OTOP
วันนี้ (25 พ.ค. 2563) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ฉลองครบรอบคล้ายวันสถาปนา 57 ปี การดำเนินงานในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของประเทศ ที่ประสบผลสำเร็จในการเป็นหุ้นส่วนของผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ผ่านการขับเคลื่อนองค์กรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เข้าไปตอบโจทย์ สร้างโอกาสทางธุรกิจ เสริมแกร่งเศรษฐกิจประเทศเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เป็นวันครบรอบ “57 ปี” การก่อตั้ง วว. โดยภารกิจหลักการดำเนินงานขององค์กรมุ่งใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปขับเคลื่อนสนับสนุนการแก้ปัญหา สร้างโอกาสทางธุรกิจ และการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม สังคม พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีกลไกสำคัญ คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการ ทั้งในระดับ SMEs ผู้ผลิตสินค้า OTOP วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเกษตรกร ให้มีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาต่อ
ชาวบุรีรัมย์สืบสานประเพณีตีผึ้งร้อยรัง ปรับวิธีเก็บน้ำผึ้งเดือน 5 ในช่วงโควิด-19 ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงก่อนเคอร์ฟิวเพื่อให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่สูญเสียรายได้ของชุมชน พร้อมจัดเวรยามดูแลและทำงาน อาจารย์สำราญ ธุระตา อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หัวหน้าโครงการ “การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านอัตลักษณ์ประเพณีตีผึ้งชุมชนสายตรีพัฒนา 3 ตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์” โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า น้ำผึ้งเดือน 5 เป็นน้ำผึ้งคุณภาพดีที่หลายคนเฝ้ารอจับจองที่จะได้น้ำผึ้งแท้จากรวง ชาวชุมชนได้ช่วยกันอนุรักษ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่าปริมาณ โดยจะปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ให้เห็นค่าของดีในชุมชนร่วมสืบสานต่อกันมา มีกฎระเบียบของหมู่บ้านที่หารือกันไว้ว่าจะเก็บน้ำผึ้งเพียง ปีละครั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้เพื่อความยั่งยืน ชุมชนเล็กๆ แห่งนี้มี “ประเพณีตีผึ้งร้อยรัง” ซึ่งเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นจังหวัดบุรี
คุณเอื้ออังกูร สุขใจ หรือ น้องแต๋ม ผู้รับรางวัลครอบครัวสัมมาชีพของจังหวัดพะเยา และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้หมู่บ้านปงใหม่ หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ได้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว (OTOP) นวัตวิถี 1 ใน 50 หมู่บ้านนำร่องของทั้งประเทศ คุณเอื้ออังกูร สุขใจ หรือ น้องแต๋ม เป็นคนบ้านปงใหม่โดยกำเนิด แต่ได้ไปศึกษาทางด้านบัญชีจากจังหวัดเชียงใหม่ และได้ไปทำงานที่จังหวัดระนองในฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลระนอง และหลังสุดได้ทำงานทางด้านพัฒนาชุมชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ จังหวัดระนอง จากการสังเกตของผู้เขียนเห็นได้ว่าน้องเป็นคนพูดจาฉะฉาน อาจจะเป็นเพราะเคยทำงานประชาสัมพันธ์และทำงานกับชุมชนมาก่อนนั้นเอง คุณเอื้ออังกูร ได้กลับมาที่บ้านปงใหม่ ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา แผ่นดินเกิดด้วยเหตุผลส่วนตัวบางประการ เมื่อกลับมาพร้อมเงินทุนก้อนหนึ่ง จากสภาพในหมู่บ้านปงใหม่ที่ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น อาชีพทำนาปลูกข้าว สวนยางพารา ความที่ตัวเองเป็นผู้หญิง มาคิดดูแล้วว่าถ้าทำเหมือนกับเพื่อนบ้านคนอื่นๆ คงไม่ได้แน่ เพราะส่วนหนึ่งเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จะบุกเบิกแบบท