เทคโนโลยีการเกษตร
นางสาวศิริพร จูประจักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 ราชบุรี (สศท.10) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวแหล่งใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศ เกษตรกรในชุมชนมีอาชีพทำสวนมะพร้าว และแปรรูปมะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ มะพร้าวนับเป็นสินค้าทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) ประกอบกับจังหวัดเร่งดำเนินการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน รวมถึงรักษามาตรฐานของสินค้าและภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเตรียมผลักดันมะพร้าวพันธุ์ “นกคุ่ม” ซึ่งเป็นมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอทับสะแก เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และคาดว่าจะได้ขึ้นทะเบียน GI ในปี 2567 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก อยู่ระหว่างดำเนินการรวมกลุ่ม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และรวบรวมข้อมูลพื้นที่และเกษตรกรในการขอรับความคุ้มครอง จากการลงพื้นที่ของ สศท.10 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตมะพร้าวพันธุ์นกคุ่ม ในพื้นที่อำเภอทับสะแก พบว่า เกษตรกร ให้ความสนใจเพาะปลูกมากขึ้น เนื่องจากต้องการอนุรักษ์พันธุ์พื้นเมืองของอำเภอทับสะแกเพราะเป็นที่
บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เดินหน้าขยาย “ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ โดยผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า” เปิดแห่งแรกใน จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้ชื่อ ณ นา ฟาร์ม สนับสนุนผู้แทนจำหน่าย คูโบต้า มหาสารคาม ยก “คูโบต้า ฟาร์ม” ต้นแบบ มาเนรมิตเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ในระดับจังหวัด เพื่อนำองค์ความรู้ และโซลูชั่น พร้อมเทคโนโลยีการเกษตร สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนมีรายได้ที่ยั่งยืน ชูจุดเด่นด้วย 6 โซน ตั้งเป้าขยายฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ให้ครบ 40 แห่งทั่วประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า หลังจากสยามคูโบต้าได้เปิดคูโบต้า ฟาร์มอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อเป็น Innovative Farming Experience Center ฟาร์มสร้างประสบการณ์การเกษตรสมัยใหม่ของ คูโบต้าในภูมิภาคอาเซียน ที่ออกแบบภายใต้แนวคิด End to End Solutions จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยนำเอาองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions หรือนวัตกรรมเกษตรครบวงจร เอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้ามาประยุกต์ใช้จริง ให้เกษตรกร
สยามคูโบต้า ร่วมกับ มหาวิทยาลัยบูรพาและหอการค้าไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ มุ่งพัฒนาทักษะและนวัตกรรมด้านการเกษตรและเทคโนโลยี เพิ่มประสิทธิภาพหลักสูตรการเรียนการสอน หวังยกระดับการเกษตรของภาคตะวันออกให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า สยามคูโบต้า ในฐานะผู้นำนวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาภาคเกษตรของไทยให้มีความเข้มแข็ง ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรและประชากรอย่างยั่งยืน อีกทั้งหวังสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมและมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้อย่างเข้มแข็ง ล่าสุดได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาและหอการค้าไทยว่าด้วยการดำเนินการพัฒนาการศึกษาด้านเทคโนโลยีการเกษตร โดยภายใต้ความร่วมมือฉบับนี้สยามคูโบต้าพร้อมสนับสนุนองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเกษตร ความรู้ด้านเครื่องจักรกลการเกษตร และนวัตกรรมด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร อาทิ การปลูกพืชมูลค่าสู
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แนะนำผลงานเทคโนโลยีพร้อมใช้ ช่วยเพิ่มมูลค่า “มังคุด” มุ่งแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรล้นตลาดและปัญหาส่งออกมังคุดจากผลกระทบสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ระบุพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคมและเชิงพาณิชย์ เพื่อความเข้มแข็ง มั่นคงของเศรษฐกิจประเทศ ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ปัญหาผลิตผลการเกษตรล้นตลาดในฤดูกาลที่มีผลผลิตออกมามากในระยะเวลาเดียวกัน ส่งผลให้มีราคาตกต่ำ รวมทั้งผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ที่ไม่สามารถส่งออกผลผลิตไปยังต่างประเทศได้ อันเป็นปัญหาที่ประเทศไทยประสบในปัจจุบัน โดย “มังคุด” เป็นผลผลิตการเกษตรที่มีบทบาททางเศรษฐกิจในระดับแถวหน้าของประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว วว. จึงนำเทคโนโลยีพร้อมใช้เข้ามาช่วยในการตอบสนองความต้องการ ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการ OTOP SMEs Startup ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีความพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีในรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชิง
วันที่ 29 กันยายน 2564 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวคุณภาพภายใต้โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด โดยมี นายณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ รองอธิบดีกรมการข้าว และคณะเข้าร่วมงาน ณ ที่ว่าการอำเภอแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น นายประภัตร โพธสุธน กล่าวว่า โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นการดำเนินงานซึ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อย ที่อยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกันที่พร้อมจะพัฒนาการผลิตและการตลาดร่วมกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต นำไปสู่การจัดการ สินค้าเกษตรสู่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน สร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรได้อย่างมั่นคงในอนาคต ตามแผนปฏิรูปการเกษตร โดยเกษตรกรยังคงเป็นเจ้าของพื้นที่และร่วมกันดำเนินการบริหารจัดการการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุกขั้นตอน จนถึงการเชื่อมโยงตลาดกับ ภาคเอกชนแบบประชารัฐ
ทาง AGRITECHNICA ASIA ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อเกี่ยว การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรจากยุโรปมาปรับใช้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ในวันที่ 20 มกราคม 2564 เป็นงานสัมมนาฟรี โดยพูดคุยแบบดิจิทัลที่มีการดําเนินงานฟาร์มนมชั้นนํา VINAMILK – Vietnam Dairy Products Joint Stock Company นําเสนอโดย gonen harel โดยผู้สนใจต้องลงทะเบียนก่อนเข้าฟังที่ https://zoom.us/webinar/register/WN_4AaLmM-iSqqLiTPTzrJMAQ #dairyfarmers #dairycows #dairycattle #dairyproduction #silageproduction · ·
การพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีเกษตรเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้สามารถผลิต ผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกตลอดจนการแปรรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันนำมาสู่การแข่งขันในประเทศและตลาดโลก การเปิดเสรีทางการค้าทำให้เกิดการแข่งขันและเพิ่มโอกาสการประกอบอาชีพ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ต้องเร่งพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพเพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในอนาคต คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ได้จัดทำหลักสูตร วท.ม. (เทคโนโลยีการเกษตร) ขึ้น เพื่อผลิตบุคคลที่มีองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นัยวิท เฉลิมนนท์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มทร.สุวรรณภูมิ กล่าวว่า การพัฒนากำลังคนให้มีองค์ความรู้ มีความสามารถ ก้าวไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการจัดการความรู้ ทางคณะจึงได้เปิดหลักสูตร วท.ม. (เทคโนโลยีการเกษตร) เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่เกี่ยวข้อง และตระหนักถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นมหาบัณฑ
“KUBOTA Farm” ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของจังหวัดชลบุรี ที่ใครๆ ก็เดินเข้ามาชมได้ง่ายๆ เพราะที่นี่ยังเป็นฟาร์มปิด ที่อนุญาตให้เกษตรกรและผู้สนใจอาชีพเกษตร หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานพันธมิตร เข้ามาศึกษาเรียนรู้นวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ที่ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ทุ่มทุนกว่า 160 ล้านบาท ในการจัดสร้างและดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน KUBOTA Farm เนื้อที่กว่า 220 ไร่ ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด End to End Solutions ที่มีการออกแบบและติดตั้งระบบจัดการฟาร์ม ด้วย IoT (Internet of Things) มาใช้ในระบบบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ต้นเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจด้านการเกษตรได้รู้จักและทดลองใช้งานนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรอันทันสมัยของสยามคูโบต้า นายทาคาโนบุ อาซึมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ในปี 2562 ที่ผ่านมา แนวโน้มการเกษตรทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องเกษตรอัจฉริยะและเกษตรอัตโนมัติ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรทั่วโลก คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ญี
แนวโน้มเทคโนโลยีเกษตร ปี 2020 สำหรับนิตยสารฉบับส่งท้ายปี เป็นธรรมเนียมที่จะต้องมีการพูดถึงเรื่องที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า แต่ก่อนจะเล่าถึงแนวโน้มที่มีการคาดการณ์ไว้นั้น ผู้เขียนขอแจ้งข่าวให้ทราบว่า สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติด้วยเสียงเอกฉันท์ 423 ต่อ 0 เห็นชอบรายงานและข้อเสนอของ “คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมี ในภาคเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร” ยืนยันการแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชความเสี่ยงสูง 3 ชนิด (เลื่อนการแบนสารเคมี เป็น 1 มิถุนายน 2563) และเดินหน้าปรับเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนให้ได้ 100% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดภายในปี 2573 ซึ่งเป็นปีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ “กำหนดแนวทางการปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่เกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืน ได้แก่ เพิ่มและขยายพื้นที่เกษตรกรรมอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืนของประเทศไทยให้ได้ร้อยละ 100 ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งสอดคล้องกับปีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ การสร้างเครื่องมือและปฏิบัติการทางนโยบายที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย คือ การยกเลิกและจำกัดการใช้สารเ
พลิกโฉมภาคเกษตร ปั้น “โรงเรือนมะเขือเทศอัจฉริยะ” เปลี่ยนจากเกษตรแบบดั้งเดิม สู่เกษตร 4.0 แก้ปัญหายากจน มุ่งขับเคลื่อนเป็นแหล่งวิจัยงานด้านเกษตรอัจฉริยะของประเทศ พร้อมส่งเสริมการตลาดและระบบขนส่ง หวังเพิ่มมูลค่าสินค้า สู่การพัฒนา Big Data นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการสาธิตการใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะในการผลิตพืชผักในโรงเรือน ภายใต้โครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภออู่ทอง (ศพก.) วิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ที่มุ่งเน้นในการยกระดับขับเคลื่อนเทคโนโลยีการเกษตร โดยการเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ และมีเป้าหมายในการสร้าง GovTech/Big data ของกระทรวงเกษตรฯ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเพื่อยกระดับสู่ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งเน้นในการเพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60% อย่า