MOU
วันนี้ (13 มีนาคม 2568) ณ ห้องประชุมรัษฎา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สำนักงานใหญ่ – กยท. โดย นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการ กยท. ร่วมกับสมาคมการค้าส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจหกประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โดย นายชุติวัต ชัยดรุณ นายกสมาคมฯ ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านธุรกิจยางพารา เป็นตัวแทนร่วมลงนามในพิธีครั้งนี้ มุ่งขับเคลื่อนการค้ายาง ไทย-จีน สร้างโอกาสทางธุรกิจ-เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ผลักดันอุตสาหกรรมยางพาราไทยอย่างยั่งยืน นายสุขทัศน์ กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญของทั้ง 2 ประเทศในการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างไทยและจีน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาทางธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของยางพาราไทยในตลาดโลก โดยครอบคลุมการพัฒนาในหลายด้าน ทั้งการเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เพื่อการขนส่ง การจัดหาวัตถุดิบยางพาราคุณภาพและยางพาราแปรรูปขั้นต้น รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย การใช้พลังงานสะอาดเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยางชนิดพิเศษให้ตรงตามความต้องกา
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมพะยูน อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง-การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ลงนาม MOU ขจัดภัยการระบาดของปลาหมอคางดำ ร่วมกับ 5 หน่วยงานสังกัด กษ. ย้ำจุดยืนหวังคืนสมดุลระบบนิเวศ เดินหน้ารับปลาจากกรมประมงแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพคุณภาพสูง ส่งต่อปัจจัยการผลิตแก่พี่น้องเกษตรกร ช่วยเพิ่มผลผลิตยาง-ลดต้นทุนการผลิต สำหรับพิธีลงนาม MOU “ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาเพื่อขจัดภัยจากการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ระยะเร่งด่วน” ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงถึงความร่วมแรงร่วมใจของ 6 หน่วยงาน ที่มุ่งหมายที่จะขจัดปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำให้หมดไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติของไทยและบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มอบหมายให้กรมประมงเร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำให้เป็นรูปธรรมและเห็นผลชัดเจน (ระยะเร่งด่วน) สามารถควบคุมให้อยู่ในพื้นที่จำกัดไม่กลับมาเกิดการระบาดอีกและอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและประชากรสัตว์น้ำพื้นเมืองในแหล่งน้ำ ดังนั้น กรมประมงขานรับนโยบายและเร่งประสาน 6 หน่วยงานใ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจการจัดทำระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย โดยมี นายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการ สผ. และ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธานการลงนามความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ของ สผ. และ สวทช. เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม จำนวนกว่า 50 คน ซึ่งมี ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) พร้อมด้วย ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา ผู้อำนวยการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ดร.สุภาวดี อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย (TBRC) นางรังสิมา ตัณฑเลขา ผู้อำนวยการโปรแกรมอาวุโส ฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช. และทีมวิจัยร่วมในงานด้วย นายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการ สผ. ได้แสดงความมุ่งมั่นในการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานผ่านความร่วมมือภาย
(วันที่ 11 มีนาคม 2567) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมลงนาม MOU “การวิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพาราและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพในนิคมอุตสาหกรรม” โดยมี ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการ กยท. และ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการ กนอ. ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในการลงนาม ระหว่าง นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. และ รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. เพื่อผสานความร่วมมือพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจด้านยางพารา ควบคู่การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สู่การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระนคร กรุงเทพฯ ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กยท. เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร และมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราโลก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายหลักของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับภาคการเกษตร ต
ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน 2566 งานวิเทศสัมพันธ์ นำโดย ดร.ลมุล เกยุรินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี นำทีมคณะผู้บริหาร ได้แก่ รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการสำนัก จำนวน 32 ราย เดินทางเข้าร่วม การอบรมหลักสูตรด้านการบริหาร Transforming Educational Institution into I4.0 and Smart Nation Ready ณ Nanyang Polytechnic International, Singapore การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงประกอบด้วย Mr.Wee Chin Chuan, Executive Director of Oriel Group of Companies and Director of Global Sustainability Nexus, Mr.Graham Ng, SIT Project Engagement, Mr.Edward Ho, Industry 4.0 @ NYP NYP Digital, Lai Poh Hing Transformation Journey รวมถึงศึกษาดูงาน ณ บริษัทที่มีชื่อเสียงในสิงคโปร์ ประกอบด้วย MakerSpace, Marina BarrageURA Gallery, Sanwa Intec, Developing I&E Spirit of Students ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยเล็งเห็นถึงความร่วมมือที่สามารถพัฒนาร่วมกันได้ ประกอบด้วย Conduct capacity building and capability development programs; Collaborat
รองศาสตราจารย์ ดร. ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ร่วมลงนามความร่วมมือกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกี่ยวกับ “การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจังหวัด” ณ โรงแรมแมนดาริน ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร เมื่อเร็วๆ นี้
นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ แม็คโคร สาขาอุตรดิตถ์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในการเปิดรับนักศึกษาฝึกงาน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ จากประสบการณ์จริงในสายอาชีพธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ผ่านการปฏิบัติงานในสาขา เสมือนเป็นพนักงานทดลองงาน ที่พร้อมทำงานได้ทันที ซึ่งจะได้รับเบี้ยเลี้ยงในอัตราร้อยละ 70 ของค่าแรงขั้นต่ำในพื้นที่ต่อวัน สร้างรายได้ระหว่างการฝึกงาน นอกจากนี้ หากทำผลงานได้ดียังมีโอกาสได้เข้าทำงานทันทีที่จบการศึกษา สำหรับโครงการนี้ เน้นการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา เพื่อให้มีประสบการณ์จริงในการฝึกปฏิบัติงานที่แม็คโคร สาขาอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นสถานประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศ ช่วยสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับนักศึกษาในท้องถิ่น เพื่อรองรับความต้องการบุคลากรของแม็ค ซึ่งที่ผ่านมาแม็คโครรับนักศึกษาที่เคยฝึกงาน เข้าทำงานต่อไม่น้อยกว่า 70 เปอร์เซนต์ ปัจจุบัน แม็คโครมีสาขา 147 ทั่วประเทศ และยังคงเดินหน้าเปิดรับบุคลากรอย่างต
สสว. จับมือ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ลงนาม MOU ผลักดันสิทธิประโยชน์ SME เดินหน้าใช้ตรา “SME ชัวร์” หนุน SME-STATRUP สร้าง SME ECOSYSTEM พร้อมจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพ SME ณ กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขา พารากอน วันนี้ – 7 กันยายน 2565 นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า นโยบายสำคัญ ในปี 2565 ที่ สสว. เร่งดำเนินการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการ SME คือการ บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการขยายโอกาสทางการตลาด เพื่อช่วยพลิกฟื้นธุรกิจของผู้ประกอบการให้เดินหน้าต่อได้ รวมถึงสร้าง SME รายใหม่ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก และสนับสนุนการพัฒนาสินค้า SME ให้ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภค โดย สสว. เตรียมเดินหน้าในการใช้ตราสัญลักษณ์ “SME ชัวร์” ซึ่งร่วมมือกับพันธมิตรค้าปลีกรายใหญ่ ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศ ผอ. สสว. กล่าวต่อว่า กิจกรรมความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักที่จะร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็นสมาชิกของ สสว. แ
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ร่วมกับ ฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูง (MOU) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ให้มีความอยู่ดีมีสุข มีความเข็มแข็ง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy และมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และพัฒนาส่งเสริมอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2570 ผ่านกิจกรรม นิทรรศการ ศูนย์การเรียนรู้ ฯลฯ ให้เกิดประโยชน์ที่ดีต่อชุมชนและสังคม สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กำหนดจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูง ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นำโดย นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจ
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มุ่งส่งเสริมสนับสนุนทางด้านการศึกษาวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิจัย เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนในทุกมิติ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นำโดย นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย นำโดย ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจในรูปแบบเสมือนจริง (Virtual MOU Signing Ceremony) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นความร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านการศึกษาวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โดยมี นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ดร. เ