Zero Plastic Waste
ขยะพลาสติกเป็นปัญหาลำดับต้นๆ ของประเทศ ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา แหล่งกำเนิดที่สำคัญของขยะพลาสติกมาจาก ภาคอุตสาหกรรมทั้งในรูปแบบเศษพลาสติกที่เหลือจากการตัดสินค้าไม่ได้มาตรฐาน และการเริ่มเดินเครื่องจากการผลิต เป็นต้น ซึ่งหากมีการใช้เทคโนโลยีในการช่วยบริหารจัดการการทำงานของเครื่องจักรและพนักงานจะสามารถลดการสูญเสียจำนวนมากลงได้ นอกจากนี้ ของเสียเกิดขึ้นหากมีระบบการจัดการเพื่อส่งต่อไปเป็นวัตถุดิบให้กับสายการผลิตอื่นหรือขายให้กับอุตสาหกรรมอื่น จะเป็นการเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัด และลดขยะพลาสติกจากภาคอุตสาหกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อม กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยจึงเกิดแนวคิดความร่วมมือพี่ช่วยน้อง มุ่งสู่ Zero Plastic Waste ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม Digital loT และ Smart Process ภายใต้ Future Industry 4.0 ปัจจุบัน อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปมีความต้องการในการพัฒนาระบบกระบวนการผลิต เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยใช้ IOT เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ลดของเสียประเภทพลาสติกที่เป็นต้นทุนหลักของวัตถุดิบ ลดการใช้พล
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยหลักของประเทศและส่งเสริมการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน บนฐานงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์และปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาได้สนับสนุนงานวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย : ทะเลไทยไร้ขยะ ซึ่งการสนับสนุนครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ วช. ได้นำหลักการ Sharing as Beneficial Principle จะเป็นมาตรการที่สำคัญในการแก้ปัญหาขยะพลาสติก โดยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พัฒนาระบบการรับรอง Zero Plastic Waste สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกขึ้น เพื่อให้การรับรองอุตสาหกรรมที่ลดการเกิดขยะพลาสติกได้อย่างเบ็ดเสร็จหรือขยะพลาสติกเป็นศูนย์ โดย บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เป็นบริษัทแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองดังกล่าวในกระบวนการผลิต หรือ Zero Plastic Waste in Production Process ระบบการรับรอง Zero Plastic Waste ที่สร้างขึ้นจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศ และเป็นแม่แบบให้แก่ 10 ประเทศ ในกลุ่ม ASEAN ในอนาคต นายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ