SMEs
คู่ค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในจังหวัดต่างๆ 6 พันราย ได้ประโยชน์เต็ม จากโครงการเครดิตเทอม 30 วัน (Faster Payment) ช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน มีเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น สามารถเดินหน้าธุรกิจโดยไม่หยุดชะงัก ฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 ได้แข็งแกร่ง ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการ Faster Payment ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อช่วยคู่ค้าธุรกิจที่เป็น SMEs ที่มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และรายบุคคล รวม 6 พันคน ผ่านการให้เครดิตเทอมภายใน 30 วัน หลังตรวจรับสินค้าและบริการครบถ้วน เป็นอีกโครงการที่ซีพีเอฟต้องการช่วยเหลือคู่ค้า SMEs ของซีพีเอฟ บรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และฟื้นตัวก้าวข้ามวิกฤตและเติบโตไปด้วยกัน นายสุวัฒน์ บุษบาวศินกุล กรรมการผู้จัดการ หจก.แอ๊ดวานซ์ คอมเมอร์ซ ผู้ให้บริการซ่อมแซมมอเตอร์ จังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ต้องขอบคุณซีพีเอฟ ที่ปรับเครดิตเทอมภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ประกอบการรายย่อย ช่วยให้มีเงินหมุนเวียนเข้ามาลงทุนและใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยรักษาธุรกิจและลูกจ้างให้อยู่ทำงานได้ นายพีรณัฐ หุ่นธ
หอการค้าไทย จับมือเครือข่าย ส่งเสริมและพัฒนา SMEs เติมองค์ความรู้ พร้อมสร้างโอกาสการเข้าสู่ Modern Trade บรรเทาผลกระทบจากวิกฤตโควิด เตรียมความพร้อมสำหรับการกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือการผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการได้อย่างเข้มแข็งในอนาคต นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ SMEs ต่างก็ได้รับผลจากวิกฤตครั้งนี้ ซึ่งทำให้เกิดการชะลอตัวในภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของภาคเอกชน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ในไตรมาส 2/2563 ติดลบ 12.2% โดยเฉพาะตัวเลขสถานการณ์การจ้างงานในปัจจุบันมีความน่ากังวลอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการล็อกดาวน์ในไตรมาส 1 ที่มีอัตราการว่างงานเพียง 1% หรือประมาณ 4 แสนคน พุ่งสูงขึ้นเป็น 8 แสนคน หรือ 1.95% ทั้งนี้ จากผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า หากสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีขึ้นภายใน 6 เดือน จนถึงสิ้นปีนี้ ธุรกิจ SMEs อาจมีการปลดคนงานสูงถึง 2 ล้านคน “หอการค้าไทย มิได้นิ่งนอนใจ และได้พยายามหาหนทางในการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการมาโดยตลอด แต่ด้วยภาวะชะลอต
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จับมือ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ขับเคลื่อนมาตรการ ‘ต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย’ พร้อมช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และอยู่รอดได้ในท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังคงไม่แน่นอน กับงานเสวนาให้ความรู้เชิงวิเคราะห์ ในหัวข้อ ‘เจาะลึกเทรนด์ธุรกิจอาหารปี 2563 วิกฤตหรือโอกาส SMEs ไทย’ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ พร้อมตั้งรับกับโอกาสและการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังมอบโอกาสครั้งสำคัญในการเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น กับโครงการเติมทุน SME D ยกกำลัง 3 จัดใหญ่ ให้เยอะ กับวงเงินสินเชื่อกว่า 10,000 ล้านบาท วงเงินกู้สูงสุดรายละ 15 ล้านบาท ผ่อนนาน 7 ปี พร้อมชูจุดเด่นดอกเบี้ยสุดถูก เริ่มต้นเพียง 3% ต่อปี นาน 3 ปีแรก แถมฟรีค่าธรรมเนียม บสย. 3 ปี อย่าพลาด!! วันศุกร์ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้อง แก้ววิเชียร SME D Bank ติดกับสถานีรถไฟฟ้าอารีย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. (062) 845-9515, (084) 099-3661 ผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจดังกล่าวสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีได้ที่ http://bit.ly/32ecvO3 &nbs
สสว.จับมือ ส.อ.ท จัดโครงการ“Business Networking” เอสเอ็มอี กลุ่มธุรกิจเกษตร เปิดช่องเข้าถึงแหล่งทุนพร้อมเชื่อมช่องทางการตลาดทั้งในโมเดิร์นเทรด-ตลาดออนไลน์ คุณลักขณา ตั้งจิตนบ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีพื้นฐานการเกษตร SMEs ธุรกิจการเกษตรของไทยยังมีปัญหาหลายประการ เช่น ด้านการตลาด ขาดแหล่งเงินทุน ขีดจำกัดด้านการบริหารและการจัดการ ที่ผ่านมา สสว. มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ มากมายที่ช่วยแก้ปัญหา Pain Point เหล่านี้ให้กับ SMEs หลากหลายตามศักยภาพกลุ่ม SMEs สำหรับโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early- Stage) เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งภาคธุรกิจทั่วไป และภาคการเกษตร พัฒนาศักยภาพ ให้เป็น SMEs ที่เข้มแข็ง สร้างรายได้มั่นคงให้กับธุรกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ GDP ของประเทศ โดยกิจกรรม “Business Networking” เป็นโอกาสที่ SMEs จะได้เพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ การเพิ่มช่องทางการตลาดโดยเฉพาะตลาดในประเทศที่ยังเป็นตลาดสำคัญของ SMEs คาดว่าจะสร้างโอกาสทางการค้า หรือการลงทุนที่เกิดขึ้นจากการ
กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สกน.), (TED Fund) แถลงผลการดำเนินงาน และความพร้อมในการจัดงานมอบทุนสนับสนุนผู้ประกอบการ หรือ “TED Fund Grant Day 2019” รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และประธานกรรมการบริหาร กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สกน.), (TED Fund) กล่าวว่า “กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund มีภารกิจในการสนับสนุนทุนด้านการดำเนินธุรกิจ, การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน, สร้างเครือข่ายผู้สนับสนุนการร่วมลงทุน และสนับสนุนเครือข่ายบ่มเพาะผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จเชิงธุรกิจอย่างยั่งยืน สามารถนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และร่วมผลักดันประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Economy) โดยตั้งแต่ปลายปี 2560 TED Fund ได้ดำเนินโครงการจัดสรรเงินสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และได้รับความส