นพ. สุกรม ชีเจริญ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี รับมอบหน้ากากอนามัย N-95 จำนวน 5,000 ชิ้น มูลค่า 500,000 บาท จาก นายวรวิทย์ เจนธนากุล เลขานุการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์สู้ภัยโควิด-19 โดยมี พญ. ปีนัชนี ชาติบุรุษ ร่วมรับมอบ ณ โรงพยาบาลราชวิถี
MOST POPULAR
คนที่ชอบกินผลไม้ หรือใครมีที่ข้างบ้าน ข้างสวน อยากแนะนำปลูกผลไม้ 8 ชนิดนี้มีติดบ้านไม่อดตาย มีกินทั้งปี แถมยังขายเสริมรายได้ได้อีกด้วย หรือตอนนี้บ้านไหน มีผลไม้เหล่านี้อยู่บ้าง มาเล่าสู่กันฟังหน่อยว่าปลูกแล้วเป็นยังไงกันบ้าง อีกอย่างไม้ผลบางชนิดอายุยืนมากๆ เหมาะกับสภาพอากาศแบบบ้านเรา และบางชนิดแตกหน่อออกผลผลิตได้เรื่อยๆ โดยไม่สนใจฤดูกาลให้ผลผลิตทั้งปี 🟡ส้มโอ ส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป จากนั้นจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และจะให้ผลผลิตดีคงที่ตราบเท่าที่ต้นยังสมบูรณ์ อยู่จนอายุประมาณ 20-30 ปี นิสัยส้มโอทุกสายพันธุ์จะออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน (ดกมาก) รุ่นสองออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเมษายน (ดกน้อยกว่ารุ่นแรก) แต่ผลรุ่นสองมีคุณภาพดีกว่ารุ่นแรกเพราะผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง ถ้าต้องการทำให้ผลรุ่นแรกดีเหมือนรุ่นสองจะต้องควบคุมปริมาณน้ำ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้เท่านั้น เคล็ดลับ : การใส่ปุ๋ย ในช่วงแรกปลูกไป 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยคอก ขี้หมู ขี้วัว ห
ใครจะคิดว่า “กะปิ” ของที่อยู่คู่ครัวไทย จะกลายเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำ ไคโตซาน ธรรมชาติที่ใช้บำรุงพืช บำรุงดินได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ต้องเสียเงินซื้อไคโตซานราคาแพงอีกต่อไป วันนี้เราจะพาไปรู้จัก “ไคโตซานจากกะปิ” พร้อมสูตรทำเองง่ายๆ และวิธีใช้งานที่เห็นผลจริงในแปลงเกษตร ไคโตซาน (Chitosan) เป็นสารธรรมชาติที่ได้จากการสกัด “ไคติน” ซึ่งพบมากในเปลือกกุ้ง เปลือกปู หรือแม้แต่ใน “เคย” ที่ใช้ทำกะปิ เมื่อสกัดออกมาแล้วจะได้สารไคโตซานที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของพืช ทำให้พืชแข็งแรง ต้านโรค ต้านแมลง และยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยอีกด้วย ประโยชน์ของไคโตซานจากกะปิ วิธีผลิตไคโตซานจากกะปิ ใช้ง่าย ทำเองได้ที่บ้าน วัสดุที่ต้องเตรียม ขั้นตอนการทำ วิธีใช้ไคโตซานจากกะปิ
ก่อนที่จะลงมือปลูกไม้เศรษฐกิจ เรามารู้จักความหมายกันก่อนดีกว่า ไม้เศรษฐกิจ หมายถึง ไม้ยืนต้นทุกชนิด รวมถึงไผ่ที่ปลูก หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่มีการใช้ประโยชน์เนื้อไม้ หรือผลิตผลอื่นที่ไม่ใช่เนื้อไม้เพื่อการค้า ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมว่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจเป็นไม้ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งให้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้ปลูก นำไปสู่แนวทางส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ตามนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดินอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไม้หวงห้าม เหมือนการปลูกพืชทั่วไป การตัด ขาย ขนย้าย แปรรูป ไม่ต้องขออนุญาตหรือจะให้เจ้าหน้าที่รับรองไม้เพื่อการค้าการส่งออกก็ได้ โดยการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวบรวมไม้เศรษฐกิจ 5 ชนิดมาฝาก และเหมือนจะเป็นไม้นอกสายตาที่หลายคนยังไม่รู้ว่าไม้ชนิดนี้เป็นไม้เศรษฐกิจและมีเนื้อไม้ที่สวยงามมากๆ แถมผลยังกินได้อีกด้วย 1. มะริด มะริดเป็นไม้โบราณดั้งเดิมของไทย อยู่ในกลุ่มไม้เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดี เนื่องจาก
“พุทธรักษา” เป็นพันธุ์ไม้ที่มีชื่อนามเป็นมงคล แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็นเมื่อปลูกต้นพุทธรักษาในทางทิศตะวันตกของบ้าน จะช่วยปกป้องคุ้มครองบ้านเรือนให้อยู่เย็นเป็นสุข เนื่องจาก“พุทธรักษา” มี “สีเหลือง” ตรงกับสีประจำวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จึงกำหนดให้พุทธรักษาดอกสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ ตั้งแต่ในปี พ.ศ.2523 เป็นต้นมา “พุทธรักษา” มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะฮาวาย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canna indica L. ชื่อวงศ์ Cannaceae มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น สาคูมอญ (ภาคกลาง), พุทธรักษากินหัว(กรุงเทพฯ), พุทธสร(ภาคเหนือ), สาคูหัวข่า(ภาคตะวันออกเฉียงใต้), บัวละวง(ลพบุรี , ลำปาง) มุยหยิ่งเจีย, กวงอิมเกีย, เซียวปาเจีย, (จีน) ลักษณะทั่วไป “พุทธรักษา” เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เนื้ออ่อนอวบน้ำ แตกกอขึ้นเหนือพื้นดิน กาบใบเรียงอัดซ้อนกันแน่นตั้งตรงเป็นลำต้นเทียน ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ ใบรูปรีถึงรูปไข่ ยาว 30-60 ซ.ม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียว กลางใบเ