ส้มโอพันธุ์ “พลอยชมพู” ถูกพัฒนาพันธุ์มาจาก “ทัมบุนพิงค์” ส้มโอคุณภาพดีของมาเลเซีย นำมาปลูกเสียบกิ่งกับตอส้มโอจนได้กิ่งพันธุ์ส้มโอต้นใหม่ “พลอยชมพู” มีขนาดผลโต ทรงผลแป้น ไม่มีจุก น้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อผล เปลือกผลค่อนข้างบาง สีของเปลือกในและผนังกลีบสีชมพูเรื่อๆ เนื้อมีลักษณะนิ่ม ไม่ฉ่ำน้ำ จำนวนกลีบ 14-16 กลีบ รสชาติถูกใจนักชิม เพราะมีรสหวานอมเปรี้ยว เหมาะสำหรับปลูกเชิงการค้า
แหล่งที่มา : สวนบางไผ่พันธุ์ไม้ คุณฉัตราพร สิงหราช (เล็ก) โทรศัพท์ 086-569-6225 หรือ คุณกัลยารัตน์ ชมฉ่ำ (แดง) โทรศัพท์ 084-656-1174
MOST POPULAR
ก่อนที่จะลงมือปลูกไม้เศรษฐกิจ เรามารู้จักความหมายกันก่อนดีกว่า ไม้เศรษฐกิจ หมายถึง ไม้ยืนต้นทุกชนิด รวมถึงไผ่ที่ปลูก หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่มีการใช้ประโยชน์เนื้อไม้ หรือผลิตผลอื่นที่ไม่ใช่เนื้อไม้เพื่อการค้า ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมว่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจเป็นไม้ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งให้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้ปลูก นำไปสู่แนวทางส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ตามนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดินอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไม้หวงห้าม เหมือนการปลูกพืชทั่วไป การตัด ขาย ขนย้าย แปรรูป ไม่ต้องขออนุญาตหรือจะให้เจ้าหน้าที่รับรองไม้เพื่อการค้าการส่งออกก็ได้ โดยการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวบรวมไม้เศรษฐกิจ 5 ชนิดมาฝาก และเหมือนจะเป็นไม้นอกสายตาที่หลายคนยังไม่รู้ว่าไม้ชนิดนี้เป็นไม้เศรษฐกิจและมีเนื้อไม้ที่สวยงามมากๆ แถมผลยังกินได้อีกด้วย 1. มะริด มะริดเป็นไม้โบราณดั้งเดิมของไทย อยู่ในกลุ่มไม้เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดี เนื่องจาก
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
โกสนจัดเป็นไม้มงคล ที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดี เนื่องจากชื่อ “ โกสน” เป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “กุศล” หมายถึง การสร้างบุญงาม ความดี จึงนิยมปลูกโกสนไว้หน้าบ้าน ในทางทิศตะวันออกของบ้าน มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นไม้เสริมสิริมงคล ให้ทุกคนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ความมีเสน่ห์ของโกสนอยู่ที่ลวดลายใบที่สวยงามสลับเฉดสีต่างๆ เช่น เฉดสีชมพูก็จะมีสีเขียวเข้มมีชมพูเข้ม เส้น ลายใบชัดเจน เฉดสีเหลืองก็จะออกสีไล่เลี่ยกันในโทนเหลือง เป็นต้น โกสน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า โคร-ออน (Croton) เป็นไม้ประดับประเภทไม้พุ่ม ที่มีใบเป็นจุดเด่น โดยใบมีรูปทรงและสีที่สวยงามแตกต่างไปกับพรรณไม้อื่นๆ นิยมเป็นไม้กระถาง ให้มีลักษณะทรงพุ่มเล็กๆ หากต้องการให้มีทรงพุ่มใหญ่ จะใช้วิธีปลูกลงดิน โกสนมีทั้งใบเล็ก-ใบใหญ่ ต้นโกสนเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดตั้งแต่ พุ่มเล็ก จนถึงพุ่มใหญ่ ลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้นี้คือ ทรงของใบมีหลายลักษณะผันแปรตามธรรมชาติ และมีเด่นที่ใบมีหลายสี เช่น เหลือง ส้ม ม่วง ขาว ชมพู ดำ และยังมีลักษณะใบลูกผสม ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา โกสนที่ใช้เป็นไม้ประดับงดงามนั้นมีชนิด (species) เดียวคือ โคเดียมหรือโคดิเอี้ยม
ถั่วพู ไม่ใช่ ถั่วพลู (ถั่ว ก็ ถั่ว พลู ก็ พลู) ชื่อสามัญ : ถั่วพู, winged bean, princess bean ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus วงศ์ : Leguminosae ถั่วพู มักถูกเรียกผิดๆ ว่า ถั่วพลู เป็นประจำ ที่จริงต้องเรียกว่า ถั่วพู จึงจะถูกต้อง ผู้เขียนเห็นใครเรียกถั่วพลู จะหงุดหงิดทุกครั้งไป คนตั้งชื่อเขาคิดดีคิดถูกแล้ว ที่เรียกว่า ถั่วพู ก็เพราะลักษณะของฝัก จะเป็น พู มี 4 แฉก ซึ่งตรงกับ คอมมอนเนม ภาษาอังกฤษว่า winged bean หากรักกันจริงทราบแล้วโปรดเรียกให้ถูกกันสักนิดนะครับ ภาษาไทยของเรายอดเยี่ยมอยู่แล้ว ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ดีเถอะ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ถั่วพู เป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี (Herbaceous perennials plant) เมื่อถึงวัยแก่เต็มที่ ส่วนลำต้นที่เป็นเถาเหนือดินก็จะแห้งเหี่ยวตายไป เหลือไว้เพียงหัวหรือลำต้นใต้ดิน แอบซุ่มรอคอยเวลาเจริญเติบโตได้ในฤดูฝนถัดไป ดอกถั่วพูจะเป็นชนิดดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีสีม่วงอ่อนอมขาว หากมีค้างให้ก็สามารถเลื้อยไปได้ไกลๆ ระบบรากของถั่วพูจะแข็งแรงมาก มีจำนวนปมจุลินทรีย์ (Rhizobium) ที่ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้มากกว่าถั่วชนิดอื่นด้วยกัน จึงเหมาะสำหรับปลูกบำร