระหว่าง ผศ. ดร.มณฑิรา นพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและภาคีความร่วมมือ มจธ. กับ Zheng Jin Song, General Manager บริษัท นิว ไทย วีล เมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (New Thai Wheel Manufacturing Co.,Ltd.: NTW) โดยมีนายวิรัตน์ ธัชศฤงคารสกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) , Zang Li Gen, Chairman of The Group Management Committee, Lizhong Group และ รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. ร่วมเป็นสักขีพยาน ความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนต่ำเพื่อสังคมที่ยั่งยืน โดย NTW จะบริจาคอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ มูลค่ากว่า 6 ล้านบาทให้กับ มจธ. เพื่อใช้ในงานวิจัย 5 โครงการหลักและหัวข้องานวิจัยอื่นๆ ที่ตกลงกัน ซึ่งตรงกับหนึ่งในความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ มจธ. ในการออกแบบอะลูมิเนียมผสมชนิดใหม่ รวมถึงปรับปรุงกระบวนการผลิตอะลู
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้รับพิจารณาคัดเลือกให้เป็นโครงการระดับพลอย ภายใต้โครงการ THE NEXT GEN คนอาสา พัฒนาสงขลาสู่มรดกโลก ได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณ 30,000 บาท จากคณะอนุกรรมการดำเนินโครงการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย “เด็กไทยต้นแบบ” สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงมกราคม 2565 และได้กำหนดจัดกิจกรรม “THE NEXT GEN FINAL” ขึ้น โดยมี ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ เป็นประธานในโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม เพื่อส่งมอบพื้นที่กิจกรรมให้กับตัวแทนชุมชนตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และเพื่อมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรตินักศึกษาที่ร่วมดำเนินงาน ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าว มีการส่งมอบป้ายดำเนินงานให้ตัวแทนชุมชน มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติให้กับตัวแทนนักศึกษา และมอบเกียรติบัตรขอบคุณผู้สนับสนุนการดำเนินงานนี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการศึกษา รวมถึงการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ และพร้อมที่จะส่งเสริมใ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ช่วยแก้ปัญหาการว่างงานจากสถานการณ์โควิด-19 เปิดรับสมัครบัณฑิตอาสาจำนวน 70 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 23 เมษายน 2563 ระบุผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินเดือน 9,000 บาทต่อราย ในระยะเวลา 6 เดือน เริ่มปฏิบัติงานวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. ได้รับมอบหมายจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำเนินโครงการจ้างงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโครานา 2019 (โควิด-19)” ตามมติ ครม. (เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563) เพื่อร่วมพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ แก้ปัญหาการว่างงานของประเทศ โดย วว. เปิดรับสมัครบัณฑิตอาสาจำนวน 70 อัตรา ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจในการพัฒนาทักษะใหม่และได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 เป็นบัณฑิตจบใหม่ระดับปริญญาตรี ไม่เกิน 5 ปี ทางด้านเทคนิค วิศวกรรม การบริหารการจัดการ การวางแผนการผลิต การตลาด การเกษตร และวิทยาศาสต
เทศกาล “เจียไต๋ แฟร์ 2018 FARMNIVAL…ฟาร์มนี้ ว้าว!” ที่จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2561-13 มกราคม 2562 ณ ชนม์เจริญฟาร์ม ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งกิจกรรมงานเจียไต๋ แฟร์ ได้จัดติดต่อกันมาเป็นครั้งที่ 9 แล้ว เน้นโชว์มหัศจรรย์พันธุ์พืช-ดอกไม้ ละลานตา ที่สุดความฟินแห่งปี โดยกำหนดคอนเซ็ปต์งานแบบสนุกๆ เนรมิตฟาร์ม ผัก-ผลไม้ ให้กลายเป็นวันเดอร์แลนด์ดินแดนแสนสนุก ชวนให้ร้องว้าวๆ หลายครั้งกับความอลังการงานแสดงโชว์สายพันธุ์พืชผัก อันดับ 1 ของประเทศไทย ดอกไม้นานาพรรณที่มาอวดความงามพร้อมๆ กัน โซนกิจกรรมเขาวงกตข้าวโพดนานาสายพันธุ์ มีหอคอยข้าวโพดที่สามารถเห็นทัศนียภาพจากมุมสูงของงาน เมื่อลงมายังจะได้รับประทาน “ข้าวโพดฮอกไกโด” ข้าวโพดหวานอร่อย ที่รับประทานสดได้อย่างปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ รวมไปถึงข้าวโพดซูพรีม ข้าวโพด 3 สี ข้าวโพดขาวหวาน ข้าวโพดหวานอัญชัน สายพันธุ์ข้าวโพดหวานม่วง 737 อีกจุดที่ต้องแวะชมคือ โรงเรือนปลูกพืชสายพันธุ์แปลก ที่มีตั้งแต่ขนาดเท่ากำปั้นไปถึงขนาดยักษ์ อาทิ ฟักทองขนาดใหญ่มหึมา ฟักทองรูปทรงประหลาด ฟักทอง Mix จานบิน ฟักทองสองสี ซูกินีสีทอง ข้าวโพดหลากสีสัน ซึ่
อดีตอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยมีมาช้านานแล้ว เกินกว่า 6 ทศวรรษ โดยคนไทยจะเลี้ยงกันกระจายไปตามหัวเมืองและในเมือง หัวเมืองที่เลี้ยงกันอยู่ในเวลานั้น คือนครปฐม ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ ในเมืองหลวง กรุงเทพมหานคร ในย่านบางแค บางเขน บางบัว ที่เลี้ยงริมถนนพหลโยธิน ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นคือ ท่านอาจารย์หลวงสุวรรณ วาจกกสิกิจ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยุคที่มีคำพังเพยออกมาฮิตที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้ว่า “กินไข่วันละฟอง ไม่ต้องไปหาหมอ” สมัยนั้นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงเป็นไก่ไข่นั้น มีตั้งแต่พันธุ์ขนสีขาว ที่เรียกว่า พันธุ์เล็กฮอร์น พันธุ์ขนสีลายเทา เรียกว่า พันธุ์ไก่บาร์พลีมัทร็อค และพันธุ์ขนสีน้ำตาล เรียกว่า ไก่พันธุ์โร้ดไอร์แลนด์เรด ฟองไข่สีน้ำตาล แต่คนไทยนิยมไข่ฟองสีขาว ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นฟองสีน้ำตาลครองตลาดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนโรงเรือน เลี้ยงในกรงตับช่องตัว ฟาร์มขนาดใหญ่มีไม่ถึงหมื่นตัว เล็กสุด 200-500 ตัว เท่านั้น มาถึงปัจจุบัน การเลี้ยงไก่ไข่กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่โต มีการเลี้ยงกันมาก ฟาร์มละเป็นล้านๆ ตัว ที่ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา และนครนายก ถึงแปดริ้
เนื่องจากครัวเรือน และองค์กรชุมชนต่าง ๆที่มีประชาชนอาศัยอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน หอพัก อพาร์ทเมนท์ ฯลฯ มีปริมาณขยะอินทรีย์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จากลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่ยึดติดต่อความสะดวกสบายของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้มีปริมาณขยะอินทรีย์เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทำให้เกิดปัญหาขยะล้นเมือง และปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางด้านทัศนียภาพ กลิ่นและแมลงพาหนะนำโรค รวมถึงปัญหาด้านการขาดแคลนพื้นที่กำจัดขยะและวิธีการจัดการที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ภาครัฐประสบปัญหาทั้งด้านปริมาณและผลพวงของมลพิษสิ่งแวดล้อมจากขยะอนทรีย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาข้างต้น จึงให้เป็นที่มาของการคิดค้นประดิษฐ์ เครื่องหมักขยะอินทรีย์ ขึ้น โดยมี ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ นักวิจัยจากฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นเจ้าของผลงาน ดร.ลักขณา กล่าวว่า การคิดค้นเครื่องหมักขยะอินทรีย์ มุ่งเน้นที่การใช้ประโยชน์ได้สะดวกและจูงใจในการทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ให้เกิดมูลค่าสูงสุด อีกทั้งยังเป็นการกำจัดขยะอินทรีย์ ณ แหล
ในปีนี้ เกษตรกรไทยและภูมิภาคเอเชียได้ตื่นตาตื่นใจอีกครั้งกับ “งานฮอร์ติ เอเชีย 2018” มุ่งนำเสนอเทคโนโลยีการปลูกพืชอัจฉริยะสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพืชทุกประเภท และ “งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2018” ที่มุ่งนำเสนอเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตร ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เจ้าภาพร่วมและพันธมิตรนานาชาติ งาน AGRITECHNICA ASIA และ Horti ASIA จัดโดย บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด และองค์กรการเกษตรแห่งเยอรมัน (DLG) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตรเป็นเจ้าภาพร่วมอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้สนับสนุนจาก กระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กระทรวงเกษตร ธรรมชาติ และคุณภาพอาหาร ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) สมาคมพืชสวนนานาชาติ (ISHS) และสมาพันธ์สมาคมเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ReCAMA) จึงทำให้การจัดงานประสบความสำเร็จอย่างงดงามในครั้งนี้ ภายในงานได้เปิดโซนใหม่ “Systems & Components Asia” โดย บริษ
นางอุมาพร สุขม่วง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) พร้อมด้วยผู้บริหาร อดีตผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ร่วมกันทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมวิทยาศาสตร์บริการ ครบรอบ 127 ปี ณ ห้องประชุมวิทยวิถี ชั้น 6 อาคาร ดร. ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมตั้งเป้ายกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย ให้มีความเข้มแข็งในการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานสากล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยนวัตกรรม และสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายสู่ตลาดโลก นางอุมาพร กล่าวว่า 127 ปี ที่ผ่านมา วศ.ได้วางรากฐานงานบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ให้กับประเทศไทย สร้างความเข้มแข็งด้านห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบ สู่มาตรฐานสากล ผ่านงานบริการต่างๆ ได้แก่ การทดสอบคุณภาพสินค้า การสอบเทียบเครื่องมือวัดระดับทุติยภูมิ การรับรองผลิตภัณฑ์ การพัฒนาและรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ การพัฒนาและการรับรองบุคลากร ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการทดสอบ และการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์นวัตกรรม การเผยแพร่องค์ค
ปัจจุบันภาพของเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการของไทย เพื่อก้าวสู่ยุค 4.0 ชัดขึ้นเรื่อย ๆ โดยกูรูและผู้ประกอบการท่องเที่ยว-บริการยุคใหม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มและโจทย์ใหญ่ที่ประเทศไทยต้องเร่งปรับตัวให้ทันกระแสโลกไว้หลากหลายแนวทาง ใช้บิ๊กดาต้าให้เป็นประโยชน์ “แรนดี้ เดอร์บัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council) บอกว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและบริการต้องคำนึงถึง คือการนำ “บิ๊กดาต้า”(big data) ซึ่งนับวันจะมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ มาใช้ทำการตลาด ยกตัวอย่างเช่น กรณีในต่างประเทศ เกาหลีใต้มีการนำข้อมูลจากการจับจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานว่าผู้คนมีการใช้สอยอะไรบ้าง แต่ละพื้นที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาติไหนบ้าง “มองว่าภายใน 5-10 ปีนับจากนี้ ทุกคนจะสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนได้มากขึ้นชนิดที่ไม่สามารถจินตนาการได้เลย รีวิวต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยวจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้หากประเทศไทยสามารถพัฒนาระบบการชำระเงินได้สะดวกสบายและรวดเร็วก็จะยิ่งเอื้อต่อการจับจ่